เงิน แซ่ตัน
เจ้าขรัวเงิน แซ่ตัน เป็นพระภัสดา (สามี) ในสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากรมพระศรีสุดารักษ์ (พระพี่นางในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช) มีนามเดิมว่า เงิน เป็นบุตรชายคนคนที่ 4 ของเศรษฐีชาวจีนฮกเกี้ยนกับน้องสาวของท่านผู้หญิงน้อย ภรรยาของเจ้าพระยาชำนาญบริรักษ์ (อู่) บิดาของท่านสืบเชื้อสายมาจากขุนนางในกรุงปักกิ่ง มีพี่น้อง 4 คน คือ
- ท่านนวล แซ่ตัน
- ท่านเอี้ยง แซ่ตัน
- เจ้าขรัวทอง แซ่ตัน
- เจ้าขรัวเงิน แซ่ตัน
เจ้าขรัวเงิน แซ่ตัน | |
---|---|
เกิด | ไม่ปรากฏ (สมัยกรุงศรีอยุธยา) |
เสียชีวิต | ไม่ปรากฏ (สมัยกรุงธนบุรี) |
มีชื่อเสียงจาก | พระภัสดา (สามี) ในเจ้าฟ้าแก้ว |
คู่สมรส | สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากรมพระศรีสุดารักษ์ |
บิดามารดา | เศรษฐีชาวจีนฮกเกี้ยน น้องสาวของท่านผู้หญิงน้อย |
ได้ตั้งนิวาสฐานอยู่ตำบลถนนตาล เป็นพานิชใหญ่ ชาวกรุงเก่าเรียกว่า เศรษฐีถนนตาล ในกรุงศรีอยุธยา
เจ้าขรัวเงิน แซ่ตัน มีพระราชโอรส-พระราชธิดากับสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากรมพระศรีสุดารักษ์
- สมเด็จพระสัมพันธวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงเทพหริรักษ์ พระนามเดิม ตัน พระโอรสองค์ที่ 1 เป็นต้นราชสกุลเทพหัสดิน
- สมเด็จพระสัมพันธวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมขุนอนัคฆนารี พระนามเดิม ฉิม (เจ้าฟ้าหญิงฉิม) พระธิดาองค์ที่ 2
- สมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี พระนามเดิม บุญรอด พระธิดาองค์ที่ 3 เป็นพระอัครมเหสีในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
- สมเด็จพระสัมพันธวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงพิทักษ์มนตรี พระนามเดิม จุ้ย พระโอรสองค์ที่ 4 เป็นต้นราชสกุลมนตรีกุล
- สมเด็จพระสัมพันธวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมขุนอิศรานุรักษ์ พระนามเดิม เกศ พระโอรสองค์ที่ 5 เป็นต้นราชสกุลอิศรางกูร
เจ้าขรัวเงินและเจ้าขรัวทองได้สร้างวัดคนละวัดคือวัดเงินและวัดทองขึ้นตามนามของบุคคลทั้งสอง ณ สองฝั่งคลองบางพรม วัดเงินต่อมาคือวัดรัชฎาธิษฐาน วัดทองต่อมาคือวัดกาญจนสิงหาสน์ วัดทั้งสองได้รับการบูรณะในสมัยรัชกาลที่ 1 โดยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชและสมเด็จพระอมรินทราบรมราชินี
เจ้าขรัวเงิน แซ่ตัน ถึงแก่พิราลัยในสมัยกรุงธนบุรี
อ้างอิงแก้ไข
- หม่อมราชวงศ์ศุภวัฒย์ เกษมศรี, พระอนุวงศ์ชั้นหม่อมเจ้าในพระราชวงศ์จักรี, บรรณกิจ, 2549, ISBN 974-221-818-8
- ธำรงศักดิ์ อายุวัฒนะ, ราชสกุลจักรีวงศ์ และราชสกุลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช, บรรณกิจ, 2511 แก้ไขเพิ่มเติม 2545, ISBN 974-222-648-2
- กิตติพงษ์ วิโรจน์ธรรมากูร, ย้อนรอยราชสกุลวงศ์ วังหลวง, ดอกหญ้า, 2549, ISBN 974-941-205-2