พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวิวัฒนไชย

สมาชิกราชวงศ์และข้าราชการชาวไทย

มหาอำมาตย์ตรี พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวิวัฒนไชย (29 เมษายน พ.ศ. 2442 – 22 สิงหาคม พ.ศ. 2503) เป็นพระโอรสในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นมหิศรราชหฤทัย กับหม่อมส้วน ไชยันต์ ณ อยุธยา ทรงเป็นบุคคลแรกที่ดำรงตำแหน่งผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย[1] และตำแหน่งประธานกรรมการคณะกรรมการทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์[2] ทั้งยังทรงเคยเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง

พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวิวัฒนไชย
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ดำรงตำแหน่ง
11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 – 8 เมษายน พ.ศ. 2491
(0 ปี 148 วัน)
นายกรัฐมนตรีควง อภัยวงศ์
ก่อนหน้าวิจิตร ลุลิตานนท์
ถัดไปพระยาโทณวณิกมนตรี
ดำรงตำแหน่ง
30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2491 – 13 ตุลาคม พ.ศ. 2492
(0 ปี 318 วัน)
นายกรัฐมนตรีแปลก พิบูลสงคราม
ก่อนหน้าพระยาโทณวณิกมนตรี
ถัดไปแปลก พิบูลสงคราม
ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย
ดำรงตำแหน่ง
27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2485 – 16 ตุลาคม พ.ศ. 2489
(3 ปี 323 วัน)
ก่อนหน้าสถาปนาตำแหน่ง
ถัดไปเสริม วินิจฉัยกุล
ดำรงตำแหน่ง
3 กันยายน พ.ศ. 2491 – 2 ธันวาคม พ.ศ. 2491
(0 ปี 90 วัน)
ก่อนหน้าเล้ง ศรีสมวงศ์
ถัดไปเล้ง ศรีสมวงศ์
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด29 เมษายน พ.ศ. 2442
เสียชีวิต22 สิงหาคม พ.ศ. 2503 (61 ปี)
คู่สมรสชายา
หม่อมเจ้าหญิงพัฒน์คณนา กิติยากร
หม่อม
หม่อมราชวงศ์หญิงชวลิต สนิทวงศ์
บุพการี
ลายมือชื่อ

พระประวัติ

แก้

พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวิวัฒนไชย ประสูติ ณ ปีกุน วันเสาร์ที่ 29 เมษายน พุทธศักราช 2442 เป็นพระโอรสองค์ที่ 9 ในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นมหิศรราชหฤทัย และหม่อมส้วน ไชยันต์ ณ อยุธยา มีเจ้าพี่เจ้าน้องร่วมพระบิดา 12 องค์ คือ

พระบิดาและหม่อมมารดาของพระองค์เจ้าวิวัฒนไชย ได้สิ้นพระชนม์และถึงอนิจกรรมเสียแต่เมื่อยังทรงพระเยาว์ พระองค์เจ้าวิวัฒนไชยได้เข้าศึกษาในโรงเรียนมหาดเล็กหลวงตั้งแต่พระชนม์ได้ 6 ปี และทรงได้เข้าศึกษาต่อในโรงเรียนราชวิทยาลัย สำเร็จชั้นมัธยมปีที่ 6 เมื่อพระชนม์เพียง 12 ปี ใน พ.ศ. 2454 ขณะนั้นพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จสวรรคตแล้ว สมเด็จพระศรีพัชรินทรา บรมราชินีนาถ ได้ทรงพระกรุณาโปรดให้พระองค์เจ้าวิวัฒนไชยเป็นนักเรียนส่วนพระองค์ออกไปศึกษาวิทยาการ ณ ประเทศอังกฤษ ได้ทรงเริ่มการศึกษาชั้นประถม ณ โรงเรียน Torquay Preparatory School เป็นเวลา 2 ปี ใน พ.ศ. 2456 จึงได้เลื่อนไปทรงศึกษาชั้นมัธยม ณ วิทยาลัย Cheltenham College อีก 3 ปี ได้ทรงรับประกาศนียบัตรชั้นมัธยมศึกษาชั้นสูงของมหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด และเคมบริดจ์ ใน พ.ศ. 2459 เพื่อทรงศึกษา ณ วิทยาลัยมอดดะเลน (Magdalene College) เมื่อได้ทรงสอบไล่ได้รับปริญญาเกียรตินิยมชั้นสองในวิชาประวัติศาสตร์ (B.A.) ต่อจากนั้นได้เสด็จไปทรงศึกษาต่อ ณ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ใน พ.ศ. 2462 ได้เข้าศึกษา ณ วิทยาลัย École des Sciences Politiques แห่งกรุงปารีสอีก 1 ปี จึงได้เสด็จกลับประเทศไทยใน พ.ศ. 2463

เมื่อพระองค์เจ้าวิวัฒนไชยได้เสด็จกลับมาถึงประเทศไทยนั้น เป็นรัชสมัยแห่งพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เข้ารับราชการสนองพระเดชพระคุณในกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ ในตำแหน่งเลขานุการกระทรวงเป็นตำแหน่งแรก และนับตั้งแต่วาระนั้นเป็นต้นมา พระองค์เจ้าวิวัฒนไชยได้ทรงปฏิบัติหน้าที่ราชการในกระทรวงนั้นหรือทรงปฏิบัติภารกิจต่าง ๆ ของทางราชการอันเกี่ยวข้องกับกระทรวงนั้นโดยตรงมาจนถึงเวลาที่สิ้นพระชนม์ชีพใน พ.ศ. 2503 เป็นเวลา 40 ปี

ในขณะที่พระองค์เจ้าวิวัฒนไชยทรงเข้ารับราชการในกระทรวงพระคลังมหาสมบัตินั้น พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระจันทบุรีนฤนาถ ทรงดำรงตำแหน่งเสนาบดี หม่อมเจ้าเณร เกษมศรี ผู้ซึ่งภายหลังได้ดำรงพระยศเป็นพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศุภโยคเกษม เป็นรองเสนาบดี ส่วนตำแหน่งปลัดทูลฉลองนั้นยังว่างอยู่ พระองค์เจ้าวิวัฒนไชยได้ทรงปฏิบัติหน้าที่ราชการในตำแหน่งเลขานุการกระทรวง และได้ทรงศึกษาราชการต่าง ๆ แห่งกระทรวงนั้น เป็นที่พอพระทัยและไว้วางพระทัยของเสนาบดีและรองเสนาบดี

 
พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวิวัฒนไชย ทรงไปเจรจาทำสัญญาเลิกสถานะสงครามกับประเทศอังกฤษ อินเดีย ออสเตรเลีย

ใน พ.ศ. 2465 พระองค์เจ้าวิวัฒนไชยได้ทรงดำรงตำแหน่งผู้ช่วยปลัดทูลฉลอง ใน พ.ศ. 2469 ได้ทรงดำรงตำแหน่งผู้รั้งปลัดทูลฉลอง จนถึง พ.ศ. 2470 อันเป็นรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ตั้งให้พระองค์เจ้าวิวัฒนไชยดำรงตำแหน่งปลัดทูลฉลองกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ ขณะนั้นพระชนมายุได้ 28 ปี นับว่าทรงเป็นข้าราชการผู้ใหญ่ ชั้นปลัดทูลฉลองที่มีอายุน้อยที่สุดในสมัยนั้น

ในสมัยนั้นทางราชการเห็นสมควรบำรุงชายฝั่งทะเลทางทิศตะวันตกของประเทศไทย จึงได้จัดตั้งสภาขึ้นสภาหนึ่งเพื่อดำเนินการนี้ พระองค์เจ้าวิวัฒนไชยก็ได้ทรงรับการแต่งตั้งให้เป็นกรรมการสภาจัดบำรุงชายทะเลทิศตะวันตกเป็นหน้าที่พิเศษอีกตำแหน่งหนึ่ง นอกจากนั้นในสมัยเดียวกันได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ปรับปรุงราชการเกี่ยวกับองคมนตรีขึ้น โดยให้มีกรรมการของสภาองคมนตรี มีหน้าที่ประชุมปรึกษาราชการในข้อที่จะได้ทรงมอบหมายให้พิจารณาเพื่อทูลเกล้าฯ ถวายความเห็นในข้อราชการนั้น ๆ จึงได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ตั้งให้พระองค์เจ้าวิวัฒนไชยทรงดำรงตำแหน่งกรรมการองคมนตรีอีกตำแหน่งหนึ่งด้วย เมื่อปี พ.ศ. 2471

ใน พ.ศ. 2473 ตำแหน่งอธิบดีกรมสรรพากรว่างลง จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ย้ายพระองค์เจ้าวิวัฒนไชยจากตำแหน่งปลัดทูลฉลองกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ ไปทรงดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมสรรพากร ตั้งแต่วันที่ 15 เมษายน ศกนั้น ในยุคที่พระองค์เจ้าวิวัฒนไชยเสด็จไปเป็นอธิบดีกรมสรรพากรนั้น เป็นยุคแห่งการจัดระบบภาษีขึ้นใหม่เพื่อให้เป็นธรรมแก่สังคมยิ่งขึ้น ในขณะที่ทรงรับตำแหน่งอธิบดีกรมสรรพากรนั้น ทางราชการของกรมนั้นยังเก็บภาษีอากรแบบเก่า ๆ อยู่ เช่น อากรค่านา อากรสวนใหญ่ อากรสวนจาก อากรสมพัตสร อากรนาเกลือ ภาษีค่าที่ไร่ยาสูบ ภาษีค่าที่ไร่อ้อย เงินรัชชูปการ ภาษีเรือโรงร้างตึกแพ เป็นต้น ซึ่งภาระแห่งภาษีอากรนั้นตกอยู่กับกสิกรเป็นส่วนใหญ่ พระองค์เจ้าวิวัฒนไชยได้ทรงยกเลิกภาษีอากรเก่า ๆ เสีย และได้ทรงแก้ไขโดยค่อยเป็นค่อยไป ให้มีการจัดเก็บภาษีขึ้นใหม่ให้เหมาะสมแก่ความเจริญของบ้านเมือง และเฉลี่ยภาระแห่งภาษีนั้นออกไปในลักษณะที่เป็นธรรม มิให้ตกอยู่แก่คนกลุ่มเดียวเป็นส่วนใหญ่ดังแต่ก่อน ภาษีที่เก็บใหม่ในระหว่างที่พระองค์เจ้าวิวัฒนไชยทรงดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมสรรพากรนั้นอยู่ในลำดับดังต่อไปนี้

  • พ.ศ. 2475 ประกาศใช้พระราชบัญญัติภาษีเงินเดือน ประกาศใช้พระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน ประกาศใช้พระราชบัญญัติภาษีการธนาคารและประกันภัย ประกาศใช้พระราชบัญญัติอากรแสตมป์
  • พ.ศ. 2476 ประกาศใช้พระราชบัญญัติภาษีเงินได้ โดยยกเลิกภาษีเงินเดือนเสีย ประกาศใช้พระราชบัญญัติภาษีการค้า
  • พ.ศ. 2477 ประกาศใช้พระราชบัญญัติอากรมรดกและการรับมรดก
  • พ.ศ. 2491 ประธานคณะกรรมการทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์คนแรก สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ในสมัยรัชกาลของพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร

ในปี พ.ศ. 2492 พระองค์ได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง[3] และทรงลาออกในเดือนตุลาคมของปีเดียวกัน[4]

การศึกษา

แก้

ครอบครัว

แก้

พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวิวัฒนไชย ได้ทรงเสกสมรสมกับหม่อมราชวงศ์หญิงชวลิต สนิทวงศ์ ธิดาพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพร้อมพงษ์อธิราช ใน พ.ศ. 2464 มีโอรส - ธิดา คือ

หม่อมราชวงศ์ชวลิต (สนิทวงศ์) ไชยันต์ ได้ถึงแก่กรรมใน พ.ศ. 2472 ต่อมาพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวิวัฒนไชยได้ทรงเสกสมรสกับหม่อมเจ้าหญิงพัฒน์คณนา กิติยากร พระธิดาของ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระจันทบุรีนฤนาถ มีธิดา คือ

สิ้นพระชนม์

แก้
 
พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวิวัฒนไชย

พระองค์เจ้าวิวัฒนไชยได้เคยประชวรด้วยโรคพระหทัยมาก่อน แต่ได้ทรงรับการรักษาจากแพทย์จนหายเป็นปกติ ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2503 ได้กลับประชวรอีกด้วยพระโรคเดียวกัน นายแพทย์ได้ถวายการรักษาจนทรงพระสำราญแล้ว จึงได้เสด็จไปทรงพักผ่อนที่อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี ประมาณสิบกว่าวันแล้วเสด็จกลับวังซอยอารี ถนนสุขุมวิท ในวันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2503 มีพระอาการเป็นปกติ ในวันที่ 22 สิงหาคม ตอนเช้าได้เสด็จไปเยี่ยมหม่อมเจ้าหญิงประดับศักดิ์ ไชยันต์ พระเชษฐภคินี ณ วังถนนสีลม แล้วเสด็จกลับวังประมาณ 11 นาฬิกาเศษ ขณะที่ทรงพระอักษรอยู่นั้น พระหทัยหยุดลงโดยฉับพลัน และสิ้นพระชนม์โดยสงบเมื่อเวลา 12.15 นาฬิกา สิริพระชนมายุรวม 61 ปี 115 วัน

พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรได้ทรงทราบฝ่าละอองธุลีพระบาท ว่าพระองค์เจ้าวิวัฒนไชยสิ้นพระชนม์ในคืนวันเดียวกัน ขณะประทับอยู่ ณ Queluz Palace กรุงลิสบอน ประเทศโปรตุเกส ด้วยความเศร้าสลดพระราชหฤทัยเป็นอย่างยิ่ง หลังจากที่ได้มีพระราชดำรัสสรรเสริญคุณความดีของพระองค์เจ้าวิวัฒนไชยเป็นอเนกประการแล้ว ได้มีพระราชดำรัสว่า

ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดการพระศพพระองค์เจ้าวิวัฒนไชยเป็นงานหลวงพิเศษ และได้พระราชทานพระโกศมณฑป เทียบเท่าชั้นเจ้าต่างกรมทรงพระศพเป็นเกียรติยศ เมื่อวันที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2503 สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ได้เสด็จไปพระราชทานน้ำสรงพระศพและบำเพ็ญพระราชกุศลในงานพระศพ

พระเกียรติยศ

แก้

พระอิสริยยศ

แก้
  • หม่อมเจ้าวิวัฒนไชย ไชยันต์ (29 เมษายน พ.ศ. 2442 - 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2493)
  • พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวิวัฒนไชย (8 พฤษภาคม พ.ศ. 2493 - ปัจจุบัน)

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

แก้

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย

แก้

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ

แก้
  •   อิตาลี :
    • พ.ศ. 2492 -   เครื่องราชอิสริยาภรณ์นักบุญมอริสและลาซารัส ชั้นสูงสุด

พงศาวลี

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. "ผู้ว่าการจากอดีตถึงปัจจุบัน". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 2015-06-22.
  2. ประธานกรรมการคณะกรรมการทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์
  3. พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งและแต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๒๖ ราย)
  4. พระบรมราชโองการ ประกาศ รัฐมนตรีลาออกและแต่งตั้งรัฐมนตรี (หม่อมเจ้าวิวัฒนไชย ไชยันต์ ลาออก โดยแต่งตั้ง จอมพล แปลก พิบูลสงคราม และนายพจน์ สารสิน)
  5. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๖๗ ตอนที่ ๒๕ ง หน้า ๑๘๐๖, ๙ พฤษภาคม ๒๔๙๓
  6. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2009-02-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๗๔ ตอนที่ ๑๐๗ ง หน้า ๒๙๙๒, ๑๗ ธันวาคม ๒๕๐๐
  7. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๗๑ ตอนที่ ๘๔ ง หน้า ๒๘๐๗, ๑๔ ธันวาคม ๒๔๙๗
  8. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๖๒ ตอนที่ ๕๕ ง หน้า ๑๔๙๑, ๒ ตุลาคม ๒๔๘๘
  9. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ ฝ่ายหน้า, เล่ม ๒๕ ตอนที่ ๓๕ หน้า ๑๐๑๔, ๒๙ พฤศจิกายน ๑๒๗
  10. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ในงานพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา, เล่ม ๔๗ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๐๘๑, ๑๖ พฤศจิกายน ๒๔๗๓
  11. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๗๐ ตอนที่ ๑๐ ง หน้า ๕๒๙, ๓ กุมภาพันธ์ ๒๔๙๖

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้
  • ศุภวัฒย์ เกษมศรี, พลตรี หม่อมราชวงศ์, และรัชนี ทรัพย์วิจิตร. พระอนุวงศ์ชั้นหม่อมเจ้าในพระราชวงศ์จักรี. กรุงเทพ : สำนักพิมพ์บรรณกิจ, พิมพ์ครั้งที่ 3 พ.ศ. 2549. 360 หน้า. หน้า หน้าที่. ISBN 974-221-818-8