สงครามกลางเมืองรัสเซีย
สงครามกลางเมืองรัสเซีย (รัสเซีย: Гражда́нская война́ в Росси́и, อักษรโรมัน: Grazhdanskaya voyna v Rossiyi)[1] เป็นสงครามกลางเมืองหลายฝ่ายในอดีตจักรวรรดิรัสเซียที่เกิดขึ้นอย่างกระทันหันภายหลังจากการปฏิวัติสองครั้งในปี ค.ศ. 1914 เนื่องจากหลายฝ่ายต่างแก่งแย่งกันในการกำหนดอนาคตทางการเมืองของรัสเซีย กลุ่มทหารสู้รบที่มีขนาดใหญ่ที่สุดอยู่สองกลุ่มคือ กองทัพแดง ที่ต่อสู้เพื่อลัทธิสังคมนิยมตามแบบของบอลเชวิกที่นำโดยวลาดีมีร์ เลนิน และกองทัพพันธมิตรที่ดูหละหลวม ซึ่งเป็นที่รู้จักกันคือ กองทัพขาว ซึ่งได้รวมถึงผลประโยชน์ที่หลากหลาย ซึ่งได้ให้การสนับสนุนทางการเมืองจากฝ่ายนิยมกษัตริย์ ฝ่ายทุนนิยม และฝ่ายประชาธิปไตยสังคมนิยม โดยแต่ละกลุ่มก็จะมีทั้งรูปแบบประชาธิปไตยและต่อต้านประชาธิปไตย นอกจากนี้นักสู้ฝ่ายสังคมนิยมที่เป็นคู่แข่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือ มักโนเวีย(Makhnovia) ที่เป็นฝ่ายอนาธิปไตย และนักปฏิวัติสังคมนิยมฝ่ายซ้าย(Left SRs) รวมทั้งกองทัพเขียวที่ไม่มีอุดมการณ์ ที่ต่อสู้รบกับทั้งฝ่ายแดงและฝ่ายขาว[3] นานาชาติทั้งสิบสามชาติได้เข้าแทรกแซงกองทัพแเดง โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับอดีตกองทัพทหารฝ่ายสัมพันธมิตรจากสงครามโลก โดยมีเป้าหมายในการจัดตั้งแนวรบด้านตะวันออกขึ้นมาใหม่ สามชาติของฝ่ายมหาอำนาจกลางก็ได้เข้ามาแทรกแซงเช่นกันโดยมีเป้าหมายหลักในการรักษาดินแดนที่พวกเขาได้รับในสนธิสัญญาเบรสท์-ลีตอฟสก์
สงครามกลางเมืองรัสเซีย | |||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
เป็นส่วนหนึ่งของ สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง และ การปฏิวัติ ค.ศ. 1917–1923 | |||||||||
![]() ตามเข็มนาฬิกาจากภาพบน: ทหารของกองทัพดอนในปี 1919; กองพลทหารราบฝ่ายขาวในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1920; ทหารของกองพลทหารม้าที่ 1; เลออน ทรอตสกี ในปี 1918; การแขวนคอกรรมกรในเมองเยคาตริโนสลาฟ (ริมแม่น้ำนีเปอร์) โดย กองทัพจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี เมษายน 1918. | |||||||||
| |||||||||
คู่ขัดแย้ง | |||||||||
![]()
|
![]() ประกอบด้วย
ประกอบด้วย
การเข้าแทรกแซงโดยฝ่ายสัมพันธมิตร ประกอบด้วย
กองทัพที่นิยมเยอรมนี ประกอบด้วย
Other factions
| ||||||||
ผู้บัญชาการหรือผู้นำ | |||||||||
![]() ![]() ![]() ![]() ![]() |
![]() ![]() ![]() ![]() ![]() | ||||||||
กำลัง | |||||||||
3,000,000[2] |
รัสเซียขาว 2,400,000 นาย | ||||||||
กำลังพลสูญเสีย | |||||||||
1,612,824 นาย
The records are incomplete.[2] |
1,900,000 นาย | ||||||||
Various anti-soviet factions also fought each other, for example pro-German armies fought against Baltic countries while Armenia and Azerbaijan fought each other etc. |
ภายหลังการปฏิวัติ บอลเชวิกได้ทำการกวาดล้างทั่วทั้งรัสเซียจนแทบจะไร้การต่อต้าน สาธารณรัฐได้ล่มสลาย ภายหลังจากโซเวียตได้มีอำนาจทางการเมืองทั้งหมด โดยเหลือเพียงการต่อต้านที่ไม่มั่นคงต่อฝ่ายแดง ในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1918 กองทหารชาวเช็กในรัสเซียได้ก่อกบฏในไซบีเรีย ด้วยการตอบสนองต่อสิ่งนี้ ฝ่ายสัมพันธมิตรได้เริ่มเข้าแทรกแซงในรัสเซียตอนเหนือและไซบีเรีย สิ่งนี้ ได้รวมกับการก่อตั้งรัฐบาลเฉพาะกาลของรัสเซียทั้งหมดทำให้ลดทอนของบอลเชวิกในส่วนใหญ่ของรัสเซียยุโรปและบางส่วนของเอเชียกลาง ในเดือนพฤศจิกายน Alexander Kolchak ได้ทำการก่อรัฐประหารเพื่อเข้าควบคุมรัฐรัสเซีย โดยได้ก่อตั้งรัฐบาลเผด็จการทหารโดยพฤตินัย
กองทัพขาวได้เปิดฉากเข้าโจมตีหลายครั้งจากทางตะวันออกในเดือนมีนาคม ทางใต้ในเดือนกรกฏาคม และตะวันตกในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1919 การรุกเหล่านี้ได้ถูกตรวจสอบในภายหลังกับหน่วยการรุกตอบโต้กลับในแนวรบด้านตะวันออก การรุกตอบโต้กลับแนวรบทางใต้ และความพ่ายแพ้ของกองทัพตะวันตกเฉียงเหนือ ขบวนการขาวยังประสบความสูญเสียมากขึ้น เมื่อฝ่ายสัมพันธมิตรได้ล่าถอยออกจากรัสเซียทางเหนือและทางใต้ ด้วยฐานทัพหลักของสหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตรัสเซียที่ปลอดภัย โซเวียตจึงได้ทำการตอบโต้กลับได้
ในที่สุด กองทัพภายใต้การนำของ Kolchak ได้ถูกบังคับให้ล่าถอยไปทางตะวันออก กองทัพโซเวียตได้รุกคืบไปทางตะวันออก แม้ว่าจะเผชิญหน้ากับการต่อต้านในชิตา ยาคุต และมองโกเลีย ไม่นาน กองทัพแดงก็ได้ทำการแบ่งแยกกองกำลังออกเป็นสองกลุ่มคือ กองทัพดอน และกองทัพอาสาสมัคร ได้บังคับให้ทำการอพยพใน Novorossiysk ในเดือนมีนาคม และไครเมียในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1920 ฝ่ายต่อต้านขาวได้แตกแยกกระจัดกระจายเป็นเวลาสองปีจนกระทั่งการล่มสลายลงของกองทัพขาวในยาคุต ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1923 แต่ยังคงดำเนินต่อไปในเอเชียกลางและดินแดนฮาบารอฟสค์ (Khabarovsk Krai) ส่งผลทำให้มีผู้เสียชีวิตประมาณ 7 ถึง 12 ล้านคนในช่วงสงคราม ส่วนใหญ่เป็นพลเรือน:287
การเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องเอกราชหลายครั้ง ได้เกิดขึ้นในภายหลังจากการล่มสลายของจักรวรรดิรัสเซียและได้ต่อสู้รบในสงคราม หลายส่วนของอดีตจักรวรรดิรัสเซีย - ฟินแลนด์ เอสโตเนีย ลัตเวีย ลิทัวเนีย และโปแลนด์ ได้ทำการก่อตั้งขึ้นเป็นรัฐเอกราช ซึ่งพวกเขาต่างได้ทำสงครามกลางเมืองและสงครามเพื่ออิสรภาพของพวกเขาเอง ส่วนที่เหลือของอดีตจักรวรรดิรัสเซียได้ถูกรวบรวมกลายมาเป็นสหภาพโซเวียตหลังจากนั้นได้ไม่นาน[4]
อ้างอิงแก้ไข
- ↑ 1.0 1.1 Mawdsley, pp. 3, 230
- ↑ 2.0 2.1 G.F. Krivosheev, Soviet Casualties and Combat Losses in the Twentieth Century, pp. 7–38.
- ↑ Russian Civil War Encyclopædia Britannica Online 2012
- ↑ "Russian Civil War | Causes, Outcome, and Effects". Encyclopedia Britannica (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2020-08-07.
คอมมอนส์ มีภาพและสื่อเกี่ยวกับ: สงครามกลางเมืองรัสเซีย |