หม่อมเจ้าประวาศสวัสดี จิรประวัติ
หม่อมเจ้าประวาศสวัสดี จิรประวัติ (25 ธันวาคม พ.ศ. 2426 - 11 ธันวาคม พ.ศ. 2445) เป็นพระธิดาในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนพิทยลาภพฤฒิธาดา ประสูติแต่หม่อมเอม โสณกุล ณ อยุธยา
หม่อมเจ้าประวาศสวัสดี จิรประวัติ | |
---|---|
หม่อมเจ้า ชั้น 4 | |
ประสูติ | 25 ธันวาคม พ.ศ. 2426 |
สิ้นชีพตักษัย | 11 ธันวาคม พ.ศ. 2445 (18 ปี) |
พระสวามี | พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงนครไชยศรีสุรเดช (2441—2445) |
พระบุตร | 4 องค์ |
ราชวงศ์ | จักรี |
พระบิดา | พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนพิทยลาภพฤฒิธาดา |
พระมารดา | หม่อมเอม โสณกุล ณ อยุธยา |
พระประวัติ
แก้หม่อมเจ้าประวาศสวัสดี มีพระนามลำลองว่า ท่านหญิงใหญ่ เป็นพระธิดาองค์ใหญ่ในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนพิทยลาภพฤฒิธาดา ประสูติแต่หม่อมเอม โสณกุล ณ อยุธยา (สกุลเดิม กุณฑลจินดา; ธิดาหลวงวรศักดาพิศาล (ตาล กุณฑลจินดา)) เมื่อวันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2426 มีอนุชาและขนิษฐารวม 12 องค์
หม่อมเจ้าประวาศสวัสดีเสกสมรสกับพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงนครไชยศรีสุรเดช เมื่อวันที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2441 มีพระโอรสธิดา 4 องค์ ได้แก่[1]
- หม่อมเจ้าวิมลปัทมราช จิรประวัติ (17 พฤษภาคม พ.ศ. 2442 - 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2508)
- หม่อมเจ้านิวาศสวัสดี จิรประวัติ (16 กรกฎาคม พ.ศ. 2443 - 28 มีนาคม พ.ศ. 2519)
- หม่อมเจ้าประสบศรีจิรประวัติ จิรประวัติ (8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2444 - 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2483)
- หม่อมเจ้าหญิงไม่ปรากฏพระนาม
หม่อมเจ้าหญิงประวาศสวัสดี สิ้นชีพตักษัยเมื่อวันที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2445 สิริชันษา 19 ปี พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระเกียรติยศแก่ศพหม่อมเจ้าประวาศสวัสดีอย่างพระวรวงศ์เธอ ด้วยได้ทรงพระมหากรุณาชุบเลี้ยงเป็นสะใภ้หลวงชั้นสูง ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดการพระราชทานเพลิงศพหม่อมเจ้าประวาศสวัสดี ณ วัดเทพศิรินทราวาสราชวรวิหาร และในวันที่ 7 มีนาคม ร.ศ.121 เวลาบ่าย 5 โมงเศษ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเครื่องครึ่งยศขาว ประดับเครื่องราชอิศริยาภรณ์ เสด็จพระราชดำเนินพระราชทานเพลิงศพหม่อมเจ้าประวาศสวัสดี ณ เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส[2] หลังจากหม่อมเจ้าประวาศสวัสดีสิ้นชีพตักษัยลง พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงนครไชยศรีสุรเดชจึงเสกสมรสใหม่กับหม่อมเจ้าสุมนมาลย์ ขนิษฐาในหม่อมเจ้าประวาศสวัสดีเมื่อวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2447 และมีพระโอรสด้วยกัน 2 องค์
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2442 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 2 ทุติยจุลจอมเกล้า (ท.จ.) (ฝ่ายใน)[3]
อ้างอิง
แก้- ↑ กิติวัฒนา (ไชยันต์) ปกมนตรี, หม่อมราชวงศ์. สายพระโลหิตในพระพุทธเจ้าหลวง. กรุงเทพฯ : ดีเอ็มดี, พ.ศ. 2551. 290 หน้า. ISBN 978-974-312-022-0
- ↑ การเมรุวัดเทพศิรินทราวาส http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2445/052/1012_1.PDF
- ↑ "การพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์สำหรับตระกูลพระจุลจอมเกล้าแลถวายบังคมพระบรมรูป" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 16 (34): 498. 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2442. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2020-04-03.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|date=
(help)