พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์

เจ้าชายชาวสยาม

มหาอำมาตย์เอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ (21 ตุลาคม พ.ศ. 2417 – 7 สิงหาคม พ.ศ. 2463) พระนามเดิม พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ เป็นต้นราชสกุลรพีพัฒน์ เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ 14 ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาตลับ ทรงเป็นผู้วางรากฐานด้านกฎหมายในประเทศไทย จนได้รับพระสมัญญานามว่า พระบิดาแห่งกฎหมายไทย

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ
กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ ชั้น 5
พระองค์เจ้าชั้นเอก
องคมนตรี
ดำรงตำแหน่ง16 กันยายน พ.ศ. 2438 – 24 ตุลาคม พ.ศ. 2453
รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ดำรงตำแหน่ง24 ตุลาคม พ.ศ. 2453 – 7 สิงหาคม พ.ศ. 2463
รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
เสนาบดีกระทรวงยุติธรรม
ดำรงตำแหน่ง3 มีนาคม พ.ศ. 2440 – 2453
รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ก่อนหน้าพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงพิชิตปรีชากร
ถัดไปพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจรูญศักดิ์กฤดากร
เสนาบดีกระทรวงเกษตราธิการ
ดำรงตำแหน่งพ.ศ. 2455 – 7 สิงหาคม พ.ศ. 2463
รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
ก่อนหน้าเจ้าพระยาวงษานุประพัทธ์ (หม่อมราชวงศ์สท้าน สนิทวงศ์)
ถัดไปเจ้าพระยาพลเทพ (เฉลิม โกมารกุล ณ นคร)
ประสูติ21 ตุลาคม พ.ศ. 2417
พระบรมมหาราชวัง ประเทศสยาม
สิ้นพระชนม์7 สิงหาคม พ.ศ. 2463 (45 ปี)[]
ปารีส ประเทศฝรั่งเศส
ถวายพระเพลิงปารีส ประเทศฝรั่งเศส
ภรรยาพระชายา
พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอรพัทธ์ประไพ (หย่า)
หม่อม
หม่อมอ่อน รพีพัฒน์ ณ อยุธยา
หม่อมแดง รพีพัฒน์ ณ อยุธยา
หม่อมราชวงศ์สอางค์ รพีพัฒน์
พระบุตร
ราชสกุลรพีพัฒน์
ราชวงศ์ราชวงศ์จักรี
พระบิดาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระมารดาเจ้าจอมมารดาตลับ ในรัชกาลที่ 5

ทางด้านชีวิตส่วนพระองค์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้ทรงเสกสมรสกับพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอรพัทธ์ประไพ พระธิดาพระองค์ใหญ่ในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจาตุรนต์รัศมี กรมพระจักรพรรดิพงษ์ แต่ทรงใช้ชีวิตคู่ร่วมกันเพียงไม่นานก็ทรงหย่าขาดจากกัน โดยหลังจากนั้นทรงรับหม่อมอ่อนมาเป็นหม่อมเอก และหลังจากนั้นทรงรับหม่อมมาเพิ่มอีก 2 ท่าน คือ หม่อมแดงและหม่อมราชวงศ์สอางค์ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ สิ้นพระชนม์ ณ กรุงปารีส เมื่อวันที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2463 สิริพระชันษา 45 ปี 290 วัน

พระประวัติ

แก้

ประสูติ

แก้

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ ประสูติเมื่อวันพุธ ขึ้น 11 ค่ำ เดือน 11 ปีจอ จุลศักราช 1236 ตรงกับวันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2417[1] มีพระนามเมื่อแรกประสูติว่า พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ 14 ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และเป็นพระองค์ที่ 2 ในเจ้าจอมมารดาตลับ มีพระเชษฐภคินีคือพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอัจฉรพรรณีรัชกัญญา เมื่อทรงพระเยาว์ทรงได้รับการอภิบาลจากเจ้าจอมมารดาตลับ หม่อมราชวงศ์ พึ่งบุญ และพระยาเวียงในนฤบาล (หรั่ง เกตุทัต)[2]

การศึกษา

แก้
 
พระเจ้าลูกยาเธอทั้ง 4 พระองค์ที่ทรงไปศึกษาต่อในทวีปยุโรป

เมื่อเจริญวัยขึ้นพระองค์ทรงเข้าศึกษาวิชาภาษาไทยเบื้องต้นกับพระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) โดยใช้เก๋งกรงนกภายในพระบรมมหาราชวังเป็นที่ทรงพระอักษร [3] เมื่อทรงศึกษาจบแล้ว ก็ทรงเข้าศึกษาต่อที่สำนักของบาบู รามซามี โดยใช้โรงเรียนทหารมหาดเล็กเป็นที่ถวายพระอักษรจนกระทั่งถึงปี พ.ศ. 2426[3] ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้เข้าศึกษาในโรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ

ในการส่งพระราชโอรสไปศึกษายังต่างประเทศของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์เป็นพระราชโอรสกลุ่มแรกที่ทรงไปศึกษาต่อในทวีปยุโรป เมื่อ พ.ศ. 2428 พร้อมกัน 4 พระองค์ คือ

แต่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำริให้ทรงแยกกันเรียน โดยพระองค์ทรงโปรดเกล้าฯ เสด็จไปศึกษาที่กรุงเอดินบะระ ประเทศสกอตแลนด์ โดยให้หมอเกาวัน เป็นผู้จัดการศึกษา[4] ในการนี้เป็นเพียงการศึกษาเบื้องต้น จึงมีเพียงครูชาวต่างชาติมาถวายพระอักษรที่ตำหนักครึ่งวัน และหม่อมเจ้าเพิ่ม ลดาวัลย์ ถวายการสอนภาษาไทยอีกครึ่งวัน

พระองค์ทรงศึกษาวิชาภาษาละติน วิชาภาษาอังกฤษ และวิชาภาษาฝรั่งเศสอยู่ 2 ปี จึงเสด็จนิวัติประเทศไทย จนถึงปี พ.ศ. 2431 จึงเสด็จไปศึกษาต่อในชั้นมัธยมอยู่ ณ กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ และต่อมาปี พ.ศ. 2434 ทรงเลือกศึกษาวิชากฎหมายต่อที่วิทยาลัยไครส์ตเชิร์ช ในมหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด จนกระทั่งปี พ.ศ. 2437 ทรงสามารถสอบไล่ได้ตามหลักสูตรชั้นปริญญาเกียรตินิยม[5] จากนั้นจึงเสด็จกลับประเทศไทย ด้วยพระอัจฉริยภาพที่มีมาตั้งแต่ทรงพระเยาว์ จึงได้รับพระสมญาว่า เฉลียวฉลาดรพี

พระราชพิธีโสกันต์

แก้
 
พระราชพิธีโสกันต์ พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงจัดให้ตั้งพระราชพิธีโสกันต์พระเจ้าลูกยาเธอทั้ง 3 พระองค์พร้อมกันคือ พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้ากิติยากรวรลักษณ์ พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าจิรประวัติวรเดช และพระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ เป็นการสมโภช 3 วัน ตั้งแต่วันอังคารที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2427 ถึงวันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2427 แล้วจึงประกอบพระราชพิธีโสกันต์ในวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2427 [6] โดยโปรดให้ทรงเครื่องต้นทั้ง 4 พระองค์

ผนวช

แก้

หลังจากพระราชพิธีโสกันต์ผ่านพ้นไปแล้ว จึงโปรดให้พระเจ้าลูกยาเธอทั้ง 4 พระองค์ที่จะเสด็จไปศึกษาต่อยังต่างประเทศ ได้ผนวชเป็นสามเณรพร้อมกันตามโบราณราชประเพณี โดยวันที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2428 เวลาย่ำค่ำ มีการเวียนเทียนสมโภชทั้ง 4 พระองค์ ณ พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท เช้าวันรุ่งขึ้นแห่พระเจ้าลูกยาเธอทั้ง 4 พระองค์จากพระที่นั่งดุสิตาภิรมย์ไปวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ผนวชเป็นสามเณรโดยมีพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระปวเรศวริยาลงกรณ์ เป็นพระอุปัชฌาย์ ในคืนนั้นพระองค์เจ้าสามเณรทั้ง 4 พระองค์ทรงประทับแรมที่พระพุทธปรางค์ปราสาท เช้าวันถัดมาพระองค์เจ้าสามเณรทรงรับบิณฑบาตในพระบรมมหาราชวัง เวลาย่ำค่ำจึงเสด็จไปอยู่ที่ตำหนักในวัดบวรนิเวศราชวรวิหาร[7] ถึงวันที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2428 ทั้ง 4 พระองค์จึงทรงลาผนวช ณ พระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร[8]

รับราชการ

แก้

พระองค์ทรงเริ่มรับราชการในสำนักราชเลขาธิการ และได้รับแต่งตั้งให้เป็นองคมนตรี ทรงประกอบพระกรณียกิจ อันเป็นคุณประโยชน์โดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อวงการกฎหมายไทยและศาลสถิตยุติธรรม ได้รับโปรดเกล้าให้ดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงยุติธรรมตั้งแต่วันที่ 3 มีนาคม ร.ศ. 115[9] เป็นสภานายกในกองข้าหลวงพิเศษ จัดการปรับปรุงศาลยุติธรรมสู่ระบบใหม่ จัดตั้งศาลมณฑล และศาลจังหวัด ทั่วประเทศ, ทรงเป็นประธานกรรมการตรวจชำระกฎหมายทั้งกฎหมายเก่า (พระไอยการต่าง ๆ) และในการร่างประมวลกฎหมายสมัยใหม่ที่รู้จักกันในนามกฎหมายลักษณะอาญา ร.ศ. 127 (พ.ศ. 2451) ทั้งยังทรงเป็นผู้ดำริให้จัดตั้งโรงเรียนกฎหมาย โดยพระองค์เองยังทรงมีบทบาทรวบรวมและแต่งตำราคำอธิบายกฎหมาย ตลอดจนทรงทำการบรรยายให้เหล่าบรรดานักเรียนด้วยพระองค์เอง, ทรงเป็นกรรมการตรวจตัดสินความฎีกาซึ่งเทียบได้กับศาลฎีกาในปัจจุบัน, เมื่อ พ.ศ. 2443 ทรงตั้งกองพิมพ์ลายมือขึ้น สำหรับตรวจลายพิมพ์นิ้วมือผู้ต้องหาในคดีอาญา ตำแหน่งสุดท้ายทรงเป็นเสนาบดีกระทรวงเกษตราธิการ ทรงปรับปรุงกิจการกรมทะเบียนที่ดิน[10]

สิ้นพระชนม์

แก้

ในปี พ.ศ. 2462 พระองค์ประชวรด้วยพระโรคที่ต่อมลูกหมากและมีการแทรกซ้อนต่อไปยังพระวักกะ (ไต)[11] จึงทรงขอลาพักราชการในวันที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2462 เพื่อรักษาพระองค์แต่อาการยังไม่ทุเลา ต่อมาจึงเสด็จไปรักษาพระองค์ที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส แต่พระโรคที่พระวักกะก็ยังทวีความรุนแรงยิ่งขึ้นเกินที่แพทย์จะเยียวยาได้ จนกระทั่งถึงวันที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2463 เวลาประมาณ 21 นาฬิกา จึงสิ้นพระชนม์ สิริพระชันษา 45 ปี 9 เดือน 17 วัน[12]

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้เอกอัครราชทูตสยามประจำประเทศฝรั่งเศสจัดการถวายพระเพลิง ณ กรุงปารีส ตามที่กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์รับสั่งไว้[13][14] หลังจากนั้นหม่อมเจ้าไขแสงรพี รพีพัฒน์ เสด็จไปรับและอัญเชิญพระอัฐิของกรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์มาถึงประเทศไทยในวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2463 ในคราวนั้นเจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม) หวนระลึกถึงรับสั่งของกรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ได้ตรัสไว้ก่อนที่เสด็จไปรักษาพระองค์ที่ประเทศฝรั่งเศสว่า

บางทีครูจะไม่ได้เห็นฉันอีก และไม่ได้เห็นอีกจริง ๆ [15]

พระโอรส-ธิดา

แก้
ราชสกุลรพีพัฒน์
ต้นราชสกุล คือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์
 

หม่อมเจ้าไขแสงรพี รพีพัฒน์
โอรสธิดา
   หม่อมราชวงศ์เติมแสงไข รพีพัฒน์
   หม่อมราชวงศ์ศักดิ์รพี รพีพัฒน์
หม่อมเจ้าวิมวาทิตย์ รพีพัฒน์
โอรสธิดา
   หม่อมราชวงศ์วิภากร รพีพัฒน์
นัดดา
   หม่อมหลวงอิทธากร รพีพัฒน์
   หม่อมหลวงนิภาพร รพีพัฒน์
   หม่อมหลวงปกรวิช รพีพัฒน์
หม่อมเจ้าเพลิงนภดล รพีพัฒน์
โอรสธิดา
   หม่อมราชวงศ์อคิน รพีพัฒน์
   หม่อมราชวงศ์รพีพงศ์ รพีพัฒน์
   หม่อมราชวงศ์อัปษร รพีพัฒน์
นัดดา
   หม่อมหลวงศิริธิดา รพีพัฒน์
   หม่อมหลวงกฤติกา รพีพัฒน์
   หม่อมหลวงนพอร รพีพัฒน์
หม่อมเจ้าถกลไกรวัล รพีพัฒน์
โอรสธิดา
   หม่อมราชวงศ์มธุรา รพีพัฒน์
หม่อมเจ้ารวิพรรณไพโรจน์ รพีพัฒน์
โอรสธิดา
   หม่อมราชวงศ์พัฒนฉัตร รพีพัฒน์
   หม่อมราชวงศ์พันธุ์รพี รพีพัฒน์
   หม่อมราชวงศ์ดิเรกฤทธิ์ รพีพัฒน์
   หม่อมราชวงศ์วินิตา รพีพัฒน์
   หม่อมราชวงศ์นิสากร รพีพัฒน์
นัดดา
   หม่อมหลวงรพีพโยม รพีพัฒน์

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ หลังเสด็จกลับจากศึกษาที่ประเทศอังกฤษ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสู่ขอพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอรพัทธ์ประไพ พระธิดาพระองค์ใหญ่ในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจาตุรนต์รัศมี กรมพระจักรพรรดิพงษ์ พระราชทานเสกสมรสให้ โดยในครั้งนั้นนับเป็นครั้งแรกที่มีการพระราชทานน้ำสังข์ แต่ทรงใช้ชีวิตคู่ร่วมกันเพียงไม่นานก็ทรงหย่าขาดจากกัน และหลังจากนั้นพระองค์จึงทรงรับหม่อมอ่อนมาเป็นหม่อมเอก โดยนอกจากหม่อมอ่อนแล้วพระองค์ยังมีหม่อมอีก 2 คน คือ หม่อมแดงและหม่อมราชวงศ์สอางค์ ปราโมช

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ มีพระโอรสและพระธิดา ที่ประสูติกับหม่อมอ่อน หม่อมแดง และหม่อมราชวงศ์สอางค์ 13 องค์ ซึ่งทุกองค์ทรงตั้งพระนามคล้องจองกันหมด และมีความหมายเกี่ยวกับ พระอาทิตย์[16]

หม่อมอ่อน รพีพัฒน์ ณ อยุธยา

หม่อมอ่อน รพีพัฒน์ ณ อยุธยา บุตรีของพระยาสุพรรณพิจิตร (โต) กับหม่อมราชวงศ์สำอาง เสนีวงศ์[17] เสด็จในกรมหลวงราชบุรีได้รับหม่อมอ่อนเข้ามาเป็นหม่อมในพระองค์หลังจากที่ทรงหย่ากับพระชายาแล้ว โดยมีพระโอรสพระธิดารวม 11 องค์ ดังนี้

  1. หม่อมเจ้าพิมพ์รำไพ โสณกุล (18 มกราคม พ.ศ. 2441 - 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2510) เสกสมรสกับหม่อมเจ้าทองต่อ ทองแถม และหม่อมเจ้ารัชฎาภิเศก โสณกุล
    1. หม่อมราชวงศ์นภาจรี ทองแถม สมรสกับเด็ดดวง บุนนาค และสมใจ สิริสิงห
    2. หม่อมราชวงศ์ปรียา โสณกุล
  2. หม่อมเจ้าไขแสงรพี รพีพัฒน์ (29 ตุลาคม พ.ศ. 2442 - 19 ตุลาคม พ.ศ. 2521) เสกสมรสกับเริงจิตร์แจรง อาภากร (หย่า) และหม่อมหลวงสุมิตรา สุทัศน์ (หย่า)
    1. หม่อมราชวงศ์เติมแสงไข รพีพัฒน์ สมรสกับปรีดา กรรณสูต
    2. หม่อมราชวงศ์ศักดิ์รพี รพีพัฒน์ สมรสกับสุนทรี (สกุลเดิม ศิริจิตต์)
  3. หม่อมเจ้าสุรีย์ประภา กฤดากร (16 เมษายน พ.ศ. 2444 - 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2513) เสกสมรสกับหม่อมเจ้าอิทธิเทพสรร กฤดากร และหม่อมเจ้าเศรษฐสิริ กฤดากร
    1. หม่อมราชวงศ์ฤทธิ์สุรีย์ กฤดากร สมรสกับจิ๋ว สุริเวก
    2. หม่อมราชวงศ์ประภาศิริ กฤดากร สมรสกับฉลอง ชุมพล
  4. หม่อมเจ้าวิมวาทิตย์ รพีพัฒน์ (25 ธันวาคม พ.ศ. 2445 - 29 ธันวาคม พ.ศ. 2501) เสกสมรสกับหม่อมเจ้าวินิตา รพีพัฒน์ (ราชสกุลเดิม กิติยากร)
    1. หม่อมราชวงศ์วิภากร รพีพัฒน์ สมรสกับวุฒิวิฑู (ราชสกุลเดิม วุฒิชัย) และเย็นจิตต์ (สกุลเดิม สัมมาพันธ์)
  5. หม่อมเจ้าชวลิตโอภาศ กิติยากร (11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2447 - 18 มิถุนายน พ.ศ. 2475) ทรงใช้ชีวิตคู่โดยมิได้เสกสมรสกับสมเด็จพระเชษฐาธิราช เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ ภายหลังเสกสมรสกับหม่อมเจ้าอมรสมานลักษณ์ กิติยากร
    1. หม่อมราชวงศ์กิตินัดดดา กิติยากร
    2. หม่อมราชวงศ์อมราภินพ กิติยากร สมรสกับแจเน็ท กริมม์
    3. หม่อมราชวงศ์กิติอัจฉรา กิติยากร สมรสกับสมิทธิ์ ปวนะฤทธิ์
  6. หม่อมเจ้าอากาศดำเกิง รพีพัฒน์ (19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2448 - 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2475)
  7. หม่อมเจ้าเพลิงนภดล รพีพัฒน์ (30 ธันวาคม พ.ศ. 2449 - 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2528) เสกสมรสกับหม่อมเจ้าทรงอัปษร (ราชสกุลเดิม กิติยากร)
    1. หม่อมราชวงศ์อคิน รพีพัฒน์ สมรสกับจันทรา (สกุลเดิม ปิตรชาติ) และบังเอิญ (สกุลเดิม เกิดอารีย์)
    2. หม่อมราชวงศ์รพีพงศ์ รพีพัฒน์ สมรสกับหม่อมหลวงศิริมา (ราชสกุลเดิม ศรีธวัช) และจริยา (สกุลเดิม รอดประเสริฐ)
    3. หม่อมราชวงศ์อัปษร รพีพัฒน์ สมรสกับทวีเกียรติ กฤษณามระ และจอห์น อ.โรก๊อซ
  8. หม่อมเจ้าถกลไกรวัล รพีพัฒน์ (2 มกราคม พ.ศ. 2452 - 16 กันยายน พ.ศ. 2523) เสกสมรสกับหม่อมตลับ (สกุลเดิม ศรีโรจน์)
    1. หม่อมราชวงศ์มธุรา รพีพัฒน์ สมรสกับจรูญ ชินาลัย
  9. หม่อมเจ้ารวิพรรณไพโรจน์ รพีพัฒน์ (5 กันยายน พ.ศ. 2455 - 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2531) เสกสมรสกับหม่อมจำเริญ (สกุลเดิม จุลกะ) ฉัตรสุดา วงศ์ทองศรี (ราชสกุลเดิม ฉัตรชัย) และหม่อมเพ็ญศรี รพีพัฒน์ ณ อยุธยา
    1. หม่อมราชวงศ์พันธุ์รพี รพีพัฒน์ สมรสกับฉวีวรรณ (สกุลเดิม จันโทภาสกร) และปราณี (สกุลเดิม อรรถพันธ์)
    2. หม่อมราชวงศ์พัฒนฉัตร รพีพัฒน์ สมรสกับทักษพล เจียมวิจิตร (หย่า)
    3. หม่อมราชวงศ์ดิเรกฤทธิ์ รพีพัฒน์ สมรสกับอรุณวรรณ (สกุลเดิม วงศ์ใหญ่)
    4. หม่อมราชวงศ์วินิตา รพีพัฒน์ สมรสกับโชค อัศวรักษ์
    5. หม่อมราชวงศ์นิสากร รพีพัฒน์ สมรสกับวรวิทย์ เหมจุฑา
  10. หม่อมเจ้าดวงทิพโชติแจ้งหล้า อาภากร (11 ตุลาคม พ.ศ. 2457 - 4 มีนาคม พ.ศ. 2542) เสกสมรสกับพลเรือเอก หม่อมเจ้าครรชิตพล อาภากร
    1. หม่อมราชวงศ์ชาย (ถึงแก่กรรมในวัยเยาว์)
    2. หม่อมราชวงศ์ทิพพากร อาภากร สมรสกับหม่อมราชวงศ์วิบูลย์เกียรติ วรวรรณ
    3. หม่อมราชวงศ์พรระพี อาภากร สมรสกับอุทุมพร (สกุลเดิม ศุภสมุทร; หย่า) และองค์อร อาภากร ณ อยุธยา
  11. หม่อมเจ้าทิตยาทรงกลด จักรพันธุ์ (21 พฤษภาคม พ.ศ. 2459 - 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2553) เสกสมรสกับหม่อมเจ้าคัสตาวัส จักรพันธุ์
    1. หม่อมราชวงศ์กทลี จักรพันธุ์ สมรสกับพลตำรวจตรีวศิษฐ์ สุนทรสิงคาล
    2. หม่อมราชวงศ์สดศรี ปันยารชุน สมรสกับอานันท์ ปันยารชุน
    3. หม่อมราชวงศ์ตราจักร จักรพันธุ์ สมรสกับอรวรรณ (สกุลเดิม ทันตเยาวนารถ)
หม่อมแดง รพีพัฒน์ ณ อยุธยา

หม่อมแดง รพีพัฒน์ ณ อยุธยา เป็นบุตรีของพ่อค้าชาวจีนเจ้าของร้านเพชรหัวเม็ด ในประมาณปี พ.ศ. 2458 เสด็จในกรมหลวงราชบุรีทรงรับหม่อมแดงเข้ามาเป็นหม่อมในพระองค์ โดยมีพระธิดา 1 องค์ คือ

  1. คันธรสรังษี แสงมณี (5 มีนาคม พ.ศ. 2459 - 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2526) เสกสมรสกับหม่อมเจ้าทรงวุฒิไชย วุฒิชัย ต่อมาทรงลาออกจากฐานันดรศักดิ์แห่งพระราชวงศ์เพื่อสมรสกับหลวงชำนาญนิติเกษตร (อุทัย แสงมณี)
    1. หม่อมราชวงศ์วุฒิรสรังษี วุฒิชัย
    2. หม่อมราชวงศ์อัจฉรีเพราพรรณ วุฒิชัย สมรสกับสากล วรรณพฤกษ์
หม่อมราชวงศ์สอางค์ ปราโมช

หม่อมราชวงศ์สอางค์ ปราโมช ท.จ. พระธิดาในพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าคำรบ กับหม่อมนุ่ม โดยมีพระธิดา 1 องค์ คือ

  1. รำไพศรีสอางค์ สนิทวงศ์ (17 กันยายน พ.ศ. 2462 - 4 เมษายน พ.ศ. 2543) ทรงลาออกจากฐานันดรศักดิ์แห่งพระราชวงศ์เพื่อสมรสกับหม่อมหลวงซัง สนิทวงศ์
    1. สอางศรี สนิทวงศ์ ณ อยุธยา สมรสกับจิรายนต์ สังฆสุวรรณ
    2. อรินทร์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา สมรสกับเวณิก จงเจริญ และสุณีย์ ลีรเศรษฐกร
    3. แซม สนิทวงศ์ ณ อยุธยา สมรสกับพอใจ ตัณสถิตย์

พระกรณียกิจ

แก้

ด้านกฎหมาย

แก้

เมื่อพระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ทรงเป็นเสนาบดีกระทรวงยุติธรรม พระองค์ทรงมีส่วนสำคัญอย่างยิ่งในการปฏิรูปการศาล ซึ่งปัญหาสำคัญสำหรับศาลไทยในเวลานั้น คือ เรื่องของศาลกงสุลต่างชาติ ที่มีอยู่เป็นจำนวนมากในยุคนั้น เป็นที่รู้กันว่าชาวต่างชาติเหล่านี้มีอำนาจอิทธิพลมาก เมื่อเกิดคดีความหรือข้อโต้แย้ง ชาวไทยมักตกเป็นฝ่ายเสียเปรียบ เพราะชาวต่างชาติมักจะอ้างว่ากฎหมายยังล้าหลังไม่ทันสมัยเพื่อเป็นข้ออ้างเอาเปรียบชาวไทยซึ่งสาเหตุส่วนหนึ่งมาจากการที่ผู้พิพากษาและเจ้าหน้าที่ศาลของไทยยังไม่พร้อมที่จะรับข้อกฎหมายใหม่ ๆ ในเวลานั้น พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ทรงแก้ปัญหาเรื่องนี้โดยการจ้างชาวต่างชาติมาเป็นผู้พิพากษาเป็นเหตุให้ผู้พิพากษาศาลไทยเกิดความกระตือรือร้นเร่งศึกษากฎหมายไทยและต่างประเทศทำให้ศาลไทยมีความเชื่อถือมากขึ้นและเป็นที่ยอมรับของชาวต่างชาติ ถึงกับยกเลิกศาลกงสุลยอมให้คนชาติตัวเองมาขึ้นศาลไทยนอกจากนั้น ยังทรงปฏิรูปการศาลในด้านอื่นอีกมากมาย อาทิ

  • ขอพระราชทานพระบรมราชาอนุญาตให้ศาลในสังกัดกระทรวงยุติธรรมสามารถกำหนดโทษเองได้ เนื่องจากในสมัยนั้นเมื่อศาลกำหนดโทษจำคุกผู้ต้องหาแล้ว ต้องให้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงกำหนดเวลาให้อีกชั้นหนึ่ง ซึ่งเป็นเหตุของความล่าช้าในวงการศาล
  • ทรงปรับปรุงเงินเดือนผู้พิพากษาให้เหมาะสมกับตำแหน่งหน้าที่
  • ออกประกาศ ออกประกาศยกเลิก หรือแก้ไขพระราชบัญญัติ กฎเสนาบดีกว่า 60 ฉบับ เพื่อแก้ไขจุดที่บกพร่อง เพิ่มสิทธิของคู่ความให้เท่าเทียมกัน หรือแก้ไขบทลงโทษที่ล้าหลัง ที่สำคัญได้แก่
ที่ทรงออกใหม่ ที่ทรงแก้ไข
พระราชบัญญัติเพิ่มเติมวิธีพิจารณาความอาญา พระราชบัญญัติกระบวนวิธีพิจารณาความแพ่ง ร.ศ. 115
พระราชบัญญัติอุทธรณ์ ร.ศ. 123 พระราชบัญญัติกฎหมายพยาน มาตรา 6
พระราชบัญญัติพระธรรมนูญศาลยุติธรรม
พระราชบัญญัติวิธีพิจารณาความแพ่ง ร.ศ. 127
กฎเสนาบดีเรื่องการดำเนินคดีอย่างคนอนาถา
กฎเสนาบดีเรื่องอัตราธรรมเนียมค่าทนายความ
ห้ามนำคดีที่ศาลโปริสภาตัดสินแล้วฟ้องต่อศาลแพ่งและศาลอาญา
การเรียกทรัพย์คืนจากจำเลยในคดีอาญาข้อหาลักทรัพย์

ฯลฯ

พระราชกรณียกิจที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งก็คือในปี พ.ศ. 2440 ได้ทรงจัดตั้งโรงเรียนกฎหมายขึ้น โดยมีเจ้าพระยาอภัยราชาสยามานุกูลกิจ (โรลังยัคมินส์) เป็นที่ปรึกษา และพระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ทรงเข้าสอนเป็นประจำ ต่อมาได้จัดให้มีการสอบไล่ขึ้นด้วย ในปีแรกที่มีการสอบปรากฏว่ามีผู้สอบผ่านเพียง 9 คนจากจำนวนกว่าร้อยคน และแม้ใน 14 ปีแรกมีผู้สอบผ่านเพียง 129 คนเท่านั้น แต่ก็ถือเป็นการผลิตนักกฎหมายที่มีคุณภาพให้สังคมเป็นอย่างมาก ต่อมายังทรงเป็นประธานกรรมการตรวจชำระกฎหมาย, กรรมการตรวจตัดสินความฎีกา และกรรมการตรวจร่างกฎหมายลักษณะอาญาอีกด้วย

พระเกียรติยศ

แก้
ธรรมเนียมพระยศของ
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์
 
ธงประจำพระอิสริยยศ
 
ตราประจำพระองค์
การทูลใต้ฝ่าพระบาท
การแทนตนข้าพระพุทธเจ้า
การขานรับพ่ะย่ะค่ะ/เพคะ

พระอิสริยยศ

แก้
  • พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ (พ.ศ. 2419 - 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2442)
  • พระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นราชบุรีดิเรกฤทธิ์ (10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2442 - 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453)[18]
  • พระเจ้าพี่ยาเธอ กรมหมื่นราชบุรีดิเรกฤทธิ์ (23 ตุลาคม พ.ศ. 2453 - 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2455)[19]
  • พระเจ้าพี่ยาเธอ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ (11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2455 - 7 สิงหาคม พ.ศ. 2463)[20]

ภายหลังสิ้นพระชนม์

  • พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ (10 กรกฎาคม พ.ศ. 2478)[21]

พระยศ

แก้
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์
รับใช้กระทรวงยุติธรรม
กระทรวงเกษตราธิการ
กองเสือป่า
ชั้นยศมหาอำมาตย์เอก
มหาเสวกเอก
นายกองตรี

พระยศพลเรือน

แก้
  • 7 สิงหาคม พ.ศ. 2454: มหาอำมาตย์เอก[22]
  • มหาเสวกเอก

พระยศเสือป่า

แก้
  • 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2460: นายกองตรี[23]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

แก้

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ดังต่อไปนี้[13]

พระสมัญญา

แก้
  • พระบิดาแห่งกฎหมายไทย[31]

สถานที่อันเนื่องด้วยพระนาม

แก้

รถยนต์พระที่นั่ง

แก้
 
รถยนต์พระที่นั่งแก้วจักรพรรดิ

พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์เสด็จไปทอดพระเนตรโรงงานผลิตรถยนต์ของบริษัท Diamler - Motorin - Gesellschaft ในปี พ.ศ. 2447 และทรงว่าจ้างให้บริษัทดังกล่าวประกอบรถยนต์ขึ้นจำนวน 1 คัน โดยเป็นรถเมอร์ซิเดส - เดมเลอร์สีเหลืองหลังคาเปิดประทุนซึ่งต่อมาพระองค์จึงทรงถวายรถคันนี้แด่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

ในภายหลังพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้กรมหลวงราชบุรีฯ สั่งซื้อรถเมอร์ซิเดส - เดมเลอร์สีแดงเข้ามาอีก 1 คัน แต่ปรากฏว่าไอน้ำมันระเหยขึ้นติดตะเกียงไฟลุกไหม้ประตูรถเสียหายไป 1 บาน หลังจากที่ซ่อมแซมเสร็จแล้วจึงนำขึ้นถวายพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์จึงพระราชทานนามรถพระที่นั่งคันนี้ว่า "แก้วจักรพรรดิ์"

การระลึก

แก้

วันรพี

แก้

นักกฎหมายได้ถือเอาวันสิ้นพระชนม์ของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ คือวันที่ 7 สิงหาคม ของทุกปีเป็นวันรพีเพื่อเป็นวันรำลึกถึงคุณงามความดีของพระองค์ที่มีต่อวงการกฎหมายไทย โดยจะมีการจัดกิจกรรมวันรพีที่อนุสาวรีย์พระรูปพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ หน้าสำนักงานศาลยุติธรรม โดยมีการจัดต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2507[32]

อนุสาวรีย์พระรูปหน้าสำนักงานศาลยุติธรรม

แก้

เมื่อ พ.ศ. 2498 คณะกรรมการเนติบัณฑิตยสภาได้มีมติจัดสร้างอนุสาวรีย์พระรูปพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ ขึ้น โดยได้จัดการเรี่ยไรเงินจำนวน 500,000 บาท ต่อมาวันที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2507 ได้รับเงินบริจาครวมทั้งหมดเป็นจำนวน 296,546.75 บาท ซึ่งก็ยังไม่ครบตามจำนวนที่ตั้งไว้ แต่แม้จำนวนเงินบริจาคนั้นจะยังไม่ครบ แต่ในส่วนของตัวอนุสาวรีย์นั้นได้มีการปั้นเสร็จในปี พ.ศ. 2506 และพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชพร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดอนุสาวรีย์พระรูปพระองค์เจ้ารพีพัฒน์ศักดิ์ในวันที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2507

พงศาวลี

แก้

หมายเหตุ

แก้
  1. เอกสาร ข่าวสิ้นพระชนม์ พระเจ้าพี่ยาเธอ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ ซึ่งได้ประกาศลงในราชกิจจานุเบกษา และเว็บไซต์ทางการต่าง ๆ มีการระบุว่าสิ้นพระชนม์เมื่อพระชันษา 47 ปี ซึ่งเป็นตัวเลขที่นับเรียงปี คือนับรวมปีที่ประสูติและปีที่สิ้นพระชนม์เข้าไปด้วย จึงเป็นตัวเลขที่ผิด พระชันษาที่ถูกต้องคือ 45 ปี

อ้างอิง

แก้
เชิงอรรถ
  1. บรรเจิด อินทุจันทร์ยง. ราชสกุลพระบรมราชวงศ์จักรี -- กรุงเทพฯ : องค์การค้าของคุรุสภา, พ.ศ. 2539. หน้า 587 (ISBN 9740056508)
  2. สัมภาษณ์ หม่อมราชวงศ์นภาจรี ทองแถม วันที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2546
  3. 3.0 3.1 พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ : พระบิดาแห่งกฎหมายไทย, หน้า 43
  4. หอจดหมายเหตุแห่งชาติ. สมุดพิเศษเล่ม 16. หน้า 99-100
  5. บรรเจิด อินทุจันทร์ยง. ราชสกุลพระบรมราชวงศ์จักรี -- กรุงเทพฯ : องค์การค้าของคุรุสภา, พ.ศ. 2539. หน้า 589 (ISBN 9740056508)
  6. พระราชพิธีโสกันต์
  7. "ข่าวราชการและพระเจ้าลูกเธอทรงผนวช" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 1 (21): 178–180. 29 มิถุนายน จ.ศ. 1247. สืบค้นเมื่อ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2561. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  8. "พระเจ้าลูกเธอลาผนวช" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 1 (24): 214. 15 กรกฎาคม จ.ศ. 1247. สืบค้นเมื่อ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2561. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  9. "พระบรมราชโองการ ประกาศเปลี่ยนตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงยุติธรรม" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 13 (48): 576. 8 มีนาคม ร.ศ. 115. สืบค้นเมื่อ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2561. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  10. พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ : พระบิดาแห่งกฎหมายไทย, หน้า 411
  11. สัมภาษณ์หม่อมราชวงศ์อคิน รพีพัฒน์ วันที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2546
  12. บันทึกการสิ้นพระชนม์
  13. 13.0 13.1 ราชกิจจานุเบกษา, ข่าวสิ้นพระชนม์, เล่ม 37, 15 สิงหาคม พ.ศ. 2463, หน้า 1480
  14. พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ : พระบิดาแห่งกฎหมายไทย, หน้า 439
  15. ประวัติเจ้าพระยายมราช พระนิพนธ์ของ สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ หน้า 47
  16. สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์, จุฬาลงกรณราชสันตติวงศ์ พระนามพระราชโอรส พระราชธิดา และพระราชนัดดา, สำนักพิมพ์บรรณกิจ, พิมพ์ครั้งที่ 4, พ.ศ. 2548, 136 หน้า, ISBN 974-221-746-7
  17. กิติวัฒนา (ไชยันต์) ปกมนตรี, หม่อมราชวงศ์. สายพระโลหิตในพระพุทธเจ้าหลวง. กรุงเทพฯ : ดีเอ็มดี, พ.ศ. 2551. 290 หน้า. ISBN 978-974-312-022-0
  18. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศในการพระราชทานพระสุพรรณบัตร, เล่ม 16, ตอน 34, 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2442, หน้า 482-483
  19. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ คำนำพระนามพระบรมวงษานุวงษ์, เล่ม 27, ตอน ก, 30 ตุลาคม พ.ศ. 2453, หน้า 1
  20. "พระบรมราชโองการ ประกาศ เลื่อนและตั้งกรมพระองค์เจ้า และเจ้าพระยา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 29 (ก): 246–247. 13 พฤศจิกายน ร.ศ. 131. สืบค้นเมื่อ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2561. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  21. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศคำนำพระนามพระบรมวงศานุวงศ์, เล่ม 52, ตอน 0 ง, 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2478, หน้า 1179
  22. "พระบรมราชโองการ ประกาศพระราชทานยศ แก่ ข้าราชการ กระทรวงยุติธรรม (ประกาศ ณ วันที่ 7 สิงหาคม 130" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 28: 929. 13 สิงหาคม 2454. สืบค้นเมื่อ 4 มีนาคม 2564. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  23. "พระราชทานยศเสือป่า" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 34: 1276. 29 กรกฎาคม 2460. สืบค้นเมื่อ 4 มีนาคม 2564. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  24. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม 14, ตอน 41, 9 มกราคม ร.ศ. 116, หน้า 701
  25. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม 29, ตอน 0 ง, 24 พฤศจิกายน ร.ศ. 131, หน้า 1902
  26. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้าฝ่ายหน้าและฝ่ายใน เล่ม 17, ตอน 35, 25 พฤศจิกายน ร.ศ. 119, หน้า 501
  27. เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)
  28. เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.)
  29. ราชกิจจานุเบกษา, เครื่องยศและเครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่พระราชทาน, เล่ม 13, ตอน 1, หน้า 24
  30. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญราชินี, เล่ม 15, ตอน 26, 21 กันยายน ร.ศ. 117, หน้า 283
  31. พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ : พระบิดาแห่งกฎหมายไทย, หน้า 454
  32. พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์
บรรณานุกรม
  • นิกร ทัสสโร. พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ : พระบิดาแห่งกฎหมายไทย -- กรุงเทพฯ : นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่นส์, 2549. หน้า 83 (ISBN 9740056508)
  • สมชาย ปรีชาศิลปกุล (2546). ความยอกย้อนในประวัติศาสตร์ของบิดาแห่งกฎหมายไทย (PDF). กรุงเทพฯ: วิญญูชน. ISBN 9749645065.
  • สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร. ราชสกุลวงศ์. พิมพ์ครั้งที่ 14, กรุงเทพฯ : สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร, 2554. 296 หน้า. หน้า 84. ISBN 978-974-417-594-6

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้
  • สมชาย ปรีชาศิลปกุล. "ความยอกย้อนในประวัติศาสตร์ของบิดาแห่งกฎหมายไทย." ศิลปวัฒนธรรม 23, 9 (ก.ค. 2545): 70-86; 23, 10 (ส.ค. 2545): 82-89.
ก่อนหน้า พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ ถัดไป
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงพิชิตปรีชากร
(พ.ศ. 2437 – 2439)
   
เสนาบดีว่าการกระทรวงยุติธรรม
(พ.ศ. 2440 – 2453)
  พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจรูญศักดิ์กฤดากร
(พ.ศ. 2453 – 2455)
เจ้าพระยาพลเทพ (พุ่ม ศรีไชยยันต์)    
เสนาบดีกระทรวงเกษตราธิการ
(พ.ศ. 2455 – 2463)
  เจ้าพระยาพลเทพ (เฉลิม โกมารกุล ณ นคร)
(พ.ศ. 2463 – 2473)