พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสุทธสิริโสภา
พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสุทธสิริโสภา (16 ธันวาคม พ.ศ. 2464 — 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2541) เป็นพระธิดาในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก กรมขุนเพ็ชรบูรณ์อินทราไชย ประสูติแต่หม่อมลออ จุฑาธุช ณ อยุธยา
พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสุทธสิริโสภา | |
---|---|
พระวรวงศ์เธอ ชั้น 5 พระองค์เจ้าชั้นตรี | |
![]() | |
ประสูติ | 16 ธันวาคม พ.ศ. 2464 |
สิ้นพระชนม์ | 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2541 (76 ปี) |
พระราชทานเพลิง | 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2541 เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส |
พระสวามี | หม่อมเจ้าสุวินิต กิติยากร (2486–2523) |
พระบุตร | หม่อมราชวงศ์สุนิดา กิติยากร หม่อมราชวงศ์เสาวนิต กิติยากร |
ราชสกุล | จุฑาธุช (โดยประสูติ) กิติยากร (โดยเสกสมรส) |
ราชวงศ์ | จักรี |
พระบิดา | สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก กรมขุนเพ็ชรบูรณ์อินทราไชย |
พระมารดา | หม่อมลออ จุฑาธุช ณ อยุธยา |
ศาสนา | พุทธ |
พระประวัติ แก้
พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสุทธสิริโสภา มีพระนามลำลองว่า พระองค์หญิงหญิง[1] เป็นพระธิดาในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก กรมขุนเพ็ชรบูรณ์อินทราไชย ประสูติแต่หม่อมลออ จุฑาธุช ณ อยุธยา (สกุลเดิม ศิริสัมพันธ์) เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2464 โดยหม่อมลออเป็นธิดาของพระนมอิน ศิริสัมพันธ์ ซึ่งเป็นพระนมของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก กรมขุนเพ็ชรบูรณ์อินทราไชย ตาของหม่อมลออคือ พระยาอาหารบริรักษ์ (ทิน ศิริสัมพันธ์) เป็นข้าราชการกรมนามาแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว[2] พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสุทธสิริโสภามีพระอนุชาต่างพระมารดาพระองค์เดียวคือ พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรานนท์ธวัช (ประสูติแต่หม่อมระวี) พระอิสริยยศเมื่อแรกประสูติทั้งสองพระองค์เป็นหม่อมเจ้า ต่อมาได้รับการเฉลิมพระยศเป็น พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2470[3]
พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสุทธสิริโสภา เป็นเจ้านายรุ่นสุดท้ายที่ได้เข้าพิธีโสกันต์และเกศากันต์ พร้อมด้วยพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอินทุรัตนา และหม่อมเจ้ากาญจนฉัตร ฉัตรชัย เมื่อวันที่ 28 - 29 มีนาคม พ.ศ. 2475 ขณะมีพระชันษาได้ 10 ปี ก่อนการปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475 สามเดือน
พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสุทธสิริโสภา เสกสมรสกับหม่อมเจ้าสุวินิต กิติยากร (4 มีนาคม พ.ศ. 2458 — 29 มีนาคม พ.ศ. 2523; พระโอรสในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระจันทบุรีนฤนาถ ประสูติแต่หม่อมละเมียด) มีธิดา 2 คน ได้แก่
- หม่อมราชวงศ์สุนิดา กิติยากร (เกิด 10 มีนาคม พ.ศ. 2487)[4] อดีตบรรณาธิการข่าวสังคมของบางกอกโพสต์และบางกอกเวิลด์[5] สมรสและหย่ากับสีหชาติ บุณยรัตพันธุ์ มีธิดาคนเดียว คือ สุชาดา ภิรมย์ภักดี
- หม่อมราชวงศ์เสาวนิต กิติยากร[6] (22 มีนาคม พ.ศ. 2493 — 15 เมษายน พ.ศ. 2515) เสียชีวิตด้วยอุบัติเหตุทางรถยนต์[7]
พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสุทธสิริโสภา ทรงดำรงตำแหน่งผู้จัดการโรงเรียนราชินี และองค์ประธานกรรมการมูลนิธิร่วมจิตน้อมเกล้าเพื่อเยาวชน จนสิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2541 สิริพระชันษา 76 ปี ในการนี้พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ไปในการพระราชทานน้ำหลวงสรงพระศพ ณ ศาลาบัณรสภาค วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนารามราชวรวิหาร ในการนี้สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ โดยเสด็จด้วย โดยทรงรับพระศพไว้ในพระบรมราชานุเคราะห์ 7 วัน และพระราชทานพระเกียรติยศเป็นพิเศษ เลื่อนจากพระโกศราชวงศ์ เป็นพระโกศมณฑป ฉัตรเครื่องสูงทองแผ่ลวด ประกอบพระเกียรติยศ และเสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยพระบรมวงศานุวงศ์ ไปพระราชทานเพลิงพระศพ ณ พระเมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2541
พระเกียรติยศ แก้
พระอิสริยยศ แก้
- หม่อมเจ้าสุทธสิริโสภา (16 ธันวาคม พ.ศ. 2464 – 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2470)
- พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสุทธสิริโสภา (8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2470 – 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2541)
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้
- พ.ศ. 2539 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[8]
- พ.ศ. 2535 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[9]
- พ.ศ. 2521 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 2 ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ท.จ.ว.) (ฝ่ายใน)[10]
- พ.ศ. 2473 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 7 ชั้นที่ 2 (ป.ป.ร.2)
- พ.ศ. 2538 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 9 ชั้นที่ 2 (ภ.ป.ร.2)[11]
- พ.ศ. 2469 – เหรียญบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ 7 (ร.ร.ศ.7)
- พ.ศ. 2493 – เหรียญบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ 9 (ร.ร.ศ.9)
ปริญญากิตติมศักดิ์[12] แก้
- พ.ศ. 2531 - ปริญญาศึกษาศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยอเมริคัส เมืองนิวออร์ลีน รัฐหลุยเซียน่า สหรัฐอเมริกา
- พ.ศ. 2533 - ปริญญาบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาคหกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล
- พ.ศ. 2534 - ปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาสังคมวิทยาและมนุษยวิทยา มหาวิทยาลัยรามคำแหง
- พ.ศ. 2539 - ปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม
พงศาวลี แก้
พงศาวลีของพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสุทธสิริโสภา | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
อ้างอิง แก้
- ↑ อนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ ม.จ.ไกรสิงห์ วุฒิชัย ณ เมรุวัดธาตุทอง วันพุธ ที่ 23 มิถุนายน 2519. [ม.ป.ท.]: มงคลการพิมพ์; 2519.
- ↑ "ซอกแซกย่านขุนนาง ที่ "คลองบางหลวง"". ASTVผู้จัดการออนไลน์. 26 ตุลาคม 2547. สืบค้นเมื่อ 13 พฤษภาคม 2557.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศตั้งพระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้า เล่ม 44, 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2470, หน้า 253-254
- ↑ ขรรค์ชัย บุนปาน. ประดับไว้ในโลกา. กรุงเทพฯ : มติชน, 2544. 285 หน้า. ISBN 974-322-293-6
- ↑ "เดอะ เนชั่น "คือไทยมิใช่ทาส"". ผู้จัดการ. มีนาคม 2529. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-11-09. สืบค้นเมื่อ 14 พฤศจิกายน 2556.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ กิติวัฒนา (ไชยันต์) ปกมนตรี, หม่อมราชวงศ์. สายพระโลหิตในพระพุทธเจ้าหลวง. กรุงเทพฯ : ดีเอ็มดี, พ.ศ. 2551. 290 หน้า. ISBN 978-974-312-022-0
- ↑ "ที่ระลึก ม.ร.ว. เสาวนิต กิติยากร". midsarnbook.tarad.com. สืบค้นเมื่อ 14 พฤศจิกายน 2556.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสายสะพาย ประจำปี 2539" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 113 (ตอน 22 ข): หน้า 1. 4 ธันวาคม 2539. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2014-04-13. สืบค้นเมื่อ 2012-05-07.
- ↑ "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสายสะพาย ประจำปี 2535" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 109 (ตอนที่ 154 ง): ฉบับพิเศษ หน้า 4. 4 ธันวาคม 2535. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-09-28. สืบค้นเมื่อ 30 มิถุนายน 2556.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ฝ่ายหน้าและฝ่ายใน ประจำปี 2521" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 95 (ตอน 51 ง): ฉบับพิเศษ หน้า 10. 12 พฤษภาคม 2521. สืบค้นเมื่อ 5 ธันวาคม 2561.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 9 (เดวิด ร็อกกีเฟลเลอร์, พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสุทธสิริโสภา, พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวิมลฉัตร, ศาสตราจารย์ นายแพทย์ธาดา ชาคร)" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 113 (1 ข): หน้า 31. 22 พฤศจิกายน 2538. สืบค้นเมื่อ 20 กันยายน 2555.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ อนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงพระศพ พระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าสุทธสิริโสภา ณ พระเมรุหน้าพลับพลาอิสริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส วันเสาร์ที่ 23 พฤษภาคม 2551. มูลนิธิร่วมจิตน้อมเกล้าฯ เพื่อเยาวชน ในพระบรมราชินูปถัมภ์ จัดพิมพ์ถวาย.
- กิตติพงษ์ วิโรจน์ธรรมากูร. ย้อนรอยราชสกุลวงศ์ "วังหลวง". กรุงเทพ : สำนักพิมพ์ดอกหญ้า, พิมพ์ครั้งที่ 4 พ.ศ. 2549. 304 หน้า. หน้า หน้าที่. ISBN 974-941-205-2