จังหวัดระนอง
ระนอง เป็นจังหวัดชายฝั่งทะเลตะวันตกของภาคใต้ มีพื้นที่ประมาณ 3,298.045 ตารางกิโลเมตรมีพื้นที่ติดต่อทางตะวันออกติดต่อกับจังหวัดชุมพร ทางใต้ติดกับจังหวัดสุราษฎร์ธานีและจังหวัดพังงา ทางตะวันตกติดกับประเทศพม่าและทะเลอันดามัน มีลักษณะพื้นที่เรียวและแคบ มีความยาวถึง 200 กิโลเมตร และมีความแคบในบริเวณอำเภอกระบุรี เพียง 9 กิโลเมตร
จังหวัดระนอง | |
---|---|
การถอดเสียงอักษรโรมัน | |
• อักษรโรมัน | Changwat Ranong |
จากซ้ายไปขวา บนลงล่าง : สุสานเจ้าเมืองระนอง บ่อน้ำร้อนรักษะวาริน อุทยานแห่งชาติน้ำตกหงาว อุทยานแห่งชาติแหลมสน
เกาะพยาม | |
คำขวัญ: คอคอดกระ ภูเขาหญ้า กาหยูหวาน ธารน้ำแร่ มุกแท้เมืองระนอง | |
แผนที่ประเทศไทย จังหวัดระนองเน้นสีแดง | |
ประเทศ | ไทย |
การปกครอง | |
• ผู้ว่าราชการ | นริศ นิรามัยวงศ์[1] (ตั้งแต่ พ.ศ. 2566) |
พื้นที่[2] | |
• ทั้งหมด | 3,298.045 ตร.กม. (1,273.382 ตร.ไมล์) |
อันดับพื้นที่ | อันดับที่ 59 |
ประชากร (พ.ศ. 2566)[3] | |
• ทั้งหมด | 193,371 คน |
• อันดับ | อันดับที่ 75 |
• ความหนาแน่น | 58.63 คน/ตร.กม. (151.9 คน/ตร.ไมล์) |
• อันดับความหนาแน่น | อันดับที่ 72 |
รหัส ISO 3166 | TH-85 |
สัญลักษณ์ประจำจังหวัด | |
• ต้นไม้ | อินทนิล |
• ดอกไม้ | เอื้องเงินหลวง (โกมาซุม) |
• สัตว์น้ำ | ปูเจ้าฟ้า |
ศาลากลางจังหวัด | |
• ที่ตั้ง | ภายในศูนย์ราชการจังหวัดระนอง เลขที่ 999 หมู่ที่ 3 ถนนเพชรเกษม ตำบลบางริ้น อำเภอเมืองระนอง จังหวัดระนอง 85000 |
เว็บไซต์ | http://www.ranong.go.th/ |
ระนองเป็นอีกจังหวัดหนึ่งที่มีประวัติความเป็นมายาวนานนับตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยาเรืองอำนาจ เดิมเป็นหัวเมืองขนาดเล็กขึ้นกับเมืองชุมพร คำว่าระนองเพี้ยนมาจากคำว่า แร่นอง เนื่องจากในพื้นที่จังหวัดมีแร่อยู่มากมาย
ชื่อเรียก
แก้ชื่อระนอง บ้างอธิบายหมายถึง "แร่เนืองนองคือท้องถิ่นมีแร่อุดมสมบูรณ์ จากแร่เนืองนอง" จึงกลายเสียงเป็นระนอง บ้างว่าอาจมาจากคนที่ชื่อ นายนอง เป็นผู้นำและเป็นหัวหน้าหมู่บ้านซึ่งต่อมาได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นหลวงระนอง
คำว่า "ระนอง" ยังมีเสียงใกล้เคียงภาษาอินโดนีเซียว่า "ระนาห์" (Ranah) หมายถึงทุ่งหญ้าหรือเทือกเขาที่ทอดยาว (Kamus Indonesia Inggris) ระนองอาจเป็นคำมลายู คือ "ระ" มาจากเสียงคำท้ายของกัวลา (Guala) แปลว่าปากน้ำ ส่วนคำว่า "นอง" หมายถึงชื่อของแม่น้ำนอง ซึ่งเป็นลำน้ำสายสั้น ๆ ไหลลงสู่ปากน้ำกระ ระนองจึงหมายถึงปากน้ำนองหรือปากแม่น้ำระนอง นอกจากนั้นยังสันนิษฐานว่าอาจเป็นคำยืมมาจากภาษาพม่าคำว่า "ระนัว" (Ranou) หมายถึงผู้ซึ่งอยู่ด้วยความหวัง[4]
ประวัติ
แก้เมืองระนองเคยเป็นชุมชนโบราณที่มีการติดต่อค้าขายกับอินเดียและจีน เป็นเส้นทางที่เดินลัดเทือกเขาตะนาวศรีจากต้นน้ำกระบุรีคือที่ปากจั่นไปยังต้นแม่น้ำชุมพร เป็นชุมชนโบราณอันดับสองรองจาก ชุมชนภูเขาทอง กำพวน กิ่งอำเภอสุขสำราญ ปรากฏคำว่า กระบุรี จารึกอยู่ที่ฐานพระพุทธรูปโบราณที่อำเภอไชยา และปรากฏหลักฐานบันทึกของจีนเรียกกระบุรี (อำเภอกระบุรีในปัจจุบัน) ว่าเกียโลหิ และครหิ (Ki - Lo - Hi - Karahi) จากหนังสือการค้าเมืองนานไฮ ระบุว่า เกียโลหิ ครหิ หรือกระบุรี เคยส่งทูตไปติดต่อค้าขายที่เมืองจีน เมื่อ พ.ศ. 1151 ในรัชสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถกับสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 ระหว่าง พ.ศ. 1991–2072 เมืองระนองมีลักษณะเป็นหัวเมืองขนาดเล็ก ขึ้นอยู่กับเมืองชุมพร ซึ่งเป็นหัวเมืองชั้นตรี นอกจากเมืองระนองแล้วยังมีเมืองตระ (อำเภอกระบุรี)
เมืองระนองมีชื่อปรากฏอยู่ในพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชและพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ว่าเป็นเมืองที่พม่ายกทัพผ่านเข้ามาเพื่อไปตีเมืองชุมพร เมืองระนองมีพลเมืองอยู่น้อย มีราษฎรจากเมืองชุมพรและเมืองหลังสวน อพยพเข้ามาขุดแร่ดีบุกไปขายมาแต่โบราณ ทางราชการได้ผ่อนผันให้ราษฎรส่งส่วยดีบุกแทนการรับราชการ โดยให้มีเจ้าอากรภาษีรับผูกขาดอากรดีบุก มีอำนาจที่จะซื้อและเก็บส่วยดีบุกแก่ทางราชการ ผู้รวบรวมและจัดส่งส่วยอากรแร่ดีบุกให้ทางราชการนั้น ราษฎรชาวเมืองได้ยกย่องให้ "นายนอง" ซึ่งเป็นผู้นำที่ดีและเป็นหัวหน้าหมู่บ้าน นายนองมีความดีความชอบในภาระหน้าที่ดังกล่าว จึงได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น "หลวงระนอง" เจ้าเมืองคนแรก
ในปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อ พ.ศ. 2387 มีคนจีนชื่อ คอซูเจียง ซึ่งต่อมาได้เป็นพระยาดำรงสุจริตมหิศรภักดี (คอซู้เจียง) ได้เดินทางมาตั้งภูมิลำเนาอยูที่เมืองตะกั่วป่า ได้ยื่นเรื่องขอประมูลอากรดีบุกแขวงเมืองตระและระนองได้ ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้เป็นผู้สำเร็จราชการเมืองระนอง ในเวลาต่อมาโปรดเกล้าฯ ให้ยกเมืองระนองและเมืองตระ ขึ้นเป็นหัวเมืองจัตวา ขึ้นตรงต่อกรุงเทพและเลื่อนบรรดาศักดิ์พระรัตนเศรษฐี ขึ้นเป็น พระยารัตนเศรษฐี ผู้ว่าราชการเมืองระนอง เมื่อ พ.ศ. 2405[5] สมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมืองระนองได้โอนมาขึ้นกับมณฑลภูเก็ต[4]
ภูมิประเทศ
แก้สภาพภูมิประเทศของระนอง ประกอบด้วยภูเขาสูงในทางทิศตะวันออก และลาดลงสู่ทะเลอันดามันในทางทิศตะวันตก มีแม่น้ำและคลองสำคัญหลายสาย และมีภูเขาสูงสุดคือ ภูเขาพ่อตาโชงโดง
แม่น้ำลำคลองที่สำคัญมีดังนี้
- แม่น้ำกระบุรี เป็นแม่น้ำที่กั้นพรมแดนไทย-พม่า มีความยาวประมาณ 95 กิโลเมตร
- คลองลำเลียง มีความยาวประมาณ 20 กิโลเมตร
- คลองปากจั่น ไหลลงสู่แม่น้ำกระบุรี มีความยาวประมาณ 30 กิโลเมตร
- คลองวัน ไหลลงสู่แม่น้ำกระบุรี มีความยาวประมาณ 20 กิโลเมตร
- คลองกระบุรี มีความยาวประมาณ 20 กิโลเมตร
- คลองละอุ่น ไหลลงสู่แม่น้ำกระบุรี มีความยาวประมาณ 35 กิโลเมตร
- คลองหาดส้มแป้น มีความยาวประมาณ 19 กิโลเมตร
- คลองกะเปอร์ มีความยาวประมาณ 32 กิโลเมตร
- คลองกำพวน มีความยาวประมาณ 19 กิโลเมตร
ภูมิอากาศ
แก้จังหวัดระนองได้ชื่อว่าเป็นเมือง "ฝนแปด แดดสี่" นั่นคือมีฝนตก 8 เดือน และฝนแล้งเพียง 4 เดือน นับว่าเป็นจังหวัดที่ฝนตกชุกมากที่สุดในประเทศไทย เนื่องจากอยู่ติดกับทะเลอันดามัน ได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้อย่างมาก
หน่วยการปกครอง
แก้การปกครองแบ่งออกเป็น 5 อำเภอ 30 ตำบล 167 หมู่บ้าน
การปกครองส่วนท้องถิ่น
แก้- เทศบาลเมือง
รายชื่อเจ้าเมืองและผู้ว่าราชการจังหวัด
แก้รายชื่อผู้ว่าราชการจังหวัดระนอง | |||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ชื่อ | เข้ารับตำแหน่ง | สิ้นสุดการดำรงตำแหน่ง | |||||||
1. หลวงระนอง (นายระนอง) | สมัยรัชกาลที่ 2 | พ.ศ. 2397 | |||||||
2. พระยารัตนเศรษฐี (คอซูเจียง ณ ระนอง 許泗漳) | พ.ศ. 2397 | พ.ศ. 2420 | |||||||
3. พระยารัตนเศรษฐี (คอซิมก๊อง ณ ระนอง 許心廣) | พ.ศ. 2420 | พ.ศ. 2433 | |||||||
4. พระยารัตนเศรษฐี (คออยู่หงี่ ณ ระนอง 許如義) | พ.ศ. 2433 | พ.ศ. 2460 | |||||||
5. พระระนองบุรีศรีสมุทเขตต์ (คออยู่โง้ย) | พ.ศ. 2460 | พ.ศ. 2468 | |||||||
6. พระยาอมรศักดิ์ประสิทธิ์ (ทนง บุญนาค) | พ.ศ. 2468 | พ.ศ. 2472 | |||||||
7. พระอมรฤทธิธำรง (พร้อม ณ ถลาง) | พ.ศ. 2472 | พ.ศ. 2476 | |||||||
8. พระบูรพทิศอาทร (คออยู่เพิ่ม ณ ระนอง) | พ.ศ. 2476 | พ.ศ. 2482 | |||||||
9. นายพืชน์ เดชะคุปต์ | พ.ศ. 2482 | พ.ศ. 2484 | |||||||
10. นายถนอม วิบูลมงคล | พ.ศ. 2484 | พ.ศ. 2487 | |||||||
11. นายเนื่อง อ.ปาณิกบุตร | 22 กันยายน 2487 | 19 มกราคม 2488 | |||||||
12. นายจันทร์ สมบูรณ์กุล | 25 มกราคม 2488 | 20 ตุลาคม 2489 | |||||||
13. นายแสวง ทิมทอง | 28 ตุลาคม 2489 | 23 พฤษภาคม 2492 | |||||||
14. นายคีรี ศรีรัฐนิยม | 3 มิถุนายน 2492 | 12 ตุลาคม 2496 | |||||||
15. นายแสวง ชัยอาญา | 2 ธันวาคม 2496 | 12 ตุลาคม 2497 | |||||||
16. นายวิเวก จันทโรจวงศ์ | 12 ตุลาคม 2497 | 23 กันยายน 2501 | |||||||
17. นายพันธุ สายตระกูล | 23 กันยายน 2501 | 20 เมษายน 2504 | |||||||
18. พ.ต.อ.บุญณรงค์ วัฑฌนายน | 20 เมษายน 2504 | 30 กันยายน 2508 | |||||||
19. นายมนตรี จันทรปรรณิก | 1 ตุลาคม 2508 | 30 เมษายน 2512 | |||||||
20. นายวงษ์ ช่อวิเชียร | 1 พฤษภาคม 2512 | 30 กันยายน 2513 | |||||||
21. ร.ต.ท.ชาญ เวชเจริญ | 1 ตุลาคม 2513 | 30 กันยายน 2518 | |||||||
22. นายจำลอง พลเดช | 1 ตุลาคม 2518 | 9 พฤษภาคม 2520 | |||||||
23. นายปัญญา ฤกษ์อุไร | 10 พฤษภาคม 2520 | 7 ตุลาคม 2521 | |||||||
24. นายไพฑูรย์ ลิมปิทีป | 8 ตุลาคม 2521 | 2 กุมพาพันธ์ 2523 | |||||||
25. นายพร อุดมพงษ์ | 3 กุมภาพันธ์ 2523 | 7 ตุลาคม 2525 | |||||||
26. นายสาคร เปลี่ยนอำไพ | 8 ตุลาคม 2525 | 30 กันยายน 2528 | |||||||
27. นายอำพัน คล้ายชัง | 1 ตุลาคม 2528 | 30 กันยายน 2530 | |||||||
28. พ.ต.เฉลิม สุภมร | 1 ตุลาคม 2530 | 30 กันยายน 2533 | |||||||
29. ร.ต.สมพร กุลวานิช | 1 ตุลาคม 2533 | 30 กันยายน 2534 | |||||||
30. นายจำนง เฉลิมฉัตร | 1 ตุลาคม 2534 | 30 กันยายน 2537 | |||||||
31. นายสถิตย์ แสงศรี | 1 ตุลาคม 2537 | 30 กันยายน 2538 | |||||||
32. นายศิระ ชวนะวิรัช | 1 ตุลาคม 2538 | 30 กันยายน 2539 | |||||||
33. นายชัยจิตร รัฐขจร | 1 ตุลาคม 2539 | 15 เมษายน 2541 | |||||||
34. นายสถิตย์ แสงศรี | 16 เมษายน 2541 | 30 กันยายน 2541 | |||||||
35. นายทรงวุฒิ งามมีศรี | 1 ตุลาคม 2541 | 30 กันยายน 2542 | |||||||
36. ร.ท.ธวัช หันตรา | 1 ตุลาคม 2542 | 30 กันยายน 2544 | |||||||
37. นายนพพร จันทรถง | 1 ตุลาคม 2544 | 30 กันยายน 2546 | |||||||
38. นายวินัย มงคลธารณ์ | 1 ตุลาคม 2546 | 30 กันยายน 2548 | |||||||
39. นายเมฆินทร์ เมธาวิกูล | 1 ตุลาคม 2548 | 12 พฤศจิกายน 2549 | |||||||
40. นางกาญจนาภา กี่หมัน | 13 พฤศจิกายน 2549 | 30 กันยายน 2551 | |||||||
41. นายวันชาติ วงษ์ชัยชนะ | 1 ตุลาคม 2551 | 25 พฤศจิกายน 2554 | |||||||
42. นายพีระศักดิ์ หินเมืองเก่า | 28 พฤศจิกายน 2554 | 7 ตุลาคม 2555 | |||||||
43. ว่าที่ร้อยตรี เชิดศักดิ์ จำปาเทศ | 19 พฤศจิกายน 2555 | 30 กันยายน 2557 | |||||||
44. นายสุริยันต์ กาญจนศิลป์ | 3 พฤศจิกายน 2557 | 30 กันยายน 2559 | |||||||
45. นายจตุพจน์ ปิยัมปุตระ | 1 ตุลาคม 2559 | 30 กันยายน 2563 | |||||||
46. นายสมเกียรติ ศีรษะเนตร | 1 ตุลาคม 2563 | 30 กันยายน 2565 | |||||||
47. นายศักระ กปิลกาญจน์ | 2 ธันวาคม 2565 | 30 กันยายน 2566 | |||||||
48. นายนริศ นิรามัยวงศ์ | 17 ธันวาคม 2566 | ปัจจุบัน |
อุทยาน
แก้บุคคลที่มีชื่อเสียง
แก้- วิรัช ร่มเย็น - นักการเมือง
- คงกฤษ ฉัตรมาลีรัตน์ - นักการเมือง
- จรัสพงษ์ สุรัสวดี - นักแสดง พิธีกร
- จิรัฐชัย ชยุติ - นักร้อง นักแสดง
- ชุติมา ทีปะนาถ - นักแสดง
- มุกดา นรินทร์รักษ์ - นักแสดง
- อ้อย กะท้อน - นักร้อง
อ้างอิง
แก้- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 140 ตอน 318 ง หน้า 13 วันที่ 19 ธันวาคม 2566
- ↑ ศูนย์สารสนเทศเพื่อการบริหารและงานปกครอง. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ข้อมูลการปกครอง." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.dopa.go.th/padmic/jungwad76/jungwad76.htm เก็บถาวร 2016-03-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน [ม.ป.ป.]. สืบค้น 18 เมษายน 2553.
- ↑ กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2564." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.bora.dopa.go.th/stat/pk/pk_64.pdf 2564. สืบค้น 17 มีนาคม 2565.
- ↑ 4.0 4.1 ประพนธ์ เรืองณรงค์. "ระนอง".
- ↑ "พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ระนอง". สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดระนอง. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-07-16. สืบค้นเมื่อ 2021-07-16.
ดูเพิ่ม
แก้แหล่งข้อมูลอื่น
แก้งานศึกษาที่เกี่ยวข้อง
แก้เว็บไซต์
แก้- เว็บไซต์อย่างเป็นทางการของจังหวัด เก็บถาวร 2005-06-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
9°58′N 98°38′E / 9.97°N 98.63°E
- แผนที่และภาพถ่ายทางอากาศของ จังหวัดระนอง
- แผนที่ จาก มัลติแมป โกลบอลไกด์ หรือ กูเกิลแผนที่
- ภาพถ่ายทางอากาศ จาก เทอร์ราเซิร์ฟเวอร์
- ภาพถ่ายดาวเทียม จาก วิกิแมเปีย