มณฑลเทศาภิบาล
ระบบมณฑลเทศาภิบาล คือระบบแบ่งเขตการปกครองส่วนภูมิภาคในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่มีการใช้มาจนถึงสมัยช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่สองประมาณ 7 ปี เป็นการเลียนแบบการปกครองของอังกฤษในพม่าและมาเลเซีย เริ่มขึ้นใน พ.ศ. 2440 โดยพระดำริของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ มณฑลมีข้าหลวงเทศาภิบาลเป็นผู้ปกครอง เจ้าเมืองไม่มีอำนาจที่จะปกครอง หน่วยการปกครองเรียงจากใหญ่ไปเล็กได้ดังนี้
ใน พ.ศ. 2458 ดินแดนสยามมีมณฑลอยู่ 19 แห่งครอบคลุมพื้นที่ 72 เมือง (เปลี่ยนเป็น จังหวัด ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว) อย่างไรก็ตาม เนื่องจากสภาพเศรษฐกิจตกต่ำจึงทำให้หลายมณฑลถูกยุบรวมกันตั้งแต่ พ.ศ. 2468 (มณฑลเพชรบูรณ์ถูกยุบลงไปก่อนหน้านั้นแล้ว) ภายหลังจึงคงเหลืออยู่เพียง 14 มณฑล ได้แก่ กรุงเทพพระมหานคร มณฑลจันทบุรี มณฑลนครชัยศรี มณฑลนครสวรรค์ มณฑลนครศรีธรรมราช มณฑลนครราชสีมา มณฑลปราจีนบุรี มณฑลปัตตานี มณฑลพายัพ มณฑลพิษณุโลก มณฑลภูเก็ต มณฑลราชบุรี มณฑลอยุธยา และมณฑลอุดร ทั้งหมดถูกล้มเลิกไปในปี พ.ศ. 2476 ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง เมื่อมีการตราพระราชบัญญัติการบริหารราชการส่วนภูมิภาค พุทธศักราช 2476 ขึ้น และนับจากนั้น จังหวัดก็ได้กลายเป็นเขตการปกครองย่อยของประเทศไทยที่มีระดับสูงที่สุด
รายชื่อมณฑลเทศาภิบาล
แก้ภาคเหนือ
แก้- มณฑลพายัพ หรือ มณฑลลาวเฉียง หรือ มณฑลลาวพุงดำ ในปี พ.ศ. 2442 มณฑลนี้ได้ถูกเรียกว่า "มณฑลฝ่ายตะวันตกเฉียงเหนือ" ต่อมาในปี พ.ศ. 2443 จึงได้เปลี่ยนชื่อให้สั้นลงเป็นมณฑลพายัพซึ่งเป็นภาษาสันสกฤตแปลว่าตะวันตกเฉียงเหนือ[1] ครอบคลุมพื้นที่อาณาเขตของอดีตอาณาจักรล้านนา ประกอบด้วย 6 หัวเมือง ได้แก่ (1.) เมืองนครเชียงใหม่ (ครอบคลุมพื้นที่ เมืองแม่ฮ่องสอน และเมืองเชียงราย) (2.) เมืองนครลำปาง (ครอบคลุมพื้นที่เมืองพะเยา และเมืองงาว (3.) เมืองนครลำพูน (4.) เมืองนครน่าน (ครอบคลุมพื้นที่เมืองเชียงของ เมืองเทิง เมืองเชียงคำ และเมืองปง (5.) เมืองนครแพร่ (6.) เมืองเถิน (ต่อมาในปี พ.ศ. 2446 ยุบลงรวมเข้ากับเมืองนครลำปาง)
- มณฑลมหาราษฎร์ เป็นมณฑลที่แยกออกมาจากมณฑลพายัพในปี พ.ศ. 2459[2] ครอบคลุมพื้นที่ทางตะวันออกของมณฑลพายัพเดิม ประกอบด้วย 3 หัวเมือง เมืองนครลำปาง เมืองนครแพร่ และเมืองนครน่าน ต่อมาในปี พ.ศ. 2469 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้ยุบมณฑลมหาราษฎร์ แล้วให้เข้ารวมกับมณฑลพายัพตามเดิม
- มณฑลนครสวรรค์ ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2438 ซึ่งเป็นมณฑลแรก ๆ ที่จัดตั้งขึ้นมา มีพื้นที่ครอบคลุมเมืองนครสวรรค์ เมืองชัยนาท เมืองกำแพงเพชร เมืองมโนรมย์ เมืองพยุหะคีรี เมืองสรรคบุรี เมืองตาก และเมืองอุทัยธานี
- มณฑลพิษณุโลก ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2437 มีพื้นที่ครอบคลุมเมืองพิษณุโลก เมืองพิจิตร เมืองสุโขทัย เมืองพิชัย (จังหวัดอุตรดิตถ์) และเมืองสวรรคโลก
- มณฑลเพชรบูรณ์ เป็นมณฑลที่แยกออกมาจากมณฑลนครราชสีมาเมื่อปี พ.ศ. 2442 ตอนแรกประกอบด้วย 2 เมือง คือเมืองหล่มสักและเมืองเพชรบูรณ์ ภายหลังเมืองหล่มสักได้ถูกยุบลงเป็นอำเภอหนึ่งขึ้นกับเมืองเพชรบูรณ์ จึงทำให้มณฑลนี้มีอยู่เมือง (จังหวัด) เดียว ซึ่งต่อมามณฑลเพชรบูรณ์ก็ได้ถูกรวมเข้ากับมณฑลพิษณุโลกในช่วงระหว่างปี พ.ศ. 2446-2450 ก่อนที่จะถูกยุบลงเป็นหัวเมืองในมณฑลพิษณุโลกอย่างถาวรในปี พ.ศ. 2459[2]
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
แก้- มณฑลนครราชสีมา หรือ มณฑลลาวกลาง ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2436 เป็นมณฑลแรกของประเทศสยาม มีพื้นที่ครอบคลุมเมืองนครราชสีมา เมืองชัยภูมิ เมืองบุรีรัมย์และบริเวณตอนใต้ของจังหวัดขอนแก่นคือเมืองชลบถวิบูลย์ ในช่วงแรกมีเมืองเพชรบูรณ์และเมืองหล่มสักรวมอยู่ด้วย แต่ได้แยกออกไปเป็นมณฑลเพชรบูรณ์ในปี พ.ศ. 2442
- มณฑลอีสาน หรือ มณฑลลาวกาว ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2443 โดยตั้งกองบัญชาการมณฑล ณ เมืองอุบลราชธานี ภายหลังได้แยกออกเป็น 2 มณฑล ได้แก่ มณฑลร้อยเอ็ดและมณฑลอุบล เมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2455 ซึ่งตรงกับรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
- มณฑลร้อยเอ็ด แยกออกมาจากมณฑลอีสานเมื่อปี พ.ศ. 2455 ประกอบด้วยเมืองร้อยเอ็ด เมืองมหาสารคาม เมืองสุวรรณภูมิ เมืองกมลาไสย และเมืองกาฬสินธุ์
- มณฑลอุบล แยกออกมาจากมณฑลอีสานเมื่อปี พ.ศ. 2455 ประกอบด้วยเมืองอุบลราชธานี เมืองขุขันธ์ เมืองศรีสะเกษ และเมืองสุรินทร์
- มณฑลอุดร หรือ มณฑลลาวพวน ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2442 เมืองที่ขึ้นกับมณฑลนี้ประกอบด้วยเมืองอุดรธานี เมืองขอนแก่น เมืองเลย เมืองนครพนม เมืองหนองคาย และเมืองสกลนคร
ภาคใต้
แก้- มณฑลภูเก็ต ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2441 เมืองในมณฑลนี้ประกอบด้วยเมืองภูเก็ต เมืองถลาง เมืองระนอง เมืองพังงา เมืองตะกั่วป่า เมืองกระบี่ เมืองตรัง และเมืองสตูล ซึ่งเมืองสตูลเดิมเป็นส่วนหนึ่งของมณฑลไทรบุรีทางทิศใต้ ได้มารวมอยู่กับมณฑลนี้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2451 หลังจากที่ยกพื้นที่ส่วนใหญ่ของมณฑลไทรบุรีให้อังกฤษ
- มณฑลชุมพร ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2439 เมืองในมณฑลนี้ได้แก่ เมืองชุมพร เมืองไชยา เมืองกาญจนดิษฐ์ เมืองหลังสวน และเมืองบ้านดอน ภายหลังเมืองไชยาและเมืองกาญจนดิษฐ์ ถูกรวมเข้าเป็นเมืองไชยา ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2448 เมืองไชยากับเมืองบ้านดอนถูกรวมเข้าเป็นเมืองสุราษฎร์ธานี จากนั้นได้เปลี่ยนชื่อเป็นมณฑลสุราษฎร์ ต่อมาในปี พ.ศ. 2468 จึงได้ถูกยุบรวมกับมณฑลนครศรีธรรมราช
- มณฑลนครศรีธรรมราช ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2439 ประกอบด้วย เมืองนครศรีธรรมราช เมืองพัทลุง เมืองสงขลา
- มณฑลปัตตานี ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2449 มีอาณาเขตครอบคลุมบริเวณ มลายูเจ็ดหัวเมืองได้แก่ เมืองปัตตานี (ตานี) เมืองยะลา เมืองสายบุรี เมืองยะหริ่ง เมืองหนองจิก เมืองรามัน เมืองระแงะ (จังหวัดนราธิวาส)
- มณฑลไทรบุรี หรือ มณฑลเกอดะฮ์ ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2440 มีพื้นที่ครอบคลุมเมืองไทรบุรี เมืองปลิศ และเมืองสตูล แต่ภายหลังเสียดินแดนส่วนนี้ไปเป็นส่วนหนึ่งของสหพันธรัฐมลายูในเครือจักรภพอังกฤษเมื่อวันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2451 จึงเหลือเมืองสตูลซึ่งเป็นส่วนที่เหลือของมณฑลไทรบุรีในอาณาเขตสยาม และเมืองนี้จึงถูกรวมเข้ากับมณฑลภูเก็ต
ภาคกลาง
แก้- มณฑลกรุงเทพ ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2440 โดยตอนแรกเป็นส่วนหนึ่งของกระทรวงนครบาล ประกอบด้วยจังหวัดในเขตปริมณฑล ได้แก่ เมืองพระนคร เมืองธนบุรี เมืองมีนบุรี เมืองธัญญบุรี เมืองปทุมธานี เมืองนนทบุรี เมืองพระประแดง (เมืองนครเขื่อนขันธ์) และเมืองสมุทรปราการ โดยในปี พ.ศ. 2458 มณฑลนี้ได้เปลี่ยนชื่อเป็น "กรุงเทพพระมหานคร" และเมื่อมีการรวมกระทรวงนครบาลเข้ากับกระทรวงมหาดไทยในปี พ.ศ. 2465 กรุงเทพพระมหานครจึงมาอยู่ในความดูแลของกระทรวงมหาดไทยเหมือนกับมณฑลอื่น ๆ
- มณฑลอยุธยา หรือ มณฑลกรุงเก่า ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2436 เมืองในมณฑลนี้ได้แก่กรุงเก่า เมืองอ่างทอง เมืองสิงห์บุรี เมืองอินทร์บุรี เมืองพรหมบุรี เมืองลพบุรี และ เมืองสระบุรี
ภาคตะวันตก
แก้- มณฑลราชบุรี ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2438 เมืองในมณฑลนี้ได้แก่เมืองราชบุรี เมืองกาญจนบุรี เมืองสมุทรสงคราม เมืองเพชรบุรี และเมืองปราณบุรี[3](เมืองประจวบคีรีขันธ์)[4]
- มณฑลนครชัยศรี ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2438 เมืองในมณฑลนี้ได้แก่เมืองนครชัยศรี เมืองสุพรรณบุรี และเมืองสมุทรสาคร
ภาคตะวันออก
แก้- มณฑลปราจีนบุรี ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2436 เมืองในมณฑลนี้ได้แก่เมืองปราจีนบุรี เมืองชลบุรี เมืองนครนายก เมืองฉะเชิงเทรา เมืองบางละมุง เมืองพนัสนิคม และเมืองพนมสารคาม
- มณฑลบูรพา ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2446 มณฑลนี้ประกอบด้วยเมืองเสียมราฐ เมืองพระตะบอง เมืองพนมศก และเมืองศรีโสภณ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของประเทศกัมพูชาในปัจจุบัน ดินแดนส่วนนี้เสียไปเมื่อ 23 มีนาคม พ.ศ. 2449 เพื่อแลกกับเมืองตราดและเมืองด่านซ้าย
- มณฑลจันทบุรี ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2449 หลังจากที่สยามเสียมณฑลบูรพาไปให้กับฝรั่งเศส และฝรั่งเศสคืนดินแดนเมืองตราดและเกาะต่าง ๆ กลับมาสู่อำนาจอธิปไตยของสยาม เมืองในมณฑลนี้ได้แก่เมืองจันทบุรี เมืองระยอง เมืองตราด
บริเวณ
แก้มณฑลที่มีพื้นที่อาณาเขตกว้างขวาง ได่แก่ มณฑลพายัพ มณฑลอุดร และมณฑลอีสาน มีเขตการปกครองพิเศษที่มีระดับอยู่ระหว่างมณฑลกับเมือง (จังหวัด) เรียกว่า "บริเวณ" มีข้าหลวงประจำบริเวณเป็นผู้ปกครอง ได้แก่
- มณฑลพายัพ (มณฑลลาวเฉียงหรือลาวพุงดำ)
- บริเวณเชียงใหม่เหนือ : ประกอบด้วย เมืองเชียงราย เมืองเชียงแสน เมืองป่าเป้า เมืองเชียงขวาง และเมืองฝาง
- บริเวณเชียงใหม่ตะวันตก : ประกอบด้วย เมืองแม่ฮ่องสอน เมืองยาว เมืองขุนยวม และเมืองปาย
- บริเวณน่านเหนือ : ประกอบด้วย เมืองเชียงของ เมืองเทิง เมืองเชียงคำ เมืองเชียงแลง เมืองเชียงลม และเมืองเชียงฮ่อน
- มณฑลอุดร (มณฑลลาวพวน)
- บริเวณหมากแข้ง : ประกอบด้วย บ้านหมากแข้ง (อุดรธานี) เมืองหนองคาย เมืองหนองหาน เมืองกุมภวาปี เมืองกมุทธาไสย (หนองบัวลำภู) เมืองโพนพิสัย และเมืองรัตนวาปี
- บริเวณพาชี : ประกอบด้วย เมืองขอนแก่น เมืองชนบท และเมืองภูเวียง
- บริเวณธาตุพนม : ประกอบด้วย เมืองนครพนม เมืองไชยบุรี (เมืองบึงกาฬ) เมืองท่าอุเทน เมืองกุสุมาลย์มณฑล เมืองอากาศอำนวย เมืองเรณูนคร เมืองหนองสูงและเมืองมุกดาหาร
- บริเวณสกล : ประกอบด้วย เมืองสกลนคร เมืองพรรณานิคม และเมืองวาริชภูมิ
- บริเวณน้ำเหือง : ประกอบด้วย เมืองเลย เมืองแก่นท้าว (ประเทศลาว) และเมืองบ่อท่า
- มณฑลอีสาน (มณฑลลาวกาว)
- บริเวณอุบล : ประกอบด้วย เมืองอุบลราชธานี เมืองเขมราฐ และเมืองยโสธร
- บริเวณจำปาศักดิ์ : ประกอบด้วย เมืองนครจำปาศักดิ์ (ประเทศลาว)
- บริเวณขุขันธ์ : ประกอบด้วย เมืองขุขันธ์ เมืองศรีสะเกษ เมืองกันทรลักษ์ เมืองอุทุมพรพิไสย และเมืองเดชอุดม
- บริเวณสุรินทร์ : ประกอบด้วย เมืองสุรินทร์ และเมืองสังขะ
- บริเวณร้อยเอ็ด : ประกอบด้วย เมืองร้อยเอ็ด เมืองมหาสารคาม เมืองกาฬสินธุ์ เมืองกมลาไสย และสุวรรณภูมิ
ลำดับเวลา
แก้พ.ศ. 2437
แก้จัดตั้งมณฑลเทศาภิบาลขึ้น 3 มณฑล คือ มณฑลพิษณุโลก มณฑลปราจีนบุรี มณฑลนครราชสีมา และปลายปีตั้งมณฑลราชบุรีขึ้นอีกมณฑลหนึ่ง
พ.ศ. 2438
แก้จัดตั้งมณฑลเทศาภิบาลขึ้น 3 มณฑล คือ มณฑลนครชัยศรี มณฑลนครสวรรค์ มณฑลกรุงเก่า และได้แก้ไขระเบียบการจัดมณฑลฝ่ายทะเลตะวันตก คือ ตั้งเป็นมณฑลภูเก็ตให้เข้ารูปลักษณะของมณฑลเทศาภิบาลอีกมณฑลหนึ่ง
พ.ศ. 2439
แก้ได้รวมหัวเมืองเป็นมณฑลเทศาภิบาลขึ้นอีก 2 มณฑล คือ มณฑลนครศรีธรรมราช และมณฑลชุมพร
พ.ศ. 2440
แก้ได้รวมหัวเมืองมะลายูตะวันออกเป็นมณฑลไทรบุรี และในปีเดียวกันได้ตั้งมณฑลเพชรบูรณ์ขึ้นอีกมณฑลหนึ่ง
พ.ศ. 2443
แก้เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2443[5] ได้มีการรวม เมืองนครเชียงใหม่ เมืองนครน่าน เมืองนครลำปาง เมืองนครลำพูน และเมืองนครแพร่ ขึ้นเป็น มณฑลตวันตกเฉียงเหนือ
พ.ศ. 2444
แก้เมื่อวันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2444 (พ.ศ. 2443 เดิม) ได้เปลี่ยนชื่อมณฑล 4 มณฑลดังต่อไปนี้[6]
- มณฑลตะวันออก เป็นมณฑลบุรพา
- มณฑลตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นมณฑลอิสาณ
- มณฑลฝ่ายเหนือ เป็นมณฑลอุดร
- มณฑลตะวันตกเฉียงเหนือ เป็นมณฑลพายัพ
พ.ศ. 2447
แก้ยุบมณฑลเพชรบูรณ์ เพราะเห็นว่ามีแต่จะสิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย
พ.ศ. 2449
แก้จัดตั้งมณฑลปัตตานีและมณฑลจันทบุรี มีเมืองจันทบุรี ระยอง และตราด
พ.ศ. 2450
แก้ตั้งมณฑลเพชรบูรณ์ขึ้นอีกครั้งหนึ่ง
พ.ศ. 2451
แก้ไทยต้องยอมยกมณฑลไทรบุรีให้แก่อังกฤษเพื่อแลกเปลี่ยนกับการแก้ไขสัญญาค้าขาย และเพื่อจะกู้ยืมเงินอังกฤษมาสร้างทางรถไฟสายใต้
พ.ศ. 2455
แก้ได้แยกมณฑลอีสานออกเป็น 2 มณฑล มีชื่อใหม่ว่า มณฑลอุบลและมณฑลร้อยเอ็ด
พ.ศ. 2459
แก้เมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2459 ได้จัดตั้ง มณฑลมหาราษฎร์ ขึ้นโดยแยกออกจากมณฑลพายัพ
พ.ศ. 2469
แก้เมื่อวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2469 (พ.ศ. 2468 เดิม):[7]
- เลิกมณฑลมหาราษฎร์ ยกจังหวัดแพร่ ลำปาง น่าน มารวมกับจังหวัดเชียงใหม่ ลำพูน เชียงราย แม่ฮ่องสอน เป็น 7 จังหวัดด้วยกัน เรียก มณฑลพายัพ
- เลิกมณฑลสุราษฎร์ ยกจังหวัดสุราษฎร์ธานี หลังสวน ชุมพร มารวมกับจังหวัดสงขลา นครศรีธรรมราช พัทลุง เป็น 6 จังหวัด
- ยกจังหวัดสตูลเข้ารวมในมณฑลนครศรีธรรมราช รวมเป็น 7 จังหวัด เรียก มณฑลนครศรีธรรมราช
- เลิกมณฑลร้อยเอ็ดและมณฑลอุบลราชธานี ยกจังหวัดร้อยเอ็ด มหาสารคาม กาฬสินธุ์ อุบลราชธานี ขุขันธ์ สุรินทร์ รวม 6 จังหวัดมารวมกับจังหวัดนครราชสีมา ชัยภูมิ บุรีรัมย์ เป็น 9 จังหวัด เรียก มณฑลนครราชสีมา
- ประกาศยกเลิกตำแหน่งอุปราชประจำภาคและมณฑลต่างๆ เป็นตำแหน่งสมุหเทศาภิบาลตามเดิม
พ.ศ. 2475
แก้เมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2475:[8]
- ยุบเลิกมณฑลปัตตานี รวมจังหวัดต่าง ๆ ของมณฑลปัตตานีเข้าไว้ในปกครองของมณฑลนครศรีธรรมราช
- ยุบเลิกมณฑลจันทบุรี รวมจังหวัดต่าง ๆ ของมณฑลจันทบุรีเข้าไว้ในปกครองของมณฑลปราจีน
- ยุบเลิกมณฑลนครชัยศรี รวมจังหวัดต่าง ๆ ของมณฑลนครชัยศรีเข้าไว้ในปกครองของมณฑลราชบุรี
- ยุบเลิกมณฑลนครสวรรค์ รวมจังหวัดต่าง ๆ ของมณฑลนครสวรรค์เข้าไว้ในปกครองของมณฑลอยุธยา เว้นแต่จังหวัดตาก และจังหวัดกำแพงเพชรให้ยกไปขึ้นอยู่ในปกครองของมณฑลพิษณุโลก
พ.ศ. 2476
แก้เมื่อได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติระเบียบราชการบริหารแห่งราชอาณาจักรสยาม พ.ศ. 2476 จึงได้ยกเลิกมณฑลเสียทั้งหมด
ลำดับพระนามและนามท่านผู้บัญชาการมณฑลเทศาภิบาล
แก้ลำดับ | ชื่อ[9] | เริ่มต้น | สิ้นสุด | รวมระยะเวลา |
---|---|---|---|---|
มณฑลกรุงเทพมหานคร | ||||
พระยาเพชรปาณี (ดั่น รักตะประจิตร) | 2464 | 2467 | 3 ปี | |
พระยาเพชรลดา (สอาด ณ ป้อมเพชร) | 2467 | 2468 | 1 ปี | |
เจ้าพระยาสุรบดินทร์สุรินทร์ฦาชัย (พร จารุจินดา) | 2468 | 2471 | 3 ปี | |
เจ้าพระยามุขมนตรี (อวบ เปาโรหิตย์) | 2471 | 2474 | 3 ปี | |
พระยาจ่าแสนยบดีศรีบริบาล (ชิต สุนทรวร) | 2474 | 2476 | 2 ปี | |
มณฑลจันทบุรี | ||||
พระยาวิชยาธิบดี (แบน บุนนาค) | 2449 | 2452 | 3 ปี | |
พระยารณชัยชาญยุทธ (ถนอม บุณยเกตุ) | 2452 | 2457 | 5 ปี | |
หม่อมเจ้าธำรงศิริ ศรีธวัช | 2457 | 2458 | 1 ปี | |
หม่อมเจ้าประดิพัทธเกษมศรี เกษมศรี | 2458 | 2459 | 1 ปี | |
หม่อมเจ้าสฤษดิเดช ชยางกูร | 2459 | 2466 | 7 ปี | |
พระยาไกรเพชรรัตนสงคราม (ชม โชติกะพุกกณะ) | 2466 | 2471 | 5 ปี | |
พระยาอินทราธิบดีสีหราชรองเมือง (ทองย้อย เศวตศิลา) | 2471 | 2472 | 1 ปี | |
พระยาศรีเสนา (ฮะ สมบัติศิริ) | 2472 | 2473 | 1 ปี | |
พระยากัลยาณวัฒนวิศิษฐ์ (เชียร กัลยาณมิตร) | 2473 | 2475 | 2 ปี | |
มณฑลไทรบุรี | ||||
1 | เจ้าพระยาฤทธิสงครามภักดี (อับดุล ฮามิด) | 2440 | 2450 | 10 ปี |
มณฑลนครชัยศรี | ||||
1 | พระยามหาเทพ (บุตร บุณยรัตพันธุ์) | 2438 | 2441 | 3 ปี |
2 | เจ้าพระยาศรีวิไชยชนินทร์ (ชม สุนทรารชุน) | 2441 | 2458 | 17 ปี |
3 | พระยามหาอำมาตยาธิบดี (เส็ง วิรยศิริ) | 2458 | 2460 | 2 ปี |
4 | พระยามหินทรเดชานุวัตร (ใหญ่ สยามมานนท์) | 2460 | 2466 | 6 ปี |
5 | พระยาสุนทรบุรีศรีพิชัยสงคราม (อี้ กรรณสูต) | 2466 | 2468 | 2 ปี |
6 | หม่อมเจ้าธำรงศิริ ศรีธวัช | 2468 | 2475 | 7 ปี |
มณฑลนครราชสีมา | ||||
1 | พระยาพิเรนทรเทพ (ทองคำ สีหอุไร) | 2435 | 2436 | 1 ปี |
2 | พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ | 2436 | 2436 | |
3 | พระยาสิงหเสนี (สอาด สิงหเสนี) | 2436 | 2444 | 8 ปี |
4 | พระยานครราชเสนี (กาจ สิงหเสนี) | 2444 | ปลาย พ.ศ. 2444 | |
5 | พระยากำแหงสงครามรามภักดี (จัน อินทรกำแหง) | 2444 | 2450 | 6 ปี |
6 | เจ้าพระยามุขมนตรี (อวบ เปาโรหิตย์) | 2450 | 2456 | 6 ปี |
7 | พระยาพหลโยธิน (นพ พหลโยธิน) | 2456 | 2466 | 10 ปี |
8 | พระยาเพชรลดา (สอาด ณ ป้อมเพชร) | 2466 | 2467 | 1 ปี |
9 | พระยาเพชรปาณี (ดั่น รักตะประจิตร) | 2467 | 2468 | 1 ปี |
(8) | พระยาเพชรลดา (สอาด ณ ป้อมเพชร) | 2468 | 2476 | 8 ปี |
มณฑลนครศรีธรรมราช | ||||
1 | เจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม) | 2439 | 2449 | 10 ปี |
2 | พระยาศรีธรรมาโศกราช (เจริญ จารุจินดา) | 2449 | 2453 | 4 ปี |
3 | สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ | 2453 | 2468 | 15 ปี |
4 | พระยาสุรินทรราชา (นกยูง วิเศษกุล) | 2468 | 2469 | 1 ปี |
5 | พระยาศรีธรรมราช (ทองคำ กาญจนโชติ) | 2469 | 2476 | 7 ปี |
มณฑลนครสวรรค์ | ||||
1 | พระยาดัสกรปลาศ (ทองอยู่ โรหิตเสถียร) | 2438 | 2439 | 1 ปี |
2 | พระยาไกรเพชรรัตนสงคราม (แฉ่ บุนนาค) | 2439 | 2445 | 6 ปี |
3 | พระยาอมรินทรฦาชัย (จำรัส รัตนกุล) | 2445 | 2453 | 8 ปี |
4 | พระยารณชัยชาญยุทธ (ศุข โชติกเสถียร) | 2453 | 2459 | 6 ปี |
5 | พระยาไกรเพชรรัตนสงคราม (ชม โชติกพุกกณะ) | 2459 | 2462 | 3 ปี |
6 | พระยาเทพหัสดิน (ผาด เทพหัสดิน ณ อยุธยา) | 2462 | 2466 | 4 ปี |
7 | พระยามหินทรเดชานุวัตร (ใหญ่ สยามานนท์) | 2466 | 2472 | 6 ปี |
8 | พระยาอรรถกระวีสุนทร (สงวน ศตะรัต) | 2472 | 2475 | 3 ปี |
มณฑลบูรพา | ||||
1 | พระยามหาอำมาตยาธิบดี (หรุ่น ศรีเพ็ญ) | 2434 | 2436 | 2 ปี |
2 | พระยาศักดาภิเดชวรฤทธิ์ (ดัน อามารานนท์) | 2436 | 2446 | 10 ปี |
3 | เจ้าพระยาอภัยภูเบศร์ (ชุ่ม อภัยวงศ์) | 2446 | 2449 | 3 ปี |
มณฑลปราจีน | ||||
1 | พระยาฤทธิรงค์รณเฉท (ศุข ชูโต) | 2436 | 2440 | 4 ปี |
2 | พระยาเทพอรชุน (เจ๊ก จารุจินดา) | 2440 | 2442 | 2 ปี |
3 | พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอลังการ | 2442 | 2446 | 4 ปี |
4 | พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนมรุพงษ์ศิริพัฒน์ | 2446 | 2458 | 12 ปี |
5 | หม่อมเจ้าธำรงศิริ ศรีธวัช | 2458 | 2468 | 10 ปี |
6 | หม่อมเจ้าอุปพัทธพงศ์ ศรีธวัช | 2468 | 2472 | 4 ปี |
7 | พระอินทราธิบดีสีหราชรองเมือง (ทองย้อย เศวตศิลา) | 2472 | 2474 | 2 ปี |
8 | พระยากัลยาณวัฒนวิศิษฐ์ (เชียร กัลยาณมิตร) | 2474 | ปลาย พ.ศ. 2474 | |
9 | พระยาอรรถกระวีสุนทร (สงวน ศตะรัต) | ปลาย พ.ศ. 2474 | 2476 | |
มณฑลปัตตานี | ||||
1 | พระยาเดชานุชิต (หนา บุนนาค) | 2449 | 2466 | 17 ปี |
2 | หม่อมเจ้าสฤษดิเดช ชยางกูร | 2466 | 2468 | 2 ปี |
3 | พระยาอุดมพงศ์เพ็ญสวัสดิ์ (หม่อมราชวงศ์ประยูร อิศรศักดิ์) | 2469 | 2475 | 6 ปี |
มณฑลพายัพ | ||||
1 | เจ้าพระยารัตนาธิเบศร์ (พุ่ม ศรีไชยันต์) | ก่อน พ.ศ. 2435 | ก่อน พ.ศ. 2435 | |
2 | พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนพิทยลาภพฤฒิธาดา | ก่อน พ.ศ. 2435 | ก่อน พ.ศ. 2435 | |
3 | พระยาทรงสุรเดช (อั้น บุนนาค) | ก่อน พ.ศ. 2435 | 2442 | |
4 | พระยาวิสูตรสาครดิฐ (สาย โชติกเสถียร) | 2442 | 2445 | 3 ปี |
5 | เจ้าพระยาสุรสีห์วิสิษฐศักดิ์ (เชย กัลยาณมิตร) | 2445 | 2458 | 13 ปี |
6 | พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรเดช | 2458 | 2465 | 7 ปี |
7 | เจ้าพระยาสุรบดินทร์สุรินทรฦาชัย (พร จารุจินดา) | 2465 | 2468 | 3 ปี |
8 | เจ้าพระยามุขมนตรี (อวบ เปาโรหิตย์) | 2468 | 2471 | 3 ปี |
9 | พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าทศศิริวงศ์ | 2471 | 2475 | 4 ปี |
10 | พระยากัลยาณวัฒนวิศิษฐ์ (เชียร กัลยาณมิตร) | 2475 | 2476 | 1 ปี |
มณฑลพิษณุโลก | ||||
1 | เจ้าพระยาสุรสีห์วิสิษฐศักดิ์ (เชย กัลยาณมิตร) | 2437 | 2445 | 8 ปี |
2 | พระยาภักดีณรงค์ (สิน ไกรฤกษ์) | 2445 | 2446 | 1 ปี |
3 | พระยาศรีสุริยราชวรานุวัตร (โพ เนติโพธิ์) | 2446 | 2449 | 3 ปี |
4 | พระยาชลบุรานุรักษ์ (เจริญ จารุจินดา) | 2449 | 2449 | |
5 | พระยาเทพาธิบดี (อิ่ม เทพานนท์) | 2449 | 2449 | |
6 | เจ้าพระยาสุรบดินทร์ฯ (เจริญ จารุจินดา) | 2449 | 2465 | 16 ปี |
7 | พระยาศรีสุริยราชวรานุวัตร (ศุข ดิษยบุตร) | 2465 | 2468 | 3 ปี |
8 | พระยาเพชรปาณี (ดั่น รักตประจิตร) | 2468 | 2471 | 3 ปี |
9 | พระยานครพระราม (สวัสดิ์ มหากายี) | 2471 | 2476 | 5 ปี |
มณฑลเพชรบูรณ์ | ||||
1 | พระยาเพชรรัตนสงคราม (เฟื่อง เฟื่องเพชร) | 2442 | 2450 | 8 ปี |
2 | พระยาเทพธิบดี (อิ่ม เทพานนท์) | 2450 | 2454 | 4 ปี |
3 | พระยาเพชรรัตนราชสงคราม (เลื่อง ภูมิรัตน์) | 2454 | 2458 | 4 ปี |
มณฑลภูเก็ต | ||||
1 | พระยาทิพโกษา (โต โชติกเสถียร) | ก่อน พ.ศ. 2435 | 2441 | |
2 | พระยาวิสูตรสาครดิฐ | 2441 | 2442 | 1 ปี |
3 | พระยาวรสิทธิเสวีรัตน (ใต้ฮัก ภัทรนาวิก) | 2442 | 2443 | 1 ปี |
4 | พระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดี (คอซิมบี้ ณ ระนอง) | 2443 | 2456 | 13 ปี |
5 | พระยาวิชิตวงศ์วุฒิไกร (หม่อมราชวงศ์สิทธิ์ สุทัศน์) | 2456 | 2463 | 7 ปี |
6 | พระยาสุรินทรราชา (นกยูง วิเศษกุล) | 2463 | 2468 | 5 ปี |
7 | หม่อมเจ้าสฤษดิเดช ชยางกูร | 2468 | 2473 | 5 ปี |
8 | พระยาศรีเสนา (ฮะ สมบัติศิริ) | 2473 | 2476 | 3 ปี |
มณฑลมหาราษฎร์ | ||||
1 | พระยาเพชรรัตนราชสงคราม (เลื่อง ภูมิรัตน์) | 2458 | 2465 | 7 ปี |
2 | พระยาไกรเพชรรัตนสงคราม (ชม โชติกระพุกกณะ) | 2465 | 2466 | 1 ปี |
3 | พระยาเดชานุชิต (หนา บุนนาค) | 2466 | 2468 | 2 ปี |
มณฑลราชบุรี | ||||
1 | เจ้าพระยาสุรพันธ์พิสุทธิ์ (เทศ บุนนาค) | 2437 | 2442 | 5 ปี |
2 | พระยาเทพอรชุน (เจ๊ก จารุจินดา) | 2442 | 2444 | 2 ปี |
3 | พระยารัตนกุล (จำรัส รัตนกุล) | 2444 | 2457 | 13 ปี |
4 | พระยาไกรเพชรรัตนสงคราม | 2457 | 2458 | 1 ปี |
5 | หม่อมเจ้าสฤษดิเดช ชยางกูร | 2455 | 2459 | 4 ปี |
6 | หม่อมเจ้าประติพัทธ์เกษมศรี เกษมศรี | 2459 | 2460 | 1 ปี |
7 | พระยามนตรีสุริยวงศ์ (ฉี่ บุนนาค) | 2460 | 2465 | 5 ปี |
8 | พระยาคฑาธรบดี (เทียบ อัศวนนท์) | 2465 | 2469 | 4 ปี |
9 | พระยาอรรถการยบดี (ชุ่ม อรรถจินดา) | 2469 | 2472 | 3 ปี |
10 | พระยาสุรพันธ์เสนี (อิ้น บุนนาค) | 2472 | 2476 | 4 ปี |
มณฑลร้อยเอ็ด | ||||
1 | หม่อมเจ้าธำรงศิริ ศรีธวัช | 2455 | 245x | |
2 | พระยารณชัยชาญยุทธ (ถนอม บุณยเกตุ) | 245x | 2468 | |
มณฑลสุราษฎร์ธานี | ||||
1 | พระยาดำรงสุจริตมหิศวรภักดี (คอซิมก๊อง ณ ระนอง) | 2439 | 2444 | 5 ปี |
2 | พระยาวรสิทธิเสวีวัตร (ใต้ฮัก ภัทรนาวิก) | 2444 | 2448 | 4 ปี |
3 | พระยามหิบาลบริรักษ์ (สวัสดิ์ ภูมิรัตน์) | 2448 | 2456 | 8 ปี |
4 | พระยาคงคาทราธิบดี (พลอย ณ นคร) | 2456 | 2468 | 12 ปี |
มณฑลอยุธยา | ||||
1 | พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนมรุพงศ์ศิริพัฒน์ | 2438 | 2446 | 8 ปี |
2 | พระยาโบราณราชธานินทร์ (พร เดชะคุปต์) | 2446 | 2472 | 26 ปี |
3 | หม่อมเจ้าอุปพัทธพงศ์ ศรีธวัช | 2472 | 2474 | 2 ปี |
4 | พระยากัลยาณวัฒนวิศิษฐ์ (เชียร กัลยาณมิตร) | 2474 | 2476 | 2 ปี |
มณฑลอุดร | ||||
1 | พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม | ก่อน พ.ศ. 2435 | 2442 | 7 ปี |
2 | พระวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวัฒนา | 2442 | 2449 | 6 ปี |
3 | พระยาศรีสุริยาราชวรานุวัตร (โพ เนติโพธิ์) | 244x | 245x | |
4 | พระยาศรีสุริยราชวรานุวัตร (ศุข ดิษยบุตร) | 245x | 2465 | |
5 | เจ้าพระยามุขมนตรี (อวบ เปาโรหิตย์) | 2465 | 2470 | 5 ปี |
6 | พระยาอดุลยเดชสยาเมศรภักดี (อุ้ย นาครธรรพ) | 2470 | 2472 | 2 ปี |
7 | พระยาตรังคภูบาล (เจิม ปันยารชุน) | 2472 | 2476 | 4 ปี |
มณฑลอุบล | ||||
1 | พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงพิชิตปรีชากร | ก่อน พ.ศ. 2435 | 2453 | 18 ปี |
2 | พระยาศรีธรรมศกราช (เจริญ จารุจินดา) | 2453 | 2456 | 3 ปี |
3 | พระยาศรีธรรมศกราช (ปิ๋ว บุนนาค) | 2456 | 2468 | 12 ปี |
มณฑลลาวกาว | ||||
1 | พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ |
ดูเพิ่ม
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ Glenn Slayden, บ.ก. (29 September 2013). "พายัพ" (Dictionary). Royal Institute Dictionary - 1982. Thai-language.com. สืบค้นเมื่อ 2013-09-29.
Royal Institute - 1982 พายัพ /พา-ยับ/ {Sanskrit: วายวฺย ว่า ของวายุ} [นาม] ชื่อทิศตะวันตกเฉียงเหนือ.
- ↑ 2.0 2.1 "ประกาศเลิกมณฑลเพ็ชร์บูรณ์เข้าเปนเมืองในมณฑลพิศณุโลก แลแยกมณฑลพายัพเปนมณฑลมหาราษฎร์ แลมณฑลพายัพ รวมเรียกว่า มณฑลภาคพายัพ มีตำแหน่งอุปราชเปนผู้ตรวจตรากำกับราชการ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 12 กันยายน พ.ศ. 2458. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2014-10-20. สืบค้นเมื่อ 7 มกราคม พ.ศ. 2562.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
และ|date=
(help) - ↑ ประกาศ ตั้งเมืองปราณบุรี ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ ๒๓ ตอนที่ ๔๑ ประกาศ ณ วันที่ ๖ มกราคม พ.ศ. ๒๔๔๙ หน้าที่ ๑๐๖๒
- ↑ ประกาศ เปลี่ยนนามเมืองปราณบุรี เป็นเมืองประจวบคีรีขันธ์ เก็บถาวร 2011-11-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ ๓๒ ตอนที่ ๐ ก ประกาศ ณ วันที่ ๒๒ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๕๘ หน้าที่ ๑๗๖
- ↑ "ข้อบังคับสำหรับปกครองมณฑลตวันตกเฉียงเหนือ ร,ศ, ๑๑๙" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2443. สืบค้นเมื่อ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
และ|date=
(help) - ↑ "กฎข้อบังคับ เรื่องเปลี่ยนชื่อมณฑล ๔ มณฑล" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 27 มกราคม ๑๑๙. สืบค้นเมื่อ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "ประกาศ เรื่องยุบแลรวมการปกครองมณฑลต่าง ๆ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 31 มีนาคม พ.ศ. 2468. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-04-27. สืบค้นเมื่อ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
และ|date=
(help) - ↑ "ประกาศ เรื่องยุบรวมท้องที่บางมณฑลและบางจังหวัด" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2474. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2008-04-09. สืบค้นเมื่อ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
และ|date=
(help) - ↑ ขรรค์ชัย บุนปาน. (2545). เทศาภิบาล สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพ. กรุงเทพฯ: ศิลปวัฒนธรรม.
อ่านเพิ่ม
แก้- Damrong Rajanubhab (2002). เทศาภิบาล [Thesaphiban] (pdf). Bangkok: Matichon. ISBN 9743227814.
- Tej Bunnag (1977). The Provincial Administration of Siam, 1892-1915: the Ministry of the Interior under Prince Damrong Rajanubhab. Kuala Lumpur: Oxford University Press. ISBN 0-19-580343-4.
- Tej Bunnag (2005). การปกครองระบบเทศาภิบาลของประเทศสยาม พ.ศ. 2435–2458 [The Provincial Administration of Siam, 1892–1915: the Ministry of the Interior under Prince Damrong Rajanubhab] (pdf) (2nd ed.). Bangkok: Thammasat University Press. ISBN 9745719374.