จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

จังหวัดในภาคตะวันตกในประเทศไทย

ประจวบคีรีขันธ์ เป็นจังหวัดในภาคตะวันตกของประเทศไทย เป็นจังหวัดที่มีรูปร่างยาวในแนวเหนือ-ใต้ และแคบในแนวตะวันออก-ตะวันตก โดยส่วนที่แคบที่สุดมีระยะทางประมาณ 12 กิโลเมตร มีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่เป็นที่ตั้งศาลากลางจังหวัดอยู่ที่เทศบาลเมืองประจวบคีรีขันธ์ ในขณะที่ชุมชนเมืองที่มีประชากรมากที่สุดในจังหวัด คือ เทศบาลเมืองหัวหิน

จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันChangwat Prachuap Khiri Khan
จากซ้ายไปขวา บนลงล่าง: อำเภอหัวหิน, พระมหาเจดีย์ภักดีประกาศ, อุทยานราชภักดิ์, สนามกีฬาสามอ่าว, อุทยานแห่งชาติน้ำตกห้วยยาง, เขาสามร้อยยอด
คำขวัญ: 
เมืองทองเนื้อเก้า มะพร้าว สับปะรด
สวยสด หาด เขา ถ้ำ งามล้ำน้ำใจ
แผนที่ประเทศไทย จังหวัดประจวบคีรีขันธ์เน้นสีแดงประเทศมาเลเซียประเทศพม่าประเทศลาวประเทศเวียดนามประเทศกัมพูชาจังหวัดนราธิวาสจังหวัดยะลาจังหวัดปัตตานีจังหวัดสงขลาจังหวัดสตูลจังหวัดตรังจังหวัดพัทลุงจังหวัดกระบี่จังหวัดภูเก็ตจังหวัดพังงาจังหวัดนครศรีธรรมราชจังหวัดสุราษฎร์ธานีจังหวัดระนองจังหวัดชุมพรจังหวัดประจวบคีรีขันธ์จังหวัดเพชรบุรีจังหวัดราชบุรีจังหวัดสมุทรสงครามจังหวัดสมุทรสาครกรุงเทพมหานครจังหวัดสมุทรปราการจังหวัดฉะเชิงเทราจังหวัดชลบุรีจังหวัดระยองจังหวัดจันทบุรีจังหวัดตราดจังหวัดสระแก้วจังหวัดปราจีนบุรีจังหวัดนครนายกจังหวัดปทุมธานีจังหวัดนนทบุรีจังหวัดนครปฐมจังหวัดกาญจนบุรีจังหวัดสุพรรณบุรีจังหวัดพระนครศรีอยุธยาจังหวัดอ่างทองจังหวัดสิงห์บุรีจังหวัดสระบุรีจังหวัดลพบุรีจังหวัดนครราชสีมาจังหวัดบุรีรัมย์จังหวัดสุรินทร์จังหวัดศรีสะเกษจังหวัดอุบลราชธานีจังหวัดอุทัยธานีจังหวัดชัยนาทจังหวัดอำนาจเจริญจังหวัดยโสธรจังหวัดร้อยเอ็ดจังหวัดมหาสารคามจังหวัดขอนแก่นจังหวัดชัยภูมิจังหวัดเพชรบูรณ์จังหวัดนครสวรรค์จังหวัดพิจิตรจังหวัดกำแพงเพชรจังหวัดตากจังหวัดมุกดาหารจังหวัดกาฬสินธุ์จังหวัดเลยจังหวัดหนองบัวลำภูจังหวัดหนองคายจังหวัดอุดรธานีจังหวัดบึงกาฬจังหวัดสกลนครจังหวัดนครพนมจังหวัดพิษณุโลกจังหวัดอุตรดิตถ์จังหวัดสุโขทัยจังหวัดน่านจังหวัดพะเยาจังหวัดแพร่จังหวัดเชียงรายจังหวัดลำปางจังหวัดลำพูนจังหวัดเชียงใหม่จังหวัดแม่ฮ่องสอน
แผนที่ประเทศไทย จังหวัดประจวบคีรีขันธ์เน้นสีแดง
แผนที่ประเทศไทย จังหวัดประจวบคีรีขันธ์เน้นสีแดง
ประเทศ ไทย
การปกครอง
 • ผู้ว่าราชการ สมคิด จันทมฤก[1]
(ตั้งแต่ พ.ศ. 2567)
พื้นที่[2]
 • ทั้งหมด6,367.620 ตร.กม. (2,458.552 ตร.ไมล์)
อันดับพื้นที่อันดับที่ 32
ประชากร
 (พ.ศ. 2566)[3]
 • ทั้งหมด550,977 คน
 • อันดับอันดับที่ 45
 • ความหนาแน่น86.52 คน/ตร.กม. (224.1 คน/ตร.ไมล์)
 • อันดับความหนาแน่นอันดับที่ 58
รหัส ISO 3166TH-77
ชื่อไทยอื่น ๆประจวบ, บางนางรม
สัญลักษณ์ประจำจังหวัด
 • ต้นไม้เกด
 • ดอกไม้เกด
 • สัตว์น้ำปลานวลจันทร์ทะเล
ศาลากลางจังหวัด
 • ที่ตั้งถนนสละชีพ ตำบลประจวบคีรีขันธ์ อำเภอเมืองประจวบคีรีขันธ์ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ 77000
 • โทรศัพท์0 3260 3991-5
 • โทรสาร0 3260 3991-5
เว็บไซต์www.prachuapkhirikhan.go.th
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

ประวัติศาสตร์

แก้

จังหวัดประจวบคีรีขันธ์มีประวัติศาสตร์ความเป็นมาไม่ค่อยแน่ชัด เนื่องจากเป็นพื้นที่แคบ ยามมีศึกสงครามยากแก่การป้องกันจึงต้องปล่อยให้เป็นเมืองร้างหรือยุบเมืองเป็นส่วนหนึ่งของเมืองเพชรบุรี ในอดีตเป็นเพียงเมืองชั้นจัตวาเล็ก ๆ ที่รวมกันอยู่ภายใต้การปกครองของเมืองเพชรบุรี พอถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยจึงได้โปรดเกล้าฯ ตั้ง เมืองบางนางรม ที่ปากคลองบางนางรม แต่ที่ดินไม่เหมาะสมแก่การเพาะปลูกจึงย้ายที่ว่าการเมืองไปตั้งที่เมืองกุย ที่มีความอุดมสมบูรณ์และการตั้งบ้านเรือนหนาแน่นกว่า

ครั้นรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พ.ศ. 2398 โปรดเกล้าฯ ให้รวมเมืองกุย เมืองคลองวาฬ และเมืองบางนางรมเข้าด้วยกัน โดยที่ตั้งเมืองยังคงตั้งอยู่ที่เมืองกุย (คืออำเภอกุยบุรีในปัจจุบัน) และโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนชื่อเมืองกุยเป็น เมืองประจวบคีรีขันธ์ เพื่อให้ชื่อคล้องจองกันกับเมืองประจันตคีรีเขตซึ่งเดิมคือเกาะกงที่แยกออกจากจังหวัดตราด

ครั้นถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พ.ศ. 2441 จึงย้ายเมืองมาอยู่ที่บ้านเกาะหลัก ต่อมาพระองค์ทรงจัดการปกครองแบบมณฑลเทศาภิบาล เมืองประจวบคีรีขันธ์ เมืองชั้นจัตวาซึ่งขึ้นตรงกับเมืองเพชรบุรี มีฐานะเป็นอำเภอเมืองประจวบคีรีขันธ์ สังกัดเมืองเพชรบุรี ในช่วงนี้เมืองปราณบุรีซึ่งมีอาณาเขตติดอำเภอเมืองประจวบคีรีขันธ์ด้านทิศเหนือและเคยมีฐานะเป็นเมืองชั้นจัตวาขึ้นกับเมืองเพชรบุรี ก็ได้จัดตั้งเป็นอำเภอเมืองปราณบุรี สังกัดเมืองเพชรบุรีด้วย[4] ส่วนเมืองกำเนิดนพคุณขึ้นตรงกับเมืองชุมพร ด้วยมีพระราชดำริสงวนชื่อเมืองปราณไว้ (เมืองเก่าที่ตั้งอยู่ที่ปากน้ำปราณบุรี) ต่อมา วันที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2449 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้มีพระบรมราชโองการให้รวมเอาอำเภอเมืองปราณบุรี อำเภอเมืองประจวบคีรีขันธ์ เมืองเพชรบุรี และอำเภอกำเนิดนพคุณ เมืองชุมพร ซึ่งเป็นเมืองชั้นจัตวามาก่อน ตั้งเป็นเมืองปราณบุรี[5] มีที่ทำการเมืองอยู่ที่ตำบลเกาะหลัก ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงได้มีการเปลี่ยนชื่อเมืองปราณบุรีเป็นเมืองประจวบคีรีขันธ์ เพื่อป้องกันการสับสนกับเมืองปราณที่ปากน้ำปราณบุรี[6][7] หลังจากมีการยกเลิกระบบการปกครองแบบมณฑลเทศาภิบาล เมืองประจวบคีรีขันธ์จึงไม่ได้ขึ้นตรงกับเมืองเพชรบุรีและมณฑลราชบุรีอีก

ภูมิศาสตร์

แก้

จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ตั้งอยู่ในภาคตะวันตก ตามการแบ่งระบบ 6 ภาคอย่างเป็นทางการโดยคณะกรรมการภูมิศาสตร์แห่งชาติและราชบัณฑิตยสภา ในขณะที่การแบ่งภูมิภาคด้วยระบบ 4 ภาค (เหนือ กลาง อีสาน ใต้) จัดเป็นจังหวัดในภาคกลาง และการแบ่งทางอุตุนิยมวิทยาจัดเป็นจังหวัดในภาคใต้ตอนบน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์มีเนื้อที่ประมาณ 6,367.620 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 3,979,762.5 ไร่ มีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดใกล้เคียง ดังนี้

ความยาวจากทิศเหนือจรดทิศใต้ ประมาณ 212 กิโลเมตร และชายฝั่งทะเลยาวประมาณ 224.8 กิโลเมตร มีส่วนที่แคบที่สุดอยู่ในตำบลคลองวาฬ อำเภอเมืองประจวบคีรีขันธ์ จากอ่าวไทยถึงเขตแดนพม่าประมาณ 12 กิโลเมตร มีเขาที่สูงที่สุดคือ เขาหลวงประจวบ มีความสูง 1,250 เมตร ระยะทางจากกรุงเทพมหานครตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4 (ถนนเพชรเกษม) ประมาณ 399 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทางประมาณ 4 ชั่วโมงเศษ และตามเส้นทางรถไฟสายใต้ ประมาณ 318 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทางประมาณ 4-6 ชั่วโมง

การเมืองการปกครอง

แก้

หน่วยการปกครอง

แก้
 
แผนที่อำเภอในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์

การปกครองแบ่งออกเป็น 8 อำเภอ 48 ตำบล 388 หมู่บ้าน

ลำดับ ชื่ออำเภอ อักษรโรมัน พื้นที่
(ตร.กม.)
ระยะห่างจาก
อำเภอเมือง (กม.)
1 เมืองประจวบคีรีขันธ์ Mueang Prachuap Khiri Khan 844.00
2 กุยบุรี Kui Buri 935.40 34
3 ทับสะแก Thap Sakae 538.00 43
4 บางสะพาน Bang Saphan 868.00 88
5 บางสะพานน้อย Bang Saphan Noi 720.00 109
6 ปราณบุรี Pran Buri 765.37 71
7 หัวหิน Hua Hin 838.90 88
8 สามร้อยยอด Sam Roi Yot 871.90 56

จังหวัดประจวบคีรีขันธ์มีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั้งหมด 61 แห่ง ประกอบด้วย องค์การบริหารส่วนจังหวัด 1 แห่ง คือ องค์การบริหารส่วนจังหวัดประจวบคีรีขันธ์, เทศบาลเมือง 2 แห่ง ได้แก่ เทศบาลเมืองประจวบคีรีขันธ์ และเทศบาลเมืองหัวหิน, เทศบาลตำบล 14 แห่ง, และองค์การบริหารส่วนตำบล 44 แห่ง[8] โดยรายชื่อเทศบาลทั้งหมดในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์มีดังนี้

หมายเหตุ
เทศบาลตำบลไร่ใหม่ตั้งอยู่ทั้งในอำเภอกุยบุรีและในอำเภอสามร้อยยอด

ทำเนียบผู้ว่าราชการจังหวัด

แก้

การศึกษา

แก้

แหล่งท่องเที่ยว

แก้
 
อ่าวมะนาว
 
อ่าวน้อย
  • ศาลหลักเมืองจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ สร้างขึ้นมาในสมัย ร.ต.อำนวย ไทยานนท์ เป็นผู้ว่าราชการ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ทรงเปิดศาลหลักเมือง เมื่อวันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2537 เพื่อให้เป็นสิริมงคลและเป็นหลักชัยคู่บ้านคู่เมือง
  • ชายฝั่งทะเลสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เป็นชายฝั่งทะเลในพื้นที่แหลมผักเบี้ย ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้เรียกชื่อชายฝั่งทะเลของจังหวัดเพชรบุรี-จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งมีความยาว 200 กิโลเมตร[11] มีความยาวคอดไปถึงอำเภอบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์[12] เพื่อแสดงถึงวีรกรรม พระปรีชาสามารถของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชและเพื่อประกาศพระเกียรติคุณของพระมหากษัตริย์ไทย ให้ปรากฏพระนามบนแผนที่
  • หาดบางเบิด
  • หาดแหลมสน

ศาสนสถาน

แก้
 
พระมหาธาตุเจดีย์ภักดีประกาศ
วัดทางสาย อำเภอบางสะพาน

อุทยาน

แก้
 
อุทยานแห่งชาติเขาสามร้อยยอด

บุคคลที่มีชื่อเสียง

แก้


อ้างอิง

แก้
  1. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีเรื่อง แต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ
  2. ศูนย์สารสนเทศเพื่อการบริหารและงานปกครอง. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ข้อมูลการปกครอง." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.dopa.go.th/padmic/jungwad76/jungwad76.htm เก็บถาวร 2016-03-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน [ม.ป.ป.]. สืบค้น 18 เมษายน 2553.
  3. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2564." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.bora.dopa.go.th/stat/pk/pk_64.pdf 2564. สืบค้น 11 มีนาคม 2565.
  4. ประกาศกระทรวงมหาดไทย [[ปรับปรุงการจัดตั้งแบ่งเขตแขวงเมืองเพ็ชร์บุรีเสียใหม่ โดยให้มี ๖ อำเภอ และการจัดกรมการอำเภอ] ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่๑๘ ตอนที่ ๕ ประกาศ ณ วันที่ ๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๔๔ หน้าที่ ๕๙
  5. ประกาศ ตั้งเมืองปราณบุรี ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ ๒๓ ตอนที่ ๔๑ ประกาศ ณ วันที่ ๖ มกราคม พ.ศ. ๒๔๔๙ หน้าที่ ๑๐๖๒
  6. ประกาศ เปลี่ยนนามเมืองปราณบุรี เป็นเมืองประจวบคีรีขันธ์ เก็บถาวร 2011-11-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ ๓๒ ตอนที่ ๐ ก ประกาศ ณ วันที่ ๒๒ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๕๘ หน้าที่ ๑๗๖
  7. สุรินทร์ บัวงาม."บันทึกตำนานเมืองปราณบุรี", ประจวบคีรีขันธ์ : สภาวัฒนธรรมอำเภอปราณบุรี, 2544. หน้า 87-88 อ้างใน http://gold.rajabhat.edu/rLocal/stories.php?story=03/11/18/8802034 เก็บถาวร 2012-11-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  8. ข้อมูลจำนวน อปท. แยกรายจังหวัด กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น
  9. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้ข้าราชการพลเรือนสามัญพ้นจากตำแหน่ง
  10. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 140 ตอน 318 ง หน้า 14 วันที่ 19 ธันวาคม 2566
  11. พระราชกฤษฎีกาถอนสภาพที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน ในท้องที่ตำบลแหลมผักเบี้ย อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี พ.ศ. ๒๕๔๙ เล่มที่ ๑๒๓ ตอนที่ ๘๐ ก ประกาศ ณ วันที่ ๘ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๙ หน้า ๑
  12. "ชายฝั่งทะเลสมเด็จพระนเรศวรมหาราช". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-10-06. สืบค้นเมื่อ 2010-10-21.

ดูเพิ่ม

แก้

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้

11°49′N 99°48′E / 11.82°N 99.8°E / 11.82; 99.8