พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงนครไชยศรีสุรเดช

จอมพล พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงนครไชยศรีสุรเดช (7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2419 - 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2457) เป็นหนึ่งในพระราชโอรสกลุ่มแรกในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวที่ทรงไปศึกษาต่อในทวีปยุโรป เมื่อกลับมาประเทศไทยทรงเข้ารับราชการในกองทัพบกและกระทรวงกลาโหมในตำแหน่งต่าง ๆ และทรงเป็นจอมพลพระองค์ที่ 2 ของกองทัพบกสยาม พระองค์ทรงเป็นต้นราชสกุล "จิรประวัติ"

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ
กรมหลวงนครไชยศรีสุรเดช
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ ชั้น 5
พระองค์เจ้าชั้นเอก
เสนาบดีกระทรวงกลาโหม
ดำรงตำแหน่ง11 ธันวาคม พ.ศ. 2453[1] - 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2456[2]
รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
ก่อนหน้าสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์
ถัดไปเจ้าพระยาบดินทรเดชานุชิต (หม่อมราชวงศ์อรุณ ฉัตรกุล)
ประสูติ7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2419
พระบรมมหาราชวัง ประเทศสยาม
สิ้นพระชนม์4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2457 (37 ปี)
วังมหานาค ประเทศสยาม
ชายาหม่อมเจ้าประวาศสวัสดี จิรประวัติ
หม่อมเจ้าสุมนมาลย์ จิรประวัติ
ราชสกุลจิรประวัติ
ราชวงศ์จักรี
พระบิดาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระมารดาเจ้าจอมมารดาทับทิม พระสนมเอก
ลายพระอภิไธย

พระประวัติ

แก้

พระกำเนิด

แก้

จอมพล พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงนครไชยศรีสุรเดช มีพระนามเดิมว่า พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าจิรประวัติวรเดช เป็นพระราชบุตรลำดับที่ 18 ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาทับทิม พระสนมเอก (ธิดาของพระยาอัพภันตริกามาตย์ (ดิศ โรจนดิศ)) เมื่อวันอังคาร แรม 6 ค่ำ เดือน 12 ปีชวด อัฐศก จ.ศ. 1238 ตรงกับวันที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2419 ในพระบรมมหาราชวัง ทรงมีพระกนิษฐาและพระกนิษฐภาดา ร่วมเจ้าจอมมารดาเดียวกัน 3 พระองค์ คือ

  1. พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงนครไชยศรีสุรเดช (พระองค์เจ้าจิรประวัติวรเดช)
  2. พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าประเวศวรสมัย
  3. พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสิงหวิกรมเกรียงไกร (พระองค์เจ้าวุฒิชัยเฉลิมลาภ)
 

การศึกษา

แก้

พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าจิรประวัติวรเดช ทรงสำเร็จการศึกษาชั้นต้นที่โรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ เป็นพระราชโอรสกลุ่มแรกในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ทรงไปศึกษาต่อในทวีปยุโรป เมื่อ พ.ศ. 2428 พร้อมกัน 4 พระองค์ คือ

พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าจิรประวัติวรเดช ทรงศึกษาวิชาทหาร ที่ประเทศเดนมาร์ก เมื่อ พ.ศ. 2434 - 2437 ได้รับพระราชทานพระยศเป็นนายร้อยตรีแห่งกองทัพบกเดนมาร์ก จากนั้นทรงเข้าศึกษาในโรงเรียนชั้นสูงสำหรับนายทหารทั่วไป เมื่อทรงสอบวิชาทหารปืนใหญ่ได้แล้ว ใน พ.ศ. ๒๔๓๙ จึงออกไปฝึกราชการอยู่ในกรมทหารปืนใหญ่สนามของประเทศเดนมาร์กในการนี้ได้โปรดเกล้าฯ พระราชทานพระยศ ร้อยเอก เมื่อวันที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2439[3]

รับราชการ

แก้

เสด็จกลับประเทศไทยเมื่อ พ.ศ. 2440 เข้ารับราชการในกองทัพบกและกระทรวงกลาโหม ทรงดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการกรมยุทธนาธิการ[4], ปลัดกองทัพบก, เสนาธิการทหารบก และเสนาบดีกระทรวงกลาโหม ทรงเป็นจอมพลพระองค์ที่สองของกองทัพบกสยาม

นอกจากนี้ในวันที่ 10 เมษายน รัตนโกสินทรศก 131 หรือตรงกับปี พ.ศ. 2455 ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ทรงเป็นผู้บังคับการพิเศษเสือป่า กองมณฑลนครไชยศรี[5]

ขณะดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงกลาโหมได้ทรงปรึกษากับสมเด็จพระอนุชาธิราช เจ้าฟ้าฯ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ เสนาธิการทหารบก ถึงความจำเป็นที่ประเทศไทยจะต้องมีเครื่องบินไว้ใช้ป้องกันประเทศ เหมือนอย่างอารยประเทศ และริเริ่มจัดตั้งกองบินทหารบก ซึ่งในเวลาต่อมาได้พัฒนาเป็นกองทัพอากาศไทย ถึงวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2454 โปรดให้เลื่อนเป็นพระเจ้าพี่ยาเธอ กรมหลวงนครไชยศรีสุรเดช ทรงศักดินา 15000[6] และได้รับพระบรมราชานุญาตให้แต่งเครื่องยศขุนตำรวจเอก ในกรมพระตำรวจเป็นกรณีพิเศษเมื่อวันที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2456 หรือก่อนสิ้นพระชนม์เพียง 22 วัน[7]

สิ้นพระชนม์

แก้

จอมพล พระเจ้าพี่ยาเธอ กรมหลวงนครไชยศรีสุรเดช ได้กราบถวายบังคมลาไปรักษาพระองค์และได้เสด็จออกจากพระนครที่ท่าราชวรดิษฐ์เมื่อย่ำรุ่งของวันที่ 11 มกราคม รัตนโกสินทรศก 130 หรือตรงกับปี พ.ศ. 2454[8] จากนั้นเมื่อพระอาการดีขึ้นจึงได้เสด็จนิวัติพระนคร กระทั่งสิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2457 เวลา 22:43 น. ที่ วังมหานาค สิริพระชันษา 37 ปี 89 วัน วันต่อมา เวลา 14:00 น. พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินโดยกระบวนรถม้าไป ณ วังพระเจ้าพี่ยาเธอ กรมหลวงนครไชยศรีสุรเดช พระราชทานน้ำสรงพระศพ ทรงสวมพระชฎาพระราชทาน เจ้าพนักงานเชิญพระศพขึ้นประดิษฐานบนพระแท่นแว่นฟ้าสองชั้น ประกอบพระโกศกุดั่นใหญ่ (พระราชทานพระเกียรติยศเป็นกรณีพิเศษ) แวดล้อมด้วยเครื่องสูง 5 ชั้น แล้วทรงทอดผ้าไตร พระสงฆ์มีสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (ยัง เขมาภิรโต) เป็นประธานสวดสดับปกรณ์ พระราชทานเครื่องประโคมประจำพระศพ พระพิธีธรรมสวดพระอภิธรรมมีกำหนด 3 เดือน[9]

พระโอรส-พระธิดา

แก้
 
ตราประจำราชสกุลจิรประวัติ

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงนครไชยศรีสุรเดช ทรงได้รับพระราชทานวังมหานาคจากสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงให้เป็นที่ประทับของพระองค์และเจ้าจอมมารดาทับทิมสืบมา ทรงเป็นต้นราชสกุล จิรประวัติ [10]

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงนครไชยศรีสุรเดช เสกสมรสกับหม่อมเจ้าหญิงประวาศสวัสดี จิรประวัติ (ราชสกุลเดิม : โสณกุล ) (25 ธันวาคม พ.ศ. 2426 - 11 ธันวาคม พ.ศ. 2445) เมื่อวันที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2441 มีพระราชธิดา คือ

และหลังจากที่ชายาพระองค์แรกได้สิ้นชีพตักษัยลง จึงทรงเสกสมรสใหม่กับหม่อมเจ้าหญิงสุมนมาลย์ จิรประวัติ (ราชสกุลเดิม : โสณกุล) เมื่อวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2447 ซึ่งหม่อมเจ้าหญิงสุมนมาลย์ (14 เมษายน พ.ศ. 2431 - 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2482) เป็นพระขนิษฐาร่วมพระบิดามารดาเดียวกันกับหม่อมเจ้าหญิงประวาศสวัสดี โดยเสด็จในกรมหลวงนครไชยศรีและหม่อมเจ้าหญิงสุมนมาลย์ทรงมีพระโอรสด้วยกัน 2 พระองค์ คือ

พระเกียรติยศ

แก้
ธรรมเนียมพระยศของ
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงนครไชยศรีสุรเดช
 
ธงประจำพระอิสริยยศ
 
ตราประจำพระองค์
การทูลใต้ฝ่าพระบาท
การแทนตนข้าพระพุทธเจ้า
การขานรับพ่ะย่ะค่ะ/เพคะ

พระอิสริยยศ

แก้
  • พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าจิรประวัติวรเดช (7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2419 – 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2443)
  • พระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นนครไชยศรีสุรเดช (25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2443 – 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453)
  • พระเจ้าพี่ยาเธอ กรมหมื่นนครไชยศรีสุรเดช (23 ตุลาคม พ.ศ. 2453 – 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2454)
  • พระเจ้าพี่ยาเธอ กรมหลวงนครไชยศรีสุรเดช (11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2454 – 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2457)

ภายหลังสิ้นพระชนม์

  • พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงนครไชยศรีสุรเดช (10 กรกฎาคม พ.ศ. 2478)

พระยศ

แก้
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงนครไชยศรีสุรเดช
รับใช้  ไทย
แผนก/สังกัดกองทัพบกสยาม
กองเสือป่า
ชั้นยศ  จอมพล
นายกองตรี

พระยศทหาร

แก้
  • จอมพล
  • 28 กันยายน พ.ศ. 2449 - นายพลเอก[12]
  • 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2446 - นายพลโท[13]
  • 3 เมษายน พ.ศ. 2444 - นายพลตรี[14]
  • 21 กันยายน พ.ศ. 2441 - นายพันเอก[15]
  • 3 เมษายน พ.ศ. 2439 - นายร้อยเอก

ทหารรักษาวัง

แก้
  • 1 มกราคม พ.ศ. 2454 - พันโท ในกรมทหารรักษาวัง[16]

พระยศกรมพระตำรวจ

แก้
  • 12 มกราคม พ.ศ. 2456 - ขุนตำรวจเอก[7] (ขณะนั้นทรงมีพระยศเป็นจอมพลในกองทัพบก)

พระยศเสือป่า

แก้
  • 29 มิถุนายน พ.ศ. 2454 - นายกองตรี[17] (ขณะนั้นทรงมีพระยศเป็นนายพลเอกในกองทัพบก)

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

แก้

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ

แก้

พระราชสมัญญานาม

แก้
  • พระบิดาแห่งกองทัพบกไทย[29] [30]

พงศาวลี

แก้

อ้างอิง

แก้
เชิงอรรถ
  1. การดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงกลาโหม
  2. "การดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงกลาโหม" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2021-05-26. สืบค้นเมื่อ 2021-05-26.
  3. ส่งสัญญาบัตรไปพระราชทาน[ลิงก์เสีย]
  4. พระบรมราชโองการ ประกาศ เปลี่ยนตำแหน่งเสนาบดี (กระทรวงกลาโหม)
  5. แจ้งความเพิ่มเติมแจ้งความกองเสือป่า
  6. "ประกาศ เลื่อน แลตั้งกรม แลตั้งเจ้าพระยา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 28 (0 ง): 1741–1743. 11 พฤศจิกายน ร.ศ. 130. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-11-14. สืบค้นเมื่อ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2561. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  7. 7.0 7.1 ประกาศกระทรวงวัง
  8. กราบถวายบังคมลา
  9. "ข่าวสิ้นพระชนม์ จอมพล พระเจ้าพี่ยาเธอ กรมหลวงนครไชยศรีสุรเดช เสนาบดี กระทรวงกลาโหม" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 30 (ง): 2607–9. 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2456. สืบค้นเมื่อ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2561. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  10. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-10-21. สืบค้นเมื่อ 2006-10-11.
  11. กิติวัฒนา (ไชยันต์) ปกมนตรี, หม่อมราชวงศ์. สายพระโลหิตในพระพุทธเจ้าหลวง. กรุงเทพฯ : ดีเอ็มดี, พ.ศ. 2551. 290 หน้า. ISBN 978-974-312-022-0
  12. พระราชทานสัญญาบัตรทหารบก
  13. พระราชทานสัญญาบัตรทหารบก
  14. พระราชทานสัญญาบัตรทหารบก
  15. พระราชทานสัญญาบัตรทหาร
  16. แจ้งความกรมทหารรักษาวัง
  17. พระราชทานสัญญาบัตรกองเสือป่า
  18. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่ประเทศยุโรป เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม 14, ตอน 25, 19 กันยายน ร.ศ. 116, หน้า 327
  19. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2015-10-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม 28, ตอน 0 ง, 12 พฤศจิกายน ร.ศ. 131, หน้า 1791
  20. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้าฝ่ายหน้าและฝ่ายใน, เล่ม 17, ตอน 35, 25 พฤศจิกายน ร.ศ. 119, หน้า 501
  21. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2019-05-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม 18, ตอน 46, 16 กุมภาพันธ์ ร.ศ. 120, หน้า 873
  22. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ช้างเผือกและมงกุฎสยาม, เล่ม 17, ตอน 28, 7 ตุลาคม ร.ศ. 119, หน้า 357
  23. จอมพล พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงนครไชยศรีสุรเดช เก็บถาวร 2011-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน จากเว็บไซต์กองทัพบก
  24. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ ฝ่ายหน้า และฝ่ายใน เก็บถาวร 2015-09-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม 18, ตอน 46, 16 กุมภาพันธ์ ร.ศ. 120, หน้า 874
  25. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ เก็บถาวร 2015-09-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม 27, ตอน 0 ง, 11 มกราคม ร.ศ. 129, หน้า 2409
  26. 26.0 26.1 "พระราชทานพระบรมราชานุญาตเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 13 (ตอน 24): หน้า 250. 13 กันยายน 2440. สืบค้นเมื่อ 23 มิถุนายน 2562. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  27. "พระราชทานพระบรมราชานุญาตเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 14 (ตอน 26): หน้า 204. 13 กันยายน 2440. สืบค้นเมื่อ 23 มิถุนายน 2562. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  28. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานพระบรมราชานุญาตเครื่องราชอิสริยาภรณ์เฮนรีดีไลออนกรุงบรันสวิก, เล่ม ๒๗ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๔๕, ๑๐ เมษายน ๑๒๙
  29. พระบิดาแห่งกองทัพบก[ลิงก์เสีย]
  30. พระบิดาแห่งกองทัพบก
บรรณานุกรม
  • สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร. ราชสกุลวงศ์. พิมพ์ครั้งที่ 14, กรุงเทพฯ : สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร, 2554. 296 หน้า. หน้า 85. ISBN 978-974-417-594-6
  • สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์จุฬาลงกรณราชสันตติวงศ์ พระนามพระราชโอรส พระราชธิดา และพระราชนัดดา. กรุงเทพ : สำนักพิมพ์บรรณกิจ, พิมพ์ครั้งที่ 4, พ.ศ. 2548. 136 หน้า. ISBN 974-221-746-7
  • ณัฐวุฒิ สุทธิสงคราม,พระประวัติและงานสำคัญ ของ จอมพลกรมหลวงนครไชยศรีสุรเดช, พระนคร, โรงพิมพ์แพร่การช่าง, 2514.
  • จดหมายเหตุพระราชกิจรายวัน พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว พ.ศ. ๒๔๕๗ (เก็บรักษาไว้ที่ หอสมุดแห่งชาติและ หอวชิราวุธานุสรณ์)

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้
ก่อนหน้า พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงนครไชยศรีสุรเดช ถัดไป
สมเด็จพระราชปิตุลา บรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช   ผู้บัญชาการกรมยุทธนาธิการ
(8 สิงหาคม พ.ศ. 2444 – 11 ธันวาคม พ.ศ. 2453)
  เจ้าพระยาบดินทรเดชานุชิต (หม่อมราชวงศ์ อรุณ ฉัตรกุล)
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์   เสนาบดีกระทรวงกลาโหม
(11 ธันวาคม พ.ศ. 2453 – 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2456)
  เจ้าพระยาบดินทรเดชานุชิต (หม่อมราชวงศ์ อรุณ ฉัตรกุล)