พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนพิทยลาภพฤฒิธาดา

มหาเสวกเอก[2] นายพันเอก[3] พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนพิทยลาภพฤฒิธาดา เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว องคมนตรีในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว อดีตเสนาบดีกระทรวงโยธาธิการ เสนาบดีกระทรวงมุรธาธร และเสนาบดีกระทรวงวัง

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ
กรมขุนพิทยลาภพฤฒิธาดา
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ ชั้น 4
พระองค์เจ้าชั้นเอก
องคมนตรี
ดำรงตำแหน่ง7 พฤษภาคม พ.ศ. 2430
สภานายก รัฐมนตรีสภา[1]
ดำรงตำแหน่ง24 มกราคม พ.ศ. 2437
ประสูติ1 เมษายน พ.ศ. 2406
สิ้นพระชนม์28 ตุลาคม พ.ศ. 2456 (50 ปี)
หม่อมหม่อมเอม โสณกุล ณ อยุธยา
พระบุตร13 พระองค์
ราชสกุลโสณกุล
ราชวงศ์จักรี
พระบิดาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระมารดาท้าววรจันทร์ (วาด)
ลายพระอภิไธย
รับใช้กรมราชองครักษ์
ชั้นยศ พันเอก

พระประวัติ

แก้

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนพิทยลาภพฤฒิธาดา มีพระนามเดิมว่า พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าโสณบัณฑิต เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ 62 ของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ประสูติแต่ท้าววรจันทร์ (เจ้าจอมมารดาวาด) ธิดานายสมบุญ งามสมบัติ กับท้าวปฏิบัติบิณฑทาน (ถ้วย) ประสูติเมื่อวันพุธ ขึ้น 13 ค่ำ เดือน 5 ปีกุน เบญจศก จ.ศ. 1225 ตรงกับวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2406 พระองค์ทรงเป็นต้นราชสกุลโสณกุล

ในรัชสมัยรัชกาลที่ 5 พระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้าโสณบัณฑิต ทรงเริ่มรับราชการเป็น ราชองครักษ์ พร้อมกับรับพระราชทานพระยศเป็น นายพันตรี เมื่อวันจันทร์ เดือนแปด ขึ้นห้าค่ำ ปีมะแม เบญจศก จุลศักราช 1245 ตรงกับ พ.ศ. 2426 ต่อมาในวันจันทร์ เดือนสิบ แรมสิบสองค่ำ ปีระกาสัปตศก จุลศักราช 1247 ตรงกับปี พ.ศ. 2428 โปรดเกล้าฯ ให้เป็นราชเลขานุการส่วนพระองค์ฝ่ายต่างประเทศ [4] ต่อมา พ.ศ. 2437 ทรงเป็นรัฐมนตรีสภา โดยทรงดำรงตำแหน่งเป็น สภานายก

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาขึ้นเป็นพระองค์เจ้าต่างกรมมีพระนามตามจารึกในพระสุพรรณบัฏว่า พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิธาดา[5] เมื่อ พ.ศ. 2434 และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เลื่อนกรมขึ้นเป็น พระเจ้าน้องยาเธอ กรมขุนพิทยลาภพฤฒิธาดา[6] เมื่อ พ.ศ. 2443 ทรงดำรงตำแหน่งองคมนตรีในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว[7][8] องคมนตรีในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว[9] ข้าหลวงต่างพระเนตรพระกรรณ มณฑลพายัพ รับผิดชอบจัดการป้องกันหัวเมืองชายแดนด้านตะวันตกของเชียงใหม่ เสนาบดีกระทรวงโยธาธิการ เสนาบดีกระทรวงมุรธาธร[10] และเสนาบดีกระทรวงวัง[11] เป็นต้น

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนพิทยลาภพฤฒิธาดา เดิมประทับอยู่ที่วังปากคลองตลาด บ้านเดิมของเจ้าจอมมารดาวาด ใกล้ปากคลองตลาด ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้สร้างวังตลาดน้อย ที่ถนนเจริญกรุงใกล้กับสะพานเหล็กล่าง จึงทรงย้ายไปประทับที่วังตลาดน้อยตลอดพระชนม์ชีพ และสิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 6 เมื่อวันอังคาร เดือน 11 แรม 14 ค่ำ ปีฉลูเบญจศก จ.ศ. 1175 ตรงกับวันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2456 พระชันษาได้ 50 ปี 210 วัน[12] มีพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพเมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2457 ณ พระเมรุ วัดราชาธิวาสราชวรวิหาร[13]

พระโอรสและพระธิดา

แก้

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนพิทยลาภพฤฒิธาดา ทรงเป็นต้นราชสกุลโสณกุล มีหม่อมท่านเดียว คือ หม่อมเอม (สกุลเดิม: กุณฑลจินดา) ธิดาหลวงวรศักดาพิศาล (ตาล กุณฑลจินดา) โดยมีพระโอรสธิดา 13 พระองค์ เป็นชาย 7 พระองค์ และหญิง 6 พระองค์

นอกจากนี้ในปี พ.ศ. 2443 ขณะประทับที่นครเชียงใหม่ ได้ทรงสู่ขอเจ้าข่ายแก้ว ณ เชียงใหม่ ธิดาเจ้าทักษิณนิเกตน์ (หนานมหายศ ณ เชียงใหม่) ไปเป็นหม่อมในพระองค์ แต่ในภายหลังได้ทรงหย่ากัน

พระรูป พระนาม หม่อมมารดา ประสูติ สิ้นพระชนม์/สิ้นชีพิตักษัย คู่สมรส
  1. หม่อมเจ้าหญิงประวาศสวัสดี (ท่านหญิงใหญ่) หม่อมเอม 25 ธันวาคม พ.ศ. 2426 11 ธันวาคม พ.ศ. 2445 พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงนครไชยศรีสุรเดช
  2. หม่อมเจ้าธานีนิวัต
(พ.ศ. 2465 : พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าธานีนิวัต
พ.ศ. 2493 : กรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิยากร) (ท่านชายใหญ่)
หม่อมเอม 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2428 8 กันยายน พ.ศ. 2517 หม่อมประยูร (สุขุม)
  3. หม่อมเจ้าฉัตรมงคล (ท่านชายกลาง)[14] หม่อมเอม 9 มกราคม พ.ศ. 2429 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2507 หม่อมราชวงศ์หญิงวิศิษฐ์ศรี (หัสดินทร)
พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าหญิงจุไรรัตนศิริมาน
  4. หม่อมเจ้าหญิงสุมนมาลย์ (ท่านหญิงกลาง) หม่อมเอม 14 เมษายน พ.ศ. 2431 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2482 พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงนครไชยศรีสุรเดช
  5. หม่อมเจ้าวารเฉลิมฉัตร (ท่านชายเล็ก) หม่อมเอม พฤศจิกายน พ.ศ. 2432 21 กันยายน พ.ศ. 2434
  6. หม่อมเจ้าหญิงนักขัตดารา หม่อมเอม 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2434 23 ธันวาคม พ.ศ. 2435
  7. หม่อมเจ้ารัชฎาภิเศก (ท่านชายใหม่) หม่อมเอม 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2435 5 กันยายน พ.ศ. 2492 หม่อมเจ้าหญิงพิมพ์รำไพ (รพีพัฒน์)
  8. หม่อมเจ้าหญิงสิบพันพารเสนอ (ท่านหญิงน้อย) หม่อมเอม 30 ธันวาคม พ.ศ. 2437 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2528
  9. หม่อมเจ้าหญิงเสมอภาค (ท่านหญิงเล็ก) หม่อมเอม 7 มีนาคม พ.ศ. 2438 26 มีนาคม พ.ศ. 2522
  10. หม่อมเจ้าชาย (ไม่ปรากฏพระนาม) หม่อมเอม 7 มิถุนายน พ.ศ. 2440 8 มิถุนายน พ.ศ. 2440
  11. หม่อมเจ้าทวีธาภิเศก (ท่านชายนิด) หม่อมเอม 7 กันยายน พ.ศ. 2441 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2474
  12. พลตรีหม่อมเจ้ามุรธาภิเศก (ท่านชายจิ๋ว) หม่อมเอม 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2445 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2526 หม่อมเจ้าหญิงกัลยางค์สมบัติ (กิติยากร)
  13. หม่อมเจ้าหญิงอภิสิตสมาคม หม่อมเอม 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2446 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2528

พระเกียรติยศ

แก้

พระอิสริยยศ

แก้
ธรรมเนียมพระยศของ
กรมขุนพิทยลาภพฤฒิธาดา
 
ธงประจำพระอิสริยยศ
การทูลใต้ฝ่าพระบาท
การแทนตนข้าพระพุทธเจ้า
การขานรับพ่ะย่ะค่ะ/เพคะ
  • 1 เมษายน พ.ศ. 2406 – 1 ตุลาคม พ.ศ. 2411 : พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าโสณบัณฑิต
  • 1 ตุลาคม พ.ศ. 2411 – 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2434 : พระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้าโสณบัณฑิต
  • 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2434 – 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2443 : พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิธาดา
  • 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2443 – 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453 : พระเจ้าน้องยาเธอ กรมขุนพิทยลาภพฤฒิธาดา
  • 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453 – 28 ตุลาคม พ.ศ. 2456 : พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนพิทยลาภพฤฒิธาดา

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย

แก้

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ

แก้

พระยศทหาร

แก้
  • พ.ศ. 2431 นายพันเอก
  • พ.ศ. 2426 นายพันตรี[24]

พงศาวลี

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. ดำรงตำแหน่ง นายกรัฐมนตรีสภา
  2. ราชกิจจานุเบกษา,ประกาศพระราชทานยศแก่ข้าราชการในกระทรวงวัง เล่ม 29 หน้า 1405 วันที่ 22 กันยายน 2455
  3. ข่าวเพิ่มเติม พระองค์เจ้าโสณบัณฑิตย์ทูลลา ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 5 หน้า 260
  4. ประกาศตั้งสิเกรตารีหลวง
  5. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศตั้งกรมพระองค์เจ้าโสณบัณฑิตย์, เล่ม 8, ตอน 45, 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2434, เล่ม 408
  6. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ เลื่อนกรมแลตั้งกรมพระองค์เจ้า เจ้าพระยา เก็บถาวร 2016-08-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม 17, ตอน 35, 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2443, หน้า 481
  7. ราชกิจจานุเบกษา, ข่าวตั้งปริวีเคาน์ซิลเลอร์, เล่ม 4, หน้า 45
  8. ราชกิจจานุเบกษา, สัญญาบัตรปริวีเคาน์ซิลเลอร์, เล่ม 4, หน้า 47-48
  9. ประกาศแต่งตั้งองคมนตรี
  10. ดำรงตำแหน่ง เสนาบดีกระทรวงโยธาธิการ เสนาบดีกระทรวงมุรธาธร
  11. ดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงวัง
  12. ข่าวสิ้นพระชนม์
  13. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเพลิงพระศพและศพที่พระเมรุวัดราชาธิวาส พุทธศักราช ๒๔๕๗ เล่ม 31, ตอน ๐ ง, 21 มิถุนายน พ.ศ. 2457, หน้า 658
  14. พระราชนิพนธ์ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก กรมศิลปากรตรวจสอบชำระใหม่ : อนุสรณ์พระราชทานเพลิงศพหม่อมเจ้าฉัตรมงคล โสณกุล
  15. เครื่องขัตติยราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติคุณรุ่งเรืองยิ่งมหาจักรีบรมราชวงศ์ (ม.จ.ก.)
  16. ราชกิจจานุเบกษา, ถวายบังคมพระบรมรูปและพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2019-05-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐, ตอน ๓๔, ๑๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๑๘๙๓, หน้า ๓๖๗
  17. เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 2 ทวีติยาภรณ์ช้างเผือก (ท.ช.)
  18. เหรียญดุษฎีมาลา เข็มราชการแผ่นดิน (ร.ด.ม.(ผ))
  19. ราชกิจจานุเบกษา,พระราชทานเครื่องราชอิศริยาภรณ์ เก็บถาวร 2020-07-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน เล่ม 10 หน้า 456
  20. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ ๔ เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๒๑, ตอน ๓๒, ๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๔๗, หน้า ๕๖๔
  21. เหรียญราชินี (ส.ผ.)
  22. "พระราชทานพระบรมราชานุญาตเครื่องราชอิสริยาภรณ์รุสเซีย" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 8 (ตอน 46): หน้า 414. 7 กุมภาพันธ์ 2434. สืบค้นเมื่อ 23 มิถุนายน 2562. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  23. "พระราชทานพระบรมราชานุญาตเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 11 (ตอน 35): หน้า 272. 25 พฤศจิกายน 2438. สืบค้นเมื่อ 23 มิถุนายน 2562. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  24. พระราชทานสัญญาบัตร (หน้า ๓๑๓)