พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย

อดีตพระมหากษัตริย์กรุงรัตนโกสินทร์

พระบาทสมเด็จพระบรมราชพงษเชษฐมเหศวรสุนทร พระพุทธเลิศหล้านภาลัย (24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2311 – 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2367; ครองราชย์ 8 กันยายน พ.ศ. 2352[2] – 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2367) เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ 4 ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช และเป็นกษัตริย์รัชกาลที่ 2 ของสยามในสมัยราชวงศ์จักรีและทรงเป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 46 ตามประวัติศาสตร์ไทย ปกครองระหว่าง พ.ศ. 2352 ถึง พ.ศ. 2367 ในปี พ.ศ. 2352 เจ้าฟ้าฉิมหรือกรมหลวงอิศรสุนทรพระราชโอรสองค์โตสืบราชบัลลังก์ต่อจากรัชกาลที่ 1 พระราชบิดาผู้สถาปนาราชวงศ์จักรีเป็นพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชสมัยของพระองค์สงบสุข ปราศจากความขัดแย้ง รัชสมัยของพระองค์เป็น "ยุคทองของวรรณคดี" เนื่องจากพระองค์ทรงอุปถัมภ์กวีหลายคนในราชสำนัก และพระองค์เองก็มีชื่อเสียงในฐานะกวีและศิลปิน กวีที่โดดเด่นที่สุดในราชสำนักคือสุนทรภู่[3]

พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
พระบรมสาทิสลักษณ์ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ประดิษฐาน ณ พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท
พระเจ้ากรุงศรีอยุธยา[1]
ครองราชย์8 กันยายน พ.ศ. 2352 – 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2367
(14 ปี 316 วัน)
ราชาภิเษก17 กันยายน พ.ศ. 2352
ก่อนหน้าพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
ถัดไปพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระมหาอุปราชสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาเสนานุรักษ์
สมุหนายก
สมุหพระกลาโหม
กรมพระราชวังบวรสถานมงคล
ดำรงพระยศ15 มีนาคม พ.ศ. 2350 – 7 กันยายน พ.ศ. 2352
(2 ปี 176 วัน)
รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
อุปราชาภิเษก15 มีนาคม พ.ศ. 2350
ก่อนหน้าสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท
ถัดไปสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาเสนานุรักษ์
พระราชสมภพ24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2311
บ้านอัมพวา เมืองสมุทรสงคราม อาณาจักรธนบุรี (ปัจจุบัน อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม ประเทศไทย)
สวรรคต21 กรกฎาคม พ.ศ. 2367 (56 พรรษา)
พระที่นั่งจักรพรรดิพิมาน พระราชวังหลวง กรุงเทพพระมหานคร อาณาจักรรัตนโกสินทร์ (ปัจจุบัน พระบรมมหาราชวัง กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย)
ถวายพระเพลิงพ.ศ. 2368
พระเมรุมาศ ทุ่งพระเมรุ
บรรจุพระบรมอัฐิหอพระธาตุมณเฑียร
พระภรรยาเจ้า
สนม
พระราชบุตร73 พระองค์
พระนามเดิม
ฉิม
พระนามหลังสวรรคต
พระบาทสมเด็จพระบรมราชพงษเชษฐมเหศวรสุนทร ไตรเสวตรคชาดิศรมหาสวามินทร์ สยารัษฎินทรวโรดม บรมจักรพรรดิราช พิลาศธาดาราชาธิราช บรมนารถบพิตร พระพุทธเลิศหล้านภาไลย
วัดประจำรัชกาล
วัดอรุณราชวราราม
พระพุทธรูปประจำพระชนมวาร
พระพุทธรูปปางอุ้มบาตร
ราชวงศ์จักรี
พระราชบิดาพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
พระราชมารดาสมเด็จพระอมรินทราบรมราชินี
ศาสนาเถรวาท

พระนาม

 
ตราประจำพระองค์รัชกาลที่ 2 เป็นรูปครุฑยุดนาค ณ วัดอรุณราชวราราม กรุงเทพมหานคร

หลังพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชเสด็จสวรรคต เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทรได้สืบทอดบัลลังก์ในทันทีพร้อมด้วยพระนามชั่วคราวว่า สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว กรมพระราชวังบวรสถานมงคล[4] ซึ่งต่อมาได้กลายเป็นราชประเพณีว่าพระมหากษัตริย์ที่ยังไม่ได้ผ่านพิธีพระบรมราชาภิเษกจะได้รับพระอิสริยยศชั่วคราวเป็น สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว แทน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยมีพระนามเต็มเมื่อทรงรับการบรมราชาภิเษกแล้วว่า พระบาทสมเด็จพระบรมราชาธิราชรามาธิบดี ศรีสินทรบรมมหาจักรพรรดิราชาธิบดินทร์ ธรณินทราธิราช รัตนากาศภาสกรวงศ์ องค์ปรมาธิเบศ ตรีภูวเนตรวรนายก ดิลกรัตนราชชาติอาชาวศรัย สมุทัยดโรมนต์ สากลจักรวาฬาธิเบนทร สุริเยนทราธิบดินทร์ หริหรินทรา ธาดาธิบดี ศรีวิบูลยคุณอกนิษฐ ฤทธิราเมศวรมหันต บรมธรรมิกราชาธิราชเดโชชัย พรหมเทพาดิเทพนฤบดินทร์ ภูมิทรปรมาธิเบศ โลกเชษฐวิสุทธิ รัตนมกุฎประกาศ คตามหาพุทธางกูรบรมบพิตร พระพุทธเจ้าอยู่หัว ซึ่งเหมือนกับพระปรมาภิไธยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทุกตัวอักษร เนื่องจากในเวลานั้น ยังไม่มีธรรมเนียม ที่จะต้องมีพระปรมาภิไธยแตกต่างกันในแต่ละพระองค์

ในพระราชกำหนด สักเลข ขานพระนามว่า พระบาทสมเด็จพระบรมธรรมิกราชา นราธิบดี ศรีสุริยวงษ์ องคราเมศวรราช บรมนารถบรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัว

ในพระราชกำหนด ห้ามมิให้สูบแลชื้อขายฝิ่น ขานพระนามว่า พระบาทสมเด็จพระบรมธรรมิกราชาธิบดี ศรีวิสุทธิคุณ วิบุลยปรีชา ฤทธิราเมศวรราช บรมนารถบรมพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัว

ต่อมาพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ออกพระนามรัชกาลที่ 2 ว่าพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้าสุลาลัย ตามนามของพระพุทธรูปที่ทรงโปรดให้สร้างอุทิศถวาย[5] และต่อมาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนสร้อยพระนามเป็น "นภาลัย" และเฉลิมพระปรมาภิไธยใหม่เป็น พระบาทสมเด็จพระบรมราชพงษเชษฐ มเหศวรสุนทร ไตรเสวตรคชาดิศรมหาสวามินทร์ สยารัษฎินทรวโรดม บรมจักรพรรดิราช พิลาศธาดาราชาธิราช บรมนารถบพิตร พระพุทธเลิศหล้านภาไลย[6]

ต่อมาวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2459 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้เฉลิมพระปรมาภิไธยอย่างสังเขปเป็น พระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาอิศรสุนทร พระพุทธเลิศหล้านภาไลย[7]

พระราชประวัติ

  พระมหากษัตริย์ราชวงศ์จักรี
 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
 พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
 พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล
พระอัฐมรามาธิบดินทร
 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร
มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
 พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว

ก่อนครองราชย์

พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย มีพระนามเดิมว่า ฉิม พระราชสมภพเมื่อวันพุธ ขึ้น 7 ค่ำ เดือน 4 ปีกุน นพศก จ.ศ. 1129 ตรงกับวันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2311 เป็นพระราชโอรสพระองค์ใหญ่ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (ขณะทรงมีบรรดาศักดิ์เป็นหลวงยกรบัตรเมืองราชบุรี) ประสูติแต่ท่านผู้หญิงนาค (ภายหลังเฉลิมพระนามเป็นสมเด็จพระอมรินทราบรมราชินี) เมื่อเจริญพระชนม์ได้ทรงศึกษาในสำนักพระพนรัตน์ (ทองอยู่) วัดบางว้าใหญ่ และได้ติดตามสมเด็จพระบรมชนกนาถไปในการสงครามทุกครั้ง[8]

ในปี พ.ศ. 2325 เมื่อสมเด็จพระบรมชนกนาถปราบดาภิเษกเป็นปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรีแล้ว จึงได้รับสถาปนาเป็นสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร[9] ถึงวันอาทิตย์ ขึ้น 7 ค่ำ เดือน 4 ปีขาล พ.ศ. 2349 (นับแบบปัจจุบันเป็นวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2350) เมื่อสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท เสด็จทิวงคต สมเด็จพระบรมชนกนาถจึงให้รับอุปราชาภิเษกเป็นกรมพระราชวังบวรสถานมงคล[10]

ครองราชย์

 
ทิวทัศน์ของเมืองกรุงรัตนโกสินทร์ ในปี พ.ศ. 2365
 
ขณะทรงช้าง ในจิตรกรรมฝาผนังวัดช่องนนทรี ใช้แบ่งภาพนี้เรียกว่า สินเทา

เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชประชวรพระโสภะอยู่ 3 ปีก็เสด็จสวรรคต[11]ในวันที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2352 ขณะมีพระชนมพรรษาได้ 73 พรรษา นับเวลาในการเสด็จครองราชย์ได้นานถึง 27 ปี สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชกรมพระราชวังบวรสถานมงคลจึงได้สำเร็จราชการแผ่นดินต่อมา เมื่อจัดการพระบรมศพเสร็จแล้ว พระบรมวงศานุวงศ์ขุนนางและพระราชาคณะจึงกราบบังคมทูลเชิญเสด็จขึ้นผ่านพิภพ[12]

ต่อมาวันที่ 10 กันยายน พบหนังสือฟ้องว่าเจ้าฟ้ากรมขุนกระษัตรานุชิตกับพวกร่วมกันคิดการขบถ ไต่สวนแล้วโปรดให้ประหารชีวิตทั้งหมดในวันที่ 13 กันยายน[13]

การพระราชพิธีบรมราชาภิเษกจัดขึ้นในวันที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2352 โดยย้ายมาทำพิธีที่หมู่พระที่นั่งจักรพรรดิพิมาน เนื่องจากพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาทซึ่งสร้างขึ้นแทนพระที่นั่งอมรินทราภิเษกมหาปราสาทอันเป็นสถานที่ทำพิธีปราบดาภิเษกของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชนั้นใช้เป็นสถานที่ประดิษฐานพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชอยู่ ในรัชกาลต่อ ๆ มาจึงใช้หมู่พระที่นั่งจักรพรรดิพิมานเป็นสถานที่จัดการพระราชพิธีบรมราชาภิเษกและใช้พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาทเป็นสถานที่ตั้งพระบรมศพ หลังจากเสร็จพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พระองค์จึงเสด็จเลียบพระนครโดยกระบวนพยุหยาตราตามโบราณราชประเพณี[14]

สวรรคต

พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงพระประชวรด้วยโรคพิษไข้ ทรงไม่รู้สึกพระองค์เป็นเวลา 8 วัน[ต้องการอ้างอิง] พระอาการประชวรก็ได้ทรุดลงตามลำดับ และเสด็จสวรรคตเมื่อวันพุธ แรม 11 ค่ำ เดือน 8 ปีวอก ฉศก จ.ศ. 1186 ตรงกับวันที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2367[ต้องการอ้างอิง] สิริพระชนมพรรษาได้ 56 พรรษา และครองราชย์สมบัติได้ 15 ปี พระบรมศพประดิษฐาน ณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท[ต้องการอ้างอิง] และได้มีพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพเมื่อ พ.ศ. 2368 ณ พระเมรุมาศ ท้องสนามหลวง[ต้องการอ้างอิง] ต่อมาพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวได้อัญเชิญพระบรมอัฐิ ไปประดิษฐาน ณ หอพระธาตุมณเฑียร จากนั้นได้นำพระบรมราชสรีรางคารไปบรรจุไว้ใต้พระอุโบสถ วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร[ต้องการอ้างอิง]

พระปรีชาสามารถ

 
พระราชลัญจกรประจำพระองค์

พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงพระปรีชาสามารถในศิลปกรรมด้านต่าง ๆ หลายสาขา[ต้องการอ้างอิง] ดังจะขอยกตัวอย่างต่อไปนี้

ด้านกวีนิพนธ์

 
จิตรกรรมฝาผนังพระที่นั่งพุทไธสวรรย์

ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ได้รับการยกย่องว่า เป็นยุคทองของวรรณคดีสมัยหนึ่งเลยทีเดียว ด้านกาพย์กลอนเจริญสูงสุด จนมีคำกล่าวว่า "ในรัชกาลที่ 2 นั้น ใครเป็นกวีก็เป็นคนโปรด" กวีที่มีชื่อเสียงนอกจากพระองค์เองแล้ว ยังมีกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ (รัชกาลที่ 3) สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส สุนทรภู่ พระยาตรัง และนายนรินทรธิเบศร์ (อิน) เป็นต้น พระองค์มีพระราชนิพนธ์ที่เป็นบทกลอนมากมาย ทรงเป็นยอดกวีด้านการแต่งบทละครทั้งละครในและละครนอก มีหลายเรื่องที่มีอยู่เดิมและทรงนำมาแต่งใหม่เพื่อให้ใช้ในการแสดงได้ เช่น รามเกียรติ์ อุณรุท และอิเหนา โดยเรื่องอิเหนานี้ เรื่องเดิมมีความยาวมาก ได้ทรงพระราชนิพนธ์ใหม่ตั้งแต่ต้นจนจบ เป็นเรื่องยาวที่สุดของพระองค์ วรรณคดีสโมสรในรัชกาลที่ 6 ได้ยกย่องให้เป็นยอดบทละครรำที่แต่งดี ยอดเยี่ยมทั้งเนื้อความ ทำนองกลอนและกระบวนการเล่นทั้งร้องและรำ นอกจากนี้ยังมีละครนอกอื่น ๆ เช่น ไกรทอง สังข์ทอง ไชยเชษฐ์ หลวิชัยคาวี มณีพิชัย สังข์ศิลป์ชัย ได้ทรงเลือกเอาของเก่ามาทรงพระราชนิพนธ์ขึ้นใหม่บางตอน และยังทรงพระราชนิพนธ์บทพากย์โขนอีกหลายชุด เช่น ชุดนางลอย ชุดนาคบาศ และชุดพรหมาสตร์ ซึ่งล้วนมีความไพเราะซาบซึ้งเป็นอมตะใช้แสดงมาจนทุกวันนี้

 
จิตรกรรมรอบพระระเบียงวัดพระศรีรัตนศาสดาราม เรื่อง รามเกียรติ์

ด้านประติมากรรม

 
จิตรกรรมบนบานประตูวัดไพชยนต์พลเสพย์ราชวรวิหาร สมุทรปราการ

นอกจากจะทรงส่งเสริมงานช่างด้านหล่อพระพุทธรูปแล้ว พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยยังได้ทรงพระราชอุตสาหะปั้นหุ่นพระพักตร์ของพระพุทธธรรมมิศรราชโลกธาตุดิลก พระประธานในพระอุโบสถวัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร อันเป็นพระพุทธรูปที่สำคัญยิ่งองค์หนึ่งของไทยด้วยพระองค์เอง ซึ่งลักษณะและทรวดทรงของพระพุทธรูปองค์นี้เป็นแบบอย่างที่ประดิษฐ์คิดค้นขึ้นใหม่ในรัชกาลที่ 2 นี้เอง ส่วนด้านการช่างฝีมือและการแกะสลักลวดลายในรัชกาลของพระองค์ได้มีความเจริญก้าวหน้าไปอย่างมาก และพระองค์เองก็ทรงเป็นช่างทั้งการปั้นและการแกะสลักที่เชี่ยวชาญยิ่งพระองค์หนึ่งอย่างยากที่จะหาผู้ใดทัดเทียมได้ นอกจากฝีพระหัตถ์ในการปั้นพระพักตร์พระพุทธธรรมิศรราชโลกธาตุดิลกแล้ว ยังทรงแกะสลักบานประตูพระวิหารพระศรีศากยมุนี วัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหาร คู่หน้าด้วยพระองค์เองร่วมกับกรมหมื่นจิตรภักดี และทรงแกะหน้าหุ่นหน้าพระใหญ่และพระน้อยที่ทำจากไม้รักคู่หนึ่งที่เรียกว่าพระยารักใหญ่ และพระยารักน้อยไว้ด้วย

ด้านดนตรี

 
องค์ประกอบ ส่วนต่าง ๆ ของซอสามสาย

กล่าวได้ว่า พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยมีพระปรีชาสามารถในด้านนี้ไม่น้อยไปกว่าด้านละครและฟ้อนรำ เครื่องดนตรีที่ทรงถนัดและโปรดปรานคือ ซอสามสาย ซึ่งซอคู่พระหัตถ์ที่สำคัญได้พระราชทานนามว่า "ซอสายฟ้าฟาด" และเพลงพระราชนิพนธ์ที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันดีคือ "เพลงบุหลันลอยเลื่อน" หรือ "บุหลัน (เลื่อน) ลอยฟ้า" แต่ต่อมามักจะเรียกว่า "เพลงทรงพระสุบิน" เพราะเพลงมีนี้มีกำเนิดมาจากพระสุบิน (ฝัน) ของพระองค์เอง โดยเล่ากันว่าคืนหนึ่งหลังจากได้ทรงซอสามสายจนดึก ก็เสด็จเข้าที่บรรทมแล้วทรงพระสุบินว่า ได้เสด็จไปยังดินแดนที่สวยงามดุจสวรรค์ ณ ที่นั่น มีพระจันทร์อันกระจ่างได้ลอยมาใกล้พระองค์ พร้อมกับมีเสียงทิพยดนตรีอันไพเราะยิ่ง ประทับแน่นในพระราชหฤทัย ครั้นทรงตื่นบรรทมก็ยังทรงจดจำเพลงนั้นได้ จึงได้เรียกพนักงานดนตรีมาต่อเพลงนั้นไว้ และทรงอนุญาตให้นำออกเผยแพร่ได้ เพลงนี้จึงเป็นที่แพร่หลายและรู้จักกันกว้างขวางมาจนทุกวันนี้

พระมเหสี พระราชโอรส พระราชธิดา

 
พระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยที่วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร

พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยมีพระราชโอรสพระราชธิดารวมทั้งสิ้น 73 พระองค์ โดยประสูติเมื่อครั้งยังดำรงพระอิสริยยศเป็นสมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร 47 พระองค์ ประสูติเมื่อดำรงพระอิสริยยศเป็นกรมพระราชวังบวรสถานมงคล 4 พระองค์ และประสูติภายหลังบรมราชาภิเษกแล้ว 22 พระองค์

ลำดับประวัติศาสตร์เหตุการณ์สำคัญ

หลังบรมราชาภิเษก ได้โปรดให้ตั้งพระราชพิธีอุปราชาภิเศกสถาปนาพระเกียรติยศสมเด็จพระอนุชาธิราช เจ้าฟ้ากรมหลวงเสนานุรักษ์ พระบัณฑูรน้อยในรัชกาลที่ 1 ขึ้นเป็นกรมพระราชวังบวรสถานมงคลตั้งแต่วันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2352[15] ต่อมาวันจันทร์ที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2353 จึงสถาปนาพระเกียรติยศสมเด็จพระบรมราชชนนีพันปีหลวงเป็นสมเด็จกรมพระอมรินทรามาตย์[16]

กรุงสยามมีการเปลี่ยนธงประจำชาติ จากธงแดง เป็นธงช้าง มีลักษณะพื้นสีแดง ตรงกลางเป็นวงกลมสีขาว มีรูปช้างเผือกสีขาวภายในวงกลม แต่เมื่อจะใช้ชักเป็นธงบนเรือสินค้า ให้งดวงกลมออกเสีย เหลือแต่รูปช้างเผือกสีขาวเท่านั้น ดังนั้น บันทึกที่พบในต่างประเทศจึงระบุว่ากรุงสยาม ใช้ธงประจำชาติเป็นรูปช้างเผือกสีขาวบนพื้นแดง ดูเรื่อง ธงชาติไทย

  • พ.ศ. 2311
    • 24 กุมภาพันธ์ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยพระราชสมภพ ณ ตำบลอัมพวา เมืองสมุทรสงคราม พระนามเดิม ฉิม
  • พ.ศ. 2325
    • พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงปราบดาภิเษกขึ้นเป็นปฐมกษัตริย์แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์
    • ทรงได้รับการสถาปนาพระยศเป็น สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร
  • พ.ศ. 2352
    • พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชเสด็จสวรรคต
    • พระบรมวงศานุวงศ์ ขุนนางกราบบังคมทูลอัญเชิญพระองค์ขึ้นครองราชสมบัติเป็นรัชกาลที่ 2 แห่งพระราชวงศ์จักรี เฉลิมพระนามว่า พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
    • เจ้าฟ้ากรมขุนกษัตรานุชิตกับพวก คิดกบฏ โปรดเกล้าฯ ให้กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ชำระความ
    • สงครามกับพม่าที่เมืองถลาง
  • พ.ศ. 2353
    • โปรดเกล้าฯ ให้ส่งคณะทูตอัญเชิญพระราชสาส์นไปถวายจักรพรรดิเกียเข้งแห่งอาณาจักรจีน
    • ราชทูตญวนเข้ามาถวายราชสาส์นและเครื่องราชบรรณาการ พร้อมทั้งทูลขอเมืองบันทายมาศคืน ซึ่งพระองค์ก็พระราชทานคืนให้
  • พ.ศ. 2354
    • โปรดเกล้าฯ ให้เจ้านายไปกำกับราชการตามกระทรวงต่าง ๆ
    • โปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพนักงานออก "เดินสวนเดินนา"
    • ออกพระราชกำหนดห้ามสูบและซื้อขายฝิ่น
    • จัดพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
    • เกิดอหิวาตกโรคครั้งใหญ่
    • โปรดเกล้าฯ ให้มีพระราชพิธี "อาพาธพินาศ"
    • โปรดเกล้าฯ ให้กองทัพไทย ไประงับความวุ่นวายในกัมพูชา
    • อิน-จัน แฝดสยามคู่แรกของโลกถือกำเนิดขึ้น
  • พ.ศ. 2355
    • โปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญพระแก้วผลึก (พระพุทธบุษยรัตน์) จากเมืองจำปาศักดิ์มายังกรุงเทพฯ
  • พ.ศ. 2356
    • พม่าให้ชาวกรุงเก่านำสาส์นจากเจ้าเมืองเมาะตะมะมาขอทำไมตรีกับสยาม
    • พระองค์เจ้าชายทับ (พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว) ได้รับการสถาปนาเป็นกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์
  • พ.ศ. 2357
    • โปรดเกล้าฯ ให้ส่งคณะสมณทูตเดินทางไปศรีลังกา
    • โปรดเกล้าฯ ให้สร้าง นครเขื่อนขันธ์ ขึ้นที่บริเวณพระประแดง เพื่อสำหรับรับข้าศึกที่มาทางทะเล
  • พ.ศ. 2359
    • โปรดเกล้าฯ ให้จัดการปรับปรุงการสอบปริยัติธรรมใหม่ กำหนดขึ้นเป็น 9 ประโยค
  • พ.ศ. 2361
    • ขยายเขตพระบรมมหาราชวังจนจรดวัดพระเชตุพนฯ โดยสร้างถนนท้ายวังคั่น
    • โปรดเกล้าฯ ให้ข้าราชการออกแบบและสร้างสวนขวาขึ้นในพระบรมมหาราชวัง
    • คณะสมณทูตที่พระองค์ทรงส่งไปฟื้นฟูพระพุทธศาสนาที่ ประเทศลังกาเดินทางกลับ
    • เจ้าเมืองมาเก๊า ส่งทูตเข้ามาถวายพระราชสาส์นและเครื่องราชบรรณาการเพื่อเจริญทางพระราชไมตรี
  • พ.ศ. 2363
    • ฉลองวัดอรุณราชวราราม
    • สังคายนาบทสวดมนต์ภาษาไทยครั้งแรก ในประเทศไทย
    • โปรตุเกสตั้งสถานกงสุลในกรุงเทพฯ นับเป็นสถานกงสุลต่างชาติแห่งแรกของสยาม
  • พ.ศ. 2367
    • เสด็จสวรรคต

พระบรมราชอิสริยยศและพระเกียรติยศ

ธรรมเนียมพระยศของ
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
 
ตราประจำพระองค์
การทูลใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท
การแทนตนข้าพระพุทธเจ้า
การขานรับพระพุทธเจ้าข้าขอรับ/เพคะ

พระบรมราชอิสริยยศ

  • ฉิม (24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2311 – สมัยรัชกาลที่ 1)
  • สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร (สมัยรัชกาลที่ 1 – 15 มีนาคม พ.ศ. 2350)
  • กรมพระราชวังบวรสถานมงคล (15 มีนาคม พ.ศ. 2350 - 7 กันยายน พ.ศ. 2352)
  • สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว กรมพระราชวังบวรสถานมงคล (8 กันยายน พ.ศ. 2352 – 17 กันยายน พ.ศ. 2352)
  • พระบาทสมเด็จพระบรมราชาธิราชรามาธิบดี ศรีสินทรบรมมหาจักรพรรดิราชาธิบดินทร์ ธรณินทราธิราช รัตนากาศภาสกรวงศ์ องค์ปรมาธิเบศ ตรีภูวเนตรวรนายก ดิลกรัตนราชชาติอาชาวศรัย สมุทัยดโรมนต์ สากลจักรวาฬาธิเบนทร สุริเยนทราธิบดินทร์ หริหรินทรา ธาดาธิบดี ศรีวิบูลยคุณอกนิษฐ ฤทธิราเมศวรมหันต บรมธรรมิกราชาธิราชเดโชชัย พรหมเทพาดิเทพนฤบดินทร์ ภูมิทรปรมาธิเบศ โลกเชษฐวิสุทธิ รัตนมกุฎประกาศ คตามหาพุทธางกูรบรมบพิตร พระพุทธเจ้าอยู่หัว (17 กันยายน พ.ศ. 2352 - 21 กรกฎาคม พ.ศ.2367)

ภายหลังการสวรรคตในรัชกาลที่ 3

  • พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้าสุลาลัย (สมัยรัชกาลที่ 3 – สมัยรัชกาลที่ 4)

ภายหลังการสวรรคตในรัชกาลที่ 4

  • พระบาทสมเด็จพระบรมราชพงษเชษฐมเหศวรสุนทรฯ พระพุทธเลิศหล้านภาไลย (สมัยรัชกาลที่ 4 – 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2459)

ภายหลังการสวรรคตในรัชกาลที่ 6

  • พระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาอิศรสุนทร พระพุทธเลิศหล้านภาไลย (11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2459 – สมัยรัชกาลที่ 7)

ภายหลังการสวรรคตในรัชกาลที่ 7

  • พระบาทสมเด็จพระบรมราชพงษเชษฐมเหศวรสุนทร ไตรเสวตรคชาดิศรมหาสวามินทร์ สยารัษฎินทรวโรดม บรมจักรพรรดิราช พิลาศธาดาราชาธิราช บรมนารถบพิตร พระพุทธเลิศหล้านภาไลย (สมัยรัชกาลที่ 7 – ปัจจุบัน)

พงศาวลี

แผนผัง

สมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
  (1)
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
 
สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท
 
สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงจักรเจษฎา
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 (2)
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
 
สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาเสนานุรักษ์
 
สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพ
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 (3)
พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
 
 (4)
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว
 
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าอาภรณ์
 
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ามหามาลา กรมพระยาบำราบปรปักษ์
 
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าปิ๋ว
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าโสมนัส
 
 (5)
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
 
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจาตุรนต์รัศมี กรมพระจักรพรรดิพงษ์
 
สมเด็จพระราชปิตุลา บรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช
 
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์
 
กรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร
 
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าอิศริยาลงกรณ์
 
 (6)
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
 
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต
 
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าตรีเพ็ชรุตม์ธำรง
 
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าสมมติวงศ์วโรทัย กรมขุนศรีธรรมราชธำรงฤทธิ์
 
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ
 
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์
 
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าศิริราชกกุธภัณฑ์
 
สมเด็จพระอนุชาธิราช เจ้าฟ้าอัษฎางค์เดชาวุธ กรมหลวงนครราชสีมา
 
สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก
 
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก กรมขุนเพ็ชรบูรณ์อินทราไชย
 
 (7)
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 (8)
พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร
 
 (9)
พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 (10)
พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

เชิงอรรถ
  1. ""สยาม" ถูกใช้เรียกชื่อประเทศเป็นทางการสมัยรัชกาล". ศิลปวัฒนธรรม. 6 กรกฎาคม 2560. สืบค้นเมื่อ 27 สิงหาคม 2560. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  2. ราชสกุลวงศ์, หน้า 10
  3. "รัชกาลที่2 "ยุคทอง" ศิลปกรรมต้นกรุงรัตนโกสินทร์". สยามรัฐ. 2020-02-24. สืบค้นเมื่อ 2022-08-08.
  4. ราม วชิราวุธ. ประวัติต้นรัชกาลที่ 6. หน้า 60.
  5. โกวิท วงศ์สุรวัฒน์. การเมืองการปกครองไทย: หลายมิติ. หน้า 15.
  6. เทศนาพระราชประวัติ และพงษาวดาร กรุงเทพฯ, สำนักงานเสริมสร้างเอกลักษณ์ของชาติ, 2546, หน้า 76
  7. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ เฉลิมพระปรมาภิไธย, เล่ม 33, ตอน 0ก, 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2459, หน้า 212
  8. พระราชพงษาวดาร กรุงรัตนโกสินทร รัชกาลที่ 2 : 2 ประวัติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 2 เมื่อก่อนเสด็จผ่านพิภพ
  9. พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 1 : 3. ประดิษฐานพระราชวงศ์
  10. พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 1 : 123. พระราชพิธีอุปราชาภิเษกเจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร
  11. พระราชวิจารณ์ จดหมายเหตุความทรงจำ, ข้อ 222
  12. พระราชพงษาวดาร กรุงรัตนโกสินทร รัชกาลที่ 2 : 1. สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 1 สวรรคต
  13. พระราชพงษาวดาร กรุงรัตนโกสินทร รัชกาลที่ 2 : 4. เกิดเหตุเรื่องเจ้าฟ้ากรมขุนกระษัตรานุชิต
  14. พระราชพงษาวดาร กรุงรัตนโกสินทร รัชกาลที่ 2 : 5. พระราชพิธีบรมราชาภิเศก
  15. พระราชพงษาวดาร กรุงรัตนโกสินทร รัชกาลที่ 2 : 6. พระราชพิธีอุปราชาภิเศก
  16. พระราชพงษาวดาร กรุงรัตนโกสินทร รัชกาลที่ 2 : 19. เรื่องสถาปนากรมสมเด็จพระพันปีหลวง
  17. 17.0 17.1 17.2 17.3 17.4 ลำดับราชินิกูลบางช้าง. พระนคร: ห้างหุ้นส่วนจำกัด ศิวพร. 2501.
  18. พงษาวดารราชินิกูลบางช้าง (PDF). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ไทย สพานยศเส. 2457.
บรรณานุกรม
ก่อนหน้า พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ถัดไป
สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท   กรมพระราชวังบวรสถานมงคล
(15 มีนาคม พ.ศ. 2350 – 7 กันยายน พ.ศ. 2352)
  สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาเสนานุรักษ์
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช    
พระมหากษัตริย์ไทย
(8 กันยายน พ.ศ. 2352 – 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2367)
  พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว