เจ้าพระยาศรีวิไชยชนินทร์ (ชม สุนทรารชุน)
มหาเสวกโท เจ้าพระยาศรีวิไชยชนินทร์ นามเดิม ชม ต้นสกุล สุนทรารชุน[1] เป็นขุนนางชาวสยาม ได้ดำรงตำแหน่งสำคัญ เช่น ผู้ว่าราชการเมืองพิจิตรและเมืองนครไชยศรี องคมนตรี สมุหเทศาภิบาลมณฑลนครไชยศรี

ประวัติ
แก้เจ้าพระยาศรีวิไชยชนินทร์ มีนามเดิมว่าชม เป็นบุตรของพระสุรินทรามาตย์ (คล้าย) มารดาเป็นธิดาของพระยาศรีสหเทพ (เพ็ง)[2] เกิดเมื่อวันอังคารที่ 29 มีนาคม ปีฉลู พ.ศ. 2396 ได้ศึกษาภาษาไทยกับอาจารย์น้อย[3]
พ.ศ. 2407 ได้เข้ารับราชการเป็นมหาดเล็กในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจนสิ้นรัชกาล จนถึงต้นรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงโปรดให้ย้ายไปรับราชการในกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ ได้รับบรรดาศักดิเป็นจมื่นมณเฑียรพิทักษ์ ปลัดกรมตำรวจสนมทหารซ้าย ในปี พ.ศ. 2413 เมื่อกรมพระราชวังฯ ทิวงคต (พ.ศ. 2428) จึงย้ายมาสมทบกรมพระตำรวจในพระบรมมหาราชวัง ถึงปี พ.ศ. 2426 โปรดให้ติดตามพระยามหาอำมาตยาธิบดี (หรุ่น ศรีเพ็ญ) ผู้เป็นลุงทางฝ่ายมารดา ออกไปจัดราชการเมืองเขมราฐ เมืองมุกดาหาร และเมืองนครพนม และทำด่านตามแม่น้ำโขงไปจนถึงเขตแดนเขมร ต่อมาย้ายไปรับราชการในกระทรวงมหาดไทย จนวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2434 ได้รับบรรดาศักดิ์เป็นหลวงเสนีพิทักษ์ ถือศักดินา 800[4] และในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2438 ได้เลื่อนเป็นพระยาสุนทรบุรีศรีพิไชยสงคราม ผู้ว่าราชการเมืองนครไชยศรี ถือศักดินา 3,000[5] แล้วเลื่อนตำแหน่งเป็นสมุหเทศาภิบาลมณฑลนครไชยศรีในปี พ.ศ. 2441 ต่อมาวันที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2453 ได้รับพระราชทานสัญญาบัตรตั้งเป็นองคมนตรี[6] และในวันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2454 ได้รับพระราชทานยศเป็นมหาอำมาตย์โท[7]
วันเสาร์ที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2456 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ตั้งเป็นเจ้าพระยา มีราชทินนามว่า เจ้าพระยาศรีวิไชยชนินทร์ ปฐมนครินทร์วิบูลยศักดิ์ นิตยสวามิภักดิ์รามาธิบดี ศรีมณฑลิกาธิการวิสิษฐ ธรรมสุจริตกฤตัญญุการ พิริยแรงหาญราญทุรชน โสภณสุนทรารชุนวงษ์ บรมราชประสงค์สิทธิปฏิบัติ พุทธาทิรัตนสรณธาดา อุดมอาชวาธยาไศรย อภัยพิริยบรากรมพาหุ ดำรงศักดินา 10,000[8] ถึงปี พ.ศ. 2458 โปรดให้เปลี่ยนยศเป็นมหาเสวกโท[9]
เมื่ออายุมากขึ้น เจ้าพระยาศรีวิไชยชนินทร์เริ่มมีปัญหาสุขภาพ จึงโปรดให้ออกจากตำแหน่งแล้วย้ายมารับราชการในกระทรวงวัง ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยเสนาบดีกระทรวงวัง พ.ศ. 2461 ท่านทุพพลภาพมากขึ้น จึงออกจากราชการและรับพระราชทานเบี้ยบำนาญ[3]
ครอบครัว
แก้เจ้าพระยาศรีวิไชยชนินทร์ สมรสกับคุณหญิงเอี่ยม ท.จ. (ธิดาหลวงพิทักษ์นรากร (ชื่น ชินทักษ) กับนางแย้ม พิทักษ์นรากร) คุณหญิงป่วยเป็นโรคปัสสาวะพิการ ถึงแก่อนิจกรรมวันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2469[10] มีบุตรธิดาด้วยกัน 5 คน ได้แก่[11]
- ธิดาไม่ทราบนาม เสียชีวิตตั้งแต่ยังเยาว์
- คุณหญิงเนียน พัศดีกลาง
- พระยาสฤษดิพจนกร (ชาย สุนทรารชุน)
- จมื่นสิทธิกฤดากร (เชื้อ สุนทรารชุน)
- นางสาวช่วง สุนทรารชุน
เจ้าพระยาศรีวิไชยชนินทร์ ป่วยด้วยโรคชรา ถึงแก่อสัญกรรมเมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2468 สิริอายุ 73 ปี ได้รับพระราชทานโกศแปดเหลี่ยม ชั้นรองโกศ 1 ชั้น ฉัตรเบญจา 4 คัน เป็นเกียรติยศ[3]
ยศ
แก้เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2456 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์รัตนวราภรณ์ (ร.ว.) (ฝ่ายหน้า)[14]
- พ.ศ. 2457 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 1 ปฐมจุลจอมเกล้า (ป.จ.) (ฝ่ายหน้า)[15]
- พ.ศ. 2455 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)[16]
- พ.ศ. 2449 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.)[17]
- พ.ศ. 2458 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์วชิรมาลา (ว.ม.ล.)[18]
- พ.ศ. 2447 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 4 ชั้นที่ 5 (ม.ป.ร.5)[19]
- พ.ศ. 2447 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 5 ชั้นที่ 3 (จ.ป.ร.3)[20]
- พ.ศ. 2453 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 6 ชั้นที่ 3 (ว.ป.ร.3)[21]
- พ.ศ. 2436 – เหรียญรัชฎาภิเศกมาลา (ร.ศ.)
- พ.ศ. 2440 – เหรียญประพาสมาลา (ร.ป.ม.)
- พ.ศ. 2440 – เหรียญราชินี (ส.ผ.)
- พ.ศ. 2446 – เหรียญทวีธาภิเศก (ท.ศ.)
- พ.ศ. 2450 – เหรียญรัชมงคล (ร.ร.ม.)
- พ.ศ. 2451 – เหรียญรัชมังคลาภิเศก รัชกาลที่ 5 (ร.ม.ศ.5)
- พ.ศ. 2454 – เหรียญบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ 6 (ร.ร.ศ.6)
อ้างอิง
แก้- เชิงอรรถ
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศกระทรวงมุรธาธร เรื่อง ประกาศพระราชทานนามสกุล ครั้งที่ 5, เล่ม 30, ตอน 0 ง, 14 กันยายน 2456, หน้า 1249
- ↑ เรื่องตั้งเจ้าพระยาในกรุงรัตนโกสินทร์, หน้า 184
- ↑ 3.0 3.1 3.2 ราชกิจจานุเบกษา, ข่าวตาย, เล่ม 42, ตอน 0 ง, 19 กรกฎาคม 2468, หน้า 1145-7
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานสัญญาบัตร, เล่ม 8, ตอน 36, 6 ธันวาคม 2434, หน้า 315
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานสัญญาบัตร, เล่ม 12, ตอน 46, 16 กุมภาพันธ์ 2438, หน้า 466-471
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานสัญญาบัตรตั้งองคมนตรี, เล่ม 27, ตอน 0 ง, 18 ธันวาคม 2453, หน้า 2,168
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศพระบรมราชโองการ ประกาศพระราชทานยศ แก่ข้าราชการกระทรวงมหาดไทย, เล่ม 28, ตอน 0 ง, 20 สิงหาคม 2454, หน้า 973
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งเจ้าพระยา, เล่ม 30, ตอน ก, 1 มีนาคม 2456, หน้า 466-471
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ เปลี่ยนยศอุปราช และสมุหเทศาภิบาล, เล่ม 32, ตอน 0 ก, 11 พฤศจิกายน 2458, หน้า 357
- ↑ "ข่าวตาย" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 43 (ง): 4576. 27 มีนาคม 2469. สืบค้นเมื่อ 21 กุมภาพันธ์ 2562.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ คนดีที่ข้าพเจ้ารู้จัก (เล่ม 2), หน้า 164-5
- ↑ พระราชทานสัญญาบัตรกองเสือป่า
- ↑ ส่งสัญญาบัตรเสือป่าไปพระราชทาน
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานตรารัตนวราภรณ์, เล่ม ๓๐ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๘๖๔, ๘ มีนาคม ๒๔๕๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ในงานพระราชพิธีฉัตรมงคล วันที่ ๑๑ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๔๕๗, เล่ม ๓๑ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๑๘๓๙, ๑๑ พฤศจิกายน ๒๔๕๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๒๙ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๔๑๙, ๒๒ มกราคม ๑๓๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๒๓ ตอนที่ ๒๘ หน้า ๗๑๔, ๗ ตุลาคม ๑๒๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา พระราชทานตราวชิมารา[ลิงก์เสีย], เล่ม ๓๒ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๕, ๔ เมษายน ๒๔๕๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ ๔, เล่ม ๒๑ ตอนที่ ๓๒ หน้า ๕๖๘, ๖ พฤศจิกายน ๑๒๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๒๑ ตอนที่ ๒๗ หน้า ๔๖๕, ๒ ตุลาคม ๑๒๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๒๗ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๖๔๔, ๒๘ มกราคม ๑๒๙
- บรรณานุกรม
- ดำรงราชานุภาพ, สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยา. คนดีที่ข้าพเจ้ารู้จัก (เล่ม 2). กรุงเทพฯ : รวมสาส์น, 2549. 303 หน้า. หน้า 152-167. ISBN 974-9557-01-8
- สมมตอมรพันธุ์, พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระ. เรื่องตั้งเจ้าพระยาในกรุงรัตนโกสินทร์. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2545. 404 หน้า. หน้า 184-8. ISBN 974-417-534-6