รายการพันธุ์ไม้มงคลพระราชทานประจำจังหวัด

บทความรายชื่อวิกิมีเดีย

พันธุ์ไม้มงคลพระราชทานประจำจังหวัด เป็นพันธุ์ไม้ที่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถได้พระราชทานให้กับผู้ว่าราชการจังหวัดของแต่ละจังหวัด เพื่อให้นำไปปลูกเป็นสิริมงคลแก่จังหวัดและเพื่อเป็นการรณรงค์ให้ประชาชนปลูกต้นไม้ในโครงการปลูกป่าถาวรเฉลิมพระเกียรติ เนื่องในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงครองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี (พระราชพิธีกาญจนาภิเษก)[1]

รายชื่อพันธุ์ไม้มงคลพระราชทานประจำจังหวัดของแต่ละจังหวัดแยกตามภาค (ตามเกณฑ์การแบ่งของราชบัณฑิตยสถาน) มีรายละเอียดตามที่ปรากฏในตารางข้างล่าง ทั้งนี้ พันธุ์ไม้มงคลพระราชทานของบางจังหวัด (ได้แก่ นครปฐม บุรีรัมย์ ยโสธร ระนอง ระยอง สุโขทัย และสุรินทร์) จะเป็นพรรณไม้คนละชนิดกับต้นไม้ประจำจังหวัดนั้น ๆ ส่วนจังหวัดบึงกาฬไม่มีพันธุ์ไม้พระราชทานเนื่องจากขณะนั้นยังเป็นส่วนหนึ่งของจังหวัดหนองคาย

ภาคเหนือ

แก้
จังหวัด พันธุ์ไม้มงคลพระราชทาน
ประจำจังหวัด
ชื่อวิทยาศาสตร์ ภาพ
เชียงราย กาซะลองคำ Mayodendron igneum  
เชียงใหม่ ทองกวาว (กวาว, ก๋าว) Butea monosperma  
น่าน กำลังเสือโคร่ง Betula alnoides  
พะเยา สารภี Mammea siamensis  
แพร่ ยมหิน (ยมขาว) Chukrasia tabularis  
แม่ฮ่องสอน จั่น (กระพี้จั่น) Millettia brandisiana
ลำปาง กระเชา (ขเจา, ขจาว) Holoptelea integrifolia  
ลำพูน ก้ามปู (สำสา, จามจุรีแดง, จามจุรี) Samanea saman[# 1]  
อุตรดิตถ์ สัก Tectona grandis  
หมายเหตุ
  1. พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 เรียกพรรณไม้ชนิดนี้ว่า "ก้ามปู" หรือ "จามจุรีแดง" และเรียกพรรณไม้ Albizia lebbeck ซึ่งเป็นพันธุ์ไม้พระราชทานประจำจังหวัดมหาสารคามว่า "จามจุรี"

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

แก้
จังหวัด พันธุ์ไม้มงคลพระราชทาน
ประจำจังหวัด
ชื่อวิทยาศาสตร์ ภาพ
กาฬสินธุ์ มะหาด Artocarpus lacucha  
ขอนแก่น กัลปพฤกษ์ Cassia bakeriana[2]  
ชัยภูมิ ขี้เหล็ก Senna siamea  
นครพนม กันเกรา (มันปลา) Fagraea fragrans  
นครราชสีมา สาธร Millettia leucantha var. buteoides
บึงกาฬ [# 1]
บุรีรัมย์ กาฬพฤกษ์[# 2] Cassia grandis  
มหาสารคาม พฤกษ์ (จามจุรี, มะรุมป่า) Albizia lebbeck[# 3]  
มุกดาหาร ตานเหลือง (ช้างน้าว) Ochna integerrima  
ยโสธร กระบาก[# 4] Anisoptera costata  
ร้อยเอ็ด กระบก (หมากบก) Irvingia malayana  
เลย สนสามใบ (สนเขา) Pinus kesiya  
ศรีสะเกษ ลำดวน (รันดูล) Melodorum fruticosum  
สกลนคร อินทนิล (อินทนิลน้ำ) Lagerstroemia speciosa  
สุรินทร์ มะค่าแต้ (แต้)[# 5] Sindora siamensis
หนองคาย ชิงชัน Dalbergia oliveri  
หนองบัวลำภู พะยูง Dalbergia cochinchinensis
อำนาจเจริญ ตะเคียนหิน Hopea ferrea  
อุดรธานี รัง Shorea siamensis
อุบลราชธานี ยางนา Dipterocarpus alatus  
หมายเหตุ
  1. ไม่มีพันธุ์ไม้พระราชทานเนื่องจากขณะนั้นยังเป็นส่วนหนึ่งของจังหวัดหนองคาย ต่อมาเมื่อมีการจัดตั้งจังหวัดบึงกาฬ ทางราชการจึงกำหนดให้สิรินธรวัลลีหรือสามสิบสองประดง (Phanera sirindhorniae) เป็นต้นไม้ประจำจังหวัด
  2. เว็บไซต์จังหวัดบุรีรัมย์ระบุว่าต้นไม้ประจำจังหวัดคือแปะ (Vitex quinata)
  3. พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 เรียกพรรณไม้ชนิดนี้ว่า "จามจุรี" และเรียกพรรณไม้ Albizia saman ซึ่งเป็นพันธุ์ไม้พระราชทานประจำจังหวัดลำพูนว่า "ก้ามปู" หรือ "จามจุรีแดง"
  4. เว็บไซต์จังหวัดยโสธรระบุว่าต้นไม้ประจำจังหวัดคือยางนา (Dipterocarpus alatus)
  5. เว็บไซต์จังหวัดสุรินทร์ระบุว่าต้นไม้ประจำจังหวัดคือกันเกรา (Fagraea fragrans)

ภาคกลาง

แก้
เขตการปกครอง/จังหวัด พันธุ์ไม้มงคลพระราชทาน
ประจำจังหวัด
ชื่อวิทยาศาสตร์ ภาพ
กรุงเทพมหานคร ไทรย้อยใบแหลม Ficus benjamina  
กำแพงเพชร สีเสียดแก่น (สีเสียด, สีเสียดเหนือ) Senegalia catechu  
ชัยนาท มะตูม Aegle marmelos  
นครนายก สุพรรณิการ์[3] Cochlospermum regium
นครปฐม จันทน์ชะมดชนิด Mansonia gagei (จันทน์หอม) Mansonia gagei[4][# 1]  
นครสวรรค์ เสลา (อินทรชิต) Lagerstroemia loudonii  
นนทบุรี นนทรี (นนทรีบ้าน) Peltophorum pterocarpum  
ปทุมธานี ทองหลางลาย (ทองหลางด่าง, ปาริชาต) Erythrina variegata  
พระนครศรีอยุธยา หมัน Cordia cochinchinensis[5]
พิจิตร บุนนาค Mesua ferrea  
พิษณุโลก ปีบ Millingtonia hortensis  
เพชรบูรณ์ มะขาม Tamarindus indica  
ลพบุรี พิกุล Mimusops elengi  
สมุทรปราการ โพทะเล Thespesia populnea  
สมุทรสงคราม จิกเล (จิกทะเล) Barringtonia asiatica  
สมุทรสาคร พญาสัตบรรณ (สัตบรรณ, ตีนเป็ด) Alstonia scholaris  
สระบุรี ตะแบกนา Lagerstroemia floribunda  
สิงห์บุรี มะกล่ำตาช้าง (มะกล่ำต้น) Adenanthera pavonina  
สุโขทัย มะค่า (มะค่าโมง)[# 2] Afzelia xylocarpa  
สุพรรณบุรี มะเกลือ Diospyros mollis  
อ่างทอง มะพลับ (พลับ) Diospyros malabarica var. siamensis  
อุทัยธานี สะเดา Azadirachta indica var. siamensis  
หมายเหตุ
  1. เว็บไซต์จังหวัดนครปฐมระบุว่าต้นไม้ประจำจังหวัดคือจัน (Diospyros decandra) ซึ่งเป็นพรรณไม้คนละชนิดกับจันทน์ชะมด (Mansonia gagei)
  2. เว็บไซต์จังหวัดสุโขทัยระบุว่าต้นไม้ประจำจังหวัดคือตาล (Borassus flabellifer)

ภาคตะวันออก

แก้
จังหวัด พันธุ์ไม้มงคลพระราชทาน
ประจำจังหวัด
ชื่อวิทยาศาสตร์ ภาพ
จันทบุรี จัน (จันอิน, จันโอ, จันลูกหอม) Diospyros decandra  
ฉะเชิงเทรา อะราง (นนทรีป่า) Peltophorum dasyrrhachis  
ชลบุรี ประดู่ (ประดู่ป่า) Pterocarpus macrocarpus  
ตราด หูกวาง Terminalia catappa  
ปราจีนบุรี โพ (โพศรีมหาโพธิ) Ficus religiosa  
ระยอง กระทิง (สารภีทะเล, กากะทิง)[# 1] Calophyllum inophyllum  
สระแก้ว มะขามป้อม Phyllanthus emblica  
หมายเหตุ
  1. เว็บไซต์จังหวัดระยองระบุว่าต้นไม้ประจำจังหวัดคือประดู่ (Pterocarpus macrocarpus)

ภาคตะวันตก

แก้
จังหวัด พันธุ์ไม้มงคลพระราชทาน
ประจำจังหวัด
ชื่อวิทยาศาสตร์ ภาพ
กาญจนบุรี ขานาง Homalium tomentosum
ตาก แดง Xylia xylocarpa var. kerrii  
ประจวบคีรีขันธ์ เกด Manilkara hexandra  
เพชรบุรี หว้า Syzygium cumini  
ราชบุรี โมกมัน Wrightia arborea  

ภาคใต้

แก้
จังหวัด พันธุ์ไม้มงคลพระราชทาน
ประจำจังหวัด
ชื่อวิทยาศาสตร์ ภาพ
กระบี่ ทุ้งฟ้า Alstonia macrophylla  
ชุมพร มะเดื่ออุทุมพร (มะเดื่อชุมพร) Ficus racemosa  
ตรัง ศรีตรังชนิด Jacaranda obtusifolia[6] Jacaranda obtusifolia
นครศรีธรรมราช แซะ Callerya atropurpurea  
นราธิวาส ตะเคียนชันตาแมว (จืองา มัส, จืองา บาตู) Neobalanocarpus heimii  
ปัตตานี ตะเคียน (ตะเคียนทอง, จืองา) Hopea odorata  
พังงา เทพทาโร (จวง, จวงหอม) Cinnamomum porrectum
พัทลุง พะยอม Shorea roxburghii  
ภูเก็ต ประดู่บ้าน (ประดู่) Pterocarpus indicus  
ยะลา อโศกเหลือง (โสกเหลือง, ศรียะลา) Saraca thaipingensis  
ระนอง อบเชย (เชียด, บริแวง, ฝนแสนห่า)[# 1] Cinnamomum bejolghota[7][# 2]
สงขลา สะเดาเทียม (เทียม, สะเดาช้าง) Azadirachta excelsa
สตูล กระซิก (หมากพลูตั๊กแตน) Dalbergia parviflora[8][9]
สุราษฎร์ธานี เคี่ยม Cotylelobium lanceolatum
หมายเหตุ
  1. เว็บไซต์องค์การบริหารส่วนจังหวัดระนองระบุว่าต้นไม้ประจำจังหวัดคืออินทนิล (Lagerstroemia speciosa)
  2. พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 เรียกพรรณไม้ชนิดนี้ว่า "อบเชยญวน"

ดูเพิ่ม

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. "สำเนาที่เก็บถาวร". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-12-02. สืบค้นเมื่อ 2007-12-02.
  2. ส่วนเพาะชำกล้าไม้. สำนักส่งเสริมการปลูกป่า. กรมป่าไม้. พันธุ์ไม้มงคลพระราชทาน. กรุงเทพฯ : มูลนิธิสถาบันราชพฤกษ์, 2540, หน้า 19.
  3. บรรยายสรุปจังหวัดนครนายก ประจำปี 2558.[ลิงก์เสีย]
  4. ส่วนเพาะชำกล้าไม้. สำนักส่งเสริมการปลูกป่า. กรมป่าไม้. พันธุ์ไม้มงคลพระราชทาน. กรุงเทพฯ : มูลนิธิสถาบันราชพฤกษ์, 2540, หน้า 58.
  5. ส่วนเพาะชำกล้าไม้. สำนักส่งเสริมการปลูกป่า. กรมป่าไม้. พันธุ์ไม้มงคลพระราชทาน. กรุงเทพฯ : มูลนิธิสถาบันราชพฤกษ์, 2540, หน้า 44.
  6. ส่วนเพาะชำกล้าไม้. สำนักส่งเสริมการปลูกป่า. กรมป่าไม้. พันธุ์ไม้มงคลพระราชทาน. กรุงเทพฯ : มูลนิธิสถาบันราชพฤกษ์, 2540, หน้า 71.
  7. ส่วนเพาะชำกล้าไม้. สำนักส่งเสริมการปลูกป่า. กรมป่าไม้. พันธุ์ไม้มงคลพระราชทาน. กรุงเทพฯ : มูลนิธิสถาบันราชพฤกษ์, 2540, หน้า 65.
  8. ส่วนเพาะชำกล้าไม้. สำนักส่งเสริมการปลูกป่า. กรมป่าไม้. พันธุ์ไม้มงคลพระราชทาน. กรุงเทพฯ : มูลนิธิสถาบันราชพฤกษ์, 2540, หน้า 72.
  9. สำนักงานจังหวัดสตูล. "ต้นไม้ประจำจังหวัด." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://123.242.184.177/satun/91000/index.php/satun-profile/provincial-tree[ลิงก์เสีย] [ม.ป.ป.]. สืบค้น 21 สิงหาคม 2558.

บรรณานุกรม

แก้
  • ราชบัณฑิตยสถาน. พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔ เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔. กรุงเทพฯ : ราชบัณฑิตยสถาน, 2556.
  • ราชบัณฑิตยสถาน. หนังสืออนุกรมวิธานพืช อักษร ก. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : ราชบัณฑิตยสถาน, 2547.
  • ราชบัณฑิตยสถาน. หนังสืออนุกรมวิธานพืช อักษร ข. กรุงเทพฯ : ราชบัณฑิตยสถาน, 2547.
  • ราชันย์ ภู่มา และสมราน สุดดี, บรรณาธิการ. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย เต็ม สมิตินันทน์ ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2557. กรุงเทพฯ : สำนักงานหอพรรณไม้ สำนักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืช กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, 2557.
  • ส่วนเพาะชำกล้าไม้. สำนักส่งเสริมการปลูกป่า. กรมป่าไม้. พันธุ์ไม้มงคลพระราชทาน. กรุงเทพฯ : มูลนิธิสถาบันราชพฤกษ์, 2540.