เครื่องราชอิสริยาภรณ์แดนเนอโบร

เครื่องราชอิสริยาภรณ์แดนเนอโบร (อังกฤษ: Order of the Dannebrog; เดนมาร์ก: Dannebrogordenen) เป็นเครื่องราชอิสริยาภรณ์เดนมาร์ก สถาปนาเมื่อวันที่ 12 ตุลาคม ค.ศ. 1671 โดยพระเจ้าคริสเตียนที่ 5 แห่งเดนมาร์ก แต่เดิมเครื่องราชอิสริยาภรณ์นี้จำกัดจำนวนสมาชิกไม่เกิน 50 สำรับ ซึ่งพระราทานแก่พระบรมวงศานุวงศ์และข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ ซึ่งมีเพียง 1 ชั้น เรียกว่า อัศวินขาว ซึ่งแยกจาก อัศวินฟ้า อันเป็นผู้ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ไอยรา จนถึงปี 1808 ได้มีการปรับรูปแบบเป็น 4 ชั้น และในปี 1951 มีการออกพระราชกฤษฎีกาพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ทั้งบุรุษและสตรีสามารถรับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์นี้ได้

เครื่องราชอิสริยาภรณ์แดนเนอโบร
ประเภทเครื่องราชอิสริยาภรณ์หกชั้น
วันสถาปนา12 ตุลาคม พ.ศ. 2214
ประเทศเดนมาร์ก ประเทศเดนมาร์ก
จำนวนสำรับไม่จำกัด
แพรแถบ
ผู้สมควรได้รับพระบรมวงศานุวงศ์ ข้าราชการ ประชาชนชาวเดนมาร์กและชาวต่างประเทศ
สถานะยังพระราชทานอยู่
ผู้สถาปนาพระเจ้าคริสเตียนที่ 5 แห่งเดนมาร์ก
ประธานสมเด็จพระราชาธิบดีเฟรเดอริกที่ 10 แห่งเดนมาร์ก

ในปัจจุบันนี้ พระมหากษัตริย์หรือสมเด็จพระราชินีนาถแห่งประเทศเดนมาร์กเป็นผู้พระราชทานให้กับพระบรมวงศานุวงศ์ ข้าราชการผู้มีความดีความชอบทำคุณประโยชน์ในการปฏิบัติราชการ รวมทั้งพระราชทานแก่บุคคลผู้ทำคุณในด้าน ศิลปะ วิทยาศาสตร์ ความร่วมมือทางธุรกิจ อันก่อให้เกิดประโยชน์แก่ประเทศเดนมาร์ก

ลักษณะ

แก้

ดวงตราของเครื่องราชอิสริยาภรณ์นี้คือกางเขนแดนเนอโบร ลงยาสีขาว มีขอบลงยาสีแดง ชุบสีทองหรือสีเงิน ที่ส่วนบนของกางเขนนี้มีอักษรพระปรมาภิไธยย่อของพระมหากษัตริย์ผู้พระราชทาน ภายใต้พระมหามงกุฎแห่งเดนมาร์ก ด้านหน้าของกางเขนมีอักษรพระปรมาภิไธยย่อของพระเจ้าคริสเตียนที่ 5 ประดิษฐานอยู่ตรงกลาง มีภาษิตของเครื่องราชอิสริยาภรณ์ว่า Gud og Kongen (พระเจ้าและองค์ราชา) บนแขนของกางเขน ด้านหลังมีพระปรมาภิไธยย่อภายใต้มงกุฎของพระเจ้าวัลเดมาร์ที่ 2 พระเจ้าคริสเตียนที่ 5 และ พระเจ้าเฟรเดอริกที่ 6[1] และสลักปี 1219, 1671 และ 1808 ซึ่งเป็นปีที่แต่ละพระองค์ขึ้นครองบัลลังก์เดนมาร์ก ในแต่ละมุมทั้งสี่ของไม้กางเขนจะพบมงกุฎแห่งเดนมาร์กขนาดเล็กอยู่ด้วย

สายสร้อยเครื่องราชอิสริยาภรณ์ทำจากทองคำ โดยมีกางเขนแดนเนอโบรลงยาขนาดเล็ก สลับกับอักษรพระปรมาภิไธยย่อทรงมงกุฎสลับกัน ซึ่งเป็นพระราชสัญลักษณ์แทนพระองค์พระเจ้าวัลเดมาร์ที่ 2 และพระเจ้าคริสเตียนที่ 5 ผู้สถาปนาเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เมื่อสวมสายสร้อยแล้ว จะไม่สวมสายสะพาย

ดาราเครื่องราชอิสริยาภรณ์เป็นดาราแปดแฉก รัศมีตรง กับกางเขนแดนเนอโบรลงยาตรงกลางดารา (คล้ายกับด้านหน้าของดวงตราแต่จะไม่มีอักษรพระปรมาภิไธยย่อและมงกุฎระหว่างแขนของกางเขน)

กางเขนประดับอกคล้ายกับกางเขนในดารา แต่มีขนาดใหญ่กว่าและมีสีเงินเหลี่ยมเพชรพลอยแทนการลงยาสีขาวและไม่มีรัศมีของดารา

แพรแถบและสายห้อยดวงตราเป็นแถบผ้าไหมลายมัวเรสีขาวขอบแดง อันเป็นสีประจำชาติเดนมาร์ก

ลำดับศักดิ์

แก้
  • ชั้นพิเศษ
    • มหาปรมาภรณ์ (Grand Commander , Storkommandør; S.Kmd.) — ห้อยดวงตราประดับเพชร กับสายห้อยคล้องคอ (สำหรับบุรุษ) หรือห้อยกับแพรแถบผูกเป็นรูปแมลงปอ (สำหรับสตรี) ประดับดาราบนอกซ้าย
  • ชั้นที่ 1
    • ประถมาภรณ์ (Grand Cross , Storkors; S.K.) — ประดับดวงตราห้อยกับสายสร้อยหรือสายสะพายจากไหล่ขวาเฉียงลงทางซ้าย ประดับดาราบนอกซ้าย
  • ชั้นที่ 2
    • ทวีติยาภรณ์ (Commander 1st Class , Kommandør af 1. grad; K.1) — ประดับกางเขนประดับอกบนอกซ้าย สำหรับบุรุษประดับดวงตราห้อยสายคล้องคอ
    • ตริตาภรณ์ (Commander , Kommandør; K.) — ประดับดวงตราห้อยสายคล้องคอ (สำหรับบุรุษ) หรือ ดวงตราห้องแพรแถบรูปแมลงปอ (สำหรับสตรี)
  • ชั้นที่ 3
    • จัตุรถาภรณ์ (Knight 1st Class , Ridder af 1. grad; R.1) — ประดับดวงตราห้อยแพรแถบ (สำหรับบุรุษ) หรือแพรแถบรูปแมลงปอ (สำหรับสตรี) มีกระดุม ประดับบนอกซ้าย
    • เบญจมาภรณ์ (Knight , Ridder; R.) — ประดับดวงตราห้อยแพรแถบ (สำหรับบุรุษ) หรือแพรแถบรูปแมลงปอ (สำหรับสตรี) ประดับบนอกซ้าย

แพรแถบย่อ

แก้
  •   มหาปรมาภรณ์ (Grand Commander)
  •   ประถมาภรณ์ (Grand Cross)
  •   ทวีติยาภรณ์ (Commander 1st Class)
  •   ตริตาภรณ์ (Commander)
  •   จัตุรถาภรณ์ (Knight 1st Class)
  •   เบญจมาภรณ์ (Knight)

การประดับ

แก้
 
การประดับของเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ตามลำศักดิ์ต่ำ-สูง
  1. พระเจ้าวัลเดมาร์ที่ 2 เป็นพระมหากษัตริย์เดนมาร์กที่เกี่ยวข้องกับต้นกำเนิดในตำนานของกางเขนแดนเนอโบร และผู้สถาปนาเครื่องราชอิสริยาภรณ์องค์แรก พระเจ้าคริสเตียนที่ 5 เป็นผู้สถาปนาเครื่องราชอิสริยาภรณ์แบบปัจจุบัน และ พระเจ้าเฟรเดอริกที่ 6 ผู้ทรงจัดระเบียบเครื่องราชอิสริยาภรณ์ใหม่ โดยแบ่งออกเป็น 6 ชั้นในปัจจุบัน

เหรียญตรากางเขนกิตติมศักดิ์

แก้

เหรียญตรากางเขนกิตติมศักดิ์ (เดนมาร์ก: Dannebrogordenens Hæderstegn) ในปัจจุบันจะพระราชทานแก่ชาวเดนมาร์ก ผู้ซึ่งได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์แดนเนอโบรแล้ว รวมทั้งพระบรมวงศานุวงศ์เดนมาร์กที่ได้รับพระราชทานจะประดับเหรียญตรานี้ด้วย ดวงตรากางเขนกิตติมศักดิ์นี้มีลักษณะคล้ายกับดวงตราเครื่องราชอิสริยภรณ์นี้ แต่จะเป็นวัสดุเงินแทน ห้อยดวงตราประดับกับแพรแถบ (สำหรับบุรุษ) หรือห้อยแพรแถบผูกเป็นรูปแมลงปอ (สำหรับสตรี) มีกระดุม ประดับบนอกซ้าย

สมาชิกเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นพิเศษ

แก้
 
สายสร้อยเครื่องราชอิสริยาภรณ์
  1. สมเด็จพระราชาธิบดีเฟรเดอริกที่ 10 แห่งเดนมาร์ก องค์ประธานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ (1 มกราคม ค.ศ. 2004)[1][2]
  2. สมเด็จพระราชินีนาถมาร์เกรเธอที่ 2 แห่งเดนมาร์ก อดีตสมเด็จพระราชินีนาถแห่งเดนมาร์กและอดีตองค์ประธานแห่งเครื่องราชอิสริยาภรณ์ (14 มกราคม ค.ศ. 1972)[3]
  3. สมเด็จพระราชาธิบดีคาร์ลที่ 16 กุสตาฟแห่งสวีเดน (10 ตุลาคม ค.ศ. 1975)[4]
  4. สมเด็จพระราชาธิบดีฮารัลด์ที่ 5 แห่งนอร์เวย์ (28 ตุลาคม ค.ศ. 1991)[4]
  5. เจ้าหญิงเบเนดิกเทอแห่งเดนมาร์ก เจ้าหญิงแห่งไซน์-วิทเกินชไตน์-แบร์เลอบวร์ค (27 มกราคม ค.ศ. 1993)[5][6]
  6. เจ้าชายโจอาคิมแห่งเดนมาร์ก (16 เมษายน ค.ศ. 2004)[7][8]
  7. สมเด็จพระราชินีแมรีแห่งเดนมาร์ก (26 พฤษภาคม ค.ศ. 2024)[9]

เนื่องจากการเสด็จสวรรคตของสมเด็จพระราชาธิบดีกอนสตันดีโนสที่ 2 แห่งกรีซในปี ค.ศ. 2023 ทำให้มีตำแหน่งสมาชิกพิเศษเหลืออยู่หนึ่งตำแหน่ง เนื่องจากจำนวนสมาชิกพิเศษต้องไม่เกิน 8 คน

อ้างอิง

แก้
  1. "H.K.H. Kronprinsen—Danske dekorationer". Hans Kongelige Højhed Kronprins Frederik. Kongehuset (The Royal House of Denmark). 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-08-13. สืบค้นเมื่อ 28 December 2012. Storkommandør (S.Kmd.)
  2. "Persondetaljer: Hans Kongelige Højhed Kronprins Frederik". borger.dk. Copenhagen: Ministry of Research, Innovation and Higher Education of Denmark. 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 February 2013. สืบค้นเมื่อ 28 December 2012. Storkommandører Kronprins til Danmark (1.1.2004)
  3. "H.M. Dronningen—Danske dekorationer". Hendes Majestæt Dronning Margrethe II. Kongehuset (The Royal House of Denmark). 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-04-28. สืบค้นเมื่อ 28 December 2012. Storkommandør af Dannebrogordenen (S.Kmd.)
  4. 4.0 4.1 "Ordensdetaljer: storkommandør af Dannebrogordenen". borger.dk. Copenhagen: Ministry of Research, Innovation and Higher Education of Denmark. 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 February 2013. สืบค้นเมื่อ 28 December 2012. Hans Majestæt Carl XVI Gustaf, Konge af Sverige (10.4.1975); Hans Majestæt Kong Harald, Norges Konge (28.10.1991); Hans Majestæt Konstantin II, fhv. Konge af Grækenland (12.3.1964)
  5. "Persondetaljer: Hendes Kongelige Højhed Prinsesse Benedikte". borger.dk. Copenhagen: Ministry of Research, Innovation and Higher Education of Denmark. 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 February 2013. สืบค้นเมื่อ 28 December 2012. Storkommandører, Prinsesse til Danmark (27.1.1993)
  6. "H.K.H. Prinsesse Benedikte—Danske dekorationer". Hendes Kongelige Højhed Prinsesse Benedikte. Kongehuset (The Royal House of Denmark). 2012. สืบค้นเมื่อ 28 December 2012. Storkommandør af Dannebrogordenen (S.Kmd.)Hjemmeværnets Fortjensttegn (Hjv.Ft.)
  7. "Persondetaljer: Hans Kongelige Højhed Prins Joachim". borger.dk. Copenhagen: Ministry of Research, Innovation and Higher Education of Denmark. 2012. สืบค้นเมื่อ 28 December 2012. Storkommandører, Prins til Danmark (16.4.2004)[ลิงก์เสีย]
  8. "H.K.H. Prins Joachim—Danske dekorationer". Hans Kongelige Højhed Prins Joachim. Kongehuset (The Royal House of Denmark). 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-04-12. สืบค้นเมื่อ 28 December 2012. Storkommandør af Dannebrogordenen (S.Kmd.)
  9. "H.M. Dronningen er tildelt Storkommandørkorset af Dannebrogordenen". Kongehuset. สืบค้นเมื่อ 6 May 2024.