ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550
ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550 ตั้งอยู่ที่ถนนแจ้งวัฒนะ แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร เป็นศูนย์รวมที่ทำการของหน่วยงานราชการ 29 หน่วย เช่น กระทรวงยุติธรรม กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กระทรวงการต่างประเทศ และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดยมีแนวคิดในการบริหารพื้นที่ราชพัสดุและทรัพยากรของราชการร่วมกันเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด[1][2] พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ขณะทรงดำรงพระราชอิสริยยศ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ไปทรงเปิดอาคารในวันอาทิตย์ที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556
ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550 | |
---|---|
อาคารรัฐประศาสนภักดี (อาคาร B) | |
ข้อมูลทั่วไป | |
สถาปัตยกรรม | สมัยใหม่ |
เมือง | เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร |
ประเทศ | ไทย |
พิกัด | 13°53′N 100°34′E / 13.883°N 100.567°E |
เริ่มสร้าง | พ.ศ. 2548 |
แล้วเสร็จ | พ.ศ. 2551 |
ลูกค้า | รัฐบาลไทย |
หน่วยงานที่รับผิดชอบ
แก้หน่วยงานที่รับผิดชอบในการดำเนินโครงการศูนย์ราชการฯคือ บริษัท ธนารักษ์พัฒนาสินทรัพย์ จำกัด
การจัดสรรพื้นที่
แก้อาคารราชบุรีดิเรกฤทธิ์ (อาคาร A) รวมหน่วยงานยุติธรรม
แก้- สำนักงานปลัดกระทรวงยุติธรรม
- กรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน
- กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ
- กรมคุมประพฤติ
- ศาลรัฐธรรมนูญ
- สำนักงานอัยการสูงสุด
- ศาลฎีกา
- ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง
- ศาลล้มละลายกลาง
- สำนักงานกิจการยุติธรรม
อาคารรัฐประศาสนภักดี (อาคาร B) รวมหน่วยงานราชการ
แก้- กรมความร่วมมือระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ
- สถาบันนิติวิทยาศาสตร์ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
- สำนักงานกิจการยุติธรรม กระทรวงยุติธรรม
- กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
- สำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
- สำนักงานสถิติแห่งชาติ
- สำนักงานนิติวิทยาศาสตร์ตำรวจ
- สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง
- กรมการพัฒนาชุมชน
- กรมที่ดิน
- กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง
- กรมธนารักษ์
- สำนักงานสรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร 9 กรมสรรพากร
- สถาบันพระปกเกล้า
- สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง
- สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
- สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน
- สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค
- สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน)
- กรมการท่องเที่ยว
- สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
- สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน)
- องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน)
อาคาร C (กำลังก่อสร้าง)
แก้- ศาลปกครองสูงสุด
- กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
- กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
- กรมการท่องเที่ยว
- สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน
- สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ
- สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน
- กรมสอบสวนคดีพิเศษ
- สำนักงานอัยการสูงสุด
- สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
- สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
- สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
- สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค
อาคาร D (อาคารจอดรถ)
แก้ศูนย์เปลี่ยนถ่ายการจราจรจากระบบขนส่งสาธารณะสู่ระบบ EV Shuttle Bus ภายในศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติฯ โดยมีทางเดินยกระดับ (Sky Walk) ระยะทาง 205 เมตร บริเวณชั้น 2 เชื่อมต่อกับสถานีศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ ของรถไฟฟ้าสายสีชมพู[3]
พื้นที่อื่น ๆ
แก้- ศูนย์ประชุมวายุภักษ์
- โรงแรมเซ็นทรา ไลฟ์ ศูนย์ราชการ และคอนเวนชันเซ็นเตอร์ แจ้งวัฒนะ
- กองบัญชาการกองทัพไทย
อ้างอิง
แก้- ↑ http://www.dad.co.th
- ↑ สรุปผลการดำเนินงานของคณะกรรมการอำนวยการจัดระบบศูนย์ราชการ (กศร.) พ.ศ. 2539-2548, สำนักงานคณะกรรมการอำนวยการจัดระบบศูนย์ราชการ และ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, 2548.
- ↑ 'สุรพงษ์' ลงพื้นที่ตรวจสกายวอล์ก เชื่อมสายสีชมพู-ศูนย์ราชการฯ | The BangkokInsight