มะขามป้อม
มะขามป้อม หรือ มะขามป้อมอินเดีย (ชื่อวิทยาศาสตร์: Phyllanthus emblica) เป็นต้นไม้ยืนต้นชนิดหนึ่ง อยู่ในวงศ์ Phyllanthaceae เป็นผลไม้ที่มีวิตามินซีสูง และมีคุณค่าทางสมุนไพรด้วย มะขามป้อมเป็นต้นไม้ประจำจังหวัดสระแก้ว มีชื่อพื้นเมืองอื่นอีกคือ กันโตด (เขมร - กาญจนบุรี) กำทวด (ราชบุรี) มะขามป้อม (ทั่วไป) มั่งลู่, สันยาส่า (กะเหรี่ยง - แม่ฮ่องสอน)[5]
มะขามป้อม | |
---|---|
พืช | |
ผล | |
สถานะการอนุรักษ์ | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
โดเมน: | ยูแคริโอต Eukaryota |
อาณาจักร: | พืช Plantae |
เคลด: | พืชมีท่อลำเลียง Tracheophytes |
เคลด: | พืชดอก Angiosperms |
เคลด: | พืชใบเลี้ยงคู่แท้ Eudicots |
เคลด: | โรสิด Rosids |
อันดับ: | อันดับโนรา Malpighiales |
วงศ์: | วงศ์มะขามป้อม Phyllanthaceae |
สกุล: | สกุลมะขามป้อม Phyllanthus L.[2] |
สปีชีส์: | Phyllanthus emblica |
ชื่อทวินาม | |
Phyllanthus emblica L.[2] | |
ชื่อพ้อง[3][4] | |
|
มะขามป้อมจัดเป็นผลไม้ที่มีวิตามินซีสูงที่สุด ในบรรดาผลไม้ทั้งหมด เพราะมะขามป้อมลูกเล็ก ๆ เพียงลูกเดียว ให้วิตามินซีสูงกว่าวิตามินซีสังเคราะห์ถึง 12 เท่า และมากกว่าน้ำส้มคั้นถึง 20 เท่า
ถิ่นกำเนิด
แก้มะขามป้อมมีถิ่นกำเนิดอยู่ในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น ในประเทศไทย เมียนมาร์ ลาว กัมพูชา และในเอเชียใต้ เช่น ประเทศอินเดีย ปากีสถาน ศรีสังกา บังคลาเทศ นอกจากนี้ยังมีถิ่นกำเนิดในประเทศจีนตอนใต้
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
แก้เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก-กลาง สูง 8-12 เมตร ลำต้นมักคดงอ เปลือกนอกสีน้ำตาลอมเทา ผิวเรียบหรือค่อนข้างเรียบ เปลือกในสีชมพูสด ใบเดี่ยว มีลักษณะคล้ายใบประกอบคล้ายใบมะขาม รูปขอบขนานติดเรียงสลับ กว้าง 0.25-0.5 ซม.ยาว 0.8-12 ซม. สีเขียวอ่อนเรียงชิดกัน ใบสั้นมาก เส้นแขนงใบไม่ชัดเจน
ดอกขนาดเล็กแยกเพศ แต่อยู่บนกิ่งหรือต้นเดียวกัน ออกตามง่ามใบ 3-5 ดอกแน่น ตามปลายกิ่ง กลีบเลี้ยง 6 กลีบ ดอกสีขาวหรือขาวนวล ผลทรงกลมมีเนื้อหนา 1.2-2 ซม. ผลอ่อนมีสีเขียวอ่อน ผลแก่มีเขียวอ่อนค่อนข้างใส มีเส้นริ้ว ๆ ตามยาว สังเกตได้ 6 เส้น เนื้อผลรับประทานได้มีรสฝาดเปรี้ยว ขมและอมหวาน เปลือกหุ้มเมล็ดแข็งมี 6 เส้น เมล็ดมี 6 เมล็ด[5]
การใช้ประโยชน์
แก้ใช้รับประทานเพื่อบรรเทาหวัด แก้ไอ และละลายเสมหะได้[6] มีแทนนินซึ่งมีฤทธิ์ในการต้านออกซิเดชัน ต้านอนุมูลอิสระ (Antioxidant) ยับยั้งการสร้างเมลานิน และสามารถยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ไทโรซิเนส (Tyrosinase) ได้
ชาวกะเหรี่ยงจะใช้เพื่อย้อมผ้าให้เป็นสีเทา[7]
อ้างอิง
แก้- ↑ Roland, C. (2020). "Phyllanthus emblica". IUCN Red List of Threatened Species. 2020: e.T149444430A149548926. doi:10.2305/IUCN.UK.2020-3.RLTS.T149444430A149548926.en. สืบค้นเมื่อ 19 November 2021.
- ↑ "Phyllanthus emblica". Germplasm Resources Information Network (GRIN). Agricultural Research Service (ARS), United States Department of Agriculture (USDA). สืบค้นเมื่อ 2008-03-06.
- ↑ "Phyllanthus emblica L." World Flora Online. World Flora Consortium. 2023. สืบค้นเมื่อ 25 April 2023.
- ↑ "Phyllanthus emblica L." Plants of the World Online (ภาษาอังกฤษ). Royal Botanical Gardens, Kew. สืบค้นเมื่อ 30 June 2022.
- ↑ 5.0 5.1 มะขามป้อม เก็บถาวร 2010-06-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ศูนย์ปฏิบัติการพืชเศรษฐกิจ
- ↑ DO-ME เก็บถาวร 2018-01-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ประโยชน์ของIndian Gooseberry
- ↑ ขวัญฤทัย คำฝาเชื้อ 2551 พฤกษศาสตร์พื้นบ้านของชาวกะเหรี่ยง ที่ตำบลบ้านจันทร์และแจ่มหลวง อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ วิทยานิพนธ์ (วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่271 หน้า ดูฉบับเต็ม เก็บถาวร 2021-06-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ Phyllanthus emblica