แนวรบด้านตะวันตก (สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง)

แนวรบด้านตะวันตก (อังกฤษ: Western Front) คือเขตสงครามหลักในช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง หลังสงครามอุบัติในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1914 กองทัพเยอรมันเปิดแนวรบด้านตะวันตกด้วยการบุกครองเบลเยียมและลักเซมเบิร์ก จากนั้นยังสามารถยึดครองแคว้นอุตสาหกรรมที่สำคัญของฝรั่งเศส ฝ่ายตั้งรับพลิกสถานการณ์ได้อย่างมากหลังยุทธการที่แม่น้ำมาร์น หลังการแข่งขันสู่ทะเล ทั้งสองฝ่ายต่างยึดที่มั่นตามแนวสนามเพลาะคดเคี้ยวและมีการเสริมความมั่นคงอย่างแน่นหนา ลากตั้งแต่ทะเลเหนือต่อเนื่องไปจนแนวชายแดนฝรั่งเศสด้านที่ติดกับสวิตเซอร์แลนด์ โดยมีการเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อยยกเว้นต้นปี 1917 และในปี 1918

แนวรบด้านตะวันตก
ส่วนหนึ่งของ สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง

ตามเข็มนาฬิกาจากซ้ายบน: ทหารราบไอริชในสนามเพลาะ ไม่กี่อึดใจก่อนบุกในยุทธการที่แม่น้ำซอมม์วันแรก; ทหารบริติชนำตัวสหายร่วมรบที่ได้รับบาดเจ็บจากสนามรบในยุทธการที่แม่น้ำซอมม์วันแรก; ทหารหนุ่มชาวเยอรมันพร้อมอาวุธปืนเล็กยาว 98อา-เกเวร์ ระหว่างยุทธการที่แก็งชี; ทหารราบอเมริกันบุกบังเกอร์เยอรมัน; เครื่องบินทิ้งระเบิดหนักโกทา เก.4; รถถังอเมริกันและเรโนลต์ เอฟที-17 กำลังเคลื่อนที่ในป่าอาร์กอนมุ่งหน้าสู่แนวหน้าระหว่างการรุกมิวส์-อาร์กอน วันที่ 26 กันยายน 1918
วันที่4 สิงหาคม 1914 – 11 พฤศจิกายน 1918<br (4 ปี 3 เดือน 1 สัปดาห์)
สถานที่
ผล
คู่สงคราม

ฝ่ายสัมพันธมิตร:
ฝรั่งเศส ฝรั่งเศส

สหราชอาณาจักร จักรวรรดิบริติช

 สหรัฐ
(หลังปี 1917)
 เบลเยียม
ราชอาณาจักรอิตาลี อิตาลี
(หลังปี 1915)[8]
 โปรตุเกส
(หลังปี 1916)[9]
จักรวรรดิรัสเซีย รัสเซีย
(ถึงปี​ 1917)[10]

ไทย สยาม[11]

ฝ่ายมหาอำนาจกลาง:
 เยอรมนี

 ออสเตรีย-ฮังการี
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ
กำลัง
15,900,000
13,250,000[12]
ความสูญเสีย
  • ทหารสูญเสีย:
7,500,000
  • 4,808,000
  • 2,264,200
  • 286,330
  • 93,100
  • 22,120
  • 15,000
  • 4,542[b]
  • 19

  • พลเรือนสูญเสีย:
  • 534,500
  • ทหารสูญเสีย:
5,500,000
  • 5,490,300
  • 19,295[19]

  • พลเรือนสูญเสีย:
  • 424,000[c]

ระหว่างปี 1915 ถึง 1917 เกิดการบุกใหญ่หลายครั้งในแนวรบด้านนี้ มีการระดมยิงปืนใหญ่และการบุกโดยใช้ทหารราบปริมาณมาก อย่างไรก็ตามด้วยการปักหลักในที่มั่น การวางปืนกล รั้วลวดหนาม และปืนใหญ่ล้วนก่อให้เกิดกำลังพลสูญเสียใหญ่หลวงระหว่างการเข้าตีและการตีโต้ตอบซ้ำแล้วซ้ำเล่า ผลจึงไม่มีการบุกอย่างสำคัญ การบุกครั้งที่มีกำลังพลสูญเสียมากที่สุด ได้แก่ ยุทธการที่แวร์เดิง (ปี 1916) มีกำลังพลสูญเสียรวม 700,000 นาย (ประมาณการ), ยุทธการที่แม่น้ำซอม (ค.ศ. 1916) มีกำลังพลสูญเสียกว่า 1,000,000 นาย (ประมาณการ) และ ยุทธการที่ปอสเชินดาเลอ หรือยุทธการที่อีปส์ครั้งที่สาม (ปี 1917) มีกำลังพลสูญเสีย 487,000 นาย (ประมาณการ)

เพื่อยุติภาวะอับจนของการสงครามสนามเพลาะในแนวรบด้านตะวันตก ต่างฝ่ายต่างทดลองเทคโนโลยีทางทหารใหม่ ๆ รวมทั้ง แก๊สพิษ อากาศยาน และรถถัง การใช้ยุทธวิธีที่ดีขึ้นและการอ่อนกำลังของกองทัพทั้งสองฝ่ายในแนวรบด้านตะวันตกทำให้สถานการณ์กลับมาเคลื่อนไหวอีกครั้งในปี 1918 การรุกฤดูใบไม้ผลิของเยอรมันในปี 1918 เกิดขึ้นได้จากสนธิสัญญาเบรสท์-ลีตอฟสก์ที่ยุติการสู้รบในแนวรบด้านตะวันออกระหว่างฝ่ายมหาอำนาจกลางกับรัสเซียและโรมาเนีย กองทัพเยอรมันใช้การระดมยิงปืนใหญ่ "เฮอร์ริเคน" สั้น ๆ แต่เข้มข้น และยุทธวิธีแทรกซึม ทำให้สามารถเคลื่อนที่ไปได้เกือบ 100 กิโลเมตรทางทิศตะวันตก นับเป็นการบุกได้มากที่สุดนับแต่ปี 1914 แต่ผลไม่เด็ดขาด

การบุกของฝ่ายสัมพันธมิตรที่หยุดไม่ได้ในการรุกร้อยวันปี 1918 ทำให้กองทัพเยอรมันล่มสลายอย่างฉับพลันและโน้มน้าวให้ผู้บังคับบัญชาฝ่ายเยอรมันเชื่อว่าหลีกเลี่ยงความปราชัยไม่พ้น รัฐบาลเยอรมันยอมจำนนในการสงบศึกวันที่ 11 พฤศจิกายน 1918 โดยมีการชำระสะสางเงื่อนไขสันติภาพในสนธิสัญญาแวร์ซายในปี 1919

อ้างอิง แก้

  1. "Canada in the First World War and the Road to Vimy Ridge". Veteran Affairs Canada. 1992. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-11-09. สืบค้นเมื่อ 5 December 2006.
  2. "First World War 1914–1918". Australian War Memorial. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-05-16. สืบค้นเมื่อ 5 December 2006.
  3. Corrigan 1999, p. 57.
  4. Nicholson 2007, p. 237.
  5. "New Zealand and the First World War – Overview". New Zealand's History Online. สืบค้นเมื่อ 26 January 2007.
  6. Uys, I.S. "The South Africans at Delville Wood". The South south African Military History Society. สืบค้นเมื่อ 26 January 2007.
  7. McLaughlin 1980, p. 49.
  8. "2nd Battle of the Marne". Spartacus Educational. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-11-15. สืบค้นเมื่อ 7 January 2009.
  9. Rodrigues, Hugo. "Portugal in World War I". The First World War. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 September 2007. สืบค้นเมื่อ 26 January 2007. ดูเพิ่มที่โปรตุเกสในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง
  10. Cockfield 1999, p. ix.
  11. "Thailand in the First World War". สืบค้นเมื่อ 10 December 2013. ดูเพิ่มที่ประเทศสยามในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง
  12. 12.0 12.1 ILO 1925, p. 29.
  13. SWO 1922, p. 742.
  14. Ayres 1919, p. 105.
  15. Hosch 2010, p. 219.
  16. Tucker et al. 1999.
  17. 17.0 17.1 Maurel 2001, §1.
  18. Massimiliano, Fassero (2015). "The II Italian Corps deployment on the Western Front during the First World War (April 1918-May 1919)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-01-21. สืบค้นเมื่อ 6 March 2019. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)
  19. Jones, Ian (May 2019). "The Austro-Hungarian Divisions on the Western Front, 1918" (PDF). สืบค้นเมื่อ 6 March 2019. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)
  20. Grebler & Winkler 1940, p. 78.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้


อ้างอิงผิดพลาด: มีป้ายระบุ <ref> สำหรับกลุ่มชื่อ "lower-alpha" แต่ไม่พบป้ายระบุ <references group="lower-alpha"/> ที่สอดคล้องกัน