สำนักงานพิสูจน์หลักฐานตำรวจ

สำนักงานพิสูจน์หลักฐานตำรวจ (Office of Police Forensic Science) หน่วยงานระดับกองบัญชาการ ส่วนงานสนับสนุนป้องกันและปราบปรามอาชญากรรม สังกัดสำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดยเป็นที่รู้จักในชื่อ กองพิสูจน์หลักฐาน , สำนักงานวิทยาการตำรวจ มีภารกิจในการสนับสนุนงานป้องกันและปราบปรามอาชญากรรม โดยใช้วิทยาการสมัยใหม่ในการตรวจหาและเพิ่มน้ำหนักพยานหลักฐานในทางคดีให้มีประสิทธิภาพ

สำนักงานพิสูจน์หลักฐานตำรวจ
Office of Police Forensic Science
ชื่อย่อสพฐ.ตร.
คําขวัญ“พิทักษ์ชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ประชาชนรักและศรัทธา งานพิสูจน์หลักฐานตำรวจ”
ก่อตั้ง12 กรกฎาคม พ.ศ. 2498
จัดตั้งเป็นกองวิทยาการในกองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง
3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2535
ยกฐานะเป็นสำนักงานวิทยาการตำรวจ
7 กันยายน พ.ศ. 2552
เปลี่ยนเป็นสำนักงานพิสูจน์หลักฐานตำรวจ
ประเภทกองบัญชาการ
สํานักงานใหญ่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
ที่ตั้ง
ผู้บัญชาการ
พลตำรวจโท ไตรรงค์ ผิวพรรณ
เว็บไซต์http://www.forensic.police.go.th/

ประวัติหน่วยงาน แก้

ยุคก่อนก่อตั้งกองวิทยาการ แก้

งานวิทยาการตำรวจ เริ่มมีความเป็นมาตั้งแต่ปี 2475 โดยมีพระบรมราชโองการในพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้จัดวางโครงสร้างตำรวจขึ้นใหม่โดยเปลี่ยนชื่อจาก กรมตำรวจภูธร เป็น กรมตำรวจ และให้เสนาบดีกระทรวงมหาดไทยจัดแบ่งแผนงานโดยย่อยออกไปตามสมควรแก่รูปการ และในปีเดียวกัน พระยาจ่าเสนาบดีศรีบริบาล รัฐมนตรีกระทรวงมหาดไทย ได้จัดแบ่งแผนงานในกรมตำรวจสำหรับตำรวจสันติบาลโดยให้รวบรวมกรมตำรวจภูธร ตำรวจกองพิเศษ กับตำรวจภูธรกลางเป็นตำรวจสันติบาล มีหัวหน้าเป็นผู้บังคับการ 1 นาย แบ่งเป็นกองที่ 1 ,กองที่ 2, กองที่ 3 และกองตำรวจแผนกสรรพากร สำหรับกองที่ 3 มีระเบียนงานดังนี้ กองนี้เป็นกองวิทยาการตำรวจซึ่งต้องให้ผู้มีความรู้พิเศษ เช่น การตรวจพิสูจน์ลายมือของผู้ต้องหาหรือผู้ที่สมัครเข้ารับราชการว่าเคยต้อง โทษมาแล้วหรือไม่ บันทึกประวัติของผู้กระทำความผิด การตรวจของกลางต่างๆออกรูปพรรณของหายและออกประกาศสืบจับผู้ร้ายซึ่งหลบคดี อาญา จึงสรุปได้ว่ากองที่ 3 ของตำรวจสันติบาลในสมัยนั้น คือ จุดกำเนิดของ กองทะเบียนประวัติอาชญากรและกองพิสูจน์หลักฐาน

ในกาลต่อมา พ.ศ. 2476 ได้มีพระราชกฤษฎีกาจัดวางระเบียบราชการกรมต่างๆ ในกระทรวงมหาดไทยกำหนดงานของกรมตำรวจขึ้นใหม่ ซึ่งสำหรับกองตำรวจสันติบาลได้กำหนดไว้ดังนี้

  • กองกำกับการ 1 สืบสวนปราบปรามโจรผู้ร้าย
  • กองกำกับการ 2 สืบสวนราชการพิเศษ
  • กองกำกับการ 3 เทคนิคตำรวจ แบ่งเป็น 5 แผนกคือ แผนกทะเบียนพิมพ์ลายนิ้วมือ , แผนกบันทึกแผนประทุษกรรม , แผนกพิสูจน์หลักฐาน , แผนกบัญชีโจรผู้ร้าย , แผนกเนรเทศ และในปี พ.ศ. 2480 เพิ่มแผนกที่ 6 ทะเบียนต่างด้าว และไปอยู่ในสังกัดอื่น เมื่อ พ.ศ. 2484
  • กองกำกับการ 4 ทะเบียนตำรวจ

ในปี พ.ศ. 2484 จึงได้มีการปรับปรุงและขยายงานของกรมตำรวจโดยจัดตั้ง กองสอบสวนกลาง พร้อมทั้งแยกงานทางด้านวิทยาการจากกองตำรวจสันติบาลมาขึ้นตรงต่อกองสอบสวน กลาง ในปี พ.ศ. 2489 เปลี่ยนชื่อจากกองสอบสวนกลางเป็น กองตำรวจสอบสวนกลาง และในปี พ.ศ. 2491 กิจการของกองตำรวจสอบสวนกลางได้เจริญรุดหน้า จึงยกฐานะขึ้นเป็นกองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง และในกองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลางนั้น มีกองกำกับการหรือเรียกว่า "กองพิเศษ" [1]

กองวิทยาการ แก้

ในวันที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2498 กองวิทยาการได้ถือกำเนิดขึ้นตามพระราชกฤษฎีกาจัดวางระเบียบราชการกรมตำรวจในกระทรวงมหาดไทย [2] โดยมีฐานะเป็นกองบังคับการ สังกัดกองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง ได้มีการปรับปรุงหน่วยงานให้กว้างขวางยิ่งขึ้น โดยมีการยุบ "กองพิเศษ" ไปรวมกับ "กองวิทยาการ" ที่ตั้งขึ้นใหม่ เพื่อต้องการให้ดำเนินงานทางด้าน พิสูจน์วัตถุพยาน ซึ่งเป็นงานของกองพิสูจน์หลักฐาน และการตรวจพิสูจน์ค้นคว้าตัวบุคคล ซึ่งเป็นงานของกองทะเบียนประวัติอาชญากร กองวิทยาการ แบ่งออกเป็น 3 กองกำกับการ คือ

  • กองกำกับการ 1 ประกอบด้วยแผนกถ่ายรูปสถานที่เกิดเหตุ แผนกเอกสารและวัตถุ แผนกหอทดลอง และแผนกพิพิธภัณฑ์ทางคดี
  • กองกำกับการ 2 ประกอบด้วยแผนกตรวจสอบลายพิมพ์นิ้วมือ แผนกตรวจเก็บลายพิมพ์นิ้วมือ แผนกการต้องโทษ และแผนกบันทึกแผนประทุษกรรม
  • กองกำกับการ 3 ประกอบด้วยแผนกสถิติคดีอาชญากร แผนกสถานดูตัว แผนกสืบจับและของหายได้คืน

กองวิทยาการ ได้ถูกยุบเลิก [3] หลังจากดำเนินงานมา 7 ปี 4 เดือน 16 วัน โดยปรับปรุงใหม่และจัดตั้งเป็น กองพิสูจน์หลักฐาน และยกระดับ กองกำกับการ 3 ในกองวิทยาการ ขึ้นเป็นระดับกองบังคับการ โดยใช้ชื่อว่า กองทะเบียนประวัติอาชญากร

กองพิสูจน์หลักฐานและกองทะเบียนประวัติอาชญากร แก้

กองพิสูจน์หลักฐาน และ กองทะเบียนประวัติอาชญากร เกิดขึ้นตามพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการตำรวจ กระทรวงมหาดไทย พ.ศ. 2503 [3] โดยยุบเลิกกองวิทยาการ และแยกงานด้านการพิสูจน์วัตถุพยาน และงานตรวจสอบพิสูจน์ค้นคว้าในด้านดัวบุคคลออกจากกัน และได้มีการปรับปรุงหน่วยงานทั้งสองให้กว้างขวางยิ่งขึ้น โดยยังคงสังกัดอยู่ภายในกองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลางเช่นเดิม

ในปี พ.ศ. 2500 สหรัฐอเมริกาได้ให้ความช่วยเหลือประเทศไทย โดยมองเห็นถึงความสำคัญของงานวิทยาการตำรวจ กรมตำรวจ จึงได้รับความช่วยเหลือจากประเทศสหรัฐอเมริกาในสัญญาที่เรียกว่า The Civil Police Administration Project (C.P.A.) ในสมัย เทรซี่ ปาร์ค เป็นผู้อำนวยการ การช่วยเหลือเน้นหนักทางด้านวิทยาการตำรวจ และได้มีการลงนามในสัญญากับประเทศสหรัฐอเมริการะหว่าง พลตำรวจเอก เผ่า ศรียานนท์ ซึ่งเป็นอธิบดีกรมตำรวจในสมัยนั้น กับ องค์การบริหารวิเทศกิจสหรัฐอเมริกา ประจำประเทศไทย เมื่อวันที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2500 และการปรับปรุงการบริหารงานตำรวจในส่วนภูมิภาคก็เริ่มขึ้นตั้งแต่บัดนั้น เป็นต้นมา จนกระทั่งปี พ.ศ. 2513 องค์การบริหารวิเทศกิจสหรัฐอเมริกา ได้หยุดให้ความช่วยเหลือการปรับปรุงวิทยาการในส่วนภูมิภาค จึงทำให้งานปรับปรุงวิทยาการในส่วนภูมิภาคหยุดชะงักลง [1]

สำนักงานวิทยาการตำรวจ แก้

ในปีพ.ศ. 2523 ในสมัยของ พลตำรวจเอก มนต์ชัย พันธุ์คงชื่น เป็นอธิบดีกรมตำรวจ ได้ไปตรวจราชการในส่วนภูมิภาค ได้พบว่างานด้านวิทยาการขาดประสิทธิภาพ จึงได้มีคำสั่งแต่งตั้งคณะทำงานปรับปรุงวิทยาการ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถของหน่วยงานวิทยาการในส่วนภูมิภาคให้สามารถปฏิบัติ งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเนื่องจากลักษณะงานของวิทยาการอยู่กันอย่างกระจัดกระจาย วิทยาการตำรวจในส่วนกลาง คือ กองทะเบียนประวัติอาชญากร และกองพิสูจน์หลักฐาน มีสายการบังคับบัญชาขึ้นตรงกับกองบัญชาการตำรวจภูธร อันเป็นปัญหาทั้งทางด้านการสรรหาคนเข้ามาปฏิบัติงาน การพัฒนาบุคลากร การรักษาไว้ซึ่งบุคลากรที่จะปฏิบัติงาน เนื่องมาจากการขาดขวัญและกำลังใจ ความก้าวหน้าในชีวิตราชการต่ำอันเป็นปัญหาเกี่ยวกับระบบการบริหารงานบุคคล และองค์การโดยตรง จึงได้มีการปรับปรุงโครงสร้าง โดยรวมเอาหน่วยงานวิทยาการตำรวจในส่วนกลางและภูมิภาคไว้ด้วยกัน จัดตั้งเป็น "สำนักงานวิทยาการตำรวจ" ตามพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการกรมตำรวจ กระทรวงมหาดไทย (ฉบับที่ 18) พ.ศ. 2535 [4] [5] โดยแบ่งส่วนราชการเป็น 7 กองบังคับการ ดังนี้ [1]

  • กองบังคับการอำนวยการ
  • กองพิสูจน์หลักฐาน
  • กองทะเบียนประวัติอาชญากร
  • กองวิทยาการภาค 1
  • กองวิทยาการภาค 2
  • กองวิทยาการภาค 3
  • กองวิทยาการภาค 4

สำนักงานพิสูจน์หลักฐานตำรวจ แก้

สำนักงานวิทยาการตำรวจได้รับการปรับปรุงหน่วยงานใหม่อีกครั้งหนึ่งเพื่อรองรับวิทยาการที่ก้าวหน้ามากขึ้น โดยเปลี่ยนชื่อจาก สำนักงานวิทยาการตำรวจ เป็น สำนักงานนิติวิทยาศาสตร์ตำรวจ ในช่วงแรก ตามพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2548 [6] โดยยังคงการแบ่งส่วนราชการภายในกองบัญชาการไว้เช่นเดิม จนกระทั่งวันที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2552 สำนักงานนิติวิทยาศาสตร์ตำรวจ ได้เปลี่ยนชื่อเป็น สำนักงานพิสูจน์หลักฐานตำรวจ ตามพระราชกฤษฎีการแบ่งส่วนราชการสำนักงานตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2552 [7] และแบ่งส่วนราชการภายในกองบัญชาการในส่วนกลางดังต่อไปนี้

  • กองบังคับการอำนวยการ
  • สถาบันฝึกอบรมและวิจัยนิติวิทยาศาสตร์
  • กองทะเบียนประวัติอาชญากร
  • กองพิสูจน์หลักฐานกลาง

ในส่วนภูมิภาคได้ยุบเลิกกองวิทยาการภาคทั้งหมด และยกฐานะกองกำกับการวิทยาการเขตต่าง ๆ ให้ขึ้นมาเป็นหน่วยงานระดับกองบังคับการ และเรียกชื่อใหม่ว่า ศูนย์พิสูจน์หลักฐาน ซึ่งมีศูนย์กลางอยู่ตามจังหวัดต่าง ๆ ทั่วภูมิภาค ได้แก่

รายนามผู้บัญชาการสำนักงานพิสูจน์หลักฐานตำรวจ แก้

สำนักงานวิทยาการตำรวจ
รายนาม ระยะการดำรงตำแหน่ง
1. พลตำรวจโท สุพาสน์ จีระพันธุ์ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2532 - 30 กันยายน พ.ศ. 2533
2. พลตำรวจโท ประชุม สถาปิตานนท์ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2533 - 30 กันยายน พ.ศ. 2535
3. พลตำรวจโท ประสาน วงศ์ใหญ่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2535 - 22 มกราคม พ.ศ. 2537
4. พลตำรวจโท ชำนาญ สุวรรณรักษ์ 23 มกราคม พ.ศ. 2537 - 30 กันยายน พ.ศ. 2538
5. พลตำรวจโท สมบัติ สุนทรวร 1 ตุลาคม พ.ศ. 2538 - 30 กันยายน พ.ศ. 2539
6. พลตำรวจโท โสภณ สะวิคามิน 4 ตุลาคม พ.ศ. 2539 - 6 ธันวาคม พ.ศ. 2540
7. พลตำรวจโท อรรถพล แช่มสุวรรณวงศ์ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2540 - 13 ตุลาคม พ.ศ. 2542
8. พลตำรวจโท โสภณ ปันกาญจนโต 14 ตุลาคม พ.ศ. 2542 - 1 ตุลาคม พ.ศ. 2543
9. พลตำรวจโท บุญฤทธิ์ รัตนะพร 2 ตุลาคม พ.ศ. 2543 - 30 กันยายน พ.ศ. 2545
10. พลตำรวจโท ประกาศ ศาตะมาน 1 ตุลาคม พ.ศ. 2545 - 30 กันยายน พ.ศ. 2546
11. พลตำรวจโท ถาวรศักดิ์ เทพชาตรี 1 ตุลาคม พ.ศ. 2546 - 4 เมษายน พ.ศ. 2548
สำนักงานนิติวิทยาศาสตร์ตำรวจ
11. พลตำรวจโท ถาวรศักดิ์ เทพชาตรี 4 เมษายน พ.ศ. 2548 - 30 กันยายน พ.ศ. 2548
12. พลตำรวจโท อัมรินทร์ เนียมสกุล 1 ตุลาคม พ.ศ. 2548 - 30 กันยายน พ.ศ. 2549
13. พลตำรวจโท เอก อังสนานนท์ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2549 - 29 เมษายน พ.ศ. 2550
14. พลตำรวจโท อัมพร จารุจินดา 30 เมษายน พ.ศ. 2550 - 30 กันยายน พ.ศ. 2551
15. พลตำรวจโท ดนัยธร วงศ์ไทย 1 ตุลาคม พ.ศ. 2551 - 7 กันยายน พ.ศ. 2552
สำนักงานพิสูจน์หลักฐานตำรวจ
15. พลตำรวจโท ดนัยธร วงศ์ไทย 7 กันยายน พ.ศ. 2552 - 30 กันยายน พ.ศ. 2553
16. พลตำรวจโท จรัมพร สุระมณี 1 ตุลาคม พ.ศ. 2553 - 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554
17. พลตำรวจโท พีระพงศ์ ดามาพงศ์ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 - 30 กันยายน พ.ศ. 2555
18. พลตำรวจโท ปัญญา มาเม่น 1 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 30 กันยายน พ.ศ. 2556
19. พลตำรวจโท คำรบ ปัญญาแก้ว 1 ตุลาคม พ.ศ. 2556 - 30 กันยายน พ.ศ. 2557
20. พลตำรวจโท มนู เมฆหมอก 1 ตุลาคม พ.ศ. 2557 - 30 กันยายน พ.ศ. 2559
21. พลตำรวจโท กิตติพงษ์ เงามุข 1 ตุลาคม พ.ศ. 2559 - 30 กันยายน พ.ศ. 2560
22. พลตำรวจโท พงษ์วุฒิ พงษ์ศรี 1 ตุลาคม พ.ศ. 2560 - 30 กันยายน พ.ศ. 2561
23. พลตำรวจโท พนมพร อิทธิประเสริฐ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2561 - 30 กันยายน พ.ศ. 2562
24. พลตำรวจโท วิเชียร ตันตะวิริยะ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2562 - 30 กันยายน​ พ.ศ.​ 2564
25. พลตำรวจโท​ วีระ​ จิรวีระ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2564​ - 30 กันยายน พ.ศ. 2565
26. พลตำรวจโท​ อิทธิพล อัจฉริยะประดิษฐ์ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2565​ - 30 กันยายน พ.ศ. 2566
27. พลตำรวจโท​ ไตรรงค์ ผิวพรรณ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2566​ - ปัจจุบัน

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 1.2 "ประวัติสำนักงานพิสูจน์หลักฐานตำรวจ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-10-15. สืบค้นเมื่อ 2014-09-19.
  2. พระราชกฤษฎีกาจัดวางระเบียบราชการ กรมตำรวจ กระทรวงมหาดไทย พ.ศ. 2498
  3. 3.0 3.1 พระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการตำรวจ กระทรวงมหาดไทย พ.ศ. 2503
  4. พระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการกรมตำรวจ กระทรวงมหาดไทย (ฉบับที่ 18) พ.ศ. 2535
  5. พระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการกรมตำรวจ กระทรวงมหาดไทย พ.ศ. 2539
  6. พระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2548
  7. พระราชกฤษฎีการแบ่งส่วนราชการสำนักงานตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2552

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

ค้นคว้าเพิ่มเติม แก้