ศรีตรัง หรือ แคฝอย (ชื่อวิทยาศาสตร์: Jacaranda obtusifolia) เป็นไม้ต้นผลัดใบขนาดกลางในวงศ์แคหางค่าง[1][2] ปลูกเป็นไม้ประดับ สูง 4–10 เมตร เรือนยอดโปร่ง เปลือกสีน้ำตาลอมขาว แตกล่อนเป็นแผ่นบางตามยาวคล้ายกระดาษ ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก 2 ชั้น เรียงตรงกันข้าม ใบย่อย 12–21 คู่ เรียงตรงข้าม ใบรูปขอบขนานแกมรูปเหลี่ยมข้าวหลามตัด มีขนาดเล็ก กว้าง 0.5–0.7 เซนติเมตร ยาว 1–1.5 เซนติเมตร ปลายใบแหลม โคนใบเบี้ยว เส้นแขนงใบข้างละ 4–5 เส้น ก้านใบหลักยาว 7–11 เซนติเมตร ก้านใบประกอบยาว 4–8 มิลลิเมตร ไม่มีก้านใบย่อย ดอก สีม่วงอ่อน มีกลิ่นหอมอ่อน ออกเป็นช่อแบบกระจุกแยกแขนงตามกิ่งและซอกใบ ใกล้ปลายกิ่ง ช่อดอกยาว 5–9 เซนติเมตร กลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอดสีม่วงเข้มปลายแยก 5 แฉก ดอกบานเต็มที่กว้าง 1.5–2.5 เซนติเมตร จะออกดอกประมาณเดือนมกราคม–มีนาคม เป็นผลประมาณเดือนเมษายน–พฤษภาคม ผลแห้งแตกเป็นฝักสีน้ำตาลอ่อน กว้าง 1–1.5 เซนติเมตร ยาว 2.2–2.5 เซนติเมตร เมล็ดมีปีกจำนวนมาก

Jacaranda obtusifolia
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ แก้ไขการจำแนกนี้
โดเมน: ยูแคริโอต
Eukaryota
อาณาจักร: พืช
Plantae
เคลด: พืชมีท่อลำเลียง
Tracheophytes
เคลด: พืชดอก
Angiosperms
เคลด: พืชใบเลี้ยงคู่แท้
Eudicots
เคลด: แอสเทอริด
Asterids
อันดับ: กะเพรา
Lamiales
วงศ์: วงศ์แคหางค่าง
Bignoniaceae
สกุล: Jacaranda
Jacaranda
Humb. & Bonpl.
สปีชีส์: Jacaranda obtusifolia
ชื่อทวินาม
Jacaranda obtusifolia
Humb. & Bonpl.

ศรีตรังเป็นชื่อไม้ต้นสองชนิด ได้แก่ ชนิด J. obtusifolia และชนิด J. mimosifolia ทั้งสองชนิดมีถิ่นกำเนิดในทวีปอเมริกาใต้ แต่มีลักษณะทางพฤกษศาสตร์ต่างกันบางประการ พระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดี (คอซิมบี๊ ณ ระนอง) ได้นำศรีตรังชนิด J. obtusifolia มาปลูกที่เมืองตรังเป็นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2444 ปัจจุบันศรีตรังชนิดนี้เป็นชนิดที่นิยมปลูกกันทั่วไปในประเทศไทย ทั้งยังได้รับการกำหนดให้เป็นพันธุ์ไม้มงคลพระราชทานและดอกไม้ประจำจังหวัดตรัง[3][4]

ในวัฒนธรรม

แก้

ต้นศรีตรังชนิดนี้เป็นไม้ประจำหน่วยงานและสถานศึกษาดังต่อไปนี้

อนึ่ง มหาวิทยาลัยมหิดลก็เคยใช้ศรีตรังเป็นต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัย แต่เมื่อศาสตราจารย์ สตางค์ มงคลสุข นำต้นไม้ชนิดนี้ไปปลูกที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ศรีตรังจึงกลายเป็นต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัยแห่งนี้ด้วย ต่อมามหาวิทยาลัยมหิดลได้เปลี่ยนไปใช้ต้นกันภัยมหิดลเป็นต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัยแทน

ดูเพิ่ม

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. "Jacaranda obtusifolia Humb. & Bonpl". www.gbif.org (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 3 เมษายน 2022.
  2. "Jacaranda obtusifolia Bonpl. — The Plant List". www.theplantlist.org. สืบค้นเมื่อ 3 เมษายน 2022.
  3. ปรีชา อร่ามพงษ์พันธ์; และคณะ (2540) [2535]. พันธุ์ไม้มงคลพระราชทาน. ส่วนเพาะชำกล้าไม้ สำนักส่งเสริมการปลูกป่า กรมป่าไม้. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสถาบันราชพฤกษ์. หน้า 71.
  4. "ดอกไม้ประจำจังหวัด". กลุ่มงานข้อมูลสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานจังหวัดตรัง. 2011. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 พฤศจิกายน 2015. สืบค้นเมื่อ 20 พฤศจิกายน 2015.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้
  •   วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ Jacaranda obtusifolia