สาธารณรัฐไวมาร์
สาธารณรัฐไวมาร์ (เยอรมัน: Weimarer Republik [ˈvaɪmaʁɐ ʁepuˈbliːk] ( ฟังเสียง)) เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า สาธารณรัฐเยอรมนี (Deutsche Republik) เป็นชื่ออย่างไม่เป็นทางการที่ใช้เรียกประเทศเยอรมนีในยุคสาธารณรัฐระหว่างปีค.ศ. 1918 ถึง 1933 ชื่อของสาธารณรัฐนั้นตั้งตามชื่อเมืองไวมาร์ ที่ซึ่งรัฐสภาได้ประชุมกันเพื่อเขียนรัฐธรรมนูญฉบับใหม่หลังจากจักรวรรดิเยอรมันล่มสลายลงหลังพ่ายแพ้ในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ส่วนชื่ออย่างเป็นทางการของสาธารณรัฐไวมาร์คือ ไรช์เยอรมัน (Deutsches Reich) ซึ่งใช้มาตั้งแต่ยุคจักรวรรดิ รัฐธรรมนูญฉบับใหม่นี้ได้ยกเลิกอภิสิทธิของขุนนางเยอรมนีทิ้ง ลูกหลานของขุนนางเยอรมนีไม่สามารถสืบตำแหน่งได้อีกต่อไป สืบได้เพียงทรัพย์สินและนามสกุลเท่านั้น
ไรซ์เยอรมัน Deutsches Reich | |||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ค.ศ. 1918–ค.ศ. 1933[1][2][3] | |||||||||
ธงชาติ
(ค.ศ. 1919–1933) ตราแผ่นดิน
(ค.ศ. 1919–1928) | |||||||||
สาธารณรัฐไวมาร์ในปี ค.ศ. 1930 | |||||||||
รัฐของสาธารณรัฐไวมาร์ในคริสต์ทษวรรษที่ 1920 (สีน้ำเงินคือปรัสเซียและมณฑลของปรัสเซีย) | |||||||||
เมืองหลวง | เบอร์ลิน | ||||||||
ภาษาทั่วไป | ทางการ: เยอรมัน | ||||||||
ศาสนา | จากการสำมะโนใน ค.ศ. 1925:[4]
| ||||||||
การปกครอง |
| ||||||||
ประธานาธิบดี | |||||||||
• ค.ศ. 1919–1925 | ฟรีดริช เอเบิร์ท | ||||||||
• ค.ศ. 1925–1933 | เพาล์ ฟ็อน ฮินเดินบวร์ค | ||||||||
นายกรัฐมนตรี | |||||||||
• ค.ศ. 1919 (คนแรก) | ฟิลลิพ ไชเดอมัน | ||||||||
• ค.ศ. 1933 (คนสุดท้าย) | อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ | ||||||||
สภานิติบัญญัติ | ไรช์ทาค | ||||||||
• สภาสูง | ไรซ์ราท | ||||||||
ยุคประวัติศาสตร์ | สมัยระหว่างสงคราม | ||||||||
• ก่อตั้ง | 9 พฤศจิกายน ค.ศ. 1918 | ||||||||
11 สิงหาคม ค.ศ. 1919 | |||||||||
• เริ่มต้นการปกครองโดยกฤษฎีกา | 29 มีนาคม ค.ศ. 1930[5] | ||||||||
• ฮิตเลอร์ถูกแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี | 30 มกราคม ค.ศ. 1933 | ||||||||
27 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1933 | |||||||||
23 มีนาคม ค.ศ. 1933[1][2][3] | |||||||||
พื้นที่ | |||||||||
ค.ศ. 1925[6] | 468,787 ตารางกิโลเมตร (181,000 ตารางไมล์) | ||||||||
ประชากร | |||||||||
• ค.ศ. 1925[6] | 62,411,000 คน | ||||||||
133.129 ต่อตารางกิโลเมตร (344.8 ต่อตารางไมล์) | |||||||||
สกุลเงิน |
| ||||||||
| |||||||||
ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของ | เยอรมนี ลิทัวเนีย โปแลนด์ รัสเซีย[a] |
เยอรมนีได้กลายเป็นสาธารณรัฐโดยพฤตินัย เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน ค.ศ. 1918 เมื่อไคเซอร์(จักรพรรดิ) วิลเฮ็ล์มที่ 2 แห่งเยอรมนีได้สละบังลังก์แห่งเยอรมนีและปรัสเซียโดยไม่ได้มีการตกลงที่จะสืบราชบังลังก์โดยพระราชโอรสของพระองค์คือ เจ้าชายวิลเฮล์ม มกุฎราชกุมาร และได้กลายเป็นสาธารณรัฐโดยพฤตินัยในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1919 เมื่อตำแหน่งประธานาธิบดีแห่งเยอรมนีได้ถูกก่อตั้งขึ้น สภาแห่งชาติได้มีการประชุมกันในเมืองไวมาร์ ที่รัฐธรรมนูญใหม่สำหรับเยอรมนีได้เขียนและประกาศใช้ เมื่อวันที่ 11 สิงหาคม ค.ศ. 1919 ในช่วงเวลาสิบสี่ปี สาธารณรัฐไวมาร์ต้องประสบปัญหามากมาย,รวมทั้งภาวะเงินเฟ้อขั้นรุนแรง การเมืองที่มีแต่ความรุนแรง(ด้วยกองกำลังกึ่งทหาร-ทั้งฝ่ายซ้ายและขวา) เช่นเดียวกับความสัมพันธ์ที่โต้แย้งกับผู้ชนะในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ด้วยความไม่พอในเยอรมนีที่มีต่อสนธิสัญญาแวร์ซายที่รุนแรงโดยเฉพาะอย่างยิ่งสิทธิ์ทางการเมืองที่พวกเขาโกรธแค้นต่อผู้ที่ลงนามในสนธิสัญญาและส่งเพื่อปฏิบัติตามเงื่อนไข สาธารณรัฐไวมาร์ได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขส่วนใหญ่ของสนธิสัญญาแวร์ซาย แม้ว่าจะไม่เคยได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขในการลดอาวุธทั้งหมดและท้ายที่สุดก็ได้จ่ายเพียงเล็กน้อยของการชดเชยค่าปฏิกรรมสงคราม(โดยการปรับโครงสร้างหนี้สองครั้งผ่านด้วยแผนการดอวส์และแผนการยัง)[7] ภายใต้สนธิสัญญาโลคาร์โน เยอรมนีจะต้องยอมรับเขตชายแดนตะวันตกของประเทศโดยยกเลิกการอ้างสิทธิ์บนดินแดนฝรั่งเศสและเบลเยียม แต่ยังคงมีการโต้เถียงกันในเรื่องเขตชายแดนตะวันออกและได้พยายามที่จะโน้มน้าวให้ออสเตรียที่มีคนพูดภาษาเยอรมันเพื่อเข้าร่วมกับเยอรมนีในฐานะหนึ่งในรัฐเยอรมนี
ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1930 เป็นต้นมา ประธานาธิบดี เพาล์ ฟ็อน ฮินเดินบวร์ค ได้ใช้อำนาจฉุกเฉินเพื่อหนุนหลังนายกรัฐมนตรี ไฮน์ริช บรือนิง, ฟรันทซ์ ฟ็อน พาเพิน และควร์ท ฟ็อน ชไลเชอร์ ด้วยภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่, ความรุนแรงจากนโยบายของบรือนิงจากภาวะเงินฝืด ได้นำไปสู่การว่างงานที่เพิ่มมากขึ้น[8] ในปี ค.ศ. 1933 ฮินเดินบวร์คได้แต่งตั้งให้อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีกับพรรคนาซีได้เป็นส่วนหนึ่งในรัฐบาลผสม นาซีได้แค่สองในสิบที่นั่งในคณะรัฐมนตรีที่เหลืออยู่ ฟ็อน พาเพิน ในฐานะรองนายกรัฐมนตรีตั้งใจที่จะเป็น Éminence grise(ผู้มีอำนาจอยู่เบื้องหลัง) ที่คอยเฝ้าจับตาดูฮิตเลอร์ให้อยู่ภายใต้การควบคุม โดยใช้การเชื่อมโยงถึงความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับฮินเดินบวร์ค ภายในเวลาไม่กี่เดือน กฤษฎีกาเพลิงไหม้ไรชส์ทาคและรัฐบัญญัติมอบอำนาจ ปี ค.ศ. 1933 ได้นำไปสู่ภาวะฉุกเฉินของรัฐ: ได้ลบล้างการจัดการปกครองตามรัฐธรรมนูญและเสรีภาพของประชาชน การเถลิงอำนาจของฮิตเลอร์(มัคท์แอร์ไกรฟุง) ได้รับอนุญาตจากรัฐบาลโดยกฤษฎีกาซึ่งไม่ได้มีส่วนร่วมในนิติบัญญัติ ด้วยเหตุการณ์นี้ทำให้ยุคสาธารณรัฐสิ้นสุดลง-ระบอบประชาธิปไตยล่มสลาย การก่อตั้งรัฐที่มีพรรคเดียวได้เป็นจุดเริ่มต้นของยุคนาซี
ประวัติของสาธารณรัฐ
แก้ภูมิหลัง
แก้จักรวรรดิเยอรมันและฝ่ายฝ่ายมหาอำนาจกลางได้ต่อสู้กับฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่หนึ่งในระหว่างวันที่ 28 กรกฎาคม ค.ศ. 1914 ถึงวันที่ 11 พฤศจิกายน ค.ศ. 1918 สงครามจบลงด้วยชีวิตของทหารและพลเรือนประมาณ 20 ล้านคน[9] โดยเป็นทหารเยอรมนีประมาณ 2,037,000 นาย และพลเรือนประมาณ 424,000[10]-763,000 คน[11][12] ส่วนมากเสียชีวิตจากโรคและความอดอยากซึ่งเป็นผลมาจากการปิดล้อมทางทะเลของฝ่ายสัมพันธมิตร
หลังจากสี่ปีของสงครามในหลายแนวรบในยุโรปและทั่วโลก การรุกคืบครั้งสุดท้ายในปฏิบัติการการรุกร้อยวันของฝ่ายสัมพันธมิตรเริ่มขึ้นในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1918 และทำให้ของเยอรมนีและฝ่ายมหาอำนาจกลางระส่ำระส่ายลง[13][14]และนำไปสู่การเรียกร้องสันติภาพ หลังจากข้อเสนอแรกถูกปฏิเสธโดยฝ่ายสัมพันธมิตร ความอดอยากในช่วงสงครามหลายปีบวกกับการรับรู้ถึงความพ่ายแพ้ทางการทหาร[15]ได้ช่วยจุดชนวนการปฏิวัติเยอรมัน ในวันที่ 9 พฤศจิกายน ค.ศ. 1918 ได้มีการประกาศตั้งสาธารณรัฐ[16] และจักรพรรดิวิลเฮ็ล์มที่ 2 ประกาศการสละราชสมบัติ[17] เป็นการสิ้นสุดจักรวรรดิเยอรมันและการเริ่มต้นของสาธารณรัฐไวมาร์ ตามมาด้วยการสงบศึกการสู้รบลงนามเมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน ค.ศ. 1918
เยอรมนีพ่ายแพ้ฝ่ายสัมพันธมิตรสงครามเนื่องจากต้องเผชิญความพ่ายแพ้ทางการทหารและทรัพยากรทางเศรษฐกิจกำลังหมดลงในขณะที่ปลายฤดูร้อนปี 1918 กองทหารสหรัฐที่เพิ่งมาถึงฝรั่งเศสในจำนวน 10,000 นายต่อวัน ในขณะที่การสนับสนุนของประชาชนเริ่มลดลงตั้งแต่ปี 1916 และในกลางปี 1918 ชาวเยอรมันจำนวนมากต้องการให้สงครามยุติลง จำนวนที่เพิ่มขึ้นนี้เริ่มมีการเชื่อมโยงกับการเมืองฝ่ายซ้าย เช่น พรรคสังคมประชาธิปไตยและพรรคสังคมประชาธิปไตยอิสระที่มีแนวคิดหัวรุนแรงนซึ่งเรียกร้องให้ยุติสงคราม เมื่อเป็นที่ประจักษ์แก่บรรดานายพลว่าความพ่ายแพ้ใกล้เข้ามาแล้ว นายพลเอริช ลูเดินดอร์ฟได้โน้มน้าวให้จักรพรรดิเห็นว่าเยอรมนีจำเป็นต้องสงบศึก แม้ว่ากำลังล่าถอย กองทัพเยอรมนียังคงอยู่ในดินแดนของฝรั่งเศสและเบลเยียมเมื่อสงครามสิ้นสุดลงในวันที่ 11 พฤศจิกายน เอริช ลูเดินดอร์ฟและเพาล์ ฟ็อน ฮินเดินบวร์คจึงเริ่มประกาศว่าการยอมรับความพ่ายแพ้ของพลเรือน โดยเฉพาะพวกสังคมนิยมนั้นทำให้ความพ่ายแพ้เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ตำนานแทงข้างหลังถูกเผยแพร่โดยฝ่ายขวาตลอดช่วงทศวรรษที่ 1920 ทำให้มั่นใจว่ากลุ่มนิยมกษัตริย์และกลุ่มอนุรักษนิยมจำนวนมากจะปฏิเสธที่จะสนับสนุนรัฐบาลที่พวกเขาเรียกว่า "อาชญากรพฤศจิกายน"[18] ผลกระทบที่ไม่มั่นคงจากตำนานแทงข้างหลังมีต่อระบอบประชาธิปไตยไวมาร์เป็นปัจจัยสำคัญในการผงาดขึ้นของพรรคกรรมกรชาติสังคมนิยม
หมายเหตุ
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ Hosch, William L. (23 March 2007). "The Reichstag Fire and the Enabling Act of March 23, 1933". Britannica Blog (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-03-11. สืบค้นเมื่อ 30 March 2017.
- ↑ "The law that 'enabled' Hitler's dictatorship". DW.com (ภาษาอังกฤษ). 23 March 2013. สืบค้นเมื่อ 30 March 2017.
- ↑ Mason, K. J. Republic to Reich: A History of Germany 1918–1945. McGraw-Hill.
- ↑ Volume 6. Weimar Germany, 1918/19–1933 Population by Religious Denomination (1910–1939) Sozialgeschichtliches Arbeitsbuch, Volume III, Materialien zur Statistik des Deutschen Reiches 1914–1945, edited by Dietmar Petzina, Werner Abelshauser, and Anselm Faust. Munich: Verlag C. H. Beck, 1978, p. 31. Translation: Fred Reuss.
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อThomasAdam
- ↑ 6.0 6.1 "Das Deutsche Reich im Überblick". Wahlen in der Weimarer Republik. สืบค้นเมื่อ 26 April 2007.
- ↑ Marks, Sally (1976). The Illusion of Peace: International Relations in Europe, 1918–1933, St. Martin's, New York, pp. 96–105.
- ↑ Büttner, Ursula Weimar: die überforderte Republik, Klett-Cotta, 2008, ISBN 978-3-608-94308-5, p. 424
- ↑ World War I – Killed, wounded, and missing". Encyclopedia Britannica. Archived from the original on 5 October 2020. Retrieved 7 January 2021.
- ↑ Grebler, Leo (1940). The Cost of the World War to Germany and Austria-Hungary. New Haven: Yale University Press. p. 78.
- ↑ Vincent, C. Paul (1985). The Politics of Hunger: The Allied Blockade of Germany, 1915–1919. Athens (Ohio) and London: Ohio University Press.
- ↑ "The National Archives – Exhibitions & Learning online – First World War – Spotlights on history". Government of the United Kingdom. Retrieved 14 April 2018.
- ↑ Herwig, Holger H. (1997). The First World War: Germany and Austria-Hungary, 1914–1918. Modern Wars. London: St. Martin's Press. pp. 426–428. ISBN 978-0-340-67753-7. OCLC 34996156.
- ↑ Tucker, Spencer C. (2005). World War I: A — D. Santa Barbara: ABC-CLIO. p. 1256. ISBN 978-1-85109-420-2. OCLC 162257288.
- ↑ "Die Revolution von 1918/19". Deutsches Historisches Museum (in German). 15 August 2015. Retrieved 23 March 2023.
- ↑ Haffner, Sebastian (2002) [1st pub. 1979]. Die deutsche Revolution 1918/19 [The German Revolution 1918/19] (in German). Berlin: Kindler. ISBN 978-3-463-40423-3. OCLC 248703455.
- ↑ Stevenson, David (2004). Cataclysm: The First World War as Political Tragedy. New York: Basic Books. p. 404. ISBN 978-0-465-08184-4. OCLC 54001282.
- ↑ Diest, Wilhelm; Feuchtwanger, E. J. (1996). "The Military Collapse of the German Empire: the Reality Behind the Stab-in-the-Back Myth". War in History. 3 (2): 186–207. doi:10.1177/096834459600300203. S2CID 159610049.
หนังสืออ่านเพิ่มเติม
แก้- Allen, William Sheridan (1984). The Nazi seizure of Power: the experience of a single German town, 1922–1945. New York, Toronto: F. Watts. ISBN 0-531-09935-0.
- Berghahn, V. R. (1982). Modern Germany. Cambridge, UK: Cambridge University Press. ISBN 0-521-34748-3.
- Bookbinder, Paul (1996). Weimar Germany: the Republic of the Reasonable. Manchester, UK: Manchester University Press. ISBN 0-7190-4286-0.
- Bracher, Karl Dietrich (1971). Die Auflösung der Weimarer Republik; eine Studie zum Problem des Machtverfalls in der Demokratie (ภาษาเยอรมัน). Villingen, Schwarzwald: Ring-Verlag.
- Broszat, Martin (1987). Hitler and the Collapse of Weimar Germany. Leamington Spa, New York: Berg. ISBN 0-85496-509-2.
- Childers, Thomas (1983). The Nazi Voter: The Social Foundations of Fascism in Germany, 1919–1933. Chapel Hill: University of North Carolina Press. ISBN 0-8078-1570-5.
- Craig, Gordon A. (1980). Germany 1866–1945 (Oxford History of Modern Europe). Oxford: Oxford University Press. ISBN 0-19-502724-8.
- Dorpalen, Andreas (1964). Hindenburg and the Weimar Republic. Princeton, N.J.: Princeton University Press.
- Eschenburg, Theodor (1972) "The Role of the Personality in the Crisis of the Weimar Republic: Hindenburg, Brüning, Groener, Schleicher" pages 3–50 from Republic to Reich The Making Of The Nazi Revolution edited by Hajo Holborn, New York: Pantheon Books.
- Feuchtwanger, Edgar (1993). From Weimar to Hitler: Germany, 1918–1933. London: Macmillan. ISBN 0-333-27466-0.
- Gay, Peter (1968). Weimar Culture: The Outsider as Insider. New York: Harper & Row.
- Gordon, Mel (2000). Volutpuous Panic: The Erotic World of Weimar Berlin. New York: Feral House.
- Hamilton, Richard F. (1982). Who Voted for Hitler?. Princeton, N.J.: Princeton University Press. ISBN 0-691-09395-4.
- Chris Harman The Lost Revolution: Germany 1918–1923. Bookmarks. 1982. ISDN 090622408X.
- James, Harold (1986). The German Slump: Politics and Economics, 1924–1936. Oxford, Oxfordshire: Clarendon Press. ISBN 0-19-821972-5.
- Kaes, Anton; Jay, Martin (1994). Dimendberg, Edward (บ.ก.). The Weimar Republic Sourcebook. Berkeley: University of California Press. ISBN 0-520-06774-6.
- Kershaw, Ian (1990). Weimar. Why did German Democracy Fail?. London: Weidenfield & Nicholson. ISBN 0-312-04470-4.
- Kershaw, Ian (1998). Hitler 1889–1936: Hubris. London: Allen Lane. ISBN 0-393-04671-0.
- Kolb, Eberhard (1988). The Weimar Republic. P.S. Falla (translator). London: Unwin Hyman. ISBN 0-04-943049-1.
- Mommsen, Hans (1991). From Weimar to Auschwitz. Philip O'Connor (translator). Princeton, N.J.: Princeton University Press. ISBN 0-691-03198-3.
- Mowrer, Edgar Angel (1933). Germany Puts The Clock Back. London.
- Nicholls, Anthony James (2000). Weimar And The Rise Of Hitler. New York: St. Martin's Press. ISBN 0-312-23350-7.
- Peukert, Detlev (1992). The Weimar Republic: the Crisis of Classical Modernity. New York: Hill and Wang. ISBN 0-8090-9674-9.
- Turner, Henry Ashby (1996). Hitler's Thirty Days To Power: January 1933. Reading, Mass.: Addison-Wesley. ISBN 0-201-40714-0.
- Turner, Henry Ashby (1985). German Big Business and the Rise of Hitler. New York: Oxford University Press. ISBN 0-19-503492-9.
- Weitz, Eric D. (2007). Weimar Germany: Promise and Tragedy. Princeton: Princeton University Press. ISBN 978-0-691-01695-5.
- Wheeler-Bennett, John (2005). The Nemesis of Power: German Army in Politics, 1918–1945. New York: Palgrave Macmillan Publishing Company. ISBN 1-4039-1812-0.
- Widdig, Bernd (2001). Culture and Inflation in Weimar Germany. Berkeley, CA: University of California Press. ISBN 978-0-520-22290-8.
ภูมิประวัติศาสตร์
แก้- Fritzsche, Peter. "Did Weimar Fail?," Journal of Modem History 68 (1996): 629–656. in JSTOR
- Graf, Rüdiger. "Either-Or: The Narrative of 'Crisis' in Weimar Germany and in Historiography," Central European History (2010) 43#4 pp. 592–615
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- รัฐธรรมนูญแห่งจักรวรรดิเยอรมัน (รัฐธรรมนูญไวมาร์) เมื่อ 11 สิงหาคม ค.ศ. 1919, ฉบับเต็ม เก็บถาวร 2021-03-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- PSM Data Bank
- เอกสารประวัติศาสตร์ (เยอรมัน)