แอร์วีน ร็อมเมิล

จอมพลเยอรมันในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง
(เปลี่ยนทางจาก เออร์วิน รอมเมล)

โยฮันเนิส แอร์วีน อ็อยเกน ร็อมเมิล (เยอรมัน: Johannes Erwin Eugen Rommel) เป็นนายพลและนักทฤษฏีทางทหารชาวเยอรมัน เป็นที่รู้จักกันในสมญานามของเขาคือ จิ้งจอกทะเลทราย เขาได้ดำรงตำแหน่งเป็นจอมพลในแวร์มัคท์(กองทัพ) ของนาซีเยอรมนีในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง เช่นเดียวกับการรับใช้ในไรชส์แวร์แห่งสาธารณรัฐไวมาร์และกองทัพบกของจักรวรรดิเยอรมัน

แอร์วีน ร็อมเมิล
ร็อมเมิลในปี 1942
ชื่อเล่น"จิ้งจอกทะเลทราย"
เกิด15 พฤศจิกายน ค.ศ. 1891(1891-11-15)
ไฮเดินไฮม์ ราชอาณาจักรเวือร์ทเทิมแบร์ค จักรวรรดิเยอรมัน
เสียชีวิต14 ตุลาคม ค.ศ. 1944(1944-10-14) (52 ปี)
แฮร์ลิงเงิน นาซีเยอรมนี
รับใช้ เยอรมนี (ถึง 1918)  เยอรมนี (ถึง 1933)
 ไรช์เยอรมัน (ถึง 1944)
แผนก/สังกัด กองทัพบกจักรวรรดิเยอรมัน  ไรชส์แฮร์
 กองทัพบกเยอรมัน
ประจำการ1911–1944
ชั้นยศ จอมพล (Generalfeldmarschall)
บังคับบัญชา
การยุทธ์สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง
สงครามโลกครั้งที่สอง
คู่สมรสLucia Maria Mollin (สมรส 1916)
บุตร
ลายมือชื่อ

ประวัติ

แก้

ช่วงต้น

แก้

แอร์วีนเกิดในเมืองไฮเดินไฮม์ ราชอาณาจักรเวือร์ทเทิมแบร์ค ส่วนหนึ่งของจักรวรรดิเยอรมัน เป็นบุตรคนที่สามในจำนวนห้าคนของครอบครัว บิดาเป็นสมาชิกสภาท้องถิ่นและเป็นอดีตทหารปืนใหญ่ เมื่ออายุได้ 18 ปี เขาบรรจุเป็นร้อยตรีในกองทัพเวือร์ทเทิมแบร์คในปี 1910 และเรียนโรงเรียนนายร้อยนครดันท์ซิช เขาจบการศึกษาในปี 1911 และได้รับบรรจุเป็นร้อยโทในกองทัพบกจักรวรรดิในต้นปี 1912[1]

อาชีพทหาร

แก้

ร็อมเมิลเป็นนายทหารที่ได้รับการเชิดชูเกียรติขั้นสูงในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง เขาได้รับอิสริยาภรณ์พัวร์เลอเมรีทจากการปฏิบัติหน้าที่ในแนวรบอิตาลี ในปี 1937 เขาตีพิมพ์หนังสือเรื่อง ทหารราบจู่โจม (Infanterie greift an) ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับหลักยุทธวิธีและประสบการณ์ของเขาในสงคราม ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง เขาได้เป็นผู้บัญชาการกองพลยานเกราะที่ 7 สมญา "กองพลผี"[2] ในยุทธการที่ฝรั่งเศส ซึ่งในครั้งนี้เอง เขาและพลเอกกูเดรีอันตัดสินใจฝ่าฝืนคำสั่งของหน่วยเหนือที่ให้หยุดรอทหารราบมาสมทบ ร็อมเมิลนำกองยานเกราะข้ามแม่น้ำเมิซบุกทะลวงแนวรบของฝรั่งเศสต่อทันทีเพื่อไม่ให้เสียจังหวะบลิทซ์ครีค โดยมีกองพลยานเกราะของกูเดรีอันตามมาติดๆ การตัดสินใจบุกต่อของทั้งสองคนเป็นเหตุผลสำคัญที่สร้างความได้เปรียบแก่เยอรมัน

ร็อมเมิลถูกส่งตัวไปเป็นผู้บัญชาการทหารในการทัพแอฟริกาเหนือ เขาได้แสดงฝีมือและได้รับการยอมรับนับถือเป็นผู้บัญชาการรถถังที่เก่งกาจที่สุดในช่วงสงครามและได้รับสมญา "จิ้งจอกทะเลทราย" แม้แต่ศัตรูอย่างผู้บัญชาการทหารชาวบริติชก็ยังยกย่องเขาเป็นอัศวิน ร็อมเมิลเคยอธิบายการทัพแอฟริกาเหนือไว้ว่าเป็น "สมรภูมิปราศความเกลียดชัง"[3] ร็อมเมิลได้รับยศจอมพลเมื่อ 22 มิถุนายน 1942 หลังได้รับชัยชนะในยุทธการที่กาซาลาในประเทศลิเบีย[4] ต่อมาเขาได้เป็นผู้บัญชาการกลุ่มทัพ B ประจำการในอิตาลี ต่อมาหน่วยนี้ถูกสั่งการไปต้านการยกพลข้ามช่องแคบเพื่อขึ้นบกที่นอร์ม็องดีของฝ่ายสัมพันธมิตรในเดือนมิถุนายน 1944

จุดยืนทางการเมืองและการเสียชีวิต

แก้

ทหารส่วนใหญ่ในกองทัพรวมทั้งตัวร็อมเมิลล้วนยินดีต่อการเถลิงอำนาจของฮิตเลอร์และพรรคนาซี[5][6] พวกเขาเชื่อว่าเยอรมนีต้องการระบอบการปกครองที่มั่นคงและเด็ดขาด อย่างไรก็ตาม ร็อมเมิลไม่เคยเป็นสมาชิกพรรคนาซี[7] และไม่เห็นด้วยกับการต่อต้านยิวและอุดมการณ์นาซี นักวิชาการยังคงถกเถียงกันว่าร็อมเมิลมีส่วนรับรู้ต่อเหตุการณ์ฮอโลคอสต์มากน้อยเพียงใด[8][9][10][11][12] ร็อมเมิลเคยสร้างความตะลึงใจแก่ฮิตเลอร์ในปี 1943 ด้วยข้อเสนอให้แต่งตั้งชาวยิวดำรงตำแหน่งเกาไลเทอร์ เพื่อพิสูจน์ความบริสุทธ์ต่อประชาคมโลกและแก้ต่างให้พ้นจากข้อกล่าวหาของพวกอังกฤษที่ว่าเยอรมนีปฏิบัติไม่ดีต่อชาวยิว แต่ฮิตเลอร์ตอบกลับเขาว่า "ร็อมเมิลที่รัก คุณไม่เข้าใจความคิดผมเลย"[12][13]

นักประวัติศาสตร์หลายคนระบุว่าร็อมเมิลเป็นนายพลสุดโปรดคนหนึ่งของฮิตเลอร์ และความสัมพันธ์อันใกล้ชิดนี้ทำให้เขาได้รับประโยชน์ในอาชีพการงาน[14][15][6]ความโน้มเอียงทางการเมืองของร็อมเมิลนั้นเป็นหัวข้อถกเถียงกันอยู่แม้แต่ในหมู่นาซีร่วมสมัย ร็อมเมิลเองเห็นชอบกับบางแง่มุมของอุดมการณ์นาซี[16] และนิยมโฆษณาชวนเชื่อที่นาซีสร้างขึ้นเกี่ยวกับเขา แต่ก็รู้สึกโกรธที่โฆษณานั้นพรรณนาว่าเขาเป็นสมาชิกพรรคนาซีคนแรก ๆ และเป็นบุตรช่างหิน ทำให้ต้องแก้ไขโฆษณา[17][18]

สำหรับแผนลับเพื่อสังหารฮิตเลอร์ในปี 1944 นั้น ไม่ชัดเจนว่าเขามีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรงหรือไม่ มีผู้ก่อการให้การปรักปรำเขา แต่เนื่องจากร็อมเมิลมีสถานะเป็นวีรบุรุษของชาติ ฮิตเลอร์จึงไม่อาจลงโทษเขาอย่างโจ่งแจ้งได้ ร็อมเมิลได้รับข้อเสนอสามข้อจากพลโทบวร์คดอร์ฟ ทางเลือกหนึ่ง; ไปแก้ตัวต่อฮิตเลอร์ด้วยตนเองที่กรุงเบอร์ลิน ทางเลือกสอง; เข้ารับการพิจารณาคดีในชั้นศาลและถูกพิพากษาประหารชีวิต ทางเลือกสาม; ปลิดชีพตัวเองแลกกับการดำรงเกียรติยศและสิทธิทุกอย่าง ครอบครัวจะไม่ถูกลงโทษและได้รับบำนาญตามปกติ ร็อมเมิลเลือกทางเลือกสุดท้าย เขาฆ่าตัวตายโดยการกัดแคปซูลไซยาไนด์[19] ฮิตเลอร์จัดรัฐพิธีศพให้ร็อมเมิลอย่างสมเกียรติ กองทัพประกาศว่าเขาถูกเครื่องบินข้าศึกยิงกราดขณะโดยสารรถยนต์ทหารประจำตัวในนอร์ม็องดี

วีรตำนาน

แก้

ร็อมเมิลได้รับกิตติศัพท์ว่าเป็นผู้บัญชาการที่มีมนุษยธรรมสูงและนายทหารมืออาชีพ กองทัพน้อยแอฟริกาภายใต้บัญชาของเขาไม่เคยถูกกล่าวหาว่าก่ออาชญากรรมสงครามเลย ทหารที่ตกเป็นเชลยระหว่างการทัพแอฟริกาของร็อมเมิลได้ให้การว่าได้รับการปฏิบัติอย่างมีมนุษยธรรมด้วยการแบ่งส่วนอาหารที่เท่ากับทหารเยอรมัน เพราะร็อมเมิลคิดว่านักโทษควรได้รับสิทธิ์เท่าเทียบกับพลเรือนเยอรมัน ทหารเยอรมันที่ประจำการที่แอฟริกาเล่าว่า ขณะที่รถของร็อมเมิลติดทราย ร็อมเมิลยังลงมาช่วยทหาร ยิ่งไปกว่านั้น ร็อมเมิลยังปฏิเสธคำสั่งฆ่าคอมมานโด ทหาร และพลเรือนชาวยิวในทุกเขตสงครามใต้บังคับของเขา ร็อมเมิลไม่เคยเกณฑ์พลเรือนมาช่วยงานเขาฟรีๆ เขาจะมีค่าจ้างให้เสมอ[20]

วินสตัน เชอร์ชิล เคยกล่าวต่อรัฐสภาอังกฤษว่าร็อมเมิลเป็น "คู่ปรับที่ชาญฉลาดและใจกล้าพิสดาร" และเป็น "แม่ทัพบกผู้ยิ่งใหญ่"[21][22] ภายหลังสงครามสิ้นสุด ฝ่ายสัมพันธมิตรตะวันตกโดยเฉพาะอังกฤษได้ยกย่องร็อมเมิลเป็น "คนดีเยอรมัน" และเป็น "สหายร็อมเมิล" ชื่อของเขาถูกนำไปตั้งให้ฐานทัพบกที่ใหญ่ที่สุดของเยอรมนีหลังสงคราม นั่นคือค่ายจอมพลร็อมเมิล (Generalfeldmarschall-Rommel-Kaserne) ในเมืองเอากุสท์ดอร์ฟ รัฐนอร์ทไรน์-เว็สท์ฟาเลิน

เกียรติยศ

แก้
 
พลเอกอาวุโสแอร์วีน ร็อมเมิล ในแอฟริกาเหนือ มิ.ย. 1942

อิสริยาภรณ์เยอรมัน

แก้

ยศทหาร

แก้
  • กรกฎาคม 1910: นักเรียนทำการนายร้อย (Fähnrich)
  • มกราคม 1912 : ร้อยตรี (Leutnant)
  • กันยายน 1915 : ร้อยโท (Oberleutnant)
  • มกราคม 1918 : ร้อยเอก (Hauptman)
  • เมษายน 1932 : พันตรี (Major)
  • มกราคม 1935 : พันโท (Oberstleutnant)
  • ตุลาคม 1937 : พันเอก (Oberst)
  • สิงหาคม 1939 : พลตรี (Generalmajor)
  • มกราคม 1941 : พลโท (Generalleutnant)
  • กรกฎาคม 1941 : พลเอกทหารยานเกราะ (General der Panzertruppe)
  • กุมภาพันธ์ 1942 : พลเอกอาวุโส (Generaloberst)
  • กรกฎาคม 1942 : จอมพล (Generalfeldmarschall)

อ้างอิง

แก้
  1. Butler 2015, pp. 30–31.
  2. David, Saul (1994). Churchill's sacrifice of the Highland Division. France 1940. London: Brassey's (UK) Ltd. p. 42. ISBN 978-1857533781.
  3. Bierman, John; Smith, Colin (2004). War Without Hate: The Desert Campaign of 1940–43. Penguin Books. ISBN 978-0142003947.
  4. Breuer 2002, p. 131.
  5. Naumann 2009, p. 190.
  6. 6.0 6.1 Watson 1999, p. 158.
  7. Butler 2015, p. 138.
  8. Remy 2002, pp. 28, 355, 361.
  9. Scheck 2010.
  10. Butler 2015, pp. 18, 122, 139, 147.
  11. Hart 2014, pp. 128–52.
  12. 12.0 12.1 Von Fleischhauer & Friedmann 2012.
  13. "Der Mann wusste, dass der Krieg verloren ist". Frankfurter Allgemeine (ภาษาเยอรมัน). 3 November 2012. สืบค้นเมื่อ 15 June 2016.
  14. Zabecki 2016.
  15. Reuth 2005, p. 54.
  16. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Rommel ist und bleibt ein Mythos
  17. Butler 2015, p. 240.
  18. Seewald, Berthold (21 December 2008). "Erwin Rommel, Held der 'sauberen Wehrmacht'". Die Welt. สืบค้นเมื่อ 15 June 2016.
  19. Martin, Douglas (9 November 2013). "Manfred Rommel, Son of German Field Marshal, Dies at 84". The New York Times.
  20. AT ROMMEL'S SIDE: The Lost Letters of Hans-Joachim Schraepler Publisher: Frontline Books (September 2009) Language: English ISBN 1-84832-538-X ISBN 978-1-84832-538-8
  21. Watson 1999, pp. 166–167.
  22. Reuth 2005, pp. 141–143.
ก่อนหน้า แอร์วีน ร็อมเมิล ถัดไป
ไม่มี   ผู้บัญชาการกลุ่มทัพแอฟริกา
(15 สิงหาคม 1941 – 9 มีนาคม 1943)
  พลเอกอาวุโส ฮันส์-เยือร์เกิน ฟ็อน อาร์นิม
จอมพล มัคซีมีลีอาน ฟ็อน ไวชส์   ผู้บัญชาการกลุ่มทัพ B
(15 กรกฎาคม 1943 – 19 กรกฎาคม 1944)
  จอมพล กึนเทอร์ ฟ็อน คลูเกอ