สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจาตุรนต์รัศมี กรมพระจักรพรรดิพงษ์

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจาตุรนต์รัศมี กรมพระจักรพรรดิพงษ์ (13 มกราคม พ.ศ. 2400 - 11 เมษายน พ.ศ. 2443) เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ 28 ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระองค์ที่ 3 ใน สมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี เป็นพระโสทรานุชาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวตรัสเรียกว่า "ท่านกลาง"

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ
เจ้าฟ้าจาตุรนต์รัศมี
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ ชั้น 4 เจ้าฟ้าชั้นโท
กรมพระจักรพรรดิพงษ์
Prince Chaturonrasmi.jpg
องคมนตรี
ดำรงตำแหน่ง17 สิงหาคม พ.ศ. 2417
รัฐมนตรีสภา
ดำรงตำแหน่ง24 มกราคม พ.ศ. 2437
เสนาบดีกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ[1]
ดำรงตำแหน่งพ.ศ. 2429 - พ.ศ. 2435[2]
หม่อมหม่อมราชวงศ์สว่าง จักรพันธุ์
หม่อมทับทิม จักรพันธุ์ ณ อยุธยา
หม่อมจีบ จักรพันธุ์ ณ อยุธยา
หม่อมเอม จักรพันธุ์ ณ อยุธยา
หม่อมพลัด จักรพันธุ์ ณ อยุธยา
หม่อมเลื่อม จักรพันธุ์ ณ อยุธยา
หม่อมเผื่อน จักรพันธุ์ ณ อยุธยา
หม่อมหลวงผาด จักรพันธุ์
หม่อมราชวงศ์หญิงปุ้ย จักรพันธุ์
พระบุตร17 พระองค์
ราชวงศ์จักรี
พระบิดาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระมารดาสมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี
ประสูติ13 มกราคม พ.ศ. 2400
พระบรมมหาราชวัง จังหวัดพระนคร
ประเทศสยาม
สิ้นพระชนม์11 เมษายน พ.ศ. 2443 (43 ปี)
พระราชวังเดิม
จังหวัดธนบุรี
ประเทศสยาม

พระประวัติแก้ไข

 
แสตมป์ที่ระลึก 150 ปี วันประสูติ เจ้าฟ้าจาตุรนต์รัศมี 13 มกราคม 2549

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจาตุรนต์รัศมี กรมพระจักรพรรดิพงษ์ ประสูติเมื่อวันอังคาร เดือน 2 แรม 3 ค่ำ ปีมะโรง สัปตศก จุลศักราช 1218 ตรงกับวันที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2399 (พ.ศ. 2400) เล่ากันมาว่ามีพระอุปนิสัยสงบเสงี่ยมและจริงจังเอาการเอางานเป็นอย่างยิ่ง ในคำกลอนสังเกตพระอัชฌาสัยเจ้านายเมื่อยังทรงพระเยาว์ ซึ่งคงจะแต่งกันล้อเล่นในหมู่เจ้านายโดยไม่ปรากฏนามคนแต่งเอ่ยถึงพระองค์ขณะพระชันษา 12 ว่า "พูดอะไรไม่เท็จ ท่านกลาง"

เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จประพาสยุโรปครั้งแรก พ.ศ. 2439 ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้แต่งตั้งพระอัครราชเทวี เป็นสมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระบรมราชินีนาถ ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์พร้อมกันนั้นได้โปรดเกล้าฯ ให้ตั้งผู้ปรึกษาของผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ 4 พระองค์และ 1 คน คือ

ระหว่างที่ทรงเป็นที่ปรึกษาผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์อยู่นั้น สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์ เจ้าฟ้าจาตุรนต์รัศมี กรมพระจักรพรรดิพงษ์จะเสด็จตรวจราชการตามท้องถนนดูแลทุกข์สุขและความเป็นไปของราษฎรอยู่เสมอ ๆ จากบันทึกของนักข่าวสยามไมตรีสิริ ออบเซิร์ฟเวอร์ หนังสือพิมพ์ในสมัยนั้นรายงานข่าวลงในคอลัมน์ข่าวทั่วไปว่า

ได้พบร่างของใครคนหนึ่งออกมาเดินท่อม ๆ อยู่ตามลำพัง ในลักษณะสอดส่ายสายตามองเหตุการณ์ท้องถนนอย่างขะมักเขม้น ขณะนั้นเป็นเวลาราวสองยามของคืนวันที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2439 ท่ามกลางความมืดมิดของราตรีกาลในตอนค่อนคืนนี้ปรากฏว่าผู้นั้นได้เดินอยู่ตามลำพังโดยปราศจากความหวั่นเกรงต่ออันตรายจากเหตุร้ายที่อาจเกิดขึ้นได้ การปรากฏว่าท่านผู้นั้นคือสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ากรมพระจักพรรดิพงศ์ เสด็จพระราชดำเนินอยู่ตรงสะพานหก มุมวัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจาตุรนต์รัศมี กรมพระจักรพรรดิพงษ์ เป็นพระราชวงศ์พระองค์หนึ่งที่มีบทบาทสำคัญในการปฏิรูปการปกครองในช่วงต้นรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งเสนาบดีพระองค์แรกของกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ[3] ทรงวางรากฐานการดำเนินงานของกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ และทรงกำหนดระเบียบวิธีการจัดเก็บภาษีอากรอย่างเป็นระบบ ทรงดำรงตำแหน่งเป็น ปรีวีเคาน์ซิล หรือ สภาที่ปฤกษาในพระองค์ (อังกฤษ: privy council) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2417 ซึ่งต่อมาเรียกว่าองคมนตรี และ ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีสภา[4] เมื่อปี พ.ศ. 2437

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจาตุรนต์รัศมี กรมพระจักรพรรดิพงษ์ ประทับอยู่ ณ พระราชวังเดิม ซึ่งเป็นพระราชวังตั้งแต่ครั้งกรุงธนบุรี ตั้งแต่ พ.ศ. 2424 จนกระทั่งสิ้นพระชนม์ในวันพุธ เดือน 5 ขึ้น 12 ปีชวด โทศก จุลศักราช 1262 ตรงกับวันที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2443 สิริพระชันษา 44 ปี

พระโอรสและพระธิดาแก้ไข

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจาตุรนต์รัศมี กรมพระจักรพรรดิพงษ์ ทรงเป็นต้นราชสกุลจักรพันธุ์ ทรงอภิเษกสมรสกับ หม่อมราชวงศ์หญิงสว่าง จักรพันธุ์ พระธิดาในพระสัมพันธวงศ์เธอ พระองค์เจ้ามงคลเลิศ และมีหม่อมอีก 8 คน ได้แก่

  1. หม่อมทับทิม (สกุลเดิม: ณ มหาชัย) ธิดาหลวงเรืองศักดิ์สาคร
  2. หม่อมจีบ ธิดาจางวางฉิม มหาดเล็กชาวจังหวัดนนทบุรีในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจาตุรนต์รัศมี กรมพระจักรพรรดิพงษ์
  3. หม่อมเอม
  4. หม่อมพลัด
  5. หม่อมเลื่อม ธิดาหลวงอภิบาลภูวนารถ (พู่) ชาวจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
  6. หม่อมเผื่อน ธิดาขุนศรีสงคราม
  7. หม่อมหลวงผาด (ราชสกุลเดิม: ปาลกะวงศ์) ธิดาหม่อมราชวงศ์สุหร่าย ปาลกะวงศ์
  8. หม่อมราชวงศ์หญิงปุ้ย (ราชสกุลเดิม: ไพฑูรย์) ธิดาหม่อมเจ้าจุ้ย ไพฑูรย์

โดยมีพระโอรสธิดารวมทั้งหมด 17 พระองค์ เป็นชาย 7 พระองค์ หญิง 9 พระองค์ และไม่ทราบว่าเป็นชายหรือหญิง 1 พระองค์

พระรูป พระนาม หม่อมมารดา ประสูติ สิ้นพระชนม์/สิ้นชีพิตักษัย คู่สมรส
  1. หม่อมเจ้านิพัทธ์พิสิฐพงษ์
(พ.ศ. 2428: พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้านิพัทธ์พิสิฐพงษ์)
ที่ 1 ในหม่อมทับทิม ธันวาคม พ.ศ. 2420 27 สิงหาคม พ.ศ. 2435
  2. หม่อมเจ้า (ไม่ปรากฏพระนาม)
(ไม่ทราบแน่ชัดว่าเป็นหญิงหรือชาย)
ไม่ทราบปี ไม่ทราบปี
  3. หม่อมเจ้าหญิงสุพัฒน์ประไภย
(พ.ศ. 2470: พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าหญิงสุพัฒน์ประไภย)
ตุลาคม พ.ศ. 2420 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2421
  4. หม่อมเจ้าเสรฐวงศ์วราวัตร
(พ.ศ. 2428: พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเสรฐวงศ์วราวัตร
พ.ศ. 2443: พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเสรฐวงศ์วราวัตร
พ.ศ. 2451: กรมหมื่นอนุพงษ์จักรพรรดิ์)
ที่ 1 ในหม่อมราชวงศ์หญิงสว่าง 6 กันยายน พ.ศ. 2421 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2475 หม่อมราชวงศ์หญิงสุข (ไพฑูรย์)
หม่อมลิ้นจี่
หม่อมลำไย
หม่อมโป๊
หม่อมเชื้อ
หม่อมไหล
  5. หม่อมเจ้าหญิงทรงศะศิคุณ
(พ.ศ. 2470: พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าหญิงทรงศะศิคุณ)
ที่ 2 ในหม่อมทับทิม พ.ศ. 2422 13 มิถุนายน พ.ศ. 2438
  6. หม่อมเจ้าดนัยวรนุช
(พ.ศ. 2470: พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าดนัยวรนุช)
หม่อมเอม พฤศจิกายน พ.ศ. 2423 5 ธันวาคม พ.ศ. 2455 หม่อมลิ้นจี่
  7. หม่อมเจ้าดรุณไวยวัฒน์
(พ.ศ. 2466: พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าดรุณวัยวัฒน์)
หม่อมจีบ 22 เมษายน พ.ศ. 2423 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2509 หม่อมสุด
หม่อมขาบ
หม่อมสำปั้น
หม่อมแหน
หม่อมสาหร่าย
หม่อมเล็ก
  8. หม่อมเจ้าหญิงอรพัทธ์ประไพ
(พ.ศ. 2436: พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าหญิงอรพัทธ์ประไพ
พ.ศ. 2443: พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าหญิงอรพัทธ์ประไพ)
ที่ 2 ในหม่อมราชวงศ์หญิงสว่าง 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2423 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2473 พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์
  9. หม่อมเจ้าหญิงสุทธวิไลยลักษณา
(พ.ศ. 2436: พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าหญิงสุทธวิไลยลักษณา
พ.ศ. 2443: พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าหญิงสุทธวิไลยลักษณา) (มีพระนามลำลองว่าพระองค์หญิงกลาง)
ที่ 3 ในหม่อมราชวงศ์หญิงสว่าง 9 มิถุนายน พ.ศ. 2425 11 มิถุนายน พ.ศ. 2467
  10. หม่อมเจ้าออศคาร์นุทิศ
(พ.ศ. 2436: พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าออศคาร์นุทิศ
พ.ศ. 2443: พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าออศคาร์นุทิศ
พ.ศ. 2463 กรมหมื่นอนุวัตน์จาตุรนต์)
ที่ 4 ในหม่อมราชวงศ์หญิงสว่าง 2 ธันวาคม พ.ศ. 2426 12 สิงหาคม พ.ศ. 2478 หม่อมจำรัส (ปิยะวัตร)
หม่อมหวน (บุนนาค)
  11. หม่อมเจ้าหญิงมาลิศเสาวรส
(พ.ศ. 2470: พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าหญิงมาลิศเสาวรส)
หม่อมพลัด 18 ธันวาคม พ.ศ. 2426 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2514
  12. หม่อมเจ้าทศศิริวงศ์
(พ.ศ. 2470: พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าทศศิริวงศ์)
หม่อมหลวงผาด 23 ตุลาคม พ.ศ. 2427 20 มีนาคม พ.ศ. 2493 หม่อมหลวงเลื่อน (สุทัศน์)
  13. หม่อมเจ้าหญิงบรรจงมารยาตร
(พ.ศ. 2470: พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าหญิงบรรจงมารยาตร
หม่อมเลื่อม พ.ศ. 2427 7 สิงหาคม พ.ศ. 2461
  14. หม่อมเจ้าหญิงบุบผชาติชลา
(พ.ศ. 2470: พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าหญิงบุบผชาติชลา)
หม่อมเผื่อน พ.ศ. 2428 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2448
  15. หม่อมเจ้าหญิงประภาวสิทธิ์นฤมล
(พ.ศ. 2436: พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าหญิงประภาวสิทธิ์นฤมล
พ.ศ. 2443: พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าหญิงประภาวสิทธิ์นฤมล) (มีพระนามลำลองว่าพระองค์หญิงเล็ก)
ที่ 5 ในหม่อมราชวงศ์หญิงสว่าง 11 มิถุนายน พ.ศ. 2428 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2506 พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน
  16. หม่อมเจ้าปิยบุตร์
(พ.ศ. 2470: พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าปิยบุตร)
หม่อมราชวงศ์หญิงปุ้ย 6 ตุลาคม พ.ศ. 2433 6 มกราคม พ.ศ. 2464 หม่อมสุวรรณ
หม่อมสนม (ณ มหาชัย)
  17. หม่อมเจ้าหญิงศศิพงศ์
(พ.ศ. 2470: พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าหญิงศศิพงศ์)
ไม่ปรากฏ[5] 2520 [5]

พระเกียรติยศแก้ไข

ธรรมเนียมพระยศของ
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจาตุรนต์รัศมี กรมพระจักรพรรดิพงษ์
 
ธงประจำพระอิสริยยศ
การทูลใต้ฝ่าพระบาท
การแทนตนข้าพระพุทธเจ้า
การขานรับพ่ะย่ะค่ะ/เพคะ

พระอิสริยยศ[6]แก้ไข

  • พระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจาตุรนต์รัศมี (13 มกราคม พ.ศ. 2400 - 3 มกราคม พ.ศ. 2412)
  • สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าจาตุรนต์รัศมี ศรีสมมติเทวราชรวิวงษ์ วโรภัยพงษพิสุทธ มกุฎราชวรางกูร มไหสูรยารหราชกุมาร (3 มกราคม พ.ศ. 2412 - 21 มกราคม พ.ศ. 2419)
  • สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าจาตุรนต์รัศมี ศรีสมมติเทวราชรวิวงษ์ วโรภัยพงษพิสุทธ มกุฎราชวรังกูร มไหสุริยารหราชนรินทรานุชาธิบดี กรมหลวงจักรพรรดิพงษ์ (21 มกราคม พ.ศ. 2419 - 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2429)
  • สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าจาตุรนต์รัศมี กรมพระจักรพรรดิพงษ์ ดำรงขัติยศักดิอรรควรยศ รัตนสมมติบุริสาชาไนย สีดลหฤไทยธรรมสุจริต อเนกราชกิจสิทธิวิจารณ์ มโหฬารคุณสมบัติ พุทธาทิรัตนสรณาคม อุดมเดชานุภาพบพิตร (15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2429 - 11 เมษายน พ.ศ. 2443)[7]
  • สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจาตุรนต์รัศมี กรมพระจักรพรรดิพงษ์ (หลังจากสิ้นพระชนม์)

เครื่องราชอิสริยาภรณ์แก้ไข

สถานที่อันเนื่องด้วยพระนามแก้ไข

ถนนจักรพรรดิพงษ์

ตั้งอยู่ในเขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร โดยเริ่มตัดจากถนนบำรุงเมือง แยกแม้นศรี ไปจนบรรจบกับถนนราชดำเนิน โดยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้น และพระราชทานนามว่า "ถนนจักรพรรดิพงษ์" เพื่อเป็นเกียรติยศแก่ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจาตุรนต์รัศมี กรมพระจักรพรรดิพงษ์

เหรียญที่ระลึกแก้ไข

  • เหรียญกษาปณ์ที่ระลึกเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจาตุรนต์รัศมีฯ กรมพระจักรพรรดิพงศ์ เนื่องในโอกาสวันประสูติครบ 150 ปี พ.ศ. 2549[12]

ด้านหน้า กลางเหรียญมีพระรูปสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจาตุรนต์รัศมีฯ กรมพระจักรพรรดิพงศ์ ทรงฉลองพระองค์เครื่องแบบผู้บังคับการทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์ ทรงสายสะพายและประดับดาราเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นโบราณมงคลนพรัตนราชวราภรณ์ และสายสร้อยจุลจอมเกล้าภายในวงขอบเหรียญเบื้องบนมีข้อความว่า "สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจาตุรนต์รัศมีฯ กรมพระจักรพรรดิพงศ์" เบื้องล่างมีข้อความว่า "ประเทศไทย" โดยมีจุดกลมคั่นระหว่างข้อความเบื้องบนกับเบื้องล่างทั้งสองข้าง

ด้านหลัง กลางเหรียญมีตราพระนามสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจาตุรนต์รัศมีฯ กรมพระจักรพรรดิพงศ์ ภายในวงขอบเหรียญเบื้องบนมีข้อความว่า "150 ปี แห่งวันประสูติองค์เสนาบดี กระทรวงพระคลังมหาสมบัติ 13 มกราคม 2549" เบื้องล่างมีข้อความบอกราคาว่า "10 บาท" โดยมีจุดกลมคั่นระหว่างข้อความเบื้องบนกับเบื้องล่างทั้งสองข้าง

ราชตระกูลแก้ไข

อ้างอิงแก้ไข

  1. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2434/007/52.PDF
  2. https://www.mof.go.th/th/minister/2018-12-28-11-14-48
  3. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2434/007/52.PDF
  4. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2437/044/367.PDF
  5. 5.0 5.1 สมประสงค์ ทรัพย์พาลี, ผู้รวบรวม. วงศ์แห่งมงกุฎ เล่ม 2. กรุงเทพฯ : 2325, สนพ., พ.ศ. 2561. 352 หน้า. ISBN 978-616-478-207-5
  6. ดูเพิ่ม กรมศิลปากร. ราชสกุลวงศ์ (กรุงเทพฯ: สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร, 2554), หน้า 59-60
  7. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศเลื่อนกรม, เล่ม ๑, ตอน ๕๗, ๑๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๒๗, หน้า ๔๙๙
  8. ตามเอกสารต้นฉบับเรียกชื่อในขณะนั้นว่า เครื่องราชอิสริยยศช้างเผือกสยามชั้น 1 มหาวราภรณ์ (ม.ช.) "ดิโปลมา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 1: หน้า 500. สืบค้นเมื่อ 4 สิงหาคม 2562. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  9. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2429/049/406.PDF
  10. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2438/050/497.PDF
  11. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2441/026/283.PDF
  12. กรมธนารักษ์, http://ecatalog.treasury.go.th/ecatalog/index.php?myModuleKey=e-cat-bt&pid=12&ptypeid=12&ShowPage=3[ลิงก์เสีย] บริการอิเล็กทรอนิกส์เหรียญและผลิตภัณฑ์เหรียญ

หนังสือแก้ไข

  • พีระเดช อนุพงษ์ จักรพันธุ์, ม.ร.ว.. ๑๕๐ ปี สมเด็จเจ้าฟ้าจาตุรนต์รัศมีฯ กรมพระจักรพรรดิพงษ์. กรุงเทพฯ : กระทรวงการคลัง, 2548. 278 หน้า.
  • Jeffy Finestone , แปลโดยชาคริต ชุ่มวัฒนะ. สมุดพระรูปพระราชโอรส พระราชธิดาและพระราชนัดดาในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4). กรุงเทพ : โลมาโฮลดิ้ง, พ.ศ. 2543. หน้า หน้าที่. ISBN 974-871-488-2
  • ศุภวัฒย์ เกษมศรี, พลตรี หม่อมราชวงศ์, และรัชนี ทรัพย์วิจิตร. พระอนุวงศ์ชั้นหม่อมเจ้าในพระราชวงศ์จักรี. กรุงเทพ : สำนักพิมพ์บรรณกิจ, พิมพ์ครั้งที่ 3 พ.ศ. 2549. 360 หน้า. หน้า หน้าที่. ISBN 974-221-818-8
  • บรรเจิด อินทุจันทร์ยง. ราชสกุลพระบรมราชวงศ์จักรี. กรุงเทพ : องค์การค้าของคุรุสภา, พิมพ์ครั้งที่ 1 พ.ศ. 2539. หน้า หน้าที่. ISBN 974-005-650-8
  • กนกวลี ชูชัยยะ. พจนานุกรมวิสามานยนามไทย : วัด วัง ถนน สะพาน ป้อม. กรุงเทพ : ราชบัณฑิตยสถาน, พิมพ์ครั้งที่ 2 พ.ศ. 2548. 488 หน้า. หน้า หน้าที่. ISBN 974-9588-38-3