อำเภอตะกั่วป่า

อำเภอในจังหวัดพังงา ประเทศไทย

ตะกั่วป่า เป็นหนึ่งในแปดอำเภอของจังหวัดพังงา

อำเภอตะกั่วป่า
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันAmphoe Takua Pa
อุทยานแห่งชาติเขาหลัก-ลำรู่
คำขวัญ: 
เมืองประวัติศาสตร์ พระศรีบรมธาตุโบราณ ตระการทิวทัศน์ หลายวัดศักดิ์สิทธิ์ ทุกทิศไมตรี รสดีของกิน ถือศีลทรงธรรม
แผนที่จังหวัดพังงา เน้นอำเภอตะกั่วป่า
แผนที่จังหวัดพังงา เน้นอำเภอตะกั่วป่า
พิกัด: 8°52′10″N 98°20′35″E / 8.86944°N 98.34306°E / 8.86944; 98.34306
ประเทศ ไทย
จังหวัดพังงา
พื้นที่
 • ทั้งหมด599.4 ตร.กม. (231.4 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2566)[1]
 • ทั้งหมด49,677 คน
 • ความหนาแน่น83 คน/ตร.กม. (210 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 82110, 82190 (เฉพาะตำบลคึกคัก; ตำบลเกาะคอเขา; และตำบลบางม่วง หมู่ที่ 2-8, หมู่ที่ 1 เฉพาะบ้านเลขที่นอกเหนือจาก 22/..., 24/..., 34, 34/..., 35, 35/..., 39, 43, 43/..., 46, 46/..., 52, 52/..., 55, 58, 58/..., 59, 59/...)
รหัสภูมิศาสตร์8205
ที่ตั้งที่ว่าการที่ว่าการอำเภอตะกั่วป่า ถนนเพชรเกษม ตำบลตะกั่วป่า อำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา 82110
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

ที่ตั้งและอาณาเขต

แก้

อำเภอตะกั่วป่าตั้งอยู่ชายฝั่งทะเลตะวันตกหรือฝั่งทะเลอันดามัน ห่างจากอำเภอเมืองพังงาไปทางเหนือประมาณ 60 กิโลเมตร อยู่ห่างจากกรุงเทพมหานคร โดยทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4 (ถนนเพชรเกษม) ประมาณ 800 กิโลเมตร มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้

ประวัติ

แก้

ตะกั่วป่าเคยเป็นเมืองที่มีความเจริญรุ่งเรืองมาตั้งแต่สมัยโบราณ เป็นที่รู้จักของชนหลายเชื้อชาติทั้งจีน อินเดีย อาหรับ ในชื่อเมืองตะโกลา (Takola) เนื่องจากเป็นเมืองท่าจอดเรือ เป็นศูนย์กลางการค้าขาย และเป็นเส้นทางลัดขนสินค้าข้ามคาบสมุทรมลายูจากฝั่งทะเลอันดามันไปยังอ่าวไทย ในสมัยรัตนโกสินทร์ ตะกั่วป่ายังคงมีความสำคัญทางด้านเศรษฐกิจ สามารถผลิตแร่ดีบุกได้มากที่สุดตลอดมา สุดท้ายด้วยเหตุผลทางด้านเศรษฐกิจและการเมือง ตะกั่วป่าจึงถูกลดฐานะจากจังหวัดตะกั่วป่าลงเป็นอำเภอหนึ่งและรวมเข้ากับจังหวัดพังงาจนกระทั่งถึงปัจจุบัน

สภาพทางภูมิศาสตร์

แก้

อำเภอตะกั่วป่ามีพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นเนินเขาสลับซับซ้อน ไม่ค่อยมีที่ราบ แม่น้ำที่สำคัญคือแม่น้ำตะกั่วป่า ไหลลงสู่ทะเลอันดามัน อำเภอตะกั่วป่าได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้และลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนืออย่างเต็มที่ จึงทำให้มีฝนตกชุกเกือบตลอดปีนานถึงแปดเดือน จึงได้สมญานามว่า เมืองฝนแปดแดดสี่ จำนวนประชากรเมื่อสิ้นปี พ.ศ. 2550 รวม 44,959 คน อาศัยอยู่บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำตะกั่วป่าและที่ราบชายฝั่งทะเล อาชีพที่สำคัญของประชากรคือการเกษตร ทำสวนยางพารา และสวนผลไม้ ปัจจุบันกำลังพัฒนาเพื่อเป็นแหล่งท่องเที่ยว ทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญคือ ป่าไม้ โดยเฉพาะป่าชายเลนที่ยังคงอุดมสมบูรณ์ แร่ดีบุก และธรรมชาติที่สวยงาม

การแบ่งเขตการปกครอง

แก้

การปกครองส่วนภูมิภาค

แก้

อำเภอตะกั่วป่าแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 8 ตำบล 51 หมู่บ้าน ได้แก่

ลำดับ อักษรไทย อักษรโรมัน จำนวนหมู่บ้าน จำนวนประชากร
(ธันวาคม 2565)[2]
แผนที่
1. ตะกั่วป่า Takua Pa
7,821
 
2. บางนายสี Bang Nai Si
9
13,180
3. บางไทร Bang Sai
7
3,165
4. บางม่วง Bang Muang
8
10,012
5. ตำตัว Tam Tua
6
1,591
6. โคกเคียน Khok Khian
9
6,539
7. คึกคัก Khuekkhak
7
6,565
8. เกาะคอเขา Ko Kho Khao
5
956

การปกครองส่วนท้องถิ่น

แก้

ท้องที่อำเภอตะกั่วป่าประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 7 แห่ง ได้แก่

  • เทศบาลเมืองตะกั่วป่า ครอบคลุมพื้นที่ตำบลตะกั่วป่าทั้งตำบล
  • เทศบาลตำบลบางนายสี ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางนายสีทั้งตำบล
  • เทศบาลตำบลคึกคัก ครอบคลุมพื้นที่ตำบลคึกคักทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลบางไทร ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางไทรและตำบลตำตัวทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลบางม่วง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางม่วงทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลโคกเคียน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลโคกเคียนทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะคอเขา ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเกาะคอเขาทั้งตำบล

อ้างอิง

แก้
  1. "รายงานสถานการณ์และดัชนีชี้วัดภาวะแรงงานจังหวัดพังงา รายปี 2566 (เดือนมกราคม – ธันวาคม 2566)" (PDF). สำนักงานแรงงานจังหวัดพังงา. p. 6.
  2. "ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร". stat.bora.dopa.go.th.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้