พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระจันทบุรีนฤนาถ

มหาอำมาตย์เอก นายพลตรี นายกองเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระจันทบุรีนฤนาถ (8 มิถุนายน พ.ศ. 2417 – 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2474) มีพระนามเดิมว่า พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้ากิติยากรวรลักษณ์ เป็นพระอัยกาฝ่ายพระบิดาในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง และพระราชปัยกาฝ่ายพระบรมราชชนนีในพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงดำรงตำแหน่งสำคัญหลายตำแหน่ง ได้แก่ อภิรัฐมนตรี องคมนตรี สมุหมนตรี ราชองครักษ์พิเศษ เสนาบดีกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ และนายทหารพิเศษกรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กรักษาพระองค์ และเป็นต้นราชสกุลกิติยากร

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ
กรมพระจันทบุรีนฤนาถ
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ ชั้น 5
พระองค์เจ้าชั้นเอก
เสนาบดีกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ
ดำรงตำแหน่ง17 กุมภาพันธ์ 2451 - 17 มกราคม 2465
รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
ก่อนหน้าพระยาสุริยานุวัตร
ถัดไปพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศุภโยคเกษม
เสนาบดีกระทรวงพาณิชย์
ดำรงตำแหน่ง20 สิงหาคม 2463 - 15 พฤษภาคม 2469
รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
ก่อนหน้าสถาปนาตำแหน่ง
ถัดไปพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน
ประสูติ8 มิถุนายน พ.ศ. 2417
พระบรมมหาราชวัง อำเภอพระนคร จังหวัดพระนคร ประเทศสยาม
สิ้นพระชนม์27 พฤษภาคม พ.ศ. 2474 (56 ปี)
ปารีส ประเทศฝรั่งเศส[1]
ชายาหม่อมเจ้าอับศรสมาน กิติยากร (สมรส พ.ศ. 2438)
หม่อมจอน วิชยาภัย
ละออง วิจารณ์บุตร
จั่น อินทุเกตุ
ละเมียด เปลี่ยนประยูร
พระบุตร23 องค์
ราชสกุลกิติยากร
ราชวงศ์จักรี
พระบิดาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระมารดาเจ้าจอมมารดาอ่วม
ลายพระอภิไธย

พระประวัติ

แก้

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระจันทบุรีนฤนาถ พระองค์ทรงเป็นพระราชโอรสองค์ที่ 12 ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว กับเจ้าจอมมารดาอ่วม ประสูติเมื่อวันจันทร์ แรม 9 ค่ำ เดือน 7 ปีจอ ฉศก จ.ศ. 1236 ตรงกับวันที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2417 ในพระบรมมหาราชวัง เนื่องจากเจ้าจอมมารดาอ่วมเป็นลูกจีน พระองค์เจ้ากิติยากรวรลักษณ์ จึงถูกล้อว่า "วันจันทร์ ปีจอ เดือนเจ็ด ลูกเจ้า หลานเจ๊ก" ซึ่งมาจากพระองค์ประสูติ "ปีจอ วันจันทร์ เดือนเจ็ด ลูกพระจุล หลานพระจอม ตัวเป็นเจ้า ตาเป็นเจ๊ก"

(เจ้าจอมมารดาอ่วม เป็นธิดาของพระยาพิสณฑ์สมบัติบริบูรณ์ (เจ้าสัวยิ้ม) เป็นผู้คิดขุดลอกคลองภาษีเจริญในสมัยรัชกาลที่ 4 และยังเป็นเจ้าของเรือกลไฟชื่อ "เจ้าพระยา" เดินระหว่างกรุงเทพฯ-สิงคโปร์ รายแรกและรายเดียวในสมัยนั้น เป็นต้นตระกูล "พิศลยบุตร" กับ คุณปรางค์ ผู้เป็นภรรยา)

พ.ศ. 2425 พระองค์ทรงเริ่มการศึกษาที่สำนักของพระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) ต่อมาในปี พ.ศ. 2426 ได้เสด็จไปศึกษาต่อที่โรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ โดยมี มหาปั้น เป็นผู้ถวายพระอักษร ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดพระราชพิธีโสกันต์ขึ้นในพ.ศ. 2428

วันศุกร์ที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2428 ได้ทรงผนวชเป็นสามเณร ณ พระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม โดยมีพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระปวเรศวริยาลงกรณ์ เป็นพระอุปัชฌาย์ ผนวชแล้วประทับ ณ วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร[2] แล้วลาสิกขาบทในวันศุกร์ที่ 29 พฤษภาคม ศกนั้น[3] จากนั้นจึงเสด็จไปศึกษาต่อ ณ ประเทศอังกฤษ เมื่อ พ.ศ. 2428 นับเป็นพระราชโอรสรุ่นแรกในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวที่ได้เสด็จไปศึกษาต่างประเทศ ประกอบด้วย

 
พระรูปหมู่พระราชโอรสในรัชกาลที่ 5 รุ่นแรกที่เสด็จไปศึกษาต่อ ณ ประเทศอังกฤษ

ทรงสำเร็จสาขาบูรพคดีศึกษา (Oriental Studies) จากสถาบันตะวันออก มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด สาขาวิชาภาษาบาลีและสันสกฤต เมื่อ พ.ศ. 2437 ระหว่างศึกษาอยู่ พระองค์ทรงสังกัด วิทยาลัยแบเลียล (Balliol College) ของมหาวิทยาลัย

วันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2438 ได้รับโปรดเกล้าฯ ให้เป็นองคมนตรี[4]

วันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2442 ได้ทรงผนวชเป็นพระภิกษุ ณ พระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม โดยมีสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (สา ปุสฺสเทโว) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นวชิรญาณวโรรส เป็นพระกรรมวาจาจารย์ ผนวชแล้วประทับ ณ วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร[5] ผนวชอยู่ 15 วันจึงลาผนวช

เมื่อเสด็จนิวัติกลับพระนคร ทรงรับราชการในกรมราชเลขานุการ จากนั้นมาทรงงานในตำแหน่งอธิบดีกรมศึกษาธิการ ต่อมาวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2445 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาพระองค์เจ้าต่างกรม มีพระนามว่า พระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นจันทบุรีนฤนาถ ทรงศักดินา 15000[6] เมื่อพระยาสุริยานุวัตร (เกิด บุนนาค) ลาออกจากตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ จึงโปรดให้กรมหมื่นจันทบุรีนฤนาถรั้งตำแหน่งเสนาบดีแทนตั้งแต่วันที่ 11 กุมภาพันธ์ ร.ศ. 126[7] ถึงวันที่ 1 เมษายน ร.ศ. 127 จึงโปรดเกล้าฯ ให้เป็นเสนาบดีกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ[8]

เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคตในวันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453 สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวโปรดให้เปลี่ยนคำนำพระนามเป็นพระเจ้าพี่ยาเธอ[9] และในวันต่อมาพระองค์ท่านได้เข้าถือน้ำและรับตั้งเป็นองคมนตรี ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม[10] ต่อมาในวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2454 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้เลื่อนเป็น พระเจ้าพี่ยาเธอ กรมหลวงจันทบุรีนฤนารถ ทรงศักดินา 15000[11] ต่อมาในวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2459 จึงโปรดเกล้าฯ ให้เลื่อนเป็น พระเจ้าพี่ยาเธอ กรมพระจันทบุรีนฤนาถ สุรเชษฐาธิราชกิตตยากร วรลักษณสุนทรวีรวิจิตร สรรพรัชดาธิกิจโกศล วิมลรัตนมหาโกศาธิบดี ธีรคุโณฬาร ศุภสมาจารสารสมบัติ มัทวเมตตาธยาศัย ไตรศรีรัตนสรณาคม อุดมศักดิ์บพิตร ทรงศักดินา 15000[12] ดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงพาณิชย์

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระจันทบุรีนฤนาถ ทรงปรีชาสามารถในด้านการคลังและการเศรษฐกิจ, ทรงพระดำริจัดตั้งคลังออมสินให้ราษฎรได้นำเงินฝากเพื่อให้ปลอดจากโจรภัยและอัคคีภัยและส่งเสริมการออมทรัพย์, ทรงจัดตั้งกรมพาณิชย์และสถิติพยากรณ์ และจัดการตั้งสหกรณ์, ทรงร่างกฎหมายวางระเบียบวิธีการศุลกากร และทรงแก้ไขปรับปรุงภาษีสรรพากร รวบรวมหน่วยงานจัดเก็บภาษีให้มารวมอยู่ในบังคับบัญชากระทรวงเดียวกัน, ทรงจัดให้สุราและฝิ่นเป็นสิ่งผูกขาดของรัฐบาล เพื่อเตรียมการที่จะบังคับให้การสูบฝิ่นเป็นสิ่งต้องห้ามในเวลาต่อมา ต่อมาในวันที่ 15 กันยายน 2462 โปรดเกล้าฯ ให้รักษาราชการแทนในตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงเกษตราธิการและประธานกรรมการกำกับตรวจตราข้าวแทนพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ องค์เสนาบดีที่พักรักษาพระองค์ นอกจากนี้ยังโปรดเกล้าฯ ให้พระยามโนปกรณ์นิติธาดา (ก้อน หุตะสิงห์) สมุหพระนิติศาสตร์มารับราชการเป็นปลัดทูลฉลองกระทรวงเกษตราธิการในคราวเดียวกัน[13]

ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระจันทบุรีนฤนาถ ทรงได้รับโปรดเกล้าฯ ให้เป็นอภิรัฐมนตรี ที่ปรึกษาในการบริหารราชการแผ่นดิน และทรงเป็นกรรมการราชบัณฑิตยสถาน

ปลายปี พ.ศ. 2473 พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระจันทบุรีนฤนาถได้เสด็จไปรักษาอาการประชวรพระศออักเสบที่กรุงปารีส ระยะแรกพระอาการดีขึ้น ต่อมากลับกำเริบอีก และสิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2474 เวลา 11:05 น. สิริพระชันษาได้ 58 ปี[14]

กระทรวงพาณิชย์ได้ดำเนินการสร้างพระอนุสาวรีย์ของพระองค์เพื่อประดิษฐานไว้หน้าตึกที่ทำการกระทรวงเดิม บริเวณถนนสนามไชย เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร เพื่อรำลึกพระเกียรติคุณในฐานะที่ทรงเป็นเสนาบดีกระทรวงพาณิชย์พระองค์แรก และปัจจุบัน เมื่อมีการก่อสร้างอาคารที่ทำการกระทรวงพาณิชย์ใหม่ บริเวณสนามบินน้ำ จังหวัดนนทบุรี ก็มีการย้ายพระอนุสาวรีย์นี้ไปประดิษฐานไว้ในสวนด้านในของที่ทำการแห่งใหม่ด้วยเช่นกัน

ผลงานทางวิชาการอันโดดเด่น

แก้

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระจันทบุรีนฤนาถ ทรงพระปรีชาสามารถในภาษาบาลี ได้ทรงแปลเรื่อง "จันทกุมารชาดก" เป็นภาษาไทย จนทรงได้รับพระราชทานพัดเปรียญธรรม 5 ประโยค จากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นกรณีพิเศษ ทั้งที่ทรงเป็นฆราวาส นอกจากนี้ยังทรงพระนิพนธ์ '''ปทานุกรม บาลี-ไทย-อังกฤษ-สันสกฤต''' โดยอาศัยพจนานุกรมบาลีของอาร์.ซี. ชิลเดอรส์ (R.C.Childers) ที่สมาคมบาลีปกรณ์ดำเนินการจัดพิมพ์มาก่อนหน้านี้แล้วเป็นหลัก แต่ต้นฉบับที่ทรงจัดทำไม่เรียบร้อยดีทุกส่วน ต่อมา พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้คณะสงฆ์วัดบวรนิเวศวิหาร ร่วมกับศาสตราจารย์ หม่อมหลวงจิรายุ นพวงศ์ องคมนตรี ตรวจชำระต้นฉบับที่พระองค์ทรงร่างขึ้นแล้วโปรดให้มูลนิธิมหามกุฏราชวิทยาลัย จัดพิมพ์ปทานุกรมดังกล่าวเพื่อเผยแผ่ นับแต่นั้นมา ปทานุกรมเล่มนี้จึงเป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายมากยิ่งขึ้น

พระโอรส-ธิดา

แก้
 
ตราประจำราชสกุลกิติยากร
 
แถวยืน จากซ้ายไปขวา หม่อมเจ้าจิตร์บรรจง หม่อมเจ้าอมรสมานลักษณ์ หม่อมเจ้ากัลยางค์สมบัติ หม่อมเจ้านักขัตรมงคล หม่อมเจ้าขจรจบกิติคุณ หม่อมเจ้ากมลปราโมทย์
แถวนั่งเก้าอี้ จากซ้ายไปขวา หม่อมเจ้าชวลิตโอภาสทรงอุ้มหม่อมราชวงศ์กิติอัจฉรา หม่อมเจ้าอับศรสมาน พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระจันทบุรีนฤนาถทรงจับไหล่หม่อมราชวงศ์กิตินัดดา หม่อมเจ้าพิบูลย์เบ็ญจางค์ หม่อมราชวงศ์มรุต
แถวนั่งพื้น จากซ้ายไปขวา หม่อมเจ้าจีรินันทน์ หม่อมเจ้าสุวินิต หม่อมเจ้าวินิตาทรงอุ้มหม่อมเจ้ากิติปปียา หม่อมเจ้าจีริดนัย หม่อมราชวงศ์อมราภินพ หม่อมเจ้ากิติมตี หม่อมราชวงศ์วีณา หม่อมเจ้าจีริกา
หม่อมเจ้าอับศรสมาน (ราชสกุลเดิม เทวกุล)

เมื่อเสด็จนิวัติพระนคร ประทับอยู่ ณ วังเทเวศร์ อภิเษกสมรสกับหม่อมเจ้าอับศรสมาน กิติยากร (ราชสกุลเดิม เทวกุล; 21 ตุลาคม พ.ศ. 2420 – 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2482) พระธิดาองค์ใหญ่ในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ เสนาบดีกระทรวงต่างประเทศ เมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2438 มีพระโอรสพระธิดา 12 องค์[15]

  1. หม่อมเจ้าเกียรติกำจร (พระราชนัดดาองค์แรกในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว) (7 กันยายน พ.ศ. 2439 – 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2445)
  2. หม่อมเจ้าอมรสมานลักษณ์ กิติยากร (18 มกราคม พ.ศ. 2440 – 14 สิงหาคม พ.ศ. 2511) เสกสมรสกับหม่อมพิณ หม่อมเจ้าชวลิตโอภาศ กิติยากร และ หม่อมเจ้าจีริกา กิติยากร [16][17]
    1. หม่อมราชวงศ์วีณา กิติยากร (เกิด 10 เมษายน พ.ศ. 2464)
    2. หม่อมราชวงศ์กิตินัดดา กิติยากร (6 พฤษภาคม พ.ศ. 2465 – 17 สิงหาคม พ.ศ. 2509)
    3. หม่อมราชวงศ์อมราภินพ กิติยากร (31 กรกฎาคม พ.ศ. 2467 – 27 มิถุนายน พ.ศ. 2548) สมรสกับชาวอังกฤษ
    4. หม่อมราชวงศ์กิติอัจฉรา กิติยากร (เกิด 21 เมษายน พ.ศ. 2471) สมรสกับสมิธิ์ ปวนะฤทธิ์
    5. หม่อมราชวงศ์กิติสมาน กิติยากร (เกิด 10 กันยายน พ.ศ. 2481) สมรสกับระเบียบ กิติยากร ณ อยุธยา
    6. หม่อมราชวงศ์จีริก กิติยากร (26 พฤษภาคม พ.ศ. 2495 – 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2528)
  3. หม่อมเจ้านักขัตรมงคล กิติยากร (4 มกราคม พ.ศ. 2441 – 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2496) (ได้รับสถาปนาเป็นพระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นจันทบุรีสุรนาถ เมื่อ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2495 เสกสมรสกับหม่อมหลวงบัว กิติยากร (ราชสกุลเดิม สนิทวงศ์)
    1. หม่อมราชวงศ์กัลยาณกิติ์ กิติยากร สมรสกับอรุณ กิติยากร ณ อยุธยา (สกุลเดิม สนิทวงศ์ ณ อยุธยา)
    2. หม่อมราชวงศ์อดุลกิติ์ กิติยากร สมรสกับท่านผู้หญิงพันธุ์สวลี กิติยากร (ราชสกุลเดิม ยุคล)
    3. หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ กิติยากร (ได้รับการเฉลิมพระนามาภิไธยเป็นสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เมื่อ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2562) ราชาภิเษกสมรสกับพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
    4. หม่อมราชวงศ์บุษบา สธนพงศ์ สมรสและหย่ากับหม่อมหลวงทวีสันต์ ลดาวัลย์ และสมรสกับนาวาเอกสุรยุทธ์ สธนพงษ์
  4. หม่อมเจ้ากมลปราโมทย์ เทวกุล (5 ธันวาคม พ.ศ. 2441 – 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2517) เสกสมรสกับหม่อมเจ้ามรุพรพันธุ์ เทวกุล และหม่อมเจ้าวงศานุวัตร เทวกุล
    1. หม่อมราชวงศ์มรุต เทวกุล สมรสกับอุไร เทวกุล ณ อยุธยา (สกุลเดิม พู่เรือหงส์)
    2. หม่อมราชวงศ์กมลิกา เทวกุล
    3. หม่อมราชวงศ์นิศารัตน์ เทวกุล
    4. หม่อมราชวงศ์เทพกมล เทวกุล สมรสกับขวัญตา เทวกุล ณ อยุธยา (ราชสกุลเดิม ศิริวงศ์ ณ อยุธยา)
  5. หม่อมเจ้ามาโนทย์มานพ กิติยากร (24 มกราคม พ.ศ. 2443 – 24 สิงหาคม พ.ศ. 2444) [18]
  6. หม่อมเจ้าขจรจบกิตติคุณ กิติยากร (15 มีนาคม พ.ศ. 2444 – 28 มกราคม พ.ศ. 2510) เสกสมรสกับหม่อมราชวงศ์วิจิตรโฉม กิติยากร (ราชสกุลเดิม ชยางกูร)
    1. หม่อมราชวงศ์เกียรติคุณ กิติยากร สมรสกับอาภัสรา หงสกุล และเอมมา อูโล
    2. หม่อมราชวงศ์สฤษดิคุณ กิติยากร สมรสกับหม่อมราชวงศ์เดือนเด่น กิติยากร (ราชสกุลเดิม สวัสดิวัตน์)
    3. หม่อมราชวงศ์สุจิตคุณ สารสิน สมรสกับอาสา สารสิน
  7. หม่อมเจ้าพิบูลย์เบญจางค์ วรวรรณ (13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2445 – 27 เมษายน พ.ศ. 2512) เสกสมรสกับหม่อมเจ้าวรรณไวทยากร วรวรรณ (ได้รับการสถาปนาเป็นพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์)
    1. หม่อมราชวงศ์วิบูลย์เกียรติ วรวรรณ สมรสกับหม่อมราชวงศ์ทิพพากร วรวรรณ (ราชสกุลเดิม อาภากร)
  8. หม่อมเจ้ากัลยางค์สมบัติ กิติยากร (28 มีนาคม พ.ศ. 2447 – 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2485) เสกสมรสกับหม่อมเจ้ามุรธาภิเศก โสณกุล
    1. หม่อมราชวงศ์ธีรา โสณกุล สมรสกับปีเตอร์ โคเมอร์
    2. หม่อมราชวงศ์ศรี โสณกุล สมรสกับประพจน์ ลิมปิชาติ
    3. หม่อมราชวงศ์เศาณ โสณกุล
  9. หม่อมเจ้าจิตรบรรจง กิติยากร (28 มกราคม พ.ศ. 2449 – 29 ตุลาคม พ.ศ. 2487) ทรงลาออกจากฐานันดรศักดิ์เพื่อสมรสกับหม่อมราชวงศ์นักษัตร ลดาวัลย์
    1. หม่อมหลวงอดุลยเดช ลดาวัลย์ สมรสกับมัณฑนา ลดาวัลย์ ณ อยุธยา (สกุลเดิม ดีเหมือนวงศ์)
  10. หม่อมเจ้าทรงอัปษร รพีพัฒน์ (22 กรกฎาคม พ.ศ. 2450 – 28 มีนาคม พ.ศ. 2531) เสกสมรสกับหม่อมเจ้าเพลิงนภดล รพีพัฒน์
    1. หม่อมราชวงศ์อคิน รพีพัฒน์ สมรสกับจันทรา ปิตะชาติ และบังเอิญ เกิดอารีย์
    2. หม่อมราชวงศ์รพีพงศ์ รพีพัฒน์ สมรสกับหม่อมหลวงศิริมา ศรีธวัช และจริยา รอดประเสริฐ
    3. หม่อมราชวงศ์อัปสร รพีพัฒน์ สมรสกับทวีเกียรติ กฤษณามระ และจอห์น โรก๊อช
  11. หม่อมเจ้าสรัทจันทร์ กิติยากร (26 ธันวาคม พ.ศ. 2451 – 30 กันยายน พ.ศ. 2466)
  12. หม่อมเจ้าพุฒิ กิติยากร (8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2454 – 26 ธันวาคม พ.ศ. 2454)
หม่อมจอน (สกุลเดิม วิชยาภัย)

หม่อมจอน (ถึงแก่กรรม 29 ธันวาคม พ.ศ. 2467)

  1. หม่อมเจ้าพัฒนคณณา กิติยากร (30 กันยายน พ.ศ. 2446 – 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2509) เสกสมรสกับหม่อมเจ้าวิวัฒนไชย ไชยยันต์ (ได้รับการสถาปนาเป็นพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวิวัฒนไชย)
    1. หม่อมราชวงศ์กิติวัฒนา ปกมนตรี สมรสกับวุธจิระ ปกมนตรี
  2. หม่อมเจ้าสมาคม กิติยากร (15 กันยายน พ.ศ. 2448 – 1 ตุลาคม พ.ศ. 2531) เสกสมรสกับหม่อมราชวงศ์สมัยการ กิติยากร (ราชสกุลเดิม เทวกุล)
    1. หม่อมราชวงศ์ (ถึงแก่กรรมตั้งแต่เด็ก)
    2. หม่อมราชวงศ์วิริยาภา กิติยากร สมรสกับไพบูลย์ ช่างเรียน
    3. หม่อมราชวงศ์จิราคม กิติยากร สมรสกับพิณน้อย กิติยากร ณ อยุธยา (สกุลเดิม ศรีสวัสดิ์)
    4. หม่อมราชวงศ์สมลาภ กิติยากร สมรสกับเนาวรัตน์ กิติยากร ณ อยุธยา (สกุลเดิม โขมพัตร)
  3. หม่อมเจ้าพรพิพัฒน์ กิติยากร (30 สิงหาคม พ.ศ. 2450 – 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2468)
  4. หม่อมเจ้ากิติมตี กิติยากร (3 พฤษภาคม พ.ศ. 2458 – 27 มกราคม พ.ศ. 2525)
หม่อมละออง (สกุลเดิม วิชยาภัย)

หม่อมละออง (เมษายน พ.ศ. 2425 – 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2504)

  1. หม่อมเจ้าชมชิด กิติยากร (16 ตุลาคม พ.ศ. 2448 – 22 มกราคม พ.ศ. 2491)
  2. หม่อมเจ้าโกลิต กิติยากร (13 กรกฎาคม พ.ศ. 2453 – 2 มกราคม พ.ศ. 2519) เสกสมรสกับพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพิสิฐสบสมัย
    1. หม่อมราชวงศ์พิลาศลักษณ์ บุณยะปาณะ สมรสกับบัณฑิต บุณยะปาณะ
หม่อมจั่น (สกุลเดิม อินทุเกตุ)

หม่อมจั่น (พ.ศ. 2436 – 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2465)

  1. หม่อมเจ้าจีริกา กิติยากร (27 เมษายน พ.ศ. 2456 – 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2518) เสกสมรสกับหม่อมเจ้าอมรสมานลักษณ์ กิติยากร เชษฐาต่างพระมารดา
  2. หม่อมเจ้าจีรินันท์ กิติยากร (26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2458 – 9 เมษายน พ.ศ. 2516) เสกสมรสกับสมลักษณ์ กิติยากร ณ อยุธยา (สกุลเดิม ทิพย์สมัย)
    1. หม่อมราชวงศ์จีริเดชา กิติยากร สมรสกับหม่อมหลวงเอื้อมศุขย์ กิติยากร (ราชสกุลเดิม ศุขสวัสดิ์)
    2. หม่อมราชวงศ์จีรินัดดา กิติยากร
    3. หม่อมราชวงศ์จีริสุดา กิติยากร สมรสกับพิศิษฐ์ วุฒิไกร
    4. หม่อมราชวงศ์จีริกัญญา กิติยากร สมรสกับหรรษา โชติกเสถียร
  3. หม่อมเจ้าจีริดนัย กิติยากร (1 ธันวาคม พ.ศ. 2459 – 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2523) เสกสมรสกับหม่อมเจ้ากิติปปียา กิติยากร ขนิษฐาต่างพระมารดา
    1. หม่อมราชวงศ์วงศ์ดนัย กิติยากร
หม่อมละเมียด (สกุลเดิม เปลี่ยนประยูร)

หม่อมละเมียด (ตุลาคม พ.ศ. 2439 – 5 สิงหาคม พ.ศ. 2524)

  1. หม่อมเจ้าวินิตา รพีพัฒน์ (2 ธันวาคม พ.ศ. 2456 – 6 มีนาคม พ.ศ. 2541) เสกสมรสกับหม่อมเจ้าวิมวาทิตย์ รพีพัฒน์
    1. หม่อมราชวงศ์วิภากร รพีพัฒน์ สมรสกับวุฒิวิฑู พี.เทอเสน และเย็นจิตต์ สัมมาพันธ์
  2. หม่อมเจ้าสุวินิต กิติยากร (4 มีนาคม พ.ศ. 2458 – 29 มีนาคม พ.ศ. 2523) เสกสมรสกับพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสุทธสิริโสภา
    1. หม่อมราชวงศ์สุนิดา กิติยากร สมรสกับสีหชาติ บุณยรัตพันธ์
    2. หม่อมราชวงศ์เสาวนิต กิติยากร
  3. หม่อมเจ้ากิติปปียา กิติยากร (6 ธันวาคม พ.ศ. 2466 – 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2555) เสกสมรสกับหม่อมเจ้าจีริดนัย กิติยากร เชษฐาต่างพระมารดา
    1. หม่อมราชวงศ์วงศ์ดนัย กิติยากร

พระเกียรติยศ

แก้
ธรรมเนียมพระยศของ
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระจันทบุรีนฤนาถ
 
ธงประจำพระอิสริยยศ
 
ตราประจำพระองค์
การทูลใต้ฝ่าพระบาท
การแทนตนข้าพระพุทธเจ้า
การขานรับพ่ะย่ะค่ะ/เพคะ
ลำดับโปเจียมไม่มีข้อมูล

พระอิสริยยศ

แก้
  • พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้ากิติยากรวรลักษณ์ (8 มิถุนายน พ.ศ. 2417 – 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2445)
  • พระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นจันทบุรีนฤนาถ[6] (25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2445 – 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453)
  • พระเจ้าพี่ยาเธอ กรมหมื่นจันทบุรีนฤนาถ (23 ตุลาคม พ.ศ. 2453 – 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2454)
  • พระเจ้าพี่ยาเธอ กรมหลวงจันทบุรีนฤนาถ (11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2454 – 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2459)
  • พระเจ้าพี่ยาเธอ กรมพระจันทบุรีนฤนาถ สุรเชษฐาธิราชกิตติยากร วรลักษณสุนทรีวีรวิจิตร สรรพรัชดาธิกิจโกศล วิมลรัตนมหาโกศาธิบดี ธีรคุโณฬาร ศุภสมาจารสารสมบัติ มัทวเมตตาธยาศรัย ไตรศรีรัตนสรณาคม อุดมศักดิบพิตร (11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2459 – 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2474)
ภายหลังสิ้นพระชนม์
  • พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระจันทบุรีนฤนาถ (10 กรกฎาคม พ.ศ. 2478)

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

แก้

มหาอำมาตย์เอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระจันทบุรีนฤนาถ ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ตระกูลต่าง ๆ ดังต่อไปนี้[14]

พระยศ

แก้
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระจันทบุรีนฤนาถ
รับใช้กองทัพบกสยาม
กองเสือป่า
ชั้นยศมหาอำมาตย์เอก
  นายพลตรี
  นายกองเอก

พระยศทหาร

แก้
  • นายพลตรี[14]

พระยศพลเรือน

แก้

พระยศเสือป่า

แก้
  • นายกองเอก[33]
  • นายกองตรี[34]

พงศาวลี

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. เล็ก พงษ์สมัครไทย. พระญาติ ราชสกุล กรุงรัตนโกสินทร์. กรุงเทพฯ:มติชน, 2556, หน้า 10
  2. ราชกิจจานุเบกษา, ข่าวราชการและพระเจ้าลูกเธอทรงผนวช, เล่ม ๑, ตอน ๒๑, ๒๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๒๗, หน้า ๑๗๘-๑๘๐
  3. ราชกิจจานุเบกษา, พระเจ้าลูกเธอลาผนวช, เล่ม ๑, ตอน ๒๔, ๑๕ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๒๗, หน้า ๒๑๔
  4. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชพิธีศรีสัจปานกาล และตั้งองคมนตรี, เล่ม 12, ตอน 53, 22 กันยายน 2438, หน้า 223-5
  5. ราชกิจจานุเบกษา, พระเจ้าลูกยาเธอและหม่อมเจ้าทรงผนวช, เล่ม ๑๖, ตอน ๑๗, ๒๓ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๔๒, หน้า ๒๑๐-๑
  6. 6.0 6.1 ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งกรมพระเจ้าลูกยาเธอ ๒ พระองค์, เล่ม 19, ตอน 37, ๗ ธันวาคม พ.ศ. 2445, หน้า 724-5
  7. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ ประกาศตั้งผู้รั้งตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ, เล่ม 24, ตอน 0, 19 กุมภาพันธ์ ร.ศ. 126, หน้า 1239
  8. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งเสนาบดี, เล่ม 24, ตอน 52, 29 มีนาคม ร.ศ. 126, หน้า 1388
  9. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ คำนำพระนามพระบรมวงษานุวงษ์, เล่ม 27, ตอน ก, 30 ตุลาคม พ.ศ. 2453, หน้า 1
  10. ราชกิจจานุเบกษา, บัญชีพระนามและนามองคมนตรี ที่พระราชทานสัญญาบัตรแล้ว, เล่ม 27, ตอน 0 ง, 1 มกราคม ร.ศ. 129, หน้า 2,273-4
  11. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศ เลื่อน แลตั้งกรม แลตั้งเจ้าพระยา เก็บถาวร 2011-11-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม 28, ตอน 0 ง, 11 พฤศจิกายน 2454, หน้า 1737-
  12. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ สถาปนาเลื่อนกรม พระพุททธศักราช ๒๔๕๙, เล่ม 33, ตอน 0 ก, 11 พฤศจิกายน 2459, หน้า 226-7
  13. พระบรมราชโองการ ประกาศกระแสพระบรมราชโองการ เรื่อง ตั้งผู้กำกับราชการและปลัดทูลฉลองกระทรวงเกษตราธิการ ตั้งประธานกรรมการกำกับตรวจตราข้าว
  14. 14.0 14.1 14.2 14.3 ราชกิจจานุเบกษา, ข่าวสิ้นพระชนม์ เก็บถาวร 2009-02-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม 48, ตอน ง, 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2474, หน้า 331
  15. กิติวัฒนา (ไชยันต์) ปกมนตรี, หม่อมราชวงศ์. สายพระโลหิตในพระพุทธเจ้าหลวง. กรุงเทพฯ : ดีเอ็มดี, พ.ศ. 2551. 290 หน้า. ISBN 978-974-312-022-0
  16. "หม่อมเจ้าอมรสมานลักษณ์ กิติยากร เสกสมรสกับหม่อมพิณ หม่อมเจ้าชวลิตโอภาศ กิติยากร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-11-04. สืบค้นเมื่อ 2006-10-10.
  17. หม่อมเจ้าอมรสมานลักษณ์ กิติยากร เสกสมรสกับหม่อมเจ้าจีริกา กิติยากร
  18. "ข่าวสิ้นชีพิตักไษย" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 18 (23): 348. 8 กันยายน พ.ศ. 2444. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  19. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม 14, ตอน 41, 12 มกราคม ร.ศ. 116, หน้า 701
  20. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2015-10-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม 28, ตอน 0 ง, 12 พฤจิกายน ร.ศ. 130 หน้า 1791
  21. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เล่ม 17, ตอน 35, 25 พฤศจิกายน ร.ศ. 119, หน้า 501
  22. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม 30, ตอน 0 ง, 18 มกราคม พ.ศ. 2456, หน้า 2440
  23. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศพระราชทานฐานันดร แห่งเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีศักดิ์รามาธิบดี, เล่ม 35, ตอน 0 ง, 2 ธันวาคม พ.ศ. 2461, หน้า 2178
  24. ราชกิจจานุเบกษา, รายพระนามและนามผู้ที่ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ในงานพระราชพิธีฉัตรมงคล, เล่ม 31, ตอน 0 ง, 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2457, หน้า 1850
  25. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์และเหรียญ, เล่ม 40, ตอน 0 ง, 7 มกราคม พ.ศ. 2466, หน้า 3420
  26. ราชกิจจานุเบกษา, ข่าวพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ในงานพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา, เล่ม 45, ตอน 0 ง, 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2471, หน้า 2365
  27. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ เก็บถาวร 2015-09-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม 18, ตอน 46, 16 กุมภาพันธ์ ร.ศ. 120, หน้า 875
  28. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ เก็บถาวร 2015-09-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม 27, ตอน 0 ง, 11 มกราคม พ.ศ. 2453, หน้า 2409
  29. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ฝ่ายหน้า, เล่ม 43, ตอน 0 ง, 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2469, หน้า 3120
  30. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญราชินี, เล่ม 15, ตอน 26, 21 กันยายน ร.ศ. 117, หน้า 283
  31. "ประกาศพระบรมราชโองการ ประกาศพระราชทานยศแก่ข้าราชการกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 28: 1014. 20 สิงหาคม 2454. สืบค้นเมื่อ 10 มีนาคม 2564. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  32. "พระราชทานยศพิเศษ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 43: 834. 23 พฤษภาคม 2469. สืบค้นเมื่อ 10 มีนาคม 2564. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  33. "พระราชทานยศเสือป่า" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 35: 15. 7 เมษายน 2461. สืบค้นเมื่อ 10 มีนาคม 2564. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  34. "พระราชทานยศเสือป่านายกองตรี" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2021-06-24. สืบค้นเมื่อ 2021-06-24.
  35. เล็ก พงษ์สมัครไทย. พระญาติ ราชสกุล กรุงรัตนโกสินทร์. กรุงเทพฯ:มติชน, 2556, หน้า 6

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้
ก่อนหน้า พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระจันทบุรีนฤนาถ ถัดไป
พระยาสุริยานุวัตร (เกิด บุนนาค)   เสนาบดีกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ
(17 กุมภาพันธ์ - 31 มีนาคม พ.ศ. 2450
รั้งตำแหน่ง: 1 เมษายน พ.ศ. 2451 - 17 มกราคม พ.ศ. 2465)
  พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศุภโยคเกษม
สถาปนาตำแหน่ง    
เสนาบดีกระทรวงพาณิชย์ คนที่ 1
(20 สิงหาคม พ.ศ. 2463 – 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2469)
  พระเจ้าพี่ยาเธอ
กรมหลวงกำแพงเพชรอัครโยธิน