กระทิง (พรรณไม้)
กระทิง หรือ สารภีทะเล (ชื่อวิทยาศาสตร์: Calophyllum inophyllum) มีชื่อพื้นเมืองอื่น ๆ เช่น กากะทิง (ภาคกลาง), ทิง (กระบี่), เนาวกาน (น่าน), สารภีแนน (ภาคเหนือ) เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่สูง 20–25 เมตร เปลือกเรียบสีเทาอ่อนหรือน้ำตาลปนเหลือง เปลือกในสีชมพูเนื้อไม้สีน้ำตาลปนแดง ใบเป็นใบเดี่ยว ไม่ผลัดใบ เรือนยอดเป็นพุ่มกลม สีเขียวเข้ม กิ่งอ่อนเกลี้ยง ยอดอ่อนเรียวเล็ก ปลายทู่ ออกดอกเป็นช่อสั้นที่ซอกใบบริเวณปลายกิ่ง มีดอกย่อย กลีบดอกสีขาว เกสรเพศผู้สีเหลือง มีกลิ่นหอม ออกดอกช่วงเดือนตุลาคม-ธันวาคม ผลเป็นผลสดทรงกลม ปลายผลเป็นติ่งแหลม เมื่อสุกจะมีสีเหลือง
กระทิง | |
---|---|
สถานะการอนุรักษ์ | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
โดเมน: | ยูแคริโอต Eukaryota |
อาณาจักร: | พืช Plantae |
เคลด: | พืชมีท่อลำเลียง Tracheophytes |
เคลด: | พืชดอก Angiosperms |
เคลด: | พืชใบเลี้ยงคู่แท้ Eudicots |
เคลด: | โรสิด Rosids |
อันดับ: | อันดับโนรา Malpighiales |
วงศ์: | Calophyllaceae Calophyllaceae |
สกุล: | Calophyllum Calophyllum L.[2] |
สปีชีส์: | Calophyllum inophyllum |
ชื่อทวินาม | |
Calophyllum inophyllum L.[2] |
การดูแลรักษาทำได้โดยชอบดินร่วนปนทรายหรือดินทราย ความชุ่มชื้นปานกลาง ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด กระทิงเป็นพืชมีพิษ เมื่อรับประทานราก เปลือก และใบเข้าไปจะมีผลต่อหัวใจ[3]
กระทิงในวรรณกรรม
แก้ดอกกระทิงปรากฏในวรรณกรรมเรื่องพระมะเหลเถไถ - คุณสุวรรณ
กระทิงถินกลิ่นขจรมะลอนโหว
มลิวันมันโมกกะโหลกโก
กุหลาบแกมแนมโยทกาลี
กาหลงชงโคมะโยแป๋ว
มะโยปมนมแมวมะแลวฉี
มะไลยฉาวสาวหยุดมะลุดลี
มลิลาสารภีมะลีโซ
อ้างอิง
แก้- ↑ Barstow, M. (2019). "Calophyllum inophyllum". IUCN Red List of Threatened Species. 2019: e.T33196A67775081. doi:10.2305/IUCN.UK.2019-1.RLTS.T33196A67775081.en. สืบค้นเมื่อ 19 November 2021.
- ↑ Calophyllum inophyllum was first described and published in Species Plantarum 1:513. 1753. "Calophyllum inophyllum". Germplasm Resources Information Network (GRIN). Agricultural Research Service (ARS), United States Department of Agriculture (USDA). สืบค้นเมื่อ 26 April 2012.
- ↑ เศรษฐมนตร์ กาญจนกุล. ไม้มีพิษ. กทม. เศรษฐศิลป์. 2552
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- Dressler, S.; Schmidt, M. & Zizka, G. (2014). "Calophyllum inophyllum". African plants – a Photo Guide. Frankfurt/Main: Forschungsinstitut Senckenberg.