พิกุล

ชนิดของพืชยืนต้น

พิกุล (ชื่อวิทยาศาสตร์: Mimusops elengi) เป็นไม้ยืนต้น มีดอกหอม สีขาว มีชื่อพื้นเมืองอื่น ๆ คือ แก้ว (เชียงใหม่) ซางดง (ลำปาง) ตันหยง (นราธิวาส)

พิกุล
ดอกพิกุล
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ แก้ไขการจำแนกนี้
โดเมน: ยูแคริโอต
Eukaryota
อาณาจักร: พืช
Plantae
เคลด: พืชมีท่อลำเลียง
Tracheophytes
เคลด: พืชดอก
Angiosperms
เคลด: พืชใบเลี้ยงคู่แท้
Eudicots
เคลด: แอสเทอริด
Asterids
อันดับ: อันดับกุหลาบป่า
Ericales
วงศ์: วงศ์พิกุล
Sapotaceae
สกุล: Mimusops
Mimusops
L.
สปีชีส์: Mimusops elengi
ชื่อทวินาม
Mimusops elengi
L.

สัญลักษณ์

แก้

ต้นพิกุลเป็นพันธุ์ไม้มงคลพระราชทานประจำจังหวัดลพบุรี และเป็นต้นไม้ประจำเขตมีนบุรี ในกรุงเทพมหานคร[2] ส่วนดอกพิกุลเป็นดอกไม้ประจำจังหวัดกำแพงเพชร จังหวัดยะลา และจังหวัดลพบุรี และเป็นดอกไม้ประจำโรงเรียน ดังนี้

มหาวิทยาลัย

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

แก้

พิกุลเป็นไม้ยืนต้น ใบเดี่ยว เรียงเวียนสลับ รูปรี รูปไข่กว้าง 2-6 เซนติเมตร ยาว 7-15 เซนติเมตร ปลายใบแหลมเป็นติ่งขอบใบเป็นคลื่น ดอกเดี่ยว อยู่รวมกันเป็นกระจุกที่ปลายกิ่งหรือที่ซอกใบ กลีบเลี้ยง 8 กลีบ เรียงซ้อนกัน 2 ชั้น กลีบดอกประมาณ 24 กลีบ เรียงซ้อนกันโคนกลีบดอกเชื่อมติดกันเล็กน้อย ดอกสีขาว เมื่อใกล้โรยสีเหลืองอมน้ำตาล ดอกบานวันเดียวแล้วร่วง มีกลิ่นหอม ออกดอกตลอดปี ผลสีเหลือง รสหวานอมฝาด

การปลูกเลี้ยง

แก้

ปลูกได้ในดินทุกชนิด กลางแจ้ง ต้องการน้ำและความชื้นปานกลาง เจริญได้ดีในดินทุกชนิด ชอบแดดจัด ทนต่อสภาพต่าง ๆ ได้ดี ขึ้นประปรายในป่าดิบทางภาคใต้ ภาคกลาง และภาคตะวันออก ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด ปัจจุบันมีการเพาะปลูกจำหน่ายเป็นจำนวนมาก

อ้างอิง

แก้
  1. Barstow, M. (2019). "Mimusops elengi". IUCN Red List of Threatened Species. 2019: e.T61964765A61964768. doi:10.2305/IUCN.UK.2019-1.RLTS.T61964765A61964768.en. สืบค้นเมื่อ 19 November 2021.
  2. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-12-25. สืบค้นเมื่อ 2016-01-09.