การยกพลขึ้นบกที่นอร์ม็องดี

"ดีเดย์" เปลี่ยนทางมาที่นี่ บทความนี้เกี่ยวกับการบุกครองนอร์ม็องดีวันแรก ปฏิบัติการต่อ ๆ มาเขียนไว้ที่ การบุกครองนอร์ม็องดี สำหรับการใช้ดีเดย์เป็นศัพท์ทหารทั่วไป ดูที่ ดีเดย์ (ศัพท์ทหาร)

การยกพลขึ้นบกที่นอร์ม็องดี หรือชื่อรหัสว่า ปฏิบัติการเนปจูน เป็นปฏิบัติการยกพลขึ้นบกเมื่อวันที่ 6 มิถุนายน ค.ศ. 1944 (เรียก ดีเดย์) ของการบุกครองนอร์ม็องดีของฝ่ายสัมพันธมิตรในปฏิบัติการโอเวอร์ลอร์ดระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง เป็นการบุกครองส่งทางทะเลที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ นับเป็นการเริ่มต้นการบุกครองยุโรปตะวันตกซึ่งถูกนาซีเยอรมนียึดครอง นำไปสู่การฟื้นฟูสาธารณรัฐฝรั่งเศส และมีส่วนต่อชัยชนะของฝ่ายสัมพันธมิตรในสงคราม

การยกพลขึ้นบกที่นอร์ม็องดี
ส่วนหนึ่งของ ปฏิบัติการโอเวอร์ลอร์ด, ยุทธการที่นอร์ม็องดี
Into the Jaws of Death 23-0455M edit.jpg
ทหารบกสหรัฐลุยขึ้นฝั่งบนหาดโอมาฮา เช้าวันที่ 6 มิถุนายน 1944
สถานที่นอร์ม็องดี ประเทศฝรั่งเศส
ผล ฝ่ายสัมพันธมิตรชนะอย่างขาดลอย[8]
ดินแดน
เปลี่ยนแปลง
สถาปนาหัวหาดฝ่ายสัมพันธมิตรห้าแห่งในนอร์ม็องดี
คู่สงคราม
 ไรช์เยอรมัน[7]
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ
กำลัง
156,000[a] 50,350+[9]
ความสูญเสีย
กำลังพลสูญเสียอย่างน้อย ~12,000 นาย; ยืนยันเสียชีวิต 4,414 นาย[b] กำลังพลสูญเสีย 4,000–9,000 นาย[10]

เริ่มการวางแผนปฏิบัติการใน ค.ศ. 1943 หลายเดือนก่อนการบุกครอง ฝ่ายสัมพันธมิตรดำเนินการลวงทางทหารอย่างมาก ชื่อรหัสว่า ปฏิบัติการบอดีการ์ด เพื่อลวงฝ่ายเยอรมนีให้เข้าใจผิดในวันที่และสถานที่การยกพลขึ้นบกหลักของฝ่ายสัมพันธมิตร ลมฟ้าอากาศในดีเดย์นั้นห่างไกลจากอุดมคติ แต่การเลื่อนออกไปจะหมายถึงความล่าช้าอย่างน้อยสองสัปดาห์ เพราะนักวางแผนการบุกครองตั้งเงื่อนไขเกี่ยวกับเฟสของดวงจันทร์ น้ำขึ้นลง และเวลาของวันซึ่งหมายความว่า มีไม่กี่วันในแต่ละเดือนเท่านั้นที่พิจารณาว่าเหมาะสม ฮิตเลอร์ตั้งจอมพล เออร์วิน รอมเมล ของเยอรมนีให้บังคับบัญชากองทัพเยอรมันและพัฒนาป้อมสนามตามกำแพงแห่งแอตแลนติกคอยการบุกครองของฝ่ายสัมพันธมิตร

มีการระดมทิ้งระเบิดทางอากาศและทะเล ตลอดจนการโจมตีส่งทางอากาศอย่างกว้างขวางก่อนการยกพลขึ้นบกสะเทินน้ำสะเทินบก ทหารส่งทางอากาศอังกฤษ อเมริกันและแคนาดา 21,000 นายลงสู่พื้นดินไม่นานหลังเที่ยงคืน กองพลทหารราบและยานเกราะฝ่ายสัมพันธมิตรเริ่มยกพลขึ้นบกตามชายฝั่งฝรั่งเศสเริ่มตั้งแต่ 6.30 น. ชายฝั่งนอร์ม็องดีเป้าหมายยาว 80 กิโลเมตรถูกแบ่งเป็นห้าส่วน ได้แก่ อ่าวยูทาห์, โอมาฮา โกลด์ จูโนและซอร์ด ลมแรงพัดพาหนะลำเลียงไปทางตะวันออกของตำแหน่งที่คาดหมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่ยูทาห์และโอมาฮา ทหารที่ยกพลขึ้นบกถูกระดมยิงอย่างหนักจากที่ตั้งกำบังที่มองลงมาเห็นชายหาด และชายฝั่งถูกวางทุ่นระเบิดและเต็มไปด้วยสิ่งกีดขวางอย่างหลักไม้ แท่นสามขาโลหะและลวดหนาม ทำให้งานของทีมเก็บกวาดชายหาดยากและอันตราย กำลังพลสูญเสียหนักที่สุดที่โอมาฮา เพราะมีหน้าผาสูง ที่โกลด์ จูโนและซอร์ด หลายเมืองที่มีการป้องกันถูกกวาดล้างในการต่อสู้แบบบ้านต่อบ้าน และที่ตั้งปืนใหญ่หลักสองแห่งที่โกลด์ถูกรถถังพิเศษทำลาย

ฝ่ายสัมพันธมิตรไม่บรรลุเป้าหมายทั้งหมดในวันแรก คารองตอง แซ็ง-โลและบาโยยังอยู่ในการควบคุมของเยอรมนี และกว่าจะยึดก็องอันเป็นวัตถุประสงค์หลักได้ก็เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม ในวันแรก มีเพียงสองหาด (จูโนและโกลด์) เท่านั้นที่เชื่อมถึงกัน และหัวสะพานทั้งห้าเชื่อมกันเมื่อวันที่ 12 มิถุนายน ทว่า ปฏิบัติการทำให้ได้ที่มั่นซึ่งฝ่ายสัมพันธมิตรค่อย ๆ ขยายในหลายเดือนต่อมา กำลังพลสูญเสียฝ่ายเยอรมันในดีเดย์อยู่ที่ราว 1หมื่นกว่านาย กำลังพลสูญเสียฝ่ายสัมพันธมิตรอยู่ที่อย่างน้อย 12,000 นาย โดยมีผู้เสียชีวิตที่ได้รับยืนยัน 4,414 นาย พิพิธภัณฑ์ อนุสรณ์สถานและสุสานสงครามในพื้นที่เป็นที่เยี่ยมชมของนักท่องเที่ยวจำนวนมากในแต่ละปี

เชิงอรรถแก้ไข

  1. ประวัติศาสตร์อังกฤษทางการให้ตัวเลขประเมินทหารที่ยกพลขึ้นบกในดีเดย์ไว้ 156,115 นาย ประกอบด้วยทหารอเมริกัน 57,500 นาย และอังกฤษและแคนาดา 75,215 นายจากทะเล และทหารอเมริกัน 15,500 นายและอังกฤษ 7,900 นายจากอากาศ Ellis, Allen & Warhurst 2004, pp. 521–533
  2. การประเมินกำลังพลสูญเสียฝ่ายสัมพันธมิตรเดิมอยู่ที่รวม 10,000 นาย ในจำนวนนี้เสียชีวิต 2,500 นาย การวิจัยที่กำลังดำเนินการโดยอนุสรณ์สถานดีเดย์แห่งชาติยืนยันผู้เสียชีวิตที่ 4,414 นาย เป็นทหารอเมริกัน 2,499 นาย และ 1,915 นายจากชาติอื่น Whitmarsh 2009, p. 87

อ้างอิงแก้ไข

บรรณานุกรมแก้ไข

  • Beevor, Antony (2009). D-Day: The Battle for Normandy. New York; Toronto: Viking. ISBN 978-0-670-02119-2. {{cite book}}: |ref=harv ไม่ถูกต้อง (help)
  • Ellis, L.F.; Allen, G.R.G.; Warhurst, A.E. (2004) [1962]. Butler, J.R.M (บ.ก.). Victory in the West, Volume I: The Battle of Normandy. History of the Second World War United Kingdom Military Series. London: Naval & Military Press. ISBN 1-84574-058-0. {{cite book}}: |ref=harv ไม่ถูกต้อง (help)
  • Ford, Ken; Zaloga, Steven J. (2009). Overlord: The D-Day Landings. Oxford; New York: Osprey. ISBN 978-1-84603-424-4. {{cite book}}: |ref=harv ไม่ถูกต้อง (help)
  • "D-Day and the Battle of Normandy: Your Questions Answered". Portsmouth Museum Services. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-06-21. สืบค้นเมื่อ 18 April 2014.
  • US Department of the Navy, Naval History and Heritage Command. "D-Day, the Normandy Invasion, 6 – 25 June 1944". Frequently asked questions. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-11-24. สืบค้นเมื่อ 29 April 2014.
  • Whitmarsh, Andrew (2009). D-Day in Photographs. Stroud: History Press. ISBN 978-0-7524-5095-7. {{cite book}}: |ref=harv ไม่ถูกต้อง (help)
  • Williams, Jeffery (1988). The Long Left Flank: The Hard Fought Way to the Reich, 1944–1945. Toronto: Stoddart. ISBN 0-7737-2194-0. {{cite book}}: |ref=harv ไม่ถูกต้อง (help)

แหล่งข้อมูลอื่นแก้ไข

พิกัดภูมิศาสตร์: 49°20′N 0°34′W / 49.333°N 0.567°W / 49.333; -0.567