การรุกฤดูใบไม้ผลิ
การรุกฤดูใบไม้ผลิ หรือ ยุทธการของไกเซอร์ (เยอรมัน: Kaiserschlacht) เป็นชุดการโจมตีของจักรวรรดิเยอรมันในแนวรบด้านตะวันตกของสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง เยอรมันดำเนินการรุกนี้เพื่อหวังเอาชนะฝ่ายสัมพันธมิตรให้ได้ก่อนสหรัฐจะเข้าช่วยเหลือฝ่ายสัมพันธมิตรอย่างเต็มตัว การรุกครั้งนี้เริ่มขึ้นในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1918 เมื่อเยอรมันเริ่มปฏิบัติการไมเคิล อันเป็นหนึ่งในสี่ปฏิบัติการเพื่อผลักดันฝ่ายสัมพันธมิตรออกจากทางเหนือของฝรั่งเศส ก่อนจะจบลงที่ความพ่ายแพ้ของเยอรมันในยุทธการที่มาร์นครั้งที่สองในเดือนกรกฎาคม ปีเดียวกัน
การรุกฤดูใบไม้ผลิ | |||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
ส่วนหนึ่งของ แนวรบด้านตะวันตก ในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง | |||||||
| |||||||
คู่สงคราม | |||||||
เยอรมนี |
ฝรั่งเศส โปรตุเกส อิตาลี | ||||||
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ | |||||||
เอริช ลูเดินดอร์ฟ |
แฟร์ดีน็อง ฟ็อช ดักลาส เฮก ฟีลิป เปแต็ง จอห์น เจ. เพอร์ชิง | ||||||
ความสูญเสีย | |||||||
688,341 นาย[1] |
: 433,000[2] : 418,374[3] : 7,000[4] : 5,000[5] รวม: 863,374 นาย |
หลังสู้รบมานาน 4 ปี ทั้งฝ่ายสัมพันธมิตรและฝ่ายมหาอำนาจกลางต่างตกอยู่ในสภาพชะงักงันและเหลือปัจจัยในการทำสงครามน้อยลงทุกที ถึงแม้ว่าฝ่ายมหาอำนาจกลางจะบีบให้รัสเซียออกจากสงครามได้หลังลงนามในสนธิสัญญาเบรสท์-ลีตอฟสก์ แต่การเข้าร่วมสงครามของสหรัฐในเดือนเมษายน ค.ศ. 1917 ทำให้เยอรมันเหลือหนทางในการชนะสงครามไม่มาก[6] ในวันที่ 11 พฤศจิกายน ค.ศ. 1917 เอริช ลูเดินดอร์ฟ แม่ทัพพลาธิการของจักรวรรดิเยอรมันสั่งเริ่มการรุก[7] โดยทัพเยอรมันได้ทหารเกือบ 50 กองพลที่ถอนกำลังจากรัสเซียมาช่วยในการรุกนี้ วันที่ 21 มีนาคม ค.ศ. 1918 ลูเดินดอร์ฟเริ่มปฏิบัติการไมเคิลเพื่อเจาะแนวรบของฝ่ายสัมพันธมิตรและยึดท่าเรือช่องแคบ (Channel Ports) ที่บริเตนใช้ขนส่งสรรพาวุธ ถึงแม้ว่าเยอรมันจะสามารถรุกไปได้ไกลจากเดิมกว่า 65 กิโลเมตร แต่พื้นที่ที่ยึดได้กลับให้ประโยชน์ทางยุทธศาสตร์แก่เยอรมันน้อยมาก[8] ปฏิบัติการครั้งหลัง ๆ อีกสามปฏิบัติการคือปฏิบัติการจอร์เจต ปฏิบัติการบลือเชอร์–ยอร์ค และไกเซเนาล้วนแล้วแต่ไม่บรรลุจุดประสงค์และเสียกำลังพลจำนวนมาก[9] วันที่ 15 กรกฎาคม เยอรมันโจมตีที่แม่น้ำมาร์นเป็นครั้งที่สองเพื่อหวังตบตาฝ่ายสัมพันธมิตรก่อนจะบุกทางฟลานเดอร์แต่ล้มเหลว เยอรมันจึงสั่งถอนทัพในวันที่ 20 กรกฎาคม[10]
ชัยชนะในยุทธการที่มาร์นครั้งที่สองช่วยเสริมสร้างขวัญกำลังใจให้ทัพฝ่ายสัมพันธมิตร และนำไปสู่การรุกร้อยวัน อันเป็นการรุกกลับของฝ่ายสัมพันธมิตรที่ท้ายที่สุดแล้วบีบให้เยอรมันยอมสงบศึกในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1918[11]
อ้างอิง
แก้- ↑ Churchill, "The World Crisis, Vol. 2", p.963. German casualties from "Reichsarchiv 1918"
- ↑ Churchill, "The World Crisis, Vol. 2", p.963. French casualties from "Official Returns to the Chamber, March 29, 1922"
- ↑ Churchill, "The World Crisis, Vol. 2", p.963. British casualties from "Military Effort of the British Empire"
- ↑ Edmonds, Davies & Maxwell-Hyslop 1995, pp. 147–148, 168.
- ↑ "Le souvenir de la 1ère GM en Champagne-Ardenne – Le cimetière italien de Bligny présenté par Jean-Pierre Husson". www.cndp.fr. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-05-10. สืบค้นเมื่อ 2 September 2018.
- ↑ Hickman, Kennedy (March 2, 2018). "World War I: Operation Michael". ThoughtCo. สืบค้นเมื่อ May 3, 2020.
- ↑ Blaxland, p.25
- ↑ "First stage of German spring offensive ends". HISTORY. November 5, 2009. สืบค้นเมื่อ May 3, 2020.
- ↑ Hickman, Kennedy (November 25, 2019). "World War I - 1918 Overview". ThoughtCo. สืบค้นเมื่อ May 3, 2020.
- ↑ Hickman, Kennedy (March 20, 2020). "Second Battle of the Marne in World War I". ThoughtCo. สืบค้นเมื่อ May 3, 2020.
- ↑ Anthony, Marla (August 6, 2018). "From Amiens to Armistice: The Hundred Days Offensive". Imperial War Museums. สืบค้นเมื่อ May 3, 2020.