จังหวัดกระบี่
กระบี่ เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคใต้ของประเทศไทย เป็นเมืองท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงแห่งหนึ่งของภาคใต้ มีแหล่งท่องเที่ยวหลายแห่ง เช่น หาดทรายขาว น้ำทะเลใส ปะการัง ถ้ำ และหมู่เกาะน้อยใหญ่กว่า 100 เกาะ และเป็นที่ตั้งของเรือนรับรองที่ประทับแหลมหางนาค
จังหวัดกระบี่ | |
---|---|
คำขวัญ: กระบี่เมืองน่าอยู่ ผู้คนน่ารัก[1] | |
อักษรไทย | กระบี่ |
อักษรโรมัน | Krabi |
การปกครอง | |
• ผู้ว่าราชการ | พันตำรวจโท หม่อมหลวง กิติบดี ประวิตร (ตั้งแต่ พ.ศ. 2560) |
พื้นที่[2] | |
• ทั้งหมด | 4,708.512 ตร.กม. (1,817.967 ตร.ไมล์) |
อันดับพื้นที่ | อันดับที่ 45 |
ประชากร (พ.ศ. 2562)[3] | |
• ทั้งหมด | 476,739 คน |
• อันดับ | อันดับที่ 60 |
• ความหนาแน่น | 101.25 คน/ตร.กม. (262.2 คน/ตร.ไมล์) |
• อันดับความหนาแน่น | อันดับที่ 50 |
รหัสไอเอสโอ 3166 | TH-81 |
สัญลักษณ์ประจำจังหวัด | |
• ต้นไม้ | ทุ้งฟ้า |
• ดอกไม้ | ทุ้งฟ้า |
• สัตว์น้ำ | หอยชักตีน |
ศาลากลางจังหวัด | |
• ที่ตั้ง | ถนนอุตรกิจ ตำบลปากน้ำ อำเภอเมืองกระบี่ จังหวัดกระบี่ 81000 |
• โทรศัพท์ | 0 7561 1144 |
• โทรสาร | 0 7562 2138 |
เว็บไซต์ | http://www.krabi.go.th/ |
![]() |
สัญลักษณ์ประจำจังหวัดแก้ไข
- อักษรย่อ : กบ
- คำขวัญประจำจังหวัด : กระบี่เมืองน่าอยู่ ผู้คนน่ารัก
- ตราประจำจังหวัด : รูปกระบี่ไขว้ เบื้องหลังมีภูเขาและทะเล กระบี่ไขว้ หมายถึง อาวุธโบราณซึ่งมีผู้ค้นพบในท้องที่จังหวัด จำนวน 2 เล่ม ภูเขา หมายถึง เขาพนมเบญจาซึ่งเป็นภูเขาสูงสุดของกระบี่ ซับซ้อนกันถึง 5 ยอด จึงเรียกว่า พนมเบญจา มีเมฆปกคลุมตลอดเวลา และกั้นเขตแดนกับจังหวัดอื่น ส่วนทะเล หมายถึง อาณาเขตอีกด้านหนึ่งของกระบี่ซึ่งติดกับฝั่งทะเลอันดามันหรือมหาสมุทรอินเดีย
- ต้นไม้ประจำจังหวัด : ต้นทุ้งฟ้า (Alstonia macrophylla)
- ดอกไม้ประจำจังหวัด : ดอกทุ้งฟ้า
- สัตว์น้ำประจำจังหวัด : หอยชักตีนหรือหอยสังข์ตีนเดียว (Laevistrombus canarium)
ที่ตั้งแก้ไข
เป็นจังหวัดที่ตั้งอยู่ริมฝั่งทะเลอันดามัน อยู่ห่างจากกรุงเทพฯ 814 กิโลเมตร ตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4 (ถนนเพชรเกษม) มีเนื้อที่ 4,708 ตารางกิโลเมตร ประกอบด้วยภูเขา ที่ดอน ที่ราบ หมู่เกาะน้อยใหญ่ กว่า 154 เกาะ อุดมไปด้วยป่าชายเลน ตัวเมืองกระบี่มีแม่น้ำ ยาวประมาณ 5 กิโลเมตร ไหลผ่านลงสู่ทะเลอันดามัน ที่ตำบลปากน้ำ นอกจากนี้ยังมีคลองปกาสัย คลองกระบี่ใหญ่ และคลองกระบี่น้อย มีต้นกำเนิดจากยอดเขาที่สูงที่สุดในจังหวัดกระบี่ คือ เขาพนมเบญจา
สภาพภูมิประเทศแก้ไข
สภาพภูมิประเทศโดยทั่วไปของจังหวัดกระบี่ ทางตอนเหนือประกอบด้วยเทือกเขายาวทอดตัวไปในแนวเหนือใต้ สลับกับสภาพพื้นที่แบบลูกคลื่นลอนลาด และลอนชัน มีที่ราบชายฝั่งทะเลด้านตะวันตก บริเวณทางใต้ มีสภาพภูมิอากาศเป็นภูเขากระจัดกระจาย สลับกับพื้นที่แบบลูกคลื่น ส่วนบริเวณทางตอนใต้สุดและตะวันตกเฉียงใต้ มีสภาพพื้นที่เป็นแบบลูกคลื่นลอนลาดจนถึงค่อนข้างเรียบ และมีภูเขาสูงๆต่ำๆ สลับกันไป บริเวณด้านตะวันตกมีลักษณะ เป็นชายฝั่งติดกับทะเลอันดามันยาวประมาณ 160 กิโลเมตร. ประกอบด้วยหมู่เกาะน้อยใหญ่ประมาณ 130 เกาะ แต่เป็นเกาะที่มีประชากรอาศัยอยู่ประมาณ 13 เกาะ เกาะที่สำคัญได้แก่ เกาะลันตา เป็นที่ตั้งของอำเภอเกาะลันตา และเกาะพีพี ซึ่งอยู่ในเขตอำเภอเมือง เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่สวยงามติดอันดับของโลก บริเวณตัวเมืองมีแม่น้ำกระบี่ ยาวประมาณ 5 กิโลเมตร. ไหลผ่านลงสู่ทะเลอันดามัน ที่ ตำบลปากน้ำ นอกจากนี้ยังมีคลองปกาสัย คลองกระบี่ใหญ่ และคลองกระบี่น้อย ซึ่งมี่ต้นกำเนิดมาจากเทือกเขาพนมเบญจา เทือกเขาที่สูงที่สุดในจังหวัดกระบี่
สภาพภูมิอากาศแก้ไข
จังหวัดกระบี่ มีภูมิอากาศแบบมรสุมเขตร้อน ซึ่งได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ และลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ทำให้มีฝนตกชุกตลอดปี และมีเพียง 2 ฤดู คือ - ฤดูร้อน มี 4 เดือน เริ่มตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน ไปจนถึงเดือนพฤษภาคม - ฤดูฝน มี 8 เดือน เริ่มตั้งแต่เดือนมิถุนายน ไปจนถึงเดือนตุลาคม
อาณาเขตแก้ไข
ทิศเหนือ จดจังหวัดพังงาและจังหวัดสุราษฎร์ธานีทางด้านอำเภอปลายพระยา และอำเภอเขาพนม
ทิศใต้ จดจังหวัดตรังและทะเลอันดามันทางด้านอำเภอเกาะลันตา อำเภอเมืองกระบี่ และอำเภอเหนือคลอง
ทิศตะวันออก จดจังหวัดนครศรีธรรมราชและจังหวัดตรังทางด้านอำเภอเขาพนม อำเภอคลองท่อม และอำเภอลำทับ
ทิศตะวันตก จดจังหวัดพังงาและทะเลอันดามันทางด้านอำเภออ่าวลึก และอำเภอเมืองกระบี่
ประวัติศาสตร์แก้ไข
จากหลักฐานทางโบราณคดี สันนิษฐานได้ว่าบริเวณเมืองกระบี่เคยเป็นแหล่งชุมชนโบราณที่เก่าแก่มากแห่งหนึ่งในประเทศไทย ตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์และต่อเนื่องมาจนถึงสมัยประวัติศาสตร์ นอกจากนี้ยังมีข้อสันนิษฐานเกี่ยวกับชื่อเมืองกระบี่ว่า อาจมาจากความหมายที่แปลว่าดาบ เนื่องจากมีตำนานเล่าสืบต่อกันมาเกี่ยวกับการขุดพบมีดดาบโบราณก่อนที่จะสร้างเมือง
หน่วยการปกครองแก้ไข
การปกครองแบ่งออกเป็น 8 อำเภอ 53 ตำบล 389 หมู่บ้าน
การปกครองส่วนท้องถิ่นแก้ไข
มีการแบ่งการปกครองส่วนท้องถิ่น ดังนี้
เทศบาลเมืองแก้ไข
รายนามเจ้าเมืองและผู้ว่าราชการจังหวัดกระบี่แก้ไข
- หลวงเทพเสนา
- พระยาอิศราธิชัย
- พระพนธิพยุหสงคราม (กลิ่น ณ นคร)
- พระบริรักษ์ภูธร
- พระเทพ (กระต่าย ณ นคร)
- นายกลับ ณ นคร (ผู้รั้ง)
- พระยาอุตรกิจวิจารณ์
- พระพนธิพยุหสงคราม (พลอย ณ นคร)
- พระยาอิศราธิชัย (หมี ณ ถลาง)
- พระระนองบุรีศรีสมุทรเขต (คลองอยู่โหย ณ ระนอง) 1 มี.ค. 2468 - 16 พ.ค. 2473
- พระทวีธุระประศาสตร์ (จอน พรหมบุตร) 17 พ.ค. 2473 - 18 มิ.ย. 2476
- พระบรรหารวรพจน์ (บุญนาค คตเดชะ) 19 มิ.ย. 2476 - 30 พ.ย. 2478
- ขุนไมตรีประชารักษ์ (ไมตรี พิจิตรนรการ) 20 ธ.ค. 2478 - 2 พ.ย. 2484
- นายออม ธีญะระ 1 มิ.ย. 2484 - 11 ก.ค. 2485
- นายวิจารณ์ วิจารณ์นิกรกิจ 9 ก.ย. 2485 - 24 ก.ค. 2487
- นายสมบูรณ์ จันทร์ประทับ 2 มี.ค. 2487 - 1 ก.ค. 2489
- นายจันทร์ สมบูรณ์กุล 7 ต.ค. 2489 - 6 ธ.ค. 2490
- นายวิเวก จันทโรจวงศ์ 6 ธ.ค. 2490 - 10 มิ.ย. 2497
- นายเฉลิม ยูปานนท์ 15 มิ.ย. 2497 - 18 พค. 2498
- นายอ้วน สุรกุล 2 ก.ย. 2498 - 20 พ.ค. 2501
- นายประจักษ์ วัชรปาณ 20 พ.ค. 2501 - 1 ก.ค. 2503
- นายเคลื่อน จิตรสำเริง 2 ก.ค. 2503 - 27 ต.ค. 2506
- นายพุก ฤกษ์เกษม 28 ต.ค. 2506 - 30 ก.ย. 2511
- นายเหรียญ สร้อยสนธิ์ 2 ต.ค. 2511 - 30 ก.ย. 2513
- นายเฉลิม สุวรรณเนตร 1 ต.ค. 2513 - 30 ก.ย. 2515
- นายวัชระ สิงคิวิบูลย์ 2 ต.ค. 2515 - 5 ต.ค. 2516
- นายฉลอง กัลยาณมิตร 8 ต.ค. 2516 - 3 ต.ค. 2518
- นายกระจ่าง คีรินทรนนท์ 9 ต.ค. 2518 - 30 ก.ย. 2520
- นายเจริญจิตต์ ณ สงขลา 1 ต.ค. 2520 - 30 ก.ย. 2521
- นายดิเรก ดิเรกวัฒนะ 1 ต.ค. 2521 - 21 ก.ย. 2522
- นายเชิด ดิฐานนท์ 1 ต.ค. 2522 - 30 ก.ย. 2523
- เรือตรีสุกรี รักษ์ศรีทอง 1 ต.ค. 2523 - 30 เม.ย. 2526
- นายบุญช่วย หุตะชาต 1 พ.ค. 2526 - 30 ก.ย. 2529
- นายมังกร กองสุวรรณ 1 ต.ค. 2529 - 30 ก.ย. 2531
- นายกนก ยะสารวรรณ 1 ต.ค. 2531 - 30 ก.ย. 2533
- พันตรีประโยชน์ สุดจินดา 1 ต.ค. 2533 - 30 ก.ย. 2535
- นายวีระ รอดเรือง 1 ต.ค. 2535 - 30 ก.ย. 2537
- นายศิระ ชวนะวิรัช 1 ต.ค. 2537 - 30 ก.ย. 2538
- นายสถิตย์ แสงศรี 1 ต.ค. 2538 - 30 เม.ย. 2540
- นายสมบูรณ์ สุขสำราญ 1 พ.ค. 2540 - 11 ม.ค. 2541
- นายศิระ ชวนะวิรัช 12 ม.ค. 2541 - 30 กย. 2544
- นายสมาน กลิ่นเกษร 1 ต.ค. 2544 - 30 ก.ย. 2546
- นายอำนวย สงวนนาม 1 ต.ค. 2546 - 30 ก.ย. 2547
- นายอานนท์ พรหมนารท 1 ต.ค. 2547 - 30 ก.ย. 2548
- นายสนธิ เตชานันท์ 1 ต.ค. 2548 - 12 พ.ย. 2549
- นายศิวะ ศิริเสาวลักษณ์ 13 พ.ย. 2549 - 30 ก.ย. 2552
- นายประสิทธิ์ โอสถานนท์ 1 ต.ค. 2552 - 30 ก.ย. 2557
- นายทรงพล สวาสดิ์ธรรม 1 ต.ค. 2557 - 30 ก.ย. 2558
- นายพินิจ บุญเลิศ 1 ต.ค. 2558 - 30 ก.ย. 2560
- พันตำรวจโท หม่อมหลวงกิติบดี ประวิตร 1 ต.ค. 2560 - ปัจจุบัน
การคมนาคมแก้ไข
1.โดยรถยนต์ส่วนตัว - จากกรุงเทพฯ ใช้ทางหลวงหมายเลข 4 ผ่านจังหวัดเพชรบุรี-ประจวบคีรีขันธ์-ชุมพร-ระนอง-พังงา-กระบี่ ระยะทาง 946 กิโลเมตร - จากกรุงเทพฯ ใช้ทางหลวงหมายเลข 4 ถึงจังหวัดชุมพร จากชุมพรใช้ทางหลวงหมายเลข 41 ผ่านอำเภอหลังสวน อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี เข้าอำเภอบ้านนาเดิมใช้ทางหลวงหมายเลข 44 ถึงอำเภออ่าวลึก แล้ววกเข้าทางหลวงหมายเลข 4 อีกครั้งหนึ่ง ถึงจังหวัดกระบี่ ระยะทาง 783 กิโลเมตร -จากภูเก็ตการเดินทางโดยรถยนต์จากภูเก็ต ใช้ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 402 และหมายเลข 4 ระยะทาง 176 กิโลเมตร
- เพิ่มเติมเส้นทาง
สามารถไปได้ 3 เส้นทาง คือ
เส้นทางที่ 1 จากกรุงเทพฯ ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 4 (ถ.เพชรเกษม) ผ่าน จ.เพชรบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์ จ.ชุมพร จ.ระนอง จ.พังงา จนถึง จ.กระบี่ ระยะทาง 946 กิโลเมตร
เส้นทางที่ 2 จากกรุงเทพฯ ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 4 (ถ.เพชรเกษม) ถึง จ.ชุมพร แล้วต่อด้วยเส้นทางหลวงหมายเลข 41 ผ่าน อ.หลังสวน จ.ชุมพร เข้าสู่ อ.ไชยา อ.เวียงสระ จ.สุราษฏร์ธานี จากนั้นใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 4035 ถึง อ.อ่าวลึก แล้ววกเข้าสู่ทางหลวงหมายเลข 4 อีกครั้ง เข้าสู่ จ.กระบี่ ระยะทาง 814 กิโลเมตร
เส้นทางที่3 จากจังหวัดภูเก็ต ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 402 ต่อด้วยทางหลวงหมายเลข 4 ผ่าน ต.โคกกลอย อ.ตะกั่วทุ่ง อ.ทับปุด จ.พังงา เข้าสู่ อ.อ่าวลึก จ.กระบี่ ระยะทาง 185 กิโลเมตร
2.รถโดยสารประจำทาง มีรถโดยสารปรับอากาศของบริษัท ขนส่ง จำกัด และของเอกชน บริษัท ลิกไนท์ ทัวร์ สายกรุงเทพฯ-กระบี่ ออกจากสถานีขนส่งสายใต้ ถนนบรมราชชนนี ทุกวัน วันละหลายเที่ยว ใช้เวลาเดินทางประมาณ 11-12 ชั่วโมง
3.เส้นทางรถไฟ
จากสถานีรถไฟกรุงเทพ(หัวลำโพง) ลงได้ 3 สถานี คือ
1.สถานีรถไฟพุนพิน จ.สุราษฎร์ธานี แล้วเดินทางต่อโดยรถยนต์โดยสาร ไปยัง จ.กระบี่ ระยะทางประมาณ 160 กิโลเมตร
2.ชุมทางทุ่งสง จ.นครศรีธรรมราช แล้วเดินทางต่อโดยรถยนต์โดยสาร ไปยัง จ.กระบี่ ระยะทางประมาณ 150 กิโลเมตร
3.สถานีรถไฟตรัง จ.ตรัง แล้วเดินทางต่อโดยรถยนต์โดยสาร ไปยัง จ.กระบี่ ระยะทางประมาณ 138 กิโลเมตร
4.โดยเครื่องบิน
ปัจจุบันมีสายการบินภายในประเทศ คือ การบินไทย แอร์เอเชีย บางกอกแอร์เวย์ ไทยแอร์เอเชีย นกแอร์ ไทยไลอ้อนแอร์ ไทยเวียดเจ็ท ไทยสไมล์
ระยะทางจากตัวจังหวัดไปอำเภอต่างๆแก้ไข
- อำเภอเหนือคลอง 18 กิโลเมตร
- อำเภอเขาพนม 34 กิโลเมตร
- อำเภอคลองท่อม 40 กิโลเมตร
- อำเภออ่าวลึก 45 กิโลเมตร
- อำเภอลำทับ 59 กิโลเมตร
- อำเภอปลายพระยา 66 กิโลเมตร
- อำเภอเกาะลันตา 78 กิโลเมตร
สถานที่ท่องเที่ยวแก้ไข
- เขาขนาบน้ำ
- อุทยานแห่งชาติหาดนพรัตน์ธารา-หมู่เกาะพีพี
- เกาะจำ เกาะปู
- หาดไรเลย์
- หาดคลองม่วง
- หาดทับแขก
- หาดนพรัตน์ธารา
- ทะเลแหวก
- เกาะปอดะ
- เกาะไม้ไผ่
- เกาะไก่
- เกาะห้า
- เกาะห้อง
- เกาะรอกใน
- เกาะยูง
- เกาะตะละเบ็ง
- อ่าวท่าเลน
- คลองสระแก้ว บ้านในสระ
- คลองน้ำใส หนองทะเล
- หินแดง - หินม่วง
- หมู่เกาะปอดะ
- ถ้ำเสด็จ
- ถ้ำเพชร
- ถ้ำเขาผึ้ง
- ถ้ำลอดเหนือ-ถ้ำลอดใต้
- ถ้ำผีหัวโต
- น้ำตกห้วยโต้
- ป่าทุ่งเตียว
- สุสานหอย75ล้านปี
- ถ้ำเสือเขาแก้ว
- อุทยานแห่งชาติเขาพนมเบญจา
- อุทยานแห่งชาติธารโบกขรณี
- พิพิธภัณฑ์สถานวัดคลองท่อม
- น้ำตกร้อน
- สระมรกต
- เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาประ-บางคราม
- อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะลันตา
- ท่าปอมคลองสองน้ำ
- วัดมหาธาตุวชิรมงคล
ชาวกระบี่ที่มีชื่อเสียงแก้ไข
นักการเมืองแก้ไข
- พิเชษฐ พันธุ์วิชาติกุล - นักการเมือง
- วาสนา บุญภูพันธ์ตันติ - นักการเมือง
- สเสฏฐสิฏฐ สิทธิมนต์ - นักการเมือง
- สาคร เกี่ยวข้อง
- สุชีน เอ่งฉ้วน
- อาคม เอ่งฉ้วน
- อภิชาติ ดำดี - นักพูด นักจัดรายการชาวไทย และอดีตสมาชิกวุฒิสภา
ภาคเอกชนแก้ไข
- วัฒนา ธนาศักดิ์เจริญ - รองประธานหอการค้าไทย, ประธานพัฒนาเศรษฐกิจภาคใต้
นักร้อง นักแสดงแก้ไข
- ศิวัฒน์ บุญมา - นักแสดง พิธีกร
- อะรีด อาร์ สยาม - นักร้อง
- ณัชชา อารีย์รัก - นักแสดง
- ปุญญลักขณ์ ศุภธรรมรัตน์ - นักแสดง
- ณัฐพิมล นาฏยลักษณ์ - นักแสดง นางแบบ มิสยูนิเวิร์สไทยแลนด์
- พรทิพย์ ปาปะนัย - นักแสดง นางแบบ
- วินัย ไกรบุตร - นักแสดง
- ปาเมล่า ปาสิเนตตี้ - นางแบบ มิสแกรนด์กระบี่ มิสแกรนด์ไทยแลนด์ ปี 2017
- บุญมา ศรีหมาด - ผู้ประกาศข่าว สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย
นักกีฬาแก้ไข
- ซัดดัม เกียรติยงยุทธ - นักมวย
- ซารีฟ สายนุ้ย - นักฟุตบอลชาวไทย
- ถ้ำเพชร เอ็ม 100 - นักมวย
- ธวัชชัย ดำรงค์อ่องตระกูล - นักฟุตบอลทีมชาติไทย
- นกน้อย สิทธิประเสริฐ - นักมวย
อ้างอิงแก้ไข
- ↑ กลุ่มงานข้อมูลสารสนเทศและการสื่อสาร. สำนักงานจังหวัดกระบี่. "ข้อมูลจังหวัดกระบี่: สัญลักษณ์จังหวัด." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.krabi.go.th/men/logo.htm [ม.ป.ป.]. สืบค้น 21 เมษายน 2553.
- ↑ ศูนย์สารสนเทศเพื่อการบริหารและงานปกครอง. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ข้อมูลการปกครอง." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.dopa.go.th/padmic/jungwad76/jungwad76.htm [ม.ป.ป.]. สืบค้น 18 เมษายน 2553.
- ↑ กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2562." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.bora.dopa.go.th/stat/pk/pk_57.pdf 2563. สืบค้น 8 กุมภาพันธ์ 2563.