ลัทธิฟาสซิสต์ (อังกฤษ: Fascism) เป็นลัทธิชาติ-อำนาจนิยมมูลวิวัติรูปแบบหนึ่ง[1][2] ซึ่งมีความโดดเด่นในทวีปยุโรปช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 ขบวนการฟาสซิสต์รุ่นแรก ๆ กำเนิดขึ้นในประเทศอิตาลีราวสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง โดยได้รับอิทธิพลจากสหการนิยมชาติ (national syndicalism) การรวมจุดยืนฝ่ายขวาโดยทั่วไปเข้ากับการเมืองฝ่ายซ้ายบางส่วน ซึ่งตรงข้ามกับคอมมิวนิสต์ สังคมนิยม เสรีประชาธิปไตย และอนุรักษนิยมดั้งเดิม แม้ว่าโดยปกติลัทธิฟาสซิสต์จะถูกจัดเป็น "ขวาจัด" ตามการแบ่งพิสัยมโนคติทางการเมืองแบบซ้าย–ขวา (political spectrum) ดั้งเดิม พวกฟาสซิสต์เองและนักวิจารณ์บางส่วนแย้งว่าคำอธิบายนี้ไม่เพียงพอ[3][4]

เบนิโต มุสโสลินี (ซ้าย) ผู้นำของฟาสซิสต์อิตาลี และอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ (ขวา) ผู้นำของนาซีเยอรมนี ทั้งสองคนเป็นฟาสซิสต์
สัญลักษณ์ลัทธิฟาสซิสต์

นักฟาสซิสต์มุ่งรวมชาติของพวกตนผ่านรัฐเผด็จการเบ็ดเสร็จที่สนับสนุนการระดมชุมชนชาติอย่างกว้างขวาง[5][6] และมีลักษณะเด่นโดยมีพรรคแนวหน้า (vanguard party) ซึ่งริเริ่มขบวนการการเมืองปฏิวัติโดยมุ่งหมายเพื่อจัดระเบียบชาติใหม่ตามหลักการของอุดมการณ์ลัทธิฟาสซิสต์[7] ขบวนการฟาสซิสต์ทั้งหลายมีลักษณะร่วมบางอย่าง รวมทั้งความเคารพรัฐ การอุทิศให้แก่ผู้นำที่เข้มแข็ง และการเน้นความคลั่งชาติ (ultranationalism) และแสนยนิยม ลัทธิฟาสซิสต์มองการเมือง ความรุนแรง สงครามและจักรวรรดินิยมว่าเป็นวิธีการบรรลุการฟื้นพลังของชาติ[5][8][9][10] และยืนยันว่าชาติที่เข้มแข็งกว่ามีสิทธิที่จะขยายอาณาเขตโดยเข้าแทนที่ชาติที่อ่อนแอกว่า[11]

อุดมการณ์ลัทธิฟาสซิสต์อ้างความสำคัญสูงสุดของรัฐอย่างต่อเนื่อง ผู้นำอย่างเบนิโต มุสโสลินีในอิตาลี และอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ในเยอรมนี รวมรัฐและอ้างอำนาจที่แย้งไม่ได้ ลัทธิฟาสซิสต์ยืมทฤษฎีและศัพท์จากสังคมนิยม แต่แทนที่การมุ่งไปยังความขัดแย้งทางชนชั้นของสังคมนิยมด้วยการมุ่งไปยังความขัดแย้งระหว่างชาติและเชื้อชาติ [12] ลัทธิฟาสซิสต์สนับสนุนระบบเศรษฐกิจแบบผสม โดยมีเป้าหมายหลักเพื่อบรรลุการพึ่งตนเองทางเศรษฐกิจเพื่อให้ชาติมีเอกราชผ่านนโยบายเศรษฐกิจแบบคุ้มครองและมีการแทรกแซงจากรัฐ[13]

หลังสงครามโลกครั้งที่สอง มีพรรคการเมืองน้อยพรรคที่อธิบายตนเองอย่างเปิดเผยว่าเป็นฟาสซิสต์ และคู่แข่งทางการเมืองมักใช้คำนี้เป็นคำหยาบ บางครั้งคำว่าลัทธิฟาสซิสต์ใหม่หรือหลังลัทธิฟาสซิสต์ใช้อย่างเป็นทางการเพื่ออธิบายพรรคการเมืองขวาจัดที่มีอุดมการณ์คล้ายคลึงหรือมีรากมาจากขบวนการฟาสซิสต์ในคริสต์ศตวรรษที่ 20

ที่มาของชื่อ แก้

ในอิตาลีเรียกการปกครองแบบนี้ว่า ฟาซิโอ เป็นภาษาละติน แปลว่า สหภาพ หรือ สมาชิก ทั้งยังแปลได้อีกว่าเป็นแขนงไม้ที่พันรอบขวาน (มีมาตั้งแต่สมัยโรมัน โดยเรียกว่า ฟาสเซส (fasces) ถือโดยลิคเตอร์ (lictor) ซึ่งเป็นกลุ่มคนที่มีหน้าที่ในการดูแลความสงบเรียบร้อย)

ลัทธิฟาสซิสต์เป็นชื่อของอาณาจักรโรมันสมัยก่อน มันคือไม้เมื่อไม้มีอยู่แท่งเดียวก็จะหักได้ง่าย แต่เมื่อนำไม้มารวมกันนั้นจะหักได้ยากมาก เหมือนกับเมื่อชาติมีประชาชนมารวมกันก็จะทำให้ชาติแข็งแกร่งไร้เทียมทาน แต่กลายเป็นว่าลัทธิฟาสซิสต์ ไม่แข็งแกร่งเท่าที่ควรเพราะประชาชนเบื่อกับการทำงาน และการปฏิวัติของลัทธิฟาสซิสต์ ซึ่งทำให้ลัทธิฟาสซิสต์สิ้นสุดในปี พ.ศ. 2486

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

  1. Turner, Henry Ashby, Reappraisals of Fascism. New Viewpoints, 1975. p. 162. States fascism's "goals of radical and authoritarian nationalism".
  2. Larsen, Stein Ugelvik, Bernt Hagtvet and Jan Petter Myklebust, Who were the Fascists: Social Roots of European Fascism, p. 424, "organized form of integrative radical nationalist authoritarianism"
  3. Roger Griffin. Fascism. Oxford, England, UK: Oxford University Press, 1995. pp. 8, 307.
  4. Aristotle A. Kallis. The fascism reader. New York, New York, USA: Routledge, 2003. p. 71
  5. 5.0 5.1 Grčić, Joseph. Ethics and Political Theory (Lanham, Maryland: University of America, Inc, 2000) p. 120
  6. Blamires, Cyprian, World Fascism: a Historical Encyclopedia, Volume 1 (Santa Barbara, California: ABC-CLIO, Inc., 2006) p. 140–141, 670.
  7. Eatwell, Roger, Fascism: a History (Allen Lane, 1996) p. 215.
  8. Griffin, Roger and Matthew Feldman, eds., Fascism: Fascism and Culture (London and New York: Routledge, 2004) p. 185.
  9. Stanley G. Payne. A History of Fascism, 1914–1945. p. 106.
  10. Jackson J. Spielvogel. Western Civilization. Wadsworth, Cengage Learning, 2012. p. 935.
  11. Cyprian P. Blamires. World Fascism: A Historical Encyclopedia, Volume 2. Santa Barbara, California, USA: ABC-CLIO, 2006. p. 331.
  12. Griffin, Roger. The Nature of Fascism (New York: St. Martins Press, 1991) pp. 222–223.
  13. Blamires, Cyprian, World Fascism: a Historical Encyclopedia, Volume 1 (Santa Barbara, California: ABC-CLIO, Inc., 2006) p. 188–189.