วิลเฮ็ล์ม เกรอเนอร์

พลโท คาร์ล เอดูอาร์ท วิลเฮ็ล์ม เกรอเนอร์ (เยอรมัน: Karl Eduard Wilhelm Groener) เป็นทหารและนักการเมืองชาวเยอรมัน เขาเป็นนายทหารฝ่ายแนวหลังที่ประสบความสำเร็จทั้งก่อนและในช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง

วิลเฮล์ม เกรอเนอร์
Wilhelm Groener
หัวหน้าคณะเสนาธิการใหญ่จักรวรรดิเยอรมัน
ดำรงตำแหน่ง
3 กรกฎาคม 1919 – 7 กรกฎาคม 1919
ก่อนหน้าเพาล์ ฟ็อน ฮินเดินบวร์ค
ถัดไปฮันส์ ฟ็อน เซคท์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม
ดำรงตำแหน่ง
25 มิถุนายน 1920 – 12 สิงหาคม 1923
หัวหน้ารัฐบาลค็อนสตันทีน เฟเรินบัค
โยเซ็ฟ เวียร์ท
วิลเฮ็ล์ม คูโน
ก่อนหน้ากุสทัฟ เบาเออร์
ถัดไปรูดอร์ฟ เออเซอร์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงไรชส์แวร์
ดำรงตำแหน่ง
20 มกราคม 1928 – 13 พฤษภาคม 1932
หัวหน้ารัฐบาลวิลเฮ็ล์ม มาคส์
แฮร์มัน มึลเลอร์
ไฮน์ริช บรือนิง
ก่อนหน้าอ็อทโท เก็สเลอร์
ถัดไปควร์ท ฟ็อน ชไลเชอร์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
ดำรงตำแหน่ง
9 ตุลาคม 1931 – 30 พฤษภาคม 1932
หัวหน้ารัฐบาลไฮน์ริช บรือนิง
ก่อนหน้าโยเซ็ฟ เวียร์ท
ถัดไปวิลเฮ็ล์ม ฟ็อน ไกล์
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด22 พฤศจิกายน ค.ศ. 1867(1867-11-22)
ลูทวิชส์บวร์ค ราชอาณาจักรเวือร์ทเทิมแบร์ค
เสียชีวิต3 พฤษภาคม ค.ศ. 1939(1939-05-03) (71 ปี)
พ็อทส์ดัม-บอร์นชเต็ท มณฑลบรันเดินบวร์ค นาซีเยอรมนี
พรรคการเมืองอิสระ
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
รับใช้ เยอรมนี
สังกัด กองทัพบกจักรวรรดิเยอรมัน
ประจำการ1884–1919
ยศพลโท
ผ่านศึกสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง

เกรอเนอร์เติบโตทางราชการในสายงานรถไฟทหาร เขาทำงานเกี่ยวกับด้านนี้ยาวนานถึง 17 ปีตั้งแต่ค.ศ. 1899[1] จนได้ดำรงตำแหน่งเจ้ากรมรถไฟทหารในยศพลโท และมีส่วนสำคัญในการขยายโครงข่ายทางรถไฟและพัฒนาเส้นทางรถไฟในจักรวรรดิเยอรมัน การพัฒนาทางรถไฟทำให้เยอรมนีสามารถขนทหารนับล้านไปยังชายแดน ทำให้ได้รับเหรียญพัวร์เลอเมรีทในปีค.ศ. 1915

พลโทเกรอเนอร์เป็นมือร่างพระราชบัญญัติสร้างเสริมปิตุภูมิ ค.ศ. 1916 (Gesetz über den vaterländischen Hilfsdienst) เพื่อเกณฑ์ทหารจากจากชายวัยฉกรรจ์ จนตัวเขาตกเป็นเป้าโจมตีจากบรรดาเจ้าของโรงงานและสหภาพแรงงาน กลุ่มปฏิวัติได้ฉกฉวยคำพูดของเกรอเนอร์ที่ว่า "พวกแรงงานหยุดงานประท้วง ขณะที่ทหารแนวหน้ากำลังตาย" มาเป็นคำปลุกปั่นในหมู่แรงงาน และนั่นทำให้พลเอกเอริช ลูเดินดอร์ฟ เจ้าพนักงานใหญ่ผู้บัญชาการยุทธภัณฑ์ รู้สึกไม่พอใจมาก เมื่อได้โอกาสก็ส่งตัวเกรอเนอร์ไปเป็นผู้บัญชาการภาคสนามในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1917[1] โดยได้เป็นผบ.กองพลที่ 33 (33. Division) ต่อมาเป็นผบ.กองหนุนที่ 25 (XXV. Reserve-Korps) และตามด้วยเป็นผบ.กองทัพน้อยที่ 1 (I. Armee-Korps) ในยูเครน

เยอรมนีกำลังแพ้สงคราม ลูเดินดอร์ฟถูกจักรพรรดิบีบให้ลาออกในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1918 พลโทเกรอเนอร์ก็ถูกเรียกตัวมาแทนที่ลูเดินดอร์ฟที่ตำแหน่งเจ้าพนักงานใหญ่ผู้บัญชาการยุทธภัณฑ์ ซึ่งเป็นเบอร์สองรองจากจอมพลฮินเดินบวร์ค[2] ขณะนั้นสถานการณ์ภายในประเทศเริ่มคุมไม่อยู่ การจลาจลเกิดขึ้นทั้งในหมู่ทหารและพลเรือนจนรัฐบาลเกรงว่าจะบานปลายเป็นการปฏิวัติ พลโทเกรอเนอร์เริ่มเตรียมการถอนกำลังทหารและปลดประจำการกองทัพทันที[3][4]: 51 [2] การปฏิวัติปะทุขึ้นทั่งประเทศในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1918 เกรอเนอร์พยายามอย่างยิ่งที่จะรักษาระบอบกษัตริย์และความสมานฉันท์ในกองทัพไว้ เขามองว่าอุปสรรคที่ขวางทางอยู่คือองค์จักรพรรดิวิลเฮ็ล์มที่ 2 เขารู้สึกว่าจักรพรรดิควรจะปลงพระชนม์ตนเองอย่างองอาจเช่นทหารแนวหน้า[4]: 75 

6 พฤศจิกายน 1918 เกรอเนอร์โกรธเมื่อทราบว่าพรรคสังคมประชาธิปไตยซึ่งครองเสียงมากสุดในไรชส์ทาค ถวายคำแนะนำให้จักรพรรดิทรงสละบัลลังก์[2] แต่สุดท้าย ในวันที่ 9 พฤศจิกายน เกรอเนอร์ทูลแนะนำจักรพรรดิวิลเฮ็ล์มที่ 2 ทรงสละบัลลังก์ เนื่องจากกองทัพไม่เหลือความไว้วางใจพระองค์อีกแล้ว เกรอเนอร์ยังคงต้องการจะพิทักษ์ระบอบกษัตริย์ไว้ แต่เป็นภายใต้เจ้าเหนือหัวคนใหม่[3] อย่างไรก็ตาม ในวันนั้นเอง นายกรัฐมนตรีจักรวรรดิออกประกาศว่าจักรพรรดิทรงสละราชสมบัติแล้ว นอกจากนี้ นักการเมืองพรรคสังคมประชาธิปไตยก็ยังป่าวประกาศว่าจักรวรรดิเยอรมันแปรสภาพสู่สาธารณรัฐแล้ว เกรอเนอร์จึงได้แต่ยอมรับสภาพโดยดี

ในคืนวันที่ 10 พฤศจิกายน พลโทเกรอเนอร์ติดต่อกับฟรีดริช เอเบิร์ท นายกรัฐมนตรีเฉพาะกาลคนใหม่ ทั้งสองแอบทำข้อตกลงกัน นายกรัฐมนตรีเอเบิร์ทยินยอมให้เกรอเนอร์ปราบปรามพวกบอลเชวิคหัวปฏิวัติและรักษาขนบธรรมเนียมในกองทัพเยอรมัน เกรอเนอร์ให้สัญญาว่ากองทัพจะสนับสนุนรัฐบาลใหม่[5][2] ข้อตกลงนี้ทำให้เกรอเนอร์ถูกเกลียดขี้หน้าโดยทหารยศสูงจำนวนมากที่ต้องการปกป้องระบอบกษัตริย์ เกรอเนอร์เป็นผู้บัญชาการกำลังทหารในการปฏิวัติเยอรมัน ค.ศ. 1918–1919 และสามารถปราบปรามการลุกฮือของประชาชนทั่วทั้งประเทศ

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 "Biografie Wilhelm Groener (German)". Bayerische Staatsbibliothek. สืบค้นเมื่อ 26 June 2013.
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 Dupuy, Trevor (1984). A genius for war: the German army and General Staff 1807-1945. United Kingdom: Hero Books Ltd.
  3. 3.0 3.1 "Biografie Wilhelm Groener (German)". Deutsches Historisches Museum. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 11, 2014. สืบค้นเมื่อ 22 May 2013.
  4. 4.0 4.1 Haffner, Sebastian (2002). Die deutsche Revolution 1918/19 (German). Kindler. ISBN 3-463-40423-0.
  5. William L. Shirer, The Rise and Fall of the Third Reich: A History of Nazi Germany, New York, NY, Simon & Schuster, 2011, p. 54
ก่อนหน้า วิลเฮ็ล์ม เกรอเนอร์ ถัดไป
จอมพล เพาล์ ฟ็อน ฮินเดินบวร์ค   หัวหน้าคณะเสนาธิการใหญ่
(3 กรกฎาคม 1919 – 7 กรกฎาคม 1919)
  พลตรี ฮันส์ ฟ็อน เซคท์
พลเอก เอริช ลูเดินดอร์ฟ   เจ้าพนักงานใหญ่ผู้บัญชาการยุทธภัณฑ์
(30 ตุลาคม 1918 – 15 กรกฎาคม 1919)
  ไม่มี
(จักรวรรดิสิ้นสภาพ)