ฮันส์-เยือร์เกิน ฟ็อน อาร์นิม

พลเอกอาวุโส ฮันส์-เยือร์เกิน ฟ็อน อาร์นิม (เยอรมัน: Hans-Jürgen von Arnim) เป็นนายทหารบกเยอรมัน เป็นผู้บัญชาการหน่วยยานเกราะของนาซีเยอรมนีในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง

ฮันส์-เยือร์เกิน ฟ็อน อาร์นิม
เกิด4 เมษายน ค.ศ. 1889(1889-04-04)
แอนส์ดอร์ฟ มณฑลไซลีเซีย จักรวรรดิเยอรมัน
เสียชีวิต1 กันยายน ค.ศ. 1962(1962-09-01) (73 ปี)
บาทวิลดุงเงิน เยอรมนีตะวันตก
รับใช้
แผนก/สังกัดกองทัพบก
ประจำการค.ศ. 1907–1943
ชั้นยศ พลเอกอาวุโส
การยุทธ์สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง
สงครามโลกครั้งที่สอง
บำเหน็จกางเขนอัศวินแห่งกางเขนเหล็ก

ประวัติ แก้

อาร์นิมเข้าร่วมกองทัพจักรวรรดิเยอรมันใน ค.ศ. 1907 และมีส่วนร่วมในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ภายหลังสงคราม เขายังคงปฏิบัติหน้าที่ในไรชส์แวร์และแวร์มัคท์ ต่อมาในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง เขาได้บัญชากองพลทหารราบที่ 52 (52. Infanterie-Division) ในการบุกครองโปแลนด์และยุทธการที่ฝรั่งเศส และในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1940 เขาได้รับตำแหน่งผู้บัญชาการกองพลยานเกราะที่ 17 (17. Panzer-Division)

พลโทอาร์นิมนำกองพลยานเกราะที่ 17 เข้าร่วมในปฏิบัติการบาร์บาร็อสซาเพื่อรุกรานสหภาพโซเวียต ต่อมาในวันที่ 1 ตุลาคม ค.ศ. 1941 พลเอกอาร์นิมได้เป็นผู้บัญชาการกองพลน้อยยานเกราะที่ 39 (XXXIX.Panzerkorps) และได้รับยศพลเอกอาวุโสในเดือนธันวาคม ค.ศ. 1942 ต่อมาในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1943 ได้รับแต่งตั้งเป็นผู้บัญชาการกองทัพยานเกราะที่ 5 (5. Panzerarmee) ในบัญชาของจอมพลแอร์วีน ร็อมเมิล บนทวีปแอฟริกาเหนือ

พลเอกอาวุโสอาร์นิมขึ้นรับตำแหน่งผู้บัญชาการกลุ่มทัพแอฟริกาต่อจากจอมพลร็อมเมิลในวันที่ 10 มีนาคม ค.ศ. 1943 เขายอมจำนนต่อกองทัพต่างแดนบริติชในวันที่ 12 พฤษภาคมปีเดียวกัน จากผลของปฏิบัติการวูลคานของฝ่ายสัมพันธมิตร[1] อาร์นิมพร้อมนายพลเยอรมันอีก 24 คนถูกกักกันตัวที่ค่ายคลินตันในรัฐมิสซิสซิปปี สหรัฐอเมริกา[2] และได้รับการปล่อยตัวในวันที่ 1 กรกฎาคม ค.ศ. 1947[3]

อ้างอิง แก้

  1. I Was There! - How Von Arnim Surrendered at Last เก็บถาวร 2009-01-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, The War Illustrated, June 11, 1943.
  2. "German POW Camp in Clinton MS. Mostly Afrika Corps". kilroywashere.org.
  3. MacDonogh 2007, p. 410.
ก่อนหน้า ฮันส์-เยือร์เกิน ฟ็อน อาร์นิม ถัดไป
จอมพล แอร์วีน ร็อมเมิล   ผู้บัญชาการกลุ่มทัพแอฟริกา
(10 มีนาคม 1943 – 13 พฤษภาคม 1943)
  ไม่มี
(ยอมจำนน)