การรุกร้อยวัน เป็นชุดการรุกครั้งใหญ่ของฝ่ายสัมพันธมิตรระหว่างเดือนสิงหาคมถึงพฤศจิกายน 1918 การรุกเริ่มขึ้นในยุทธการที่อาเมียงในเดือนสิงหาคม ก่อนฝ่ายสัมพันธมิตรจะไล่ยึดพื้นที่ที่ฝ่ายมหาอำนาจกลางยึดได้ช่วงการรุกฤดูใบไม้ผลิ ตามด้วยการรุกผ่านแนวฮินเดินบวร์ค ท้ายที่สุดการรุกร้อยวัน ร่วมกับการปฏิวัติภายในประเทศบีบบังคับให้ฝ่ายเยอรมันยอมสงบศึกในเดือนพฤศจิกายน อันเป็นการสิ้นสุดแนวรบด้านตะวันตกในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ทั้งนี้ชื่อ "การรุกร้อยวัน" ไม่ได้หมายถึงยุทธการหรือกลยุทธ์ใดเป็นพิเศษ แต่หมายถึงชัยชนะอย่างต่อเนื่องของฝ่ายสัมพันธมิตรช่วงท้ายสงคราม[9]

การรุกร้อยวัน
ส่วนหนึ่งของ แนวรบด้านตะวันตก ในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง

การรุกของฝ่ายสัมพันธมิตร ช่วงปลายปี 1918
วันที่8 สิงหาคม – 11 พฤศจิกายน 1918
สถานที่
ผล

ฝ่ายสัมพันธมิตรชนะ

คู่สงคราม
 ฝรั่งเศส
 สหรัฐ
 เบลเยียม
 อิตาลี[1][2]
โปรตุเกส
สยาม
 เยอรมนี
 ออสเตรีย-ฮังการี
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ
สาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 3 แฟร์ดีน็อง ฟ็อช
สาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 3 ฟีลิป เปแต็ง
สหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์ ดักลาส เฮก
สหรัฐ จอห์น เจ. เพอร์ชิง
เบลเยียม สมเด็จพระเจ้าอัลแบร์ที่ 1 แห่งเบลเยียม
จักรวรรดิเยอรมัน เพาล์ ฟ็อน ฮินเดินบวร์ค
จักรวรรดิเยอรมัน เอริช ลูเดินดอร์ฟ
จักรวรรดิเยอรมัน วิลเฮ็ล์ม เกรอเนอร์
กำลัง
กำลังพล ณ 11 พฤศจิกายน 1918:[3]
สาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 3 ป. 2,559,000
ป. 1,900,000
สหรัฐ ป. 1,900,000[4]
เบลเยียม ป. 190,000
กำลังพล ณ 11 พฤศจิกายน 1918:[3]
จักรวรรดิเยอรมัน ป. 3,562,000
ความสูญเสีย
18 กรกฎาคม – 11 พฤศจิกายน:
1,070,000[5]
สาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 3 531,000
สหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์ 412,000
สหรัฐ 127,000

18 กรกฎาคม – 11 พฤศจิกายน:
จักรวรรดิเยอรมัน 1,172,075[5]
เสียชีวิต ~100,000+ ราย
บาดเจ็บ 685,733 ราย
ถูกจับ 386,342 ราย
ปืนใหญ่ 6,700 กระบอก

เพิ่มเติม
  • กำลังพลและมะเทียเรียลที่ฝ่ายเยอรมันยึดได้จากชาติต่าง ๆ
    • บริติช: เชลย 188,700 คน, ปืน 2,840 กระบอก[6]
    • ฝรั่งเศส: เชลย 139,000 คน, ปืน 1,880 กระบอก[7]
    • สหรัฐ: เชลย 44,142 คน, ปืน 1,481 กระบอก[7]
    • เบลเยียม: เชลย 14,500 คน, ปืน 414 กระบอก[7]
ออสเตรีย-ฮังการี 17,500[8]
เสียชีวิต 2,500 ราย
บาดเจ็บ 10,000 ราย
ถูกจับ 5,000 ราย

เดือนมีนาคม 1918 กองทัพเยอรมันเริ่มการรุกฤดูใบไม้ผลิเพื่อเอาชนะฝ่ายสัมพันธมิตรให้ได้ก่อนสหรัฐจะเข้าร่วมเต็มตัว แต่ความพ่ายแพ้ในยุทธการที่มาร์นครั้งที่สองในเดือนกรกฎาคม ทำให้ฝ่ายเยอรมันสั่งถอนทัพ[10] ด้านแฟร์ดีน็อง ฟ็อช ผู้บัญชาการสูงสุดฝ่ายสัมพันธมิตรสั่งเริ่มการรุกกลับโดยได้รับกำลังสนับสนุนจากสหรัฐและบริเตน เดือนสิงหาคม ฟ็อชกับดักลาส เฮก ผู้บัญชาการทัพบริเตนตัดสินใจโจมตีที่แม่น้ำซอมม์ ใกล้เมืองอาเมียงเพื่อขับไล่ทัพเยอรมันออกจากทางรถไฟอาเมียงปารีสที่สำคัญ[11] ชัยชนะของฝ่ายสัมพันธมิตรในครั้งนี้ทำให้ฝ่ายเยอรมันเริ่มถอยทัพกลับไปที่แนวฮินเดินบวร์ค อันเป็นปราการแน่นหนาที่ฝ่ายเยอรมันสร้างขึ้นในปี 1916 ปลายเดือนกันยายน ฝ่ายสัมพันธมิตรเอาชนะทัพเยอรมันในยุทธการที่คลองแซ็ง-ก็องแต็งและเจาะผ่านแนวฮินเดินบวร์คได้สำเร็จ[12]

เดือนตุลาคม ฝ่ายเยอรมันเสียดินแดนที่ยึดได้ตั้งแต่ปี 1914 มากขึ้นเรื่อย ๆ การเสียทางรถไฟแม็สบรูชที่ใช้ส่งกำลังและยุทธภัณฑ์ยิ่งทำให้ทัพเยอรมันเสียขวัญกำลังใจมากขึ้น[13] อย่างไรก็ตาม ทั้งสองฝ่ายยังคงสู้รบกันต่อไปจนถึงนาทีสุดท้ายก่อนเวลา 11 นาฬิกาของวันที่ 11 พฤศจิกายน 1918 ซึ่งการสงบศึกมีผลบังคับใช้[14]

อ้างอิง

แก้
  1. Caracciolo, M. Le truppe italiane in Francia. Mondadori. Milan 1929
  2. Julien Sapori, Les troupes italiennes en France pendant la première guerre mondiale, éditions Anovi, 2008
  3. 3.0 3.1 Neiberg p. 95
  4. Also possessed 2,251 artillery pieces on the frontline out of the 3,500 total artillery pieces used by the Americans. Ayers p. 81
  5. 5.0 5.1 Tucker 2014, p. 634.
  6. Bond 1990, p. 20.
  7. 7.0 7.1 7.2 Reid 2006, p. 448.
  8. Statistics of the Military Effort of the British Empire During the Great War 1914–1920, The War Office, p. 356-357.
  9. "Battle of Amiens - World War I (1918)". Britannica. สืบค้นเมื่อ June 5, 2020.
  10. "1918: Spring Offensive and Advance to Victory". NZHistory. สืบค้นเมื่อ June 5, 2020.
  11. "Battle of Amiens". HISTORY. October 28, 2009. สืบค้นเมื่อ June 5, 2020.
  12. "Allied forces break through the Hindenburg Line". HISTORY. October 28, 2009. สืบค้นเมื่อ June 5, 2020.
  13. Wasserstein, Bernard (2007). Barbarism and Civilization: A History of Europe in Our Time. Oxford University Press. pp. 93–96. ISBN 978-0-1987-3074-3.
  14. "Armistice Day: World War I ends". HISTORY. March 10, 2010. สืบค้นเมื่อ June 5, 2020.