พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรานนท์ธวัช

เรืออากาศเอก[1] พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรานนท์ธวัช (19 สิงหาคม พ.ศ. 2465 – 15 กันยายน พ.ศ. 2533) มีพระนามเดิมว่า หม่อมเจ้าวรานนท์ธวัช เป็นพระโอรสในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก กรมขุนเพ็ชรบูรณ์อินทราไชย และระวี จาตุรจินดา

พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรานนท์ธวัช
พระวรวงศ์เธอ ชั้น 5
พระองค์เจ้าชั้นตรี
ประสูติ19 สิงหาคม พ.ศ. 2465
จังหวัดพระนคร ประเทศสยาม
หม่อมเจ้าวรานนท์ธวัช
สิ้นพระชนม์15 กันยายน พ.ศ. 2533 (68 ปี)
กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
พระราชทานเพลิง8 ธันวาคม พ.ศ. 2533
พระเมรุ วัดเทพศิรินทราวาส
พระชายาและหม่อม
พระบุตร
ราชสกุลจุฑาธุช
ราชวงศ์จักรี
พระบิดาสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก กรมขุนเพ็ชรบูรณ์อินทราไชย
พระมารดาระวี จาตุรจินดา
ศาสนาศาสนาพุทธ
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
รับใช้ ไทย
แผนก/สังกัดกองทัพอากาศไทย
ชั้นยศ เรืออากาศเอก

พระประวัติ

แก้

พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรานนท์ธวัช เป็นพระโอรสในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก กรมขุนเพ็ชรบูรณ์อินทราไชย และระวี จาตุรจินดา (สกุลเดิม ไกยานนท์) ประสูติเมื่อวันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2465 เมื่อประสูติดำรงพระยศที่ "หม่อมเจ้าวรานนท์ธวัช" มีเชษฐภคินีต่างหม่อมมารดาหนึ่งองค์ คือ หม่อมเจ้าสุทธสิริโสภา

เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2470 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ยกหม่อมเจ้าอันเป็นพระโอรสธิดาในสมเด็จเจ้าฟ้าซึ่งพระชนนีทรงศักดิ์ชั้นสมเด็จ ซึ่งมารดามิได้เป็นเจ้าขึ้นดำรงพระยศเป็น "พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า"[2] หม่อมเจ้าสุทธสิริโสภาและหม่อมเจ้าวรานนท์ธวัช จึงมีพระยศขึ้นเป็น "พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า" พร้อมกัน

พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรานนท์ธวัช ทรงเริ่มการศึกษาที่โรงเรียนเทพศิรินทร์[3] ก่อนตามเสด็จพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวไปยังประเทศอังกฤษในปี พ.ศ. 2476 เพื่อศึกษาต่อที่โรงเรียนฮีทเมานต์ (Heath Mount) ในฮาร์ตฟอร์ดเชอร์ จากนั้นทรงศึกษาต่อที่วิทยาลัยมาร์ลโบโรห์ (Marlborough College) และวิทยาลัยมักดาเลน (Magdalene College) มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ อย่างไรก็ตาม เมื่อเกิดสงครามโลกครั้งที่สอง พระองค์ทรงลาออกจากวิทยาลัยและสมัครเข้าร่วมกองทัพอากาศสหราชอาณาจักรในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2485 เป็นนักบินเครื่องบินขับไล่ซูเปอร์มารีน สปิตไฟร์ และเข้าร่วมปฏิบัติการยกพลขึ้นบกที่นอร์ม็องดี

ในปี พ.ศ. 2488 พระองค์ทรงเป็นหนึ่งในสายลับเสรีไทยที่ได้รับภารกิจให้กระโดดร่มลงในประเทศไทย เพื่อร่วมปฏิบัติการแทรกซึมกับกองทัพอังกฤษ หลังสงครามโลกครั้งที่สอง พระองค์ยังทรงปฏิบัติหน้าที่เป็นนักบินในกองทัพอากาศสหราชอาณาจักรอีก 15 ปี ก่อนที่จะลาออกมาเป็นนักบินของการบินไทย

ในปี พ.ศ. 2508 พระองค์ทรงก่อตั้งสายการบินแอร์สยาม ซึ่งเป็นสายการบินนานาชาติที่บินระหว่างกรุงเทพมหานคร, ฮ่องกง, โตเกียว, จังหวัดฟูกูโอกะ, โฮโนลูลู และลอสแอนเจลิส อย่างไรก็ตาม สายการบินนี้เลิกกิจการในปี พ.ศ. 2520

พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรานนท์ธวัช เสกสมรสกับแพเมลา สมี เมื่อวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2493 และมีพระโอรส-ธิดา 2 คน ได้แก่ หม่อมราชวงศ์ดิลก จุฑาธุช และหม่อมราชวงศ์ดารา จุฑาธุช ต่อมาพระองค์เสกสมรสกับสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ เมื่อวันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2512 นอกจากนี้ พระองค์ยังมีความสัมพันธ์กับเจ้ากอแก้วประกายกาวิล ณ เชียงใหม่ และศรีไศล สุชาตวุฒิ

พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรานนท์ธวัช สิ้นพระชนม์ด้วยอาการติดเชื้อในกระแสพระโลหิต เมื่อวันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2533 สิริพระชันษา 68 ปี และมีการพระราชทานเพลิงพระศพเมื่อวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2533 ณ พระเมรุ วัดเทพศิรินทราวาสราชวรวิหาร

พระเกียรติยศ

แก้

พระอิสริยยศ

แก้
  • หม่อมเจ้าวรานนท์ธวัช (19 สิงหาคม พ.ศ. 2465 — 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2470)
  • พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรานนท์ธวัช (8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2470 — 15 กันยายน พ.ศ. 2533)

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

แก้

พงศาวลี

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหาร
  2. "ประกาศตั้งพระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้า" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 44 (0ก): 253. 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2470. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  3. "หอเกียรติยศนักเรียนเก่า". สมาคมศิษย์เก่าโรงเรียนเทพศิรินทร์ ในพระบรมราชูปถัมภ์. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-07-25. สืบค้นเมื่อ 28 ตุลาคม 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  4. ราชกิจจานุเบกษา, [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2473/D/3078.PDF
  • กิตติพงษ์ วิโรจน์ธรรมากูร, ย้อนรอยราชสกุลวงศ์ วังหลวง, 2545