แซะ
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Plantae
ไม่ได้จัดลำดับ: Angiosperms
ไม่ได้จัดลำดับ: Eudicots
ไม่ได้จัดลำดับ: Rosids
อันดับ: Fabales
วงศ์: Fabaceae
สกุล: Callerya
สปีชีส์: C.  atropurpurea
ชื่อทวินาม
Callerya atropurpurea
(Wall.) Schot
ชื่อพ้อง

Millettia atropurpurea (Wall.)[1]
Pongamia atropurpurea[2]
Padbruggea atropurpurea
Whitfordiodendron atropurpurea

ต้นแซะ (ชื่อวิทยาศาสตร์: Callerya atropurpurea Benth; ชื่ออื่น: กะแซะ (สุราษฏร์ธานี), ยีนิเก๊ะ (มลายู-นราธิวาส), แซะ (ทั่วไป)) เป็นไม้ต้นผลัดใบในวงศฺ LEGUMINOSAE เป็นไม้ยืนต้นสูง 20–30 เมตร เรือนยอดเป็นพุ่มทึบ เปลือกลำต้นเรียบ ผิวสีน้ำตาลหรือเทา มีพูพอน ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก ใบย่อยออกตรงกันข้าม มีใบย่อยปลายก้านอีก 1 ใบ แผ่นใบรูปขอบขนานแกมรูปหอก ดอกออกเป็นช่อตามปลายกิ่งหรือง่ามใบ ทรงดอกถั่ว กลีบเลี้ยงสีเขียว เชื่อมติดกันเป็นรูปถ้วย กลีบดอกสีแดงแกมม่วงทึบ เกสรตัวผู้สีเหลืองอยู่กลางดอก กลิ่นหอม ออกดอกช่วงเดือนมกราคม-เมษายน ผลเป็นผลเดี่ยว ผลอ่อนแบน เมื่อผลแก่ เมล็ดขยายใหญ่จนเกือบเป็นทรงกระบอก มี 1-3 เมล็ด

แซะขยายพันธุ์ โดยการเพาะเมล็ด เหมาะสมกับสภาพดินทุกชนิด แสงแดดจัด ต้องการน้ำและความชื้นปานกลาง ถิ่นกำเนิดอยู่ตามชายป่าดิบชื้นภาคใต้ของไทย

การใช้ประโยชน์ แก้

ผลใช้เป็นอาหารสัตว์ ลำต้นใช้ก่อสร้าง เป็นพันธุ์ไม้พระราชทานเพื่อปลูกเป็นมงคลสำหรับจังหวัดนครศรีธรรมราช

อ้างอิง แก้

  • มัณฑนา นวลเจริญ. 2552. สารานุกรมความหลากหลายทางชีวภาพตำบลเกาะศรีบอยา อำเภอเหนือคลอง จังหวัดกระบี่. กทม. สำนักงานปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม หน้า 43
  1. GRIN[ลิงก์เสีย]
  2. "Callerya atropurpurea (Wall.) Schot". biotik.org.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้