พรรคกรรมกรชาติสังคมนิยมเยอรมัน
พรรคนาซี (อังกฤษ: Nazi Party) มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า พรรคกรรมกรชาติสังคมนิยมเยอรมัน[2] (เยอรมัน: Nationalsozialistische Deutsche Arbeiterpartei, ย่อ: NSDAP) เป็นพรรคการเมืองฝ่ายขวาจัด[3][4] ซึ่งดำรงคงอยู่ในประเทศเยอรมนี ระหว่างปี ค.ศ. 1920 และ ค.ศ. 1945 ซึ่งได้สร้างและให้การสนับสนุนอุดมการณ์ชาติสังคมนิยม เดิมคือพรรคกรรมกรเยอรมัน ซึ่งดำรงคงอยู่ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1919 ถึง 1920 พรรคนาซีเกิดขึ้นมาจากชาวเยอรมันที่เป็นนักชาติสังคมนิยม ผู้เหยียดเชื้อชาติ และวัฒนธรรมจากกองกำลังกึ่งทหารไฟรคอร์ที่เป็นประชานิยม ซึ่งได้ต่อสู้กับการก่อการกำเริบของฝ่ายคอมมิวนิสต์ในเยอรมนี ในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง[5] พรรคนี้ได้ถูกสร้างขึ้นเพื่อดึงพวกกรรมกรออกจากลัทธิคอมมิวนิสต์และเข้าสู่ลัทธิชาตินิยมแบบ völkisch[6] ในช่วงแรก กลยุทธ์ทางการเมืองของนาซีได้มุ่งเป้าไปที่การต่อต้านธุรกิจขนาดใหญ่ ต่อต้านชนชั้นกลาง และวาทศิลป์ต่อต้านทุนนิยม แม้ว่าสิ่งเหล่านี้จะถูกมองข้ามไปในภายหลังเพื่อให้ได้รับการสนับสนุนจากผู้นำทางธุรกิจ และในปี ค.ศ. 1930 จุดสนใจหลักของพรรคได้เปลี่ยนไปเป็นการต่อต้านชาวยิว และต่อต้านลัทธิมาร์กซิสต์[7]
พรรคกรรมกรชาติสังคมนิยมเยอรมัน Nationalsozialistische Deutsche Arbeiterpartei | |
---|---|
ฟือเรอร์ | อันโทน เดร็คส์เลอร์ (1920–1921) อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ (1921–1945) มาร์ติน บอร์มันน์ (1945) |
ผู้ก่อตั้ง | อันโทน เดร็คส์เลอร์ |
คำขวัญ | "Ein Volk, ein Reich, ein Führer" ("หนึ่งชน, หนึ่งไรช์, หนึ่งฟือเรอร์") (ไม่เป็นทางการ) |
ก่อตั้ง | 24 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1920 |
ถูกยุบ | 10 ตุลาคม ค.ศ. 1945 |
ก่อนหน้า | พรรคกรรมกรเยอรมัน |
ที่ทำการ | ทำเนียบน้ำตาล มิวนิก เยอรมนี |
หนังสือพิมพ์ | เฟิลคีเชอร์เบโอบัคเทอร์ |
ฝ่ายนักเรียนนักศึกษา | สันนิบาตนักเรียนชาติสังคมนิยมเยอรมัน |
ฝ่ายเยาวชน | ยุวชนฮิตเลอร์ |
ฝ่ายทหาร | ชตวร์มอัพไทลุง ชุทซ์ชตัฟเฟิล |
ส่วนกีฬา | สันนิบาติชาติสังคมนิยมแห่งไรซ์สำหรับการออกกำลังทางกายภาพ |
ฝ่ายสตรี | สันนิบาตสตรีชาติสังคมนิยม |
สมาชิกภาพ | น้อยกว่า 60 คน (1920) 8.5 ล้านคน (1945) |
อุดมการณ์ | นาซี |
จุดยืน | ขวาจัด |
สี | สีดำ, สีขาว, สีแดง[1] สีน้ำตาล |
เพลง | "เพลงฮอสท์เว็สเซิลลีท" |
ธงประจำพรรค | |
การเมืองเยอรมนี รายชื่อพรรคการเมือง การเลือกตั้ง |
ทฤษฏีการเหยียดเชื้อชาติอันเป็นศูนย์กลางของลัทธิชาติสังคมนิยม ถูกแสดงออกผ่านแนวคิดที่ชื่อว่า "ประชาชุมชน" (Volksgemeinschaft)[8] พรรคได้มีจุดมุ่งหมายเพื่อรวบรวมชาวเยอรมันที่"เป็นที่พึงปรารถนาทางเชื้อชาติ" เป็นสหายร่วมชาติ ในขณะที่มีการยกเว้นผู้ที่ถูกพิจารณาว่า เป็นผู้คัดค้านทางการเมือง ผู้บกพร่องทางร่างกายหรือสติปัญญา หรือเชื้อสายต่างชาติ (Fremdvölkische)[9] นาซีได้พยายามที่จะสร้างความเข้มแข็งให้กับชาวเจอร์แมนิก ซึ่งเป็น"ชาวอารยันที่เป็นชนชาติปกครอง" ผ่านทางความบริสุทธิ์ทางเชื้อชาติและสุพันธุศาสตร์ โครงการสวัสดิการทางสังคมในวงกว้าง และการอยู่ภายใต้การบังคับบัญชาโดยรวมของสิทธิส่วนบุคคล ซึ่งสามารถเสียสละเพื่อประโยชน์ของรัฐในนามของประชาชน เพื่อปกป้องความบริสุทธิ์และความแข็งแกร่งของเชื้อสายอารยัน นาซีได้พยายามกำจัดชาวยิว ชาวโรมานี ชาวโปล และชาวสลาฟอื่น ๆ เป็นส่วนใหญ่ พร้อมกับผู้พิการทางร่างกายและทางจิตใจ พวกเขาได้ระงับสิทธิและแบ่งแยกพวกรักร่วมเพศ ชาวแอฟริกัน พยานพระยะโฮวา และฝ่ายตรงข้ามทางการเมือง[10] การประหัตประหารได้มาถึงจุดสูงสุด เมื่อรัฐเยอรมันที่ถูกควบคุมโดยพรรคได้กำหนดแนวทางมาตรการสุดท้าย - ระบบอุตสาหกรรมของการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ซึ่งสามารถสังหารชาวยิวได้ราว 6 ล้านคน และเหยื่อเป้าหมายอื่น ๆ อีกนับล้าน ซึ่งในสิ่งที่เรียกกันว่า ฮอโลคอสต์[11]
อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ ผู้นำพรรค ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นนายกรัฐมนตรีเยอรมนีโดยประธานาธิบดีเพาล์ ฟ็อน ฮินเดินบวร์ค เมื่อวันที่ 30 มกราคม ค.ศ. 1933 ฮิตเลอร์ได้จัดตั้งระบอบเผด็จการขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งถูกเรียกว่า ไรช์ที่สาม[12][13][14][15] ภายหลังความปราชัยของไรช์ที่สามในช่วงท้ายของสงครามโลกครั้งที่สองในยุโรป พรรคนี้ได้ถูก"ประกาศว่าผิดกฎหมาย" โดยฝ่ายสัมพันธมิตร ที่ได้ดำเนินการขจัดนาซีในช่วงปีหลังสงคราม ทั้งในเยอรมนีและดินแดนที่ถูกยึดครองโดยเยอรมนี การใช้สัญลักษณ์ใด ๆ ที่เกี่ยวข้องกับพรรค ถือเป็นสิ่งผิดกฎหมายในหลายประเทศในยุโรป รวมทั้งเยอรมนีและออสเตรีย
ศัพทมูลวิทยา
แก้คำว่า "นาซี" เป็นคำที่ถูกกร่อนเสียงมาจากชื่อในภาษาเยอรมันของพรรค นาซีโอนาลโซซีอาลิสท์ (Nationalsozialist "ชาติสังคมนิยม") [16] คำย่อนี้ถูกใช้ก่อนการเถลิงอำนาจของพรรค ซึ่งในภาษาพูดไปพ้องเสียงกับคำว่า "นาซี" ที่มีความหมายในเชิงเสื่อมเสียสำหรับชาวชนบทที่ล้าหลังหรือมีความหมายว่าเงอะงะ[17][18] และนั่นเองทำให้ฮิตเลอร์ไม่ชอบชื่อนาซีเอาซะเลย[18][19] แต่ฝ่ายตรงข้ามกับฮิตเลอร์ก็ยังคงใช้คำว่านาซีเพื่อเป็นการก่อกวนอยู่เรื่อยๆ
ในปี ค.ศ. 1933 เมื่อฮิตเลอร์เถลิงอำนาจ การใช้คำว่า "นาซี" ได้เบาบางลงมากในเยอรมนี ประชาชนเยอรมันกล่าวถึงพรรคจะใช้คำเต็มว่า นาซีโอนาลโซซีอาลิสท์ แต่ฝ่ายต่อต้านในออสเตรียยังคงใช้คำว่านาซีนี้เป็นการดูถูก คำว่า "นาซีเยอรมนี" และ "ระบอบนาซี" กลายเป็นนิยมโดยฝ่ายต่อต้านนาซีและชาวเยอรมันที่ลี้ภัยออกนอกประเทศ หลังจากนั้น คำนี้ได้แพร่กระจายไปยังภาษาอื่นๆและในที่สุดก็ได้ถูกนำกลับมาใช้ในเยอรมนีหลังสงครามโลกครั้งที่สอง[19]
ประวัติ
แก้หลังจากสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง สิ้งสุดลงด้วยความพ่ายแพ้ของฝ่ายมหาอำนาจกลาง ประเทศเยอรมนีก็เต็มไปด้วยความแตกแยก ผู้คนต่างออกมาแย่งชิงอำนาจของประเทศ แต่พวกเขาเหล่านั้นก็มีความคิดเห็นแบบเดียวกันนั่นก็คือที่ว่า เยอรมนียังไม่ได้พ่ายแพ้สงคราม ชาวเยอรมันส่วนมากมองสนธิสัญญาแวร์ซายเป็นสัญญาแห่งความหลอกลวงจากคนในประเทศเดียวกันเอง และ จากศัตรูอย่างฝรั่งเศส ในช่วงแรกของการพัฒนาอุดมการณ์ในแบบของพรรคนาซีนั้น ได้มีกลุ่มรหัสยศาสตร์ที่มีชื่อว่า ทูเล่อ (Thule-Gesellschaft) ที่สมาชิกหลัก ๆ เป็นทหารผ่านศึก และ กลุ่มชนชั้นสูงในเมืองมิวนิก อ้างความเป็นมาของชาวเยอรมันที่มีเลือดบริสุทธิ์ที่เรียกว่า ชาวอารยัน เพื่อตอบสนองความต้องการของชาวเยอรมันในช่วงหลังสงครามที่ตกต่ำอย่างหนัก กลุ่มทูเล่อมีผู้ติดตามประมาณ 250 คนในเมืองมิวนิก และ อีกประมาณพันกว่าคนในส่วนอื่นของบาวาเรีย สมาชิกของกลุ่มจะมาพบปะกันในโรงเบียร์สาธารณะเพื่อแสดงจุดยืนทางความคิดของพวกเขา
อุดมการณ์และนโยบาย
แก้อุดมการณ์นาซีหลัก ประกอบไปด้วยความเป็นชาติหนึ่งเดียวของชาวเยอรมันทั้งทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม (collectivism, nationalism), ความเป็นยอดของมนุษย์ชาวอารยันซึ่งเป็นกลุ่มหนึ่งในเชื้อสายเยอรมันตามความเชื่อดาร์วินิสต์ทางสังคมหรือเผ่าพันธุ์นิยม, การต่อต้านชาวยิว และต่อต้านลัทธิคอมมิวนิสต์
ในช่วงก่อนและระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง พรรคนาซีได้ใช้กองทัพเวร์มัคท์ในการทำฮอโลคอสต์คือการสังหารหมู่ชาวยิวและพวกอื่น ๆ อันไม่พึงประสงค์ต่อนาซี เช่น ชาวยิปซี ชาวสลาฟ กลุ่มรักร่วมเพศ เป็นต้น ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีตั้งแต่นายทหารชั้นสัญญาบัตรจนถึงผู้บังคับบัญชาระดับสูง และ ยังมีส่วนเกี่ยวข้องกับการฆาตกรรม และ การสังหารหมู่ชาวยิว และ อื่น ๆ ในเขตยึดครองซึ่งถือว่าเป็นอาชญากรรมสงครามต่อมวลมนุษยชาติ
สัญลักษณ์ต่าง ๆ ของพรรค
แก้สัญลักษณ์สวัสติกะของพรรคนาซี เป็นสวัสติกะเวียนขวาสีดำ เอียง 45 องศา อยู่บนพื้นกลมสีขาว พื้นหลังสีแดง
จุดสิ้นสุด
แก้ต่อมาในภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 นาซีเยอรมนีพ่ายแพ้สงครามและล่มสลาย พรรคนาซีกลายเป็นพรรคผิดกฎหมายในประเทศเยอรมนี โดยอ้างอิงถึงรัฐธรรมนูญของเยอรมันตะวันออก และ เยอรมันตะวันตก
อ้างอิง
แก้- ↑ German Imperial colours
- ↑ ราชบัณฑิตยสถาน. 17 ส.ค. 2544
- ↑ Fritzsche, Peter, 1959- (1998). Germans into Nazis. Mazal Holocaust Collection. Cambridge, Mass.: Harvard University Press. ISBN 0-674-35091-X. OCLC 37157352.
{{cite book}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - ↑ Eatwell, Roger (1997). Fascism : a history. New York: Penguin Books. pp. xvii–xxiv, 21, 26–31, 114–40, 352. ISBN 0-14-025700-4. OCLC 37930848.
- ↑ Grant 2004, pp. 30–34, 44.
- ↑ Mitchell 2008, p. 47.
- ↑ McDonough 2003, p. 64.
- ↑ Majer 2013, p. 39.
- ↑ Wildt 2012, pp. 96–97.
- ↑ Gigliotti & Lang 2005, p. 14.
- ↑ Evans 2008, p. 318.
- ↑ Arendt 1951, p. 306.
- ↑ Curtis 1979, p. 36.
- ↑ Burch 1964, p. 58.
- ↑ Maier 2004, p. 32.
- ↑ Hitler, Adolf (1936). Die Reden des Führers am Parteitag der Ehre, 1936 (ภาษาเยอรมัน). Munich: Zentralverlag der NSDAP. p. 10.
"Parteigenossen! Parteigenossinnen! Nationalsozialisten!
- ↑ Gottlieb, Henrik; Morgensen, Jens Erik, บ.ก. (2007). Dictionary Visions, Research and Practice: Selected Papers from the 12th International Symposium on Lexicography, Copenhagen, 2004 (illustrated ed.). Amsterdam: J. Benjamins Pub. Co. p. 247. ISBN 9789027223340. สืบค้นเมื่อ 22 October 2014.
- ↑ 18.0 18.1 Harper, Douglas. "Nazi". etymonline.com. Online Etymology Dictionary. สืบค้นเมื่อ 22 October 2014.
- ↑ 19.0 19.1 Rabinbach, Anson; Gilman, Sander, บ.ก. (2013). The Third Reich Sourcebook. Berkeley, Calif.: California University Press. p. 4. ISBN 9780520955141.