อำเภอพนม
พนม เป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดสุราษฎร์ธานี
อำเภอพนม | |
---|---|
การถอดเสียงอักษรโรมัน | |
• อักษรโรมัน | Amphoe Phanom |
อุทยานธรรมเขานาในหลวง ตำบลต้นยวน ในยามเช้า | |
คำขวัญ: บัวผุดสวย รวยเขาเสียบหมอก | |
แผนที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี เน้นอำเภอพนม | |
พิกัด: 8°51′18″N 98°48′48″E / 8.85500°N 98.81333°E | |
ประเทศ | ไทย |
จังหวัด | สุราษฎร์ธานี |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 1,160.03 ตร.กม. (447.89 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2564) | |
• ทั้งหมด | 38,980 คน |
• ความหนาแน่น | 33.60 คน/ตร.กม. (87.0 คน/ตร.ไมล์) |
รหัสไปรษณีย์ | 84250 |
รหัสภูมิศาสตร์ | 8410 |
ที่ตั้งที่ว่าการ | ที่ว่าการอำเภอพนม ถนนบางเหรียง–เมืองเก่า หมู่ที่ 1 ตำบลพนม อำเภอพนม จังหวัดสุราษฎร์ธานี 84250 |
ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย |
คำขวัญประจำอำเภอ
แก้"บัวผุดสวย รวยเขาเสียบหมอก" ด้วยเป็นแหล่งกำเนิดบัวผุดและมีลักษณะเด่นทั้งธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมด้วยภูเขาหินปูนสลับซับซ้อน ในเวลาเช้าหรือหลังฝนตกจะมีเมฆหมอกหนาทึบปกคลุมดูเสมือนเป็นดินแดนมหัศจรรย์ ลักษณะที่มองเห็นเด่นชัด ซึ่งหาดูได้ไม่ง่ายนัก คือ ยอดเขาแหลมสูงเสียดฟ้า ปกคลุมด้วยหมอกขาวโพลน เรียกว่า "เขาเสียบหมอก"
ประวัติ
แก้ตามประวัติความเป็นมานั้น คำว่า "พนม" เป็นภาษาเขมรซึ่งแปลว่า ภูเขาลำเนาไพร หรือชาวท้องถิ่นเรียกว่า "ปากนม" หรือ "พะนม" เป็นคำบอกถึงความหมายของสถานที่แห่งนั้น ตามหลักฐานบางอย่างสันนิษฐานว่า มีภูเขาเป็นรูปนม บ้างก็ว่าพนมมือ แต่เดิมอำเภอพนมมีชื่อเรียกว่า อำเภอชะอุ่น เป็นอำเภอตั้งแต่ปี พ.ศ. 2433 ตั้งอยู่ฝั่งขวาของคลองชะอุ่น การปกครองขึ้นตรงต่อเมืองนครศรีธรรมราช โดยมีหลวงปราบประทุษราษฎร์เป็นนายอำเภอคนแรก ตามประวัติกล่าวไว้ว่าเหตุที่ตั้งเมืองนั้น เพราะบริเวณหัวแคว้นด้านนี้ชุกชุมไปด้วยอันธพาล ทางการจึงก่อตั้งเป็นอำเภอเพื่อปราบอันธพาลนั่นเอง ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2441 ทางราชการได้แบ่งการปกครองเป็นมณฑล จึงย้ายอำเภอชะอุ่นมาขึ้นกับมณฑลชุมพร ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2453 อำเภอชะอุ่นได้ถูกลดฐานะเป็นกิ่งอำเภอชื่อว่า กิ่งอำเภอปากพนม โดยมี ขุนพนมชนารักษ์(นายพรัต เพชรพริ้ม) ดำรงตำแหน่งปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้าประจำกิ่งอำเภอคนแรก ในที่สุดคำว่า "ปาก" ได้หายไปเหลือเพียงชื่อว่า กิ่งอำเภอพนม แล้วได้ยกฐานะเป็น อำเภอพนม อีกครั้งเมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2514
ภายหลังได้มีการแบ่งการปกครองออก โดยแยกการปกครอง 5 หมู่บ้านจากตำบลพนม และจัดตั้งเป็นตำบลพังกาญจน์ ในปี พ.ศ.2524 และในปี พ.ศ. 2526 ได้แยกการปกครอง 6 หมู่บ้านจากตำบลต้นยวน และจัดตั้งเป็นตำบลคลองชะอุ่น
ที่ตั้งและอาณาเขต
แก้อำเภอพนมตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของจังหวัด ระยะทางห่างจากจังหวัดสุราษฎร์ธานี 82 กิโลเมตร มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอบ้านตาขุน
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอคีรีรัฐนิคม อำเภอเคียนซา และอำเภอพระแสง
- ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอพระแสง อำเภอปลายพระยา (จังหวัดกระบี่) อำเภอทับปุด และอำเภอเมืองพังงา (จังหวัดพังงา)
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอกะปง อำเภอตะกั่วป่า และอำเภอคุระบุรี (จังหวัดพังงา)
ภูมิศาสตร์
แก้อำเภอพนมมีเนื้อที่โดยประมาณ 1,160 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 720,000 ไร่ โดยพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ของอุทยานแห่งชาติถึง 2 แห่ง คือ อุทยานแห่งชาติเขาสก และอุทยานแห่งชาติคลองพนม
ลักษณะภูมิประเทศ
แก้ลักษณะภูมิประเทศโดยทั่วไปของอำเภอพนมเป็นภูเขาสูง โดยเฉพาะทางทิศตะวันตก มีกว่าร้อยละ 60 ของพื้นที่ทั้งหมด มีที่ราบเชิงเขาเพียงเล็กน้อย มีลักษณะเป็นลอนลูกฟูก เป็นต้นกำเนิดของลำคลอง 2 สาย ที่สำคัญ คือ คลองศกและคลองพนม ซึ่งไหลลงสู่แม่น้ำพุมดวงและแม่น้ำตาปี
ลักษณะภูมิอากาศ
แก้ลักษณะภูมิอากาศตอนเช้าของอำเภอพนมนั้นจะมีอากาศหนาวมีหมอกปกคลุมตลอดทั้งปีคล้ายลักษณะทางภาคเหนือของประเทศไทย จนกระทั่งหลัง 10.00 น. เป็นต้นไปอากาศจึงกลับสู่ภาวะปกติ ลักษณะภูมิอากาศแบบนี้เองจึงได้รับสมญานามว่า "เขาเสียบหมอก" แต่ลักษณะภูมิอากาศโดยทั่วไปจะมีลักษณะอากาศร้อนและอบอุ่น มี 2 ฤดูคือ ฤดูร้อนและฤดูฝน ฤดูร้อนจะร้อนอบอ้าว เริ่มตั้งแต่เดือนมกราคม-เดือนเมษายน ส่วนในฤดูฝน อากาศจะเย็น มีฝนตกและมีหมอกหนาแน่น
การแบ่งเขตการปกครอง
แก้การปกครองส่วนภูมิภาค
แก้อำเภอพนมแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 6 ตำบล 56 หมู่บ้าน ได้แก่
|
การปกครองส่วนท้องถิ่น
แก้ท้องที่อำเภอพนมประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 6 แห่ง ได้แก่
- เทศบาลตำบลพนม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลพังกาญจน์ทั้งตำบล[1]และบางส่วนของตำบลพนม
- เทศบาลตำบลคลองชะอุ่น ครอบคลุมพื้นที่ตำบลคลองชะอุ่นทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลพนม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลพนม (นอกเขตเทศบาลตำบลพนม)
- องค์การบริหารส่วนตำบลต้นยวน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลต้นยวนทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลคลองศก ครอบคลุมพื้นที่ตำบลคลองศกทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลพลูเถื่อน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลพลูเถื่อนทั้งตำบล
เศรษฐกิจ
แก้อำเภอพนม มีลักษณะการประกอบอาชีพทางการเกษตร เป็นอาชีพหลัก อาชีพค้าและรับจ้าง เป็นอาชีพรอง
- พืชเศรษฐกิจหลัก คือ
- ยางพารา อำเภอพนม มีพื้นที่ปลูกยางพารา 161,566 ไร่
- ปาล์มน้ำมัน อำภอพนมมีพื้นที่ลูกปาล์ม 32,000 ไร่
- พืชเศรษฐกิจรอง คือ
- กาแฟ อำเภอพนมมีพื้นที่ปลูกกาแฟ 11,427 ไร่
- ไม้ผล (เงาะ ทุเรียน มังคุด ลองกอง ฯลฯ) อำเภอพนมมีพื้นที่ปลูกไม้ผล 11,970 ไร่
ประชากร
แก้อำเภอพนม มีประชากรประมาณ 32,875 คน แบ่งเป็น
- เพศชาย 16,802 คน
- เพศหญิง 16,073 คน
มีจำนวนครัวเรือน 8,052 ครอบครัว
ศาสนา
แก้ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ และมีผู้นับถือศาสนาคริสต์บางส่วน ในเขตตำบลคลองชะอุ่นเป็นที่ตั้งของ โบสถ์คริสต์ แม่พระองค์อุปถัมภ์ (Maria Auxilium Christianorum)
การศึกษา
แก้สถาบันการศึกษาหลักของอำเภอพนมนั้นประกอบไปด้วย
- โรงเรียนชุมชนบ้านช่องม้าเหลียว เก็บถาวร 2010-04-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน โรงเรียนประถมศึกษาประจำอำเภอ
- โรงเรียนพนมศึกษา เก็บถาวร 2009-02-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน โรงเรียนมัธยมศึกษาประจำอำเภอ
- วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีสุราษฎร์ธานี
- โรงเรียนบ้านเขานาใน เก็บถาวร 2014-12-18 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน โรงเรียนที่เปิดสอนตั้งแต่ก่อนปฐมวัยถึงมัธยมศึกษาปีที่ 6 แห่งแรกของอำเภอ
้
|
การคมนาคม
แก้การเดินทางจากตัวเมืองสุราษฎร์ธานีใช้เส้นทางสุราษฎร์ธานี-ตะกั่วป่า (ทางหลวงหมายเลข 401)โดยมีรถประจำทาง คือ
- รถประจำทางสาย สุราษฎร์-ภูเก็ต
- จากสถานีรถไฟ อ.พุนพิน สุราษฎร์ธานี มีรถประจำทางสายพุนพิน-พนม
- รถประจำทางสายสุราษฎร์-พังงา
- รถตู้สาย สุราษฎร์-ภูเก็ต
- รถตู้สาย สุราษฎร์-เขาสก-เขื่อนรัชประภา-สมุย
นอกจากนี้ท่านสามารถเดินทางจากกรุงเทพมหานครถึงอำเภอพนมได้โดยตรงซึ่งสามารถเดินทางโดยรถทัวประจำทางและสายการบินต่างๆคือ
- สายการบิน thai air asia โดยลงที่สนามบินจังหวัดสุราษฎร์ธานี ต่อรถสาย พุนพิน-พนม
- สายการบิน การบินไทย โดยลงที่สนามบินจังหวัดสุราษฎร์ธานี ต่อรถสาย พุนพิน-พนม
- สายการบิน bangkok airways โดยลงที่สนามบินเอกชนนานาชาติสมุย ต่อรถตู้สาย สุราษฎร์-เขาสก-เขื่อนรัชประภา-สมุย
- กรุงเทพฯ-ภูเก็ต โดยบริษัทภูเก็ตเซนทัลทัวร์
- กรุงเทพฯ-ภูเก็ต โดยบริษัทบริษัทภูเก็ตท่องเที่ยว
- กรุงเทพฯ-กระบี่ โดยบริษัทลิกไนต์ทัวร์
การคมนาคมติดต่อระหว่างอำเภอและจังหวัดมีทางหลวงแผ่นดิน 3 เส้นทางคือ
- ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 401 (สุราษฎร์ – ตะกั่วป่า)
- ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 415 (อำเภอพนม – เขาต่อ)
- ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4118 (อำเภอพนม– ทับปุด)
สถานที่ท่องเที่ยว
แก้อำเภอพนมนั้นเป็นอำเภอที่อุดมไปด้วยทรัพยากรป่าไม้ที่ยังคงความอุดมสมบูรณ์ก่อกำเนิดให้มีแหล่งท่องเที่ยวต่าง ๆมากมาย โดยมีพื้นที่อุทยานแห่งชาติถึงสองแห่งคือ อุทยานแห่งชาติคลองพนม และอุทยานแห่งชาติเขาสก ซึ่งเป็นถิ่นกำเนิดแห่งแรกและแห่งเดียวของดอกบัวผุดดอกไม้ประจำจังหวัดสุราษฎร์ธานี ด้วยความงามของธรรมชาติและขุนเขาทำให้มีคำขวัญที่ว่า ภูเขาสวย รวยเขาเสียบหมอก อีกทั้งยังได้รับสมญานามว่า กุ้ยหลินเมืองไทยจากทัศนียภาพบนเขื่อนรัชประภา โดยเป็นส่วนหนึ่งของอุทยานแห่งชาติเขาสก การเดินทางจากตัวเมืองสุราษฎร์ธานีใช้เส้นทางสุราษฎร์ธานี-ตะกั่วป่า (ทางหลวงหมายเลข 401) สถานที่ท่องเที่ยวต่างๆมีดังนี้
- อุทยานแห่งชาติเขาสก
- น้ำตกวิ่งหิน
- น้ำตกแม่ยาย
- น้ำตกสิบเอ็ดชั้น
- น้ำตกธารสวรรค์
- น้ำตกโตนกลอย
- น้ำตกโตนไทร
- ตั้งน้ำ
- ดอกบัวผุด (ดอกไม้ประจำจังหวัดสุราษฎร์ธานี)
- เส้นทางศึกษาธรรมชาติ สันยางร้อย
- เส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติ อุทยานแห่งชาติเขาสก
- ถ้ำค้างคาว
- เส้นทางศึกษาธรรมชาติ ทางน้ำล่องแก่งน้ำตกบางหัวแรด-ลำคลองศก
- เขื่อนรัชชประภา
- เส้นทางศึกษาธรรมชาติ ทางน้ำล่องลำน้ำคลองศก (วังมัจฉา-บ้านเชียวปง)
- ถ้ำน้ำทะลุ ตั้งอยู่พื้นหน่วยพิทักษ์ อช.เขาสกที่ ขส.4 ริมอ่างเก็บน้ำเชี่ยวหลาน
- ถ้ำประกายเพชร ภายในอ่างเก็บน้ำเขื่อนรัชชประภา
- ถ้ำสี่รู ตั้งอยู่พื้นหน่วยพิทักษ์ อช.เขาสกที่ ขส.4 ริมอ่างเก็บน้ำเชี่ยวหลาน
- อุทยานแห่งชาติคลองพนม
- ถ้ำแก้ว
- ถ้ำนอน และถ้ำน่าน มีหินงอกหินย้อยที่ดูเป็นประกายพราวด้วยแร่ไมกา
- ไผ่เฉียงรุน ไผ่ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศ ตั้งอยู่อุทยานแห่งชาติคลองพนม
- เส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติ อุทยานแห่งชาติคลองพนม
- น้ำตกเขาวงก์
- น้ำตกคีรีวงษ์และถ้ำคีรีวงษ์
- น้ำตกช่องยูง
- เส้นทางศึกษาธรรมชาติ ต้นไม้ใหญ่
- เส้นทางศึกษาธรรมชาติ ทางน้ำล่องแก่งลำน้ำคลองพนม-บ้านเบญจา
- ถ้ำนางพันธุรัต
- วัดถ้ำวราราม
- Maria Auxilium Christianorum หมู่บ้านทับคริสต์
- ภูเขาพันธุรัตน์
- น้ำตกบางเลียบน้ำ
- น้ำตกบางหัวแรด
- ถ้ำเขาวง (ตำบลต้นยวน)
- บ่อน้ำดันทรายดูด (ตำบลต้นยวน
- น้ำตกโตนชัน (ตำบลพลูเถื่อน)
- น้ำตกห้าชั้น (ตำบลพลูเถื่อน)
- น้ำตกถ้ำลิง (ตำบลพลูเถื่อน)
- น้ำตกวังช้าง (ตำบลคลองชะอุ่น)
- อุทยานธรรมเขานาในหลวง