การต่อต้านลัทธิคอมมิวนิสต์

การต่อต้านลัทธิคอมมิวนิสต์เป็นการต่อต้านต่อลัทธิคอมมิวนิสต์ การจัดตั้งองค์กรเพื่อต่อต้านลัทธิคอมมิวนิสต์ได้ถูกพัฒนาขึ้นหลังปี ค.ศ. 1917 การปฏิวัติเดือนตุลาคมในรัสเซีย และทั่วทุกมุมโลกในช่วงสงครามเย็น เมื่อสหรัฐอเมริกาและสหภาพโซเวียตต่างได้แข่งขันทางด้านต่างๆกันอย่างดุเดือด การต่อต้านลัทธิคอมมิวนิสต์ได้รับมาจากส่วนหนึ่งของขบวนการเคลื่อนไหวที่ดำรงตำแหน่งทางการเมืองที่แตกต่างจำนวนมาก รวมทั้งมุมมองของประชาธิปไตยสังคมนิยม, เสรีนิยม, อนุรักษ์นิยม, ฟาสซิสต์, ทุนนิยม, อนาธิปไตย และสังคมนิยม

องค์กรแรกที่ได้ทุ่มเทเพื่อการต่อต้านลัทธิคอมมิวนิสต์คือขบวนการขาวของรัสเซีย ซึ่งได้ต่อสู้ในสงครามกลางเมืองรัสเซียซึ่งได้เริ่มต้นในปี ค.ศ. 1918 เพื่อโค่นล้มรัฐบาลคอมมิวนิสต์ที่เพิ่งถูกก่อตั้ง ขบวนการขาวได้รับการสนับสนุนทางทหารโดยรัฐบาลต่างชาติพันธมิตรหลายประเทศ ซึ่งเป็นตัวอย่างแรกของการต่อต้านลัทธิคอมมิวนิสต์ที่เป็นนโยบายรัฐบาล อย่างไรก็ตาม กองทัพแดงของฝ่ายคอมมิวนิสต์ได้มีชัยเหนือขบวนการขาวและสหภาพโซเวียตก็ได้รับการสถาปนาในปี ค.ศ. 1922 ในช่วงระหว่างการดำรงอยู่ของสหภาพโซเวียต การต่อต้านลัทธิคอมมิวนิสต์ได้กลายเป็นประเด็นที่สำคัญของขบวนการเคลื่อนไหวทางการเมืองและรัฐบาลต่างๆทั่วโลก

ในสหรัฐอเมริกา การต่อต้านลัทธิคอมมิวนิสต์ได้เข้ามาอย่างชัดเจนด้วย First Red Scare ในปี ค.ศ. 1919-1920 ในทวีปยุโรปในช่วงระหว่างปี ค.ศ. 1920 และ 1930 การต่อต้านต่อลัทธิคอมมิวนิสต์ได้รับการส่งเสริมโดยฝ่ายอนุรักษนิยม, ประชาธิปไตยสังคมนิยม, เสรีนิยม, และฟาสซิสต์ รัฐบาลฟาสซิสต์ได้ลุกขึ้นออกมาอย่างชัดเจนว่าเป็นฝ่ายตรงข้ามที่สำคัญของลัทธิคอมมิวนิสต์ในปี ค.ศ. 1930 และพวกเขาได้ก่อตั้งกติกาสัญญาต่อต้านโคมินเทิร์นในปี ค.ศ. 1936 คือพันธมิตรร่วมต่อต้านลัทธิคอมมิวนิสต์ ในทวีปเอเชีย จักรวรรดิญี่ปุ่นและพรรคก๊กมินตั๋ง (พรรคชาตินิยมจีน) ได้เป็นกองกำลังชั้นนำในการต่อต้านคอมมิวนิสต์ในช่วงสมัยนั้น

ภายหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ลัทธิฟาสซิสต์ได้ยุติเป็นขบวนการเคลื่อนไหวทางการเมืองเนื่องจากความพ่ายแพ้ของฝ่ายอักษะ ชัยชนะของฝ่ายสัมพันธมิตรเป็นกลุ่มประเทศที่นำโดยสหภาพโซเวียต สหรัฐอเมริกา และสหราชอาณาจักร แต่ภายหลังสงคราม เหล่าพันธมิตรก็ได้แตกแยกกันอย่างรวดเร็วจนต้องแบ่งออกเป็นสองค่ายใหญ่: ลัทธิคอมมิวนิสต์ภายใต้การนำของสหภาพโซเวียต และ ทุนนิยมภายใต้การนำของสหรัฐอเมริกา การแข่งขันระหว่างสองอภิมหาอำนาจทั้งสองฝ่ายที่ได้เป็นที่รู้จักกันคือ สงครามเย็น และในช่วงสมัยนั้นรัฐบาลสหรัฐได้มีบทบาทเป็นผู้นำในการสนับสนุนการต่อต้านลัทธิคอมมิวนิสต์ทั่วโลกซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของนโยบาบกีดกัน ด้วยความขัดแย้งทางทหารหลายครั้งระหว่างฝ่ายนิยมคอมมิวนิสต์และฝ่ายต่อต้านคอมมิวนิสต์ในส่วนต่างๆของโลก รวมทั้งสงครามกลางเมืองจีน, สงครามเกาหลี, สงครามเวียดนาม, และสงครามโซเวียต–อัฟกานิสถาน เนโทเป็นองค์การที่ก่อตั้งขึ้นเพื่อเป็นพันธมิตรร่วมทางทหารต่อต้านคอมมิวนิสต์ในปี ค.ศ. 1949 และยังคงต่อเนื่องตลอดในช่วงสงครามเย็น

ด้วยเหตุการณ์การปฏิวัติ ค.ศ. 1989 และการล่มสลายของสหภาพโซเวียตในปี ค.ศ. 1991 รัฐบาลคอมมิวนิสต์ของโลกส่วนใหญ่ล้วนถูกล้มล้างและสงครามเย็นยุติลง อย่างไรก็ตาม,การต่อต้านลัทธิคอมมิวนิสต์ยังคงเป็นส่วนหนึ่งของสติปัญญาที่สำคัญของขบวนการเคลื่อนไหวทางการเมืองในปัจจุบันและการต่อต้านลัทธิคอมมิวนิสต์เป็นปัจจัยหนึ่งภายในประเทศ ฝ่ายค้านได้พบว่าระดับชนชั้นที่แตกต่างในสาธารณรัฐประชาชนจีนและประเทศอื่นๆที่ปกครองโดยพรรคคอมมิวนิสต์