โรงเรียน มอ.วิทยานุสรณ์
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
โรงเรียน มอ.วิทยานุสรณ์ เป็นโรงเรียนวิทยาศาสตร์ ที่มีสถานภาพเป็นโรงเรียนเอกชนภายใต้การกำกับดูแลของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ โดยมูลนิธิเพื่อการศึกษาโรงเรียน มอ.วิทยานุสรณ์ เป็นผู้รับใบอนุญาตจัดตั้งโรงเรียน และมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์เป็นผู้จดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิฯ โดยคำแนะนำของสภามหาวิทยาลัย โดยโรงเรียนมีการจัดการเรียนการสอนทางด้านวิทยาศาสตร์ในระดับมัธยมศึกษาตอนต้นและมัธยมศึกษาตอนปลาย เริ่มเปิดสอนในปีการศึกษา 2548[3]
โรงเรียน มอ.วิทยานุสรณ์ PSU.Wittayanusorn School | |
---|---|
ที่ตั้ง | |
424/18 ถนนกาญจนวนิช ตำบลคอหงส์ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา 90110[1] | |
ข้อมูล | |
ชื่ออื่น | มอ.ว. / PSU.WIT. |
ประเภท | โรงเรียนเอกชน ภายใต้การกำกับดูแลของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ |
คำขวัญ | อนาคตยั่งยืนด้วยปัญญา |
สถาปนา | 26 มกราคม 2548 |
ผู้ก่อตั้ง | รศ.ประเสริฐ ชิตพงศ์[2] |
รหัส | 1190100039 |
ผู้อำนวยการ | สุชาติ สุขะพันธ์ |
ระดับปีที่จัดการศึกษา | มัธยมศึกษา |
จำนวนนักเรียน | 1,376 คน (2566) |
สี | สีน้ำเงิน - สีเทา |
เพลง | "มาร์ช มอ.ว." |
ต้นไม้ | ศรีตรัง |
เว็บไซต์ | https://www.psuwit.ac.th/ |
ผู้บริหารโรงเรียน
แก้ที่ | ชื่อ สกุล | ตำแหน่ง | วาระดำรงตำแหน่ง |
---|---|---|---|
1 | รศ.นพ.วรัญ ตันชัยสวัสดิ์ | ผู้รับใบอนุญาตและผู้จัดการโรงเรียน | พ.ศ. 2548 – ปัจจุบัน |
2 | รศ.ธวัช ชิตตระการ | ที่ปรึกษาฝ่ายวิชาการและกิจการด้านต่างประเทศ | พ.ศ. 2548 – ปัจจุบัน |
3 | นายสุชาติ สุขะพันธ์ | ผู้อำนวยการ | พ.ศ. 2562 – ปัจจุบัน |
4 | นางสิริลักษณ์ ตันชัยสวัสดิ์ | ที่ปรึกษาฝ่ายกิจการพิเศษ | พ.ศ. 2548 – ปัจจุบัน |
5 | นางฒามรา พรหมหอม | ผู้ช่วยอำนวยการฝ่ายวิชาการ | พ.ศ. 2562 - ปัจจุบัน |
อัตลักษณ์ของโรงเรียน
แก้คือ SMART with CARE & SHARE ประกอบด้วย
SMART
แก้- Scientific-minded คิดแบบวิทยาศาสตร์
- Good Manner บุคลิกลักษณะดี
- Aesthetic appreciation มีสุนทรียภาพ
- Reliable and responsible เชื่อถือได้และรับผิดชอบ
- Teamwork ทำงานเป็นทีมได้
CARE
แก้- Considerate เอาใจใส่
- Attentive ตั้งใจรับฟัง
- Responsive ขานรับฉับไว
- Empathy ความสามารถเข้าใจความรู้สึกผู้อื่น
SHARE
แก้- Scientific-Based ให้ฐานตรรกะวิทยาศาสตร์ในการแบ่งปัน
- Honest ซื่อสัตย์ต่อตนเองและผู้อื่น
- Accountable รับผิดชอบ อธิบายได้
- Respectful ให้เกียรติผู้อื่น
- Enthusiastic กระตือรือร้น
แนวการบริหารจัดการ
แก้- นักเรียนเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้
- เรียนรู้ร่วมกัน แบ่งปันความรู้ การจัดการความรู้
- คิดแบบวิทยาศาสตร์
- ธรรมาภิบาลพัฒนาบุคลากร
- ระบบสืบสอบ การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem Based Learning: PBL)
- สุนทรียภาพ การค้นหาศักยภาพ
ประเภทการรับสมัครเข้าศึกษา
แก้การสมัครเข้าศึกษาต่อยังโรงเรียน มอ.วิทยานุสรณ์ แบ่งออกเป็น 3 ประเภทคือ
โครงการสนับสนุนการจัดตั้งห้องเรียนวิทยาศาสตร์ในโรงเรียน โดยการกำกับดูแลของมหาวิทยาลัย
แก้โครงการสนับสนุนการจัดตั้งห้องเรียนวิทยาศาสตร์ในโรงเรียน โดยการกำกับดูแลของมหาวิทยาลัย หรือเรียกโดยย่อว่า โครงการ วมว. มีการคัดเลือกรอบแรกดำเนินการโดยโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ ซึ่งเปิดรับสมัครนักเรียนที่จบการศึกษาในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 หรือกำลังศึกษาอยู่ในปีการศึกษานั้น จากทั่วประเทศและทุกพื้นที่บริการ ซึ่งนักเรียนที่เลือกสอบเข้าโครงการ วมว. จะไม่สามารถเลือกสอบเข้าโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัยได้ โดยจะคัดเลือกในรอบแรกไว้ 200 คน และในรอบที่สอง การสอบคัดเลือกจะดำเนินการโดยโรงเรียนเอง เพื่อคัดเลือกเหลือเพียง 60 คน (แบ่งเป็น 2 ห้องเรียน)
ประเภทคัดเลือกทั่วไป
แก้เป็นการสอบคัดเลือกรูปแบบปกติ ดำเนินการสอบคัดเลือกโดยโรงเรียนเอง โดยการสอบประเภทนี้จะจัดสอบในช่วงเดือนธันวาคมของทุกปีการศึกษา แบ่งจำนวนการรับนักเรียนด้วยวิธีนี้ในมัธยมศึกษาปีที่ 1 ประมาณ 150 คนต่อปี และมัธยมศึกษาปีที่ 4 รับตามจำนวนที่ไม่เท่ากันในแต่ละปี ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เดิมที่มีสิทธิ์เข้าศึกษาต่อ และประสงค์จะเข้าเรียนในชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายต่อไป โดยยังมีการแบ่งกลุ่มการจัดลำดับเป็น 3 กลุ่มคือ กลุ่มบุตร น้อง และหลานบุคลากร กลุ่มบุคคลทั่วไป และกลุ่มผู้มีอุปการคุณ นอกจากนี้ คะแนนของการสอบคัดเลือกทั่วไปจะนำมาใช้พิจารณาในการคัดเลือกห้องเรียนทางไกลที่อยู่ภายใต้การดูแลของ โครงการพระราชดำริ ของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในการเป็นฐานจัดการเรียนการสอนทางไกลแบบสื่อสารสองทาง สามารถตอบโต้ได้ระหว่างห้องเรียนต้นทางไปปลายทาง และมีการฝึกปฏิบัติการทดลองทางไกลร่วมกันเป็นแห่งแรกของไทย โดยมีโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการ 6 โรงเรียน 4 จังหวัดของภาคใต้ คือพังงา ยะลา ปัตตานี และนราธิวาส
เป็นการคัดเลือกเข้าศึกษาต่อด้วยการยื่นแฟ้มสะสมผลงานและพิจารณาโดยกรรมการของโรงเรียน โดยแบ่งกลุ่มนักเรียนที่รับสมัครด้วยการยื่นแฟ้มสะสมผลงานนี้เป็น 4 ประเภท แต่ละประเภทรับเข้าศึกษาประมาณ 30 คนยกเว้นกลุ่มนักเรียนประจำระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 รับเข้าศึกษาประมาณ 15 คน โดยแบ่งระดับชั้นที่รับสมัครดังนี้
กลุ่มการรับสมัคร | ม.1 | ม.4 |
---|---|---|
ห้องเรียนจีนศึกษา ฐานวิทยาศาสตร์ | รับสมัคร | รับสมัคร |
ห้องเรียนนวัตกรรมดิจิทัล | ไม่รับสมัคร | รับสมัคร |
ผู้มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยี ภาษา ศิลปะ
ดนตรี และกีฬา |
รับสมัคร | ไม่รับสมัคร |
กลุ่มนักเรียนประจำ | รับสมัคร | รับสมัคร |
กิจกรรมของโรงเรียน
แก้กิจกรรมภายในโรงเรียน
แก้- กิจกรรมกีฬาสี
กิจกรรมกีฬาสีจะจัดขึ้นในภาคเรียนที่ 1 ของทุกปีการศึกษา การแบ่งสีประจำนักเรียนจะแบ่งให้กับนักเรียนที่เข้าใหม่ทั้งมัธยมศึกษาตอนต้นและมัธยมศึกษาตอนปลาย ตามลำดับเลขที่ของนักเรียน ประกอบด้วย สีชมพู สีฟ้า สีม่วง และสีส้ม ตามลำดับ อดีตมีสีแดงและสีเหลือง ปัจจุบันยกเลิกไปแล้ว โดยจะมีการจัดตามเลขที่รูปแบบใหม่เมื่อเข้าช่วงมัธยมศึกษาตอนปลาย อดีตใช้การจับสลากในการแบ่งสีให้แก่นักเรียน
อ้างอิง
แก้- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-08-17. สืบค้นเมื่อ 2024-09-29.
- ↑ "โรงเรียน มอ.วิทยานุสรณ์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2024-07-02. สืบค้นเมื่อ 2024-10-02.
- ↑ "โรงเรียน มอ.วิทยานุสรณ์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-06-13. สืบค้นเมื่อ 2007-06-22.
- ↑ "ประกาศโรงเรียน มอ.วิทยานุสรณ์ ที่ 028/2567 เรื่อง การรับสมัครสอบคัดเลือกนักเรียนเพื่อเข้าศึกษาต่อในโรงเรียน มอ.วิทยานุสรณ์ ประจำปีการศึกษา 2568" (PDF). สืบค้นเมื่อ 2024-10-02.[ลิงก์เสีย]
ดูเพิ่ม
แก้แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- แผนที่และภาพถ่ายทางอากาศของ โรงเรียน มอ.วิทยานุสรณ์
- ภาพถ่ายดาวเทียมจากวิกิแมเปีย หรือกูเกิลแมปส์
- แผนที่จากลองดูแมป หรือเฮียวีโก
- ภาพถ่ายทางอากาศจากเทอร์ราเซิร์ฟเวอร์
7°00′04″N 100°30′25″E / 7.001036°N 100.506942°E
- เว็บไซต์ของโรงเรียน มอ.วิทยานุสรณ์ เก็บถาวร 2007-06-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน