สมเด็จพระสัมพันธวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมขุนอิศรานุรักษ์

สมเด็จพระสัมพันธวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมขุนอิศรานุรักษ์[1] (9 มีนาคม พ.ศ. 2316 – 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2373) หรือพระนามเดิมว่า เกด เป็นพระโอรสในสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากรมพระศรีสุดารักษ์ กับเงิน แซ่ตัน เป็นต้นราชสกุลอิศรางกูร ณ อยุธยา[2][3]

สมเด็จพระสัมพันธวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมขุนอิศรานุรักษ์
เจ้าฟ้าชั้นตรี
ประสูติ10 มีนาคม พ.ศ. 2316
สิ้นพระชนม์18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2373 (56 ปี)
พระชายาหม่อมปัญจปาปี
พระบุตร82 องค์
ราชสกุลอิศรางกูร
ราชวงศ์จักรี
พระบิดาเงิน แซ่ตัน
พระมารดาสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากรมพระศรีสุดารักษ์

พระประวัติ

แก้

สมเด็จพระสัมพันธวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมขุนอิศรานุรักษ์ มีพระนามเดิมว่า เกด ประสูติเมื่อวันพุธ เดือน 4 แรม 12 ค่ำ ปีมะเส็งเบญจศก จ.ศ. 1135 ตรงกับวันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2316 ในสมัยอาณาจักรธนบุรี เป็นพระโอรสในสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากรมพระศรีสุดารักษ์ กับเงิน แซ่ตัน

เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชเริ่มประดิษฐานพระราชวงศ์ใน พ.ศ. 2325 จึงโปรดตั้งเป็นสมเด็จพระเจ้าหลานเธอ เจ้าฟ้าเกด และในวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2349 (นับแบบปัจจุบันเป็น พ.ศ. 2350) จึงโปรดตั้งเป็นเป็นกรมขุนอิศรานุรักษ์ จารึกพระนามในพระสุพรรณบัฏเนื้อ 7[4]

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย โปรดให้สมเด็จเจ้าฟ้ากรมขุนอิศรานุรักษ์สำเร็จราชการมหาดไทยต่อจากสมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงพิทักษมนตรี และต่อมาได้สำเร็จราชการกลาโหม[5] เป็นแม่ทัพยกไปรักษาเมืองพระตะบองเมื่อ พ.ศ. 2358 และทรงปฏิสังขรณ์วัดกษัตราธิราชวรวิหารทั้งพระอาราม[6] มีฝีพระหัตถ์ในทางช่าง เช่น ทรงจำแบบอย่างเรีอรบญวนมาดัดแปลงเป็นเรือสำหรับใช้เดินทางไกล ทรงแต่งเก๋ง แต่งแพ สร้างสวนขวา พระประธานวัดรังษีสุทธาวาสในวัดบวรนิเวศ ได้รับพระราชทานวังที่ท่าเตียน[7] ตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช และประทับเรื่อยมาจนถืงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว

สมเด็จพระสัมพันธวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมขุนอิศรานุรักษ์ ประชวรพระยอดที่พระปฤษฎางค์ สิ้นพระชนม์เมื่อวันศุกร์ เดือน 4 ขึ้น 7 ค่ำ ปีขาลโทศก จ.ศ. 1192 ตรงกับวันที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2373 สิริพระชันษา 58 ปี ได้รับพระราชทานพระโกศทองใหญ่ทรงพระศพ และพระราชทานเพลิงพระศพที่พระเมรุท้องสนามหลวง

พระอิสริยยศ

แก้
ธรรมเนียมพระยศของ
สมเด็จพระสัมพันธวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมขุนอิศรานุรักษ์
การทูลใต้ฝ่าพระบาท
การแทนตนข้าพระพุทธเจ้า
การขานรับพ่ะย่ะค่ะ/เพคะ
  • พ.ศ. 2325 : สมเด็จพระเจ้าหลานเธอ เจ้าฟ้าเกด
  • พ.ศ. 2350 : สมเด็จพระเจ้าหลานเธอ เจ้าฟ้าเกด กรมขุนอิศรานุรักษ์
  • ในสมัยรัชกาลที่ 2 : สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าเกด กรมขุนอิศรานุรักษ์

พระโอรส-ธิดา

แก้

สมเด็จพระสัมพันธวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมขุนอิศรานุรักษ์ เสกสมรสกับหม่อมปัญจปาปี พระราชธิดาในสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีกับกรมบริจาภักดีศรีสุดารักษ์ มีพระโอรส-ธิดาด้วยกันห้าองค์ ได้แก่

  • หม่อมเจ้าใหญ่ อิศรางกูร มีโอรสธิดา คือ
    • หม่อมราชวงศ์ขำ อิศรางกูร
    • หม่อมราชวงศ์หญิงเข็ม อิศรางกูร
    • หม่อมราชวงศ์นุช อิศรางกูร
    • หม่อมราชวงศ์หญิงคลี่ อิศรางกูร
    • หม่อมราชวงศ์หญิงพุก อิศรางกูร
  • หม่อมเจ้ากลาง อิศรางกูร
  • หม่อมเจ้าศรีฟ้า อิศรางกูร บางแห่งเขียนว่าสีฟ้า
  • หม่อมเจ้าสุนทรา อิศรางกูร
  • หม่อมเจ้ารสสุคนธ์ อิศรางกูร

นอกจากนี้ยังมีหม่อมคนอื่น ๆ อีกจำนวนมาก รวมมีพระโอรส-ธิดาทั้งสิ้น 82 องค์[8] ได้แก่[7]

พระโอรส

  • พระวงศ์เธอ กรมหมื่นเทวานุรักษ์ (เดิม หม่อมเจ้าชอุ่ม; 12 เมษายน พ.ศ. 2337 – 5 สิงหาคม พ.ศ. 2406) มีพระโอรส คือ
  • หม่อมเจ้าเพชรหึง อิศรางกูร (สิ้นชีพิตักษัยเมื่อ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2358)
  • หม่อมเจ้าหนูใหญ่ อิศรางกูร
  • หม่อมเจ้าวัตถา อิศรางกูร (พ.ศ. 2364 – 24 มิถุนายน พ.ศ. 2401; พระราชทานเพลิงศพ ณ วัดสระเกศ เมื่อ พ.ศ. 2410)
  • หม่อมเจ้าสนิท อิศรางกูร (พ.ศ. 2371 – 1 มกราคม พ.ศ. 2462; พระราชทานเพลิงศพ ณ วัดกลาง เมื่อ 22 มกราคม พ.ศ. 2462)
  • หม่อมเจ้านิล อิศรางกูร (พระราชทานเพลิงศพ ณ วัดนาคกลาง เมื่อ พ.ศ. 2407)
  • หม่อมเจ้ามณฑป อิศรางกูร(พระราชทานเพลิงศพ ณ วัดสุวรรณาราม เมื่อ พ.ศ. 2410) มีโอรส คือ
    • พระยาทัณฑกรคณารักษ์ (หม่อมราชวงศ์เลื่อม อิศรางกูร) สมรสกับภรรยาในราชสกุลเดียวกัน คือ หม่อมราชวงศ์สาย อิศรางกูร
  • หม่อมเจ้าคันทอง อิศรางกูร
  • หม่อมเจ้าสุดชาติ อิศรางกูร บางครั้งออกพระนามว่าหม่อมเจ้าสุด สมรสกับหม่อมราชวงศ์หญิงพิกุล (สกุลเดิม : ปาลกะวงศ์) มีโอรส คือ
    • พระยารัตนพิมพาภิบาล (หม่อมราชวงศ์สวัสดิ์ อิศรางกูร) สมรสกับหม่อมหลวงแม้น (สกุลเดิม : ปาลกะวงศ์) มีบุตร คือ
      • พันเอก หม่อมหลวงเวก อิศรางกูร สมรสกับรำจวน อิศรางกูร ณ อยุธยา มีบุตรธิดา คือ
        • สุรางค์ศรี อิศรางกูร ณ อยุธยา
        • พันเอกหญิงวีรวรรณ อิ่มอภัย
        • วิรัช อิศรางกูร ณ อยุธยา
        • พลอากาศเอกวัชรา อิศรางกูร ณ อยุธยา
  • หม่อมเจ้าชุมสาย อิศรางกูร บางครั้งออกพระนามว่าหม่อมเจ้าชุมแสง (สิ้นชีพิตักษัย 27 มิถุนายน พ.ศ. 2441)
  • หม่อมเจ้าพรหมเมศร อิศรางกูร บางครั้งออกพระนามว่าหม่อมเจ้าถึก สมรสกับหม่อมอรุณ มีโอรสธิดา คือ
    • คุณหญิงทัณฑกรคณารักษ์ (หม่อมราชวงศ์สาย อิศรางกูร) สมรสกับสามีในราชสกุลเดียวกัน คือ พระยาทัณฑกรคณารักษ์ (หม่อมราชวงศ์เลื่อม อิศรางกูร)
    • หม่อมราชวงศ์เจริญ อิศรางกูร หรือ สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์
    • หม่อมราชวงศ์จรัส อิศรางกูร สมรสกับปุ้ย มีบุตรธิดา คือ
      • หม่อมหลวงปลั่ง อิศรางกูร
      • ขุนพิทักษ์นคเรศร์ (หม่อมหลวงไปล่ อิศรางกูร)
      • หม่อมหลวงหงศ์ อิศรางกูร
      • หม่อมหลวงประมุล อิศรางกูร
    • หม่อมราชวงศ์ศิลา อิศรางกูร
  • หม่อมเจ้าตุ้ม อิศรางกูร (ไม่มีข้อมูล - 30 สิงหาคม พ.ศ. 2440) มีธิดา คือ
  • หม่อมเจ้าสนุ่น อิศรางกูร
  • หม่อมเจ้าโสภณ อิศรางกูร เสกสมรสกับหม่อมอิ่ม มีโอรสและธิดา 9 คน และยังมีหม่อมคนอื่นอีกหลายคน โดยโอรสและธิดาทั้งหมด 20 คน คือ
    • พระศักดิ์เสนา (หม่อมราชวงศ์เนตร อิศรางกูร)
    • หม่อมราโชทัย (หม่อมราชวงศ์โต๊ะ อิศรางกูร) สมรสกับนางราโชทัย (พุก),แม้น,ขัน,ซ่วน มีบุตรและธิดา คือ
      • หม่อมหลวงเรณู อิศรางกูร
      • หม่อมหลวงประยงค์ อิศรางกูร
      • หม่อมหลวงอุทัย อิศรางกูร
      • หม่อมหลวงอุบล อิศรางกูร
      • หม่อมหลวงมณฑา อิศรางกูร
      • หม่อมหลวงไพบูลย์ อิศรางกูร
      • หม่อมหลวงโกสุมภ์ อิศรางกูร
      • หม่อมหลวงจินดา อิศรางกูร
      • หม่อมหลวงอาทิตย์ อิศรางกูร
    • เจ้าจอมมารดาหม่อมราชวงศ์ย้อย ในรัชกาลที่ 5
    • เจ้าจอมหม่อมราชวงศ์มณี ในรัชกาลที่ 5
    • พระยาอิศรพันธ์โสภณ (หม่อมราชวงศ์หนู อิศรางกูร) สมรสกับคุณหญิงพรรณ อิศรพันธ์โสภณ มีธิดา คือ
      • หม่อมหลวงแฉล้ม อิศรางกูร (หม่อมหลวงแฉล้ม ราชจินดา)
    • หม่อมราชวงศ์นกแก้ว อิศรางกูร สมรสกับหลวงฤทธินายเวร (หม่อมราชวงศ์โนรี ศิริวงศ์)
    • พระธนสารสิทธิการ (หม่อมราชวงศ์มงคล อิศรางกูร)
    • หม่อมราชวงศ์จำรัส อิศรางกูร
    • หม่อมราชวงศ์ทับทิม อิศรางกูร
    • พระสาลียากรพิพัฒน์ (หม่อมราชวงศ์เนตร อิศรางกูร) สมรสกับภรรยาในราชสกุลเดียวกัน คือ หม่อมราชวงศ์บัว อิศรางกูร มีบุตรชาย 1 คน และธิดา 6 คน คือ
      • หม่อมหลวงวาสน์ อิศรางกูร
      • หม่อมหลวงสังวาลย์ อิศรางกูร
      • พระยาสาครวิสัย (หม่อมหลวงเป้า อิศรางกูร)
      • หม่อมหลวงแฉล้ม อิศรางกูร (หม่อมหลวงแฉล้ม ยี่สุ่นพันธ์)
      • หม่อมหลวงปุย อิศรางกูร
      • หม่อมหลวงเกษร อิศรางกูร
      • หม่อมหลวงสงวน อิศรางกูร
    • หม่อมราชวงศ์ชุม อิศรางกูร
    • หม่อมราชวงศ์ถาด อิศรางกูร (แฝดพี่)
    • หม่อมราชวงศ์ขัน อิศรางกูร (แฝดน้อง)
    • หม่อมราชวงศ์เผือก อิศรางกูร
    • หม่อมราชวงศ์สุเทพ อิศรางกูร
    • พันตรี หลวงอนุการรัฐกิจ (หม่อมราชวงศ์แสง อิศรางกูร บ้างว่าชื่อหม่อมราชวงศ์แฝง อิศรางกูร)
    • ขุนศรีรัตน์นาถ (หม่อมราชวงศ์หยัด อิศรางกูร บ้างว่าชื่อหม่อมราชวงศ์ประหยัด อิศรางกูร) มีบุตรธิดา คือ
      • หลวงชิตภูบาล (หม่อมหลวงปลื้ม อิศรางกูร)
      • หม่อมหลวงเสริม อิศรางกูร
      • ร้อยโท หม่อมหลวงโต๊ะ อิศรางกูร
      • หลวงอรรถปริมลวุจดี (หม่อมหลวงเปลื้อง อิศรางกูร)
      • หม่อมหลวงทรัพย์ อิศรางกูร
    • หม่อมราชวงศ์ขำ อิศรางกูร
    • หม่อมราชวงศ์แสวง อิศรางกูร
    • ร้อยเอกขุนแผลงสรศาสตร์ (หม่อมราชวงศ์สุภาพ อิศรางกูร) สมรสกับหม่อมราชวงศ์นาน เรณูนันท์ มีบุตรธิดา 6 คน คือ
      • รองอำมาตย์โท ขุนทัณฑการวินิจ (หม่อมหลวงถวิล อิศรางกูร)
      • หม่อมหลวงปลั่ง อิศรางกูร
      • หม่อมหลวงเปล่ง อิศรางกูร
      • หม่อมหลวงปิ๋ว อิศรางกูร
      • รองเสวกเอก จ่าห้าวยุทธการ (หม่อมหลวงสวาสดิ์ อิศรางกูร)
      • หม่อมหลวงปลื้ม อิศรางกูร
  • หม่อมเจ้าขจร อิศรางกูร มีโอรสธิดา 14 คน คือ
    • พระยารัถยานุรักษ์ (หม่อมราชวงศ์นุช อิศรางกูร) มีบุตรธิดา คือ
      • คุณหญิงสาครวิสัย (หม่อมหลวงสำเภา อิศรางกูร) สมรสกับสามีในราชสกุลเดียวกัน คือ พระยาสาครวิสัย (หม่อมหลวงเป้า อิศรางกูร)
      • หม่อมหลวงเจือ อิศรางกูร
      • หม่อมหลวงแฉล้ม อิศรางกูร สมรสกับหม่อมราชวงศ์ชั้น สนิทวงศ์
      • หม่อมหลวงอากาศ อิศรางกูร
      • หม่อมหลวงเนื่องพร อิศรางกูร
      • หม่อมหลวงนารถ อิศรางกูร
    • หม่อมราชวงศ์สาย อิศรางกูร สมรสกับสามีในราชสกุลเดียวกัน คือ พระธนสารสิทธิการ (หม่อมราชวงศ์มงคล อิศรางกูร)
    • หม่อมราชวงศ์ชั้น อิศรางกูร สมรสกับหมื่นจักรแสนยากรในราชสกุลศิริวงศ์
    • พระวรรณกรรม (หม่อมราชวงศ์สนั่น อิศรางกูร)
    • หม่อมราชวงศ์เสน่ห์ อิศรางกูร
    • หม่อมราชวงศ์ลาภ อิศรางกูร
    • หม่อมราชวงศ์พริ้ง อิศรางกูร
    • หม่อมราชวงศ์พร้อม อิศรางกูร
    • หม่อมราชวงศ์จีน อิศรางกูร
    • หม่อมราชวงศ์ชิต อิศรางกูร
    • หม่อมราชวงศ์บัว อิศรางกูร สมรสกับสามีในราชสกุลเดียวกัน คือ พระสาลียากรพิพัฒน์ (หม่อมราชวงศ์เจริญ อิศรางกูร)
    • หม่อมราชวงศ์ตู้ อิศรางกูร
    • หม่อมราชวงศ์แส อิศรางกูร
    • หม่อมราชวงศ์สารภี อิศรางกูร
  • หม่อมเจ้าโต อิศรางกูร
  • หม่อมเจ้ากำพล อิศรางกูร
  • หม่อมเจ้ามุ้ย อิศรางกูร
  • หม่อมเจ้าน้อย อิศรางกูร มีโอรส คือ
  • หม่อมเจ้ารศสุคนธ์ อิศรางกูร
  • หม่อมเจ้าสุราไลย อิศรางกูร
  • หม่อมเจ้าพยอม อิศรางกูร (ไม่มีข้อมูล - พ.ศ. 2401)

พระธิดา

  • หม่อมเจ้าปุก อิศรางกูร
  • หม่อมเจ้าป้อม อิศรางกูร (ประสูติ พ.ศ. 2336)
  • หม่อมเจ้าอำพัน อิศรางกูร (พ.ศ. 2341 – 7 มิถุนายน พ.ศ. 2401)
  • หม่อมเจ้าประไภย อิศรางกูร (พ.ศ. 2344 – 16 มิถุนายน พ.ศ. 2420)
  • หม่อมเจ้ามณฑา อิศรางกูร (พ.ศ. 2346 – 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2428; พระราชทานเพลิงศพ ณ วัดสระเกศ เมื่อ 11 มีนาคม พ.ศ. 2428)
  • หม่อมเจ้าประภา อิศรางกูร (สิ้นชีพิตักษัย พ.ศ. 2400)
  • หม่อมเจ้าบัญชร อิศรางกูร
  • หม่อมเจ้าตลับ อิศรางกูร
  • หม่อมเจ้าจิตร อิศรางกูร (สิ้นชีพิตักษัย พ.ศ. 2400)
  • หม่อมเจ้ามุกดา อิศรางกูร (พ.ศ. 2354 – 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2434; พระราชทานเพลิงศพ ณ วัดดุสิดาราม เมื่อ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2435)
  • หม่อมเจ้าจีด อิศรางกูร
  • หม่อมเจ้าหนูหมี อิศรางกูร (พ.ศ. 2356 – เมื่อวันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2430; พระราชทานเพลิงศพ ณ วัดระฆังโฆสิตาราม เมื่อ 9 มีนาคม พ.ศ. 2430)
  • หม่อมเจ้าอัมภร อิศรางกูร
  • หม่อมเจ้ากระจิบ อิศรางกูร (สิ้นชีพิตักษัยในสมัยรัชกาลที่ 3)
  • หม่อมเจ้ากลาง อิศรางกูร
  • หม่อมเจ้าประดับ อิศรางกูร (พ.ศ. 2358 – 13 กันยายน พ.ศ. 2421)
  • หม่อมเจ้ากำพร้า อิศรางกูร(สิ้นชีพิตักษัย 11 ธันวาคม พ.ศ. 2441)
  • หม่อมเจ้าไย อิศรางกูร
  • หม่อมเจ้าหนู อิศรางกูร (พ.ศ. 2364 – 21 มิถุนายน พ.ศ. 2438; พระราชทานเพลิงศพ ณ วัดระฆังโฆสิตาราม เมื่อ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2438)
  • หม่อมเจ้าอุไร อิศรางกูร (พ.ศ. 2366 – 3 เมษายน พ.ศ. 2421)
  • หม่อมเจ้าหญิง อิศรางกูร (พ.ศ. 2370 – 5 มกราคม พ.ศ. 2461)
  • หม่อมเจ้าละม่อม อิศรางกูร (สิ้นชีพิตักษัย 21 กันยายน พ.ศ. 2444)
  • หม่อมเจ้าปี อิศรางกูร บางแห่งว่าหม่อมเจ้าหญิงปี่ (สิ้นชีพิตักษัย 14 ตุลาคม พ.ศ. 2444; พระราชทานเพลิงศพ ณ วัดจักรวรรดิราชาวาส เมื่อ 20 เมษายน พ.ศ. 2445)
  • หม่อมเจ้าเขียน อิศรางกูร (สิ้นชีพิตักษัย 9 มีนาคม พ.ศ. 2446; พระราชทานเพลิงศพ ณ วัดจักรวรรดิราชาวาส เมื่อ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2448)
  • หม่อมเจ้ารัศมี อิศรางกูร (สิ้นชีพิตักษัย 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2441; พระราชทานเพลิงศพ ณ วัดไตรมิตรวิทยาราม เมื่อ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2443)
  • หม่อมเจ้าถนอม อิศรางกูร (สิ้นชีพิตักษัย 20 มกราคม พ.ศ. 2443; พระราชทานเพลิงศพ ณ วัดระฆังโฆสิตาราม)
  • หม่อมเจ้าสวาสดิ์ อิศรางกูร (สิ้นชีพิตักษัย 8 สิงหาคม พ.ศ. 2450)
  • หม่อมเจ้าเรไร อิศรางกูร (สิ้นชีพิตักษัย พ.ศ. 2400)
  • หม่อมเจ้าแสง อิศรเสนา (อิศรางกูร) เสกสมรสกับ หม่อมเจ้าสาย อิศรเสนา มีบุตรคือ หม่อมราชวงศ์ศรี อิศรเสนา
  • หม่อมเจ้าสุวรรณ อิศรางกูร
  • หม่อมเจ้าลดาวัณ อิศรางกูร (สิ้นชีพิตักษัย 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2421)
  • หม่อมเจ้าสว่าง อิศรางกูร (พระราชทานเพลิงศพ ณ วัดสระเกศ เมื่อ 29 มีนาคม พ.ศ. 2433)
  • หม่อมเจ้าสุด อิศรางกูร
  • หม่อมเจ้าอำพา อิศรางกูร
  • หม่อมเจ้าอรชร อิศรางกูร
  • หม่อมเจ้ามาลี อิศรางกูร
  • หม่อมเจ้าเล็ก อิศรางกูร
  • หม่อมเจ้าคืบ อิศรางกูร
  • หม่อมเจ้าโมรา อิศรางกูร (พระราชทานเพลิงศพ เมื่อ พ.ศ. 2401)

พงศาวลี

แก้

อ้างอิง

แก้
เชิงอรรถ
  1. "ราชสกุลวงศ์" (PDF). กรมศิลปากร, สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2017-02-02. สืบค้นเมื่อ 24 กุมภาพันธ์ 2557. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  2. เล็ก พงษ์สมัครไทย. พระญาติ ราชสกุลกรุงรัตนโกสินทร์. กรุงเทพ : สำนักพิมพ์ข้าวฟ่าง, พ.ศ. 2549. 160 หน้า. หน้า หน้าที่. ISBN 974-9687-35-3
  3. ธำรงศักดิ์ อายุวัฒนะ. ราชสกุลจักรีวงศ์ และราชสกุลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช. กรุงเทพ : สำนักพิมพ์บรรณกิจ, พิมพ์ครั้งที่ 3 พ.ศ. 2544. 490 หน้า. หน้า หน้าที่. ISBN 974-222-648-2
  4. พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๑ : ๑๒๔. ตั้งพระบัณฑูรน้อย และตั้งกรมเจ้านาย
  5. พระราชพงษาวดาร กรุงรัตนโกสินทร รัชกาลที่ ๒ : ๑๗. เรื่องให้เจ้านายกำกับราชการ
  6. พระราชพงษาวดาร กรุงรัตนโกสินทร รัชกาลที่ ๒ : ๘๔. เหตุการณ์เบ็ดเตล็ดในรัชกาลที่ ๒
  7. 7.0 7.1 "อิศรางกูร" ที่ระลึกงานพระราชทานเพลองศพ พลเรือตรี เอกไชย อิศรางกูร ณ อยุธยา. อังคารที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2534
  8. สมประสงค์ ทรัพย์พาลี. สายใยในราชวงศ์จักรี. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2560, หน้า 15
บรรณานุกรม
  • ดำรงราชานุภาพ, สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยา (2459). "พระราชพงษาวดาร กรุงรัตนโกสินทร รัชกาลที่ ๒". ห้องสมุดดิจิทัลวชิรญาณ. สืบค้นเมื่อ 13 สิงหาคม 2561. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  • ทิพากรวงศ์ (ขำ บุนนาค), เจ้าพระยา (11 สิงหาคม พ.ศ. 2531). "พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๑". ห้องสมุดดิจิทัลวชิรญาณ. สืบค้นเมื่อ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2561. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  • ศุภวัฒย์ เกษมศรี, พลตรี หม่อมราชวงศ์, และรัชนี ทรัพย์วิจิตร. พระอนุวงศ์ชั้นหม่อมเจ้าในพระราชวงศ์จักรี. กรุงเทพ : สำนักพิมพ์บรรณกิจ, พิมพ์ครั้งที่ 3 พ.ศ. 2549. 360 หน้า. ISBN 974-221-818-8
  • สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร. ราชสกุลวงศ์. พิมพ์ครั้งที่ 14, กรุงเทพฯ : สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร, 2554. 296 หน้า. หน้า 57. ISBN 978-974-417-594-6