สาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 3

พิกัดภูมิศาสตร์: 48°49′N 2°29′E / 48.817°N 2.483°E / 48.817; 2.483

สาธารณรัฐฝรั่งเศสที่สาม (ฝรั่งเศส: Troisième République บางครั้งเขียนย่อว่า La IIIe République) เป็นชื่อของระบอบการปกครองของประเทศฝรั่งเศส ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 4 กันยายน ค.ศ. 1870 เกิดขึ้นหลังจากการพ่ายแพ้ของจักรวรรดิฝรั่งเศสที่สองต่อจักรวรรดิเยอรมัน ในสงครามฝรั่งเศส-ปรัสเซีย ซึ่งทำให้ฝรั่งเศสสูญเสีย อาลซัส-ลอแรน และดำรงอยู่มาจนล่มสลายเมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม ค.ศ. 1940 หลังจากการรุกรานฝรั่งเศสของนาซีเยอรมนีในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ซึ่งนำไปสู่การจัดตั้งรัฐบาลฝรั่งเศสเขตวีชี

สาธารณรัฐฝรั่งเศส

République française
1870–1940
ธงชาติสาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 3
ธงชาติ
คำขวัญLiberté, égalité, fraternité
("เสรีภาพ, เสมอภาค, ภราดรภาพ")
สาธารณรัฐฝรั่งเศสใน ค.ศ. 1914
  •   ฝรั่งเศส
  •   รัฐในอารักขาของฝรั่งเศส
ดินแดนและอาณานิคมของสาธารณรัฐฝรั่งเศสในช่วงปลาย ค.ศ. 1939
เมืองหลวง
และเมืองใหญ่สุด
ปารีส
ภาษาทั่วไปฝรั่งเศส (ทางการ), ภาษาอื่น ๆ
ศาสนา
การปกครองรัฐเดี่ยว สาธารณรัฐระบบรัฐสภา
ประธานาธิบดี 
• ค.ศ. 1871–1873 (คนแรก)
อาดอลฟ์ ตีแยร์
• ค.ศ. 1932–1940 (คนสุดท้าย)
อาลแบร์ เลอเบริง
นายกรัฐมนตรี 
• ค.ศ. 1870–1871 (คนแรก)
หลุยส์ ฌูล ทรอชูว์
• ค.ศ. 1940 (คนสุดท้าย)
ฟีลิป เปแต็ง
สภานิติบัญญัติรัฐสภา
วุฒิสภา
สภาผู้แทนราษฏร
ประวัติศาสตร์ 
• ประกาศโดยเลอง ก็องแบ็ตตา
4 กันยายน 1870
10 กรกฎาคม 1940
ประชากร
• 1870
36,100,000[1]
สกุลเงินฟรังก์ฝรั่งเศส
ก่อนหน้า
ถัดไป
จักรวรรดิฝรั่งเศสที่สอง
ฝรั่งเศสเขตวีชี
ฝรั่งเศสเสรี
นาซีเยอรมนี
ราชอาณาจักรอิตาลี
ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของฝรั่งเศส
แอลจีเรีย

ช่วงเริ่มแรกของสาธารณรัฐที่สามต้องเผชิญกับความปั่นป่วนทางการเมือง เนื่องจากสงครามฝรั่งเศส-ปรัสเซีย ในปี ค.ศ. 1870–1871 ซึ่งนำมาสู่การล่มสลายของจักรวรรดิฝรั่งเศสที่สองของจักรพรรดินโปเลียนที่ 3 ในวันที่ 4 กันยายน ค.ศ. 1870 หลังจากการพ่ายแพ้สงคราม ฝรั่งเศสต้องสูญเสียพื้นที่อาลซัส (ยกเว้นแตรีตัวร์เดอแบลฟอร์) และทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของลอแรน (ปัจจุบันคือ จังหวัดมอแซล) ให้แก่ปรัสเซีย จากความไม่มั่นคงทางการเมือง และการก่อการกำเริบของฝ่ายคณะปฏิวัติที่เรียกตนเองว่า คอมมูนปารีส จึงมีการพิจารณาที่จะนำระบอบกษัตริย์กลับมาปกครองฝรั่งเศสอีกครั้ง แต่ผู้คนส่วนใหญ่ในรัฐบาลไม่เห็นด้วย ด้วยเหตุนี้ทำให้รัฐบาลแห่งสาธารณรัฐที่สามซึ่งเดิมเป็นรัฐบาลเฉพาะกาล กลายเป็นรัฐบาลของประเทศฝรั่งเศสโดยสมบูรณ์

รัฐธรรมนูญแห่งฝรั่งเศส ค.ศ. 1875 ได้กำหนดรูปแบบโครงสร้างบริหารอำนาจของสาธารณรัฐที่สามอันประกอบด้วย ฝ่ายนิติบัญญัติ โดยมีรัฐสภาซึ่งใช้ระบบสภาคู่เป็นผู้ใช้อำนาจ ประกอบด้วยสภาผู้แทนราษฏรและวุฒิสภา และมีประธานาธิบดีเป็นประมุขแห่งรัฐ การเรียกร้องให้มีการสถาปนาสถาบันกษัตริย์ขึ้นใหม่มีความเด่นชัดที่สุดในช่วงการดำรงตำแหน่งของประธานาธิบดีทั้งสองคนแรก คือ อาดอลฟ์ ตีแยร์ และปาทริส เดอ มัก-มาอง แต่การสนับสนุนระบอบสาธารณรัฐที่เพิ่มขึ้นในหมู่ชาวฝรั่งเศสและการมีประธานาธิบดีจากพรรครีพับลิกันในทศวรรษที่ 1880 ทำให้การเรียกร้องการฟื้นฟูพระมหากษัตริย์ค่อย ๆ ลดลง

สาธารณรัฐที่สามได้ก่อตั้งอาณานิคมไว้เป็นจำนวนมาก อาทิ อินโดจีนฝรั่งเศส, เฟรนช์มาดากัสการ์, เฟรนช์พอลินีเชีย และดินแดนขนาดใหญ่ในแอฟริกาตะวันตก ซึ่งทั้งหมดเกิดขึ้นในช่วงการแข่งขันล่าอาณานิคมในทวีปแอฟริกา โดยกินเวลากว่าสองทศวรรษในปลายศตวรรษที่ 19 ทำให้จักรวรรดิอาณานิคมฝรั่งเศสเป็นจักรวรรดิอาณานิคมที่ใหญ่เป็นอันดับที่ 2 ของโลก รองจากจักรวรรดิบริติช โดยมีพื้นที่ทั้งหมด 13,500,000 ตารางกิโลเมตร (5,200,000 ตารางไมค์) ในแง่ของจำนวนประชากร ฝรั่งเศสและอาณานิคมในช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่สองมีประชากรทั้งหมด 150 ล้านคน เป็นรองเพียงบริติชอินเดียที่มีประชากรทั้งหมด 330 ล้านคน

อาดอลฟ์ ตีแยร์ ได้เรียกระบอบสาธารณรัฐในทศวรรษที่ 1870 ว่าเป็น “รูปแบบรัฐบาลที่แทบไม่มีการแบ่งฝ่าย” อย่างไรก็ตาม การเมืองภายในรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐกลับมีการแบ่งฝ่ายกันอย่างรุนแรง โดยมีฝ่ายซ้ายนำโดย “ฝ่ายปฏิรูปฝรั่งเศส” ซึ่งมีรากฐานมาจากการปฏิวัติฝรั่งเศส และฝ่ายขวานำโดยพวกอนุรักษนิยม ซึ่งมีรากฐานมาจากชาวนาที่นับถือนิกายคาทอลิก และทหาร[2] แม้ว่าฝรั่งเศสจะมีการแบ่งฝ่ายการเมืองอย่างรุนแรง และพยายามที่จะโค่นล้มรัฐบาลกันอย่างไม่หยุดยั้ง แต่สาธารณรัฐที่สามก็สามารถดำรงอยู่เป็นเวลานานกว่าเจ็ดสิบปี ทำให้เป็นยุคของสาธารณรัฐฝรั่งเศสที่อายุยืนที่สุด นับตั้งแต่มีการปฏิวัติฝรั่งเศสในปี ค.ศ. 1789 เป็นต้นมา[3] และสาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 5 โดยเป็นสาธารณรัฐปัจจุบัน จะแซงหน้าเป็นสาธารณรัฐที่ยืนยาวที่สุด ในวันที่ 11 สิงหาคม ค.ศ. 2028

ภูมิหลังและการก่อตั้ง แก้

 
การประกาศล้มเลิกราชาธิปไตยบริเวณด้านหน้าปาแลบูร์บง ซึ่งเป็นสภานิติบัญญัติในขณะนั้น เมื่อวันที่ 4 กันยายน ค.ศ. 1870

จากสงครามฝรั่งเศส-ปรัสเซียที่ดำเนินในระหว่าง ค.ศ. 1870–1871 นำไปสู่ความพ่ายแพ้ของฝรั่งเศสและการโค่นล้มจักรพรรดินโปเลียนที่ 3 และจักรวรรดิที่สอง ภายหลังการจับกุมนโปเลียนที่ 3 ของปรัสเซียในยุทธการที่เซอด็อง (1 กันยายน ค.ศ. 1870) สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรชาวปารีสเลอง ก็องแบตา ได้จัดตั้งรัฐบาลการปกป้องแห่งชาติ (Gouvernement de la Défense nationale) ขึ้นเมื่อวันที่ 4 กันยายน ค.ศ. 1870 เพื่อทำหน้าที่เป็นรัฐบาลชั่วคราว จากนั้นบรรดาสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจึงได้เลือกนายพลหลุยส์-ฌูล ทรอชูว์ ดำรงตำแหน่งหัวหน้ารัฐบาล โดยเป็นคณะรัฐบาลชุดแรกของสาธารณรัฐที่สามที่ปกครองในระหว่างการล้อมปารีส (19 กันยายน ค.ศ. 1870 – 28 มกราคม ค.ศ. 1871) เมื่อปารีสถูกตัดขาดจากพื้นที่ส่วนอื่นของฝรั่งเศส รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสงคราม เลอง ก็องแบตา สามารถหลบหนีออกจากปารีสทางบัลลูนอากาศร้อนเป็นผลสำเร็จ และได้จัดตั้งทำเนียบของรัฐบาลสาธารณรัฐชั่วคราวที่เมืองตูร์ ซึ่งตั้งอยู่บริเวณริมแม่น้ำลัวร์

หลังจากการยอมจำนนของฝรั่งเศสในเดือนมกราคม ค.ศ. 1871 รัฐบาลชั่วคราวเพื่อการปกป้องแห่งชาติจึงยุบตัวลง และมีการเรียกร้องให้จัดการเลือกตั้งระดับชาติ โดยมีเป้าหมายเพื่อก่อตั้งรัฐบาลฝรั่งเศสชุดใหม่ แต่ดินแดนฝรั่งเศสที่ถูกปรัสเซียยึดครองในขณะนั้นไม่ได้มีส่วนร่วมด้วย ผลที่เกิดขึ้นคือสมัชชาแห่งชาติอนุรักษนิยมได้เลือกอาดอลฟ์ ตีแยร์ เป็นหัวหน้ารัฐบาลชั่วคราวในนาม "หัวหน้าฝ่ายบริหารของสาธารณรัฐที่รอการตัดสินใจเกี่ยวกับสถาบันของฝรั่งเศส" เนื่องจากบรรยากาศทางการเมืองภายในปารีสเต็มไปด้วยนักปฏิวัติและฝ่ายซ้าย ทางรัฐบาลฝ่ายขวาจึงเลือกพระราชวังแวร์ซายเป็นทำเนียบรัฐบาล

รัฐบาลชุดใหม่เจรจาข้อตกลงสันติภาพกับจักรวรรดิเยอรมันที่พึ่งก่อตั้งขึ้น: มีการลงนามในสนธิสัญญาแฟรงก์เฟิร์ตเมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม ค.ศ. 1871 เพื่อบีบบังคับให้ปรัสเซียออกจากฝรั่งเศส อีกทั้งรัฐบาลยังได้ผ่านกฎหมายการคลังเป็นจำนวนมาก เช่นเดียวกับกฎหมายกำหนดการ (Law of Maturities) ที่เป็นข้อถกเถียง เพื่อชดเชยค่าปฏิกรรมสงครามให้แก่ปรัสเซีย จากเหตุการณ์ดังกล่าว จึงทำให้ในปารีสเกิดความขุ่นเคืองต่อรัฐบาล และตั้งแต่ปลายเดือนมีนาคม – พฤษภาคม ค.ศ. 1871 คนงานปารีสและกองกำลังป้องกันชาติได้ทำการกบฏและก่อตั้งคอมมูนปารีสขึ้นมา ซึ่งสามารถรักษาระบอบของฝ่ายซ้ายหัวรุนแรงไว้ได้เป็นเวลาสองเดือน กระทั่งการปราบปรามคอมมูนอย่างนองเลือดของรัฐบาลตีแยร์ในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1871 โดยการปราบปรามครั้งนี้ส่งผลกระทบอย่างสาหัสต่อการขับเคลื่อนของขบวนการแรงงาน

ความพยายามฟื้นฟูราชาธิปไตย แก้

 
โครงสร้างของสมัชชาแห่งชาติใน ค.ศ. 1871

การเลือกตั้งสภานิติบัญญัติฝรั่งเศสใน ค.ศ. 1871 ที่เกิดขึ้นภายหลังการล่มสลายของระบอบนโปเลียนที่ 3 เป็นผลให้นักการเมืองฝ่ายราชาธิปไตยได้รับคะแนนเสียงข้างมากในสมัชชาแห่งชาติฝรั่งเศส ซึ่งเอื้ออำนวยต่อการทำความตกลงสันติภาพกับปรัสเซีย และมีการวางแผนที่จะฟื้นฟูราชาธิปไตยอีกครั้ง โดยกลุ่มเลชีตีมีสต์ (Légitimistes) ในสมัชชาแห่งชาติสนับสนุนเจ้าชายอ็องรี เคานต์แห่งช็องบอร์ (ในพระนาม "อ็องรีที่ 5") พระราชนัดดาในพระเจ้าชาร์ลที่ 10 (ผู้ซึ่งเป็นพระมหากษัตริย์องค์สุดท้ายจากสายบูร์บง) เป็นผู้สืบทอดราชบัลลังก์ฝรั่งเศส ส่วนกลุ่มออร์เลอ็องนีสต์ (Orléaniste) สนับสนุนเจ้าชายฟีลิป เคาน์แห่งปารีส พระราชนัดดาในพระเจ้าหลุยส์-ฟีลิปที่ 1 แห่งฝรั่งเศส (ซึ่งสืบทอดราชบัลลังก์ฝรั่งเศสต่อจากกษัตริย์ชาร์ลที่ 10 ที่เป็นพระญาติใน ค.ศ. 1830) แต่สำหรับกลุ่มโบนาปาร์ตแล้ว ได้สูญเสียความชอบธรรมไปอย่างมาก เนื่องจากความพ่ายแพ้ของนโปเลียนที่ 3 ทั้งยังไม่สามารถหาผู้สมัครจากสมาชิกในราชวงศ์โบนาปาร์ตได้ เลชีตีมีสต์และออร์เลอ็องนีสต์ได้หันมาประนีประนอมกัน และมีการตกลงให้เคานต์แห่งช็องบอร์ขึ้นสืบราชบังลังก์และให้เคานต์แห่งปารีสเป็นรัชทายาท เนื่องจากเคานต์แห่งช็องบอร์ไม่มีบุตร แนวคิดในการสืบราชสมบัติครั้งนี้ เป็นแนวคิดตามราชประเพณีดั้งเดิมว่าด้วยสิทธิของบุตรหัวปีตามฝั่งบิดาที่ใช้ตั้งแต่สมัยบูร์บงสเปนตามสนธิสัญญายูเทรกต์ ดังนั้นใน ค.ศ. 1871 ราชบังลังก์จึงถูกเสนอให้เป็นของเคานต์แห่งช็องบอร์[4]

สาธารณรัฐราชาธิปไตยและวิกฤตรัฐธรรมนูญ แก้

ช็องบอร์เชื่อว่าการฟื้นฟูราชาธิปไตยจะต้องขจัดร่อยรองของการปฏิวัติออกไปทั้งหมด (นั่นรวมถึงธงไตรรงค์ด้วย) เพื่อฟื้นฟูความเป็นหนึ่งเดียวระหว่างราชาธิปไตยและชาติ ซึ่งการปฏิวัติได้ทำลายลง อีกทั้งเขายังมองว่าหากใช้การประนีประนอมจะไม่สามารถสร้างสถาบันชาติให้สมบูรณ์ได้ อย่างไรก็ตาม ในหมู่ประชากรทั่วไปกลับไม่เห็นด้วยที่จะละทิ้งธงไตรรงค์ จึงต้องชะลอการสถาปนาระบอบราชาธิปไตยจนกระทั่งช็องบอร์สิ้นพระชนม์ใน ค.ศ. 1883 โดยปราศจากบุตร จากนั้นจึงมีการเสนอราชบังลังก์ให้แก่เคานต์แห่งปารีส ซึ่งมีแนวคิดที่เป็นเสรีนิยมมากกว่า ถึงอย่างนั้นเคานต์แห่งปารีสก็ไม่ได้ต้องการที่จะเป็นกษัตริย์แล้ว จึงมีการจัดตั้งรัฐบาลสาธารณรัฐ "ชั่วคราว" ขึ้น[5]

 
มหาวิหารซาเคร-เกอร์ถูกกำหนดให้เป็นสัญลักษณ์แห่งระเบียบทางศีลธรรม

หลังจากความพ่ายแพ้ของฝรั่งเศสในสงครามกับปรัสเซียเมื่อเดือนมกราคม ค.ศ. 1871 รัฐบาลการปกป้องแห่งชาติได้จัดตั้งฝ่ายบริหารของตนไว้ที่แวร์ซายในช่วงที่ปารีสถูกกองทัพปรัสเซียล้อม เหล่าผู้แทนราษฎรคนใหม่ได้รับการเลือกตั้งในเดือนกุมภาพันธ์ของปีนั้น แล้วจึงมีการจัดตั้งรัฐบาลซึ่งจะพัฒนามาเป็นสาธารณรัฐที่สามในเวลาต่อมา ผู้แทนเหล่านี้ (ซึ่งส่วนมากเป็นฝ่ายสาธารณรัฐนิยมแบบอนุรักษนิยม) ได้ออกกฎหมายหลายฉบับ ซึ่งก่อให้เกิดการต่อต้านและการคัดค้านจากพวกหัวรุนแรงและขบวนการสาธารณรัฐนิยมฝ่ายซ้าย ในปารีส การวิวาทกันในที่สาธารณะเกิดขึ้นอยู่หลายครั้งระหว่างรัฐบาลปารีสที่เป็นพันธมิตรกับแวร์ซายและนักสังคมนิยมหัวรุนแรงในเมืองหลวง ซึ่งท้ายที่สุดพวกหัวรุนแรงก็ปฏิเสธอำนาจของทางการแวร์ซาย และได้ก่อตั้งคอมมูนปารีสขึ้นมาในเดือนมีนาคม

หลักการที่คอมมูนสนับสนุนถูกฝ่ายอนุรักษนิยมฝรั่งเศสมองว่าเป็นความเสื่อมโทรมทางศีลธรรม ในขณะที่รัฐบาลแวร์ซายพยายามรักษาเสถียรภาพของตนที่เปราะบางไว้ภายหลังสงคราม ในเดือนพฤษภาคม กองทัพฝรั่งเศสภายใต้การบัญชาการของปาทริส เดอ มัก มาอง และรัฐบาลแวร์ซาย เคลื่อนกำลังพลเข้าสู่ปารีสและประสบความสำเร็จในการปราบปรามคอมมูน ซึ่งในเวลานี้เป็นที่รู้จักกันในชื่อ "สัปดาห์เลือด" โดยคำว่า ordre moral ("ระเบียบทางศีลธรรม") ต่อมาถูกนำไปใช้กับสาธารณรัฐที่สามที่กำลังเติบโต เนื่องจากการรับรู้ถึงการฟื้นฟูนโยบายอนุรักษนิยมและค่านิยมภายหลังการปราบปรามคอมมูน[6]

ความนิยมของเดอ มัก มาอง เพิ่มสูงขึ้นจากชัยชนะที่มีต่อคอมมูน อีกทั้งต่อมาเขายังได้รับเลือกเป็นประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1873 และดำรงตำแหน่งจนถึงเดือนมกราคม ค.ศ. 1879 มัก-มาองเป็นนักอนุรักษนิยมคาทอลิกที่เคร่งครัด เขามีแนวคิดเห็นพ้องกันกับฝ่ายเลชีตีมีสต์ แต่เขาไม่เห็นด้วยกับแนวคิดของพวกฆราวาส (กลุ่มคนที่เห็นว่าศาสนาไม่ควรยุ่งเกี่ยวกับบ้านเมือง) มัก-มาองเริ่มมีความขัดแย้งกับรัฐสภามากขึ้นเรื่อย ๆ เนื่องจากพรรครีพับลิกันฝ่ายเสรีนิยมกับฝ่ายฆราวาสได้รับเสียงข้างมากในฝ่ายนิติบัญญัติระหว่างการดำรงตำแหน่งของเขา

ในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1875 รัฐสภาได้ประกาศใช้กฎหมายรัฐธรรมนูญแห่งสาธารณรัฐฉบับใหม่ โดยกำหนดให้ประธานาธิบดีเป็นประมุขแห่งสาธารณรัฐ และใช้ระบบสองสภา ประกอบด้วย สภาผู้แทนราษฎรที่มาจากการเลือกตั้งโดยตรง และวุฒิสภาที่มาจากการเลือกตั้งโดยทางอ้อม และให้สภาทั้งสองอยู่ภายใต้ประธานสภา (นายกรัฐมนตรี) ซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบทั้งประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐ และสภานิติบัญญัติแห่งชาติ โดยตลอดทศวรรษที่ 1870 มีการถกเถียงเรื่องการนำพระมหากษัตริย์กลับมาปกครองแทนสาธารณรัฐ ซึ่งเป็นประเด็นที่ถกเถียงกันในที่สาธารณะอยู่บ่อยครั้ง

 
ในฝรั่งเศส เด็กนักเรียนได้รับการสอนว่าพื้นที่ อาลซัส-ลอแรน เป็นพื้นที่ของฝรั่งเศส ซึ่งถูกทาด้วยสีดำบนแผนที่

การเลือกตั้งในปี ค.ศ. 1876 แสดงให้เห็นถึงการสนับสนุนของสาธารณชนต่อพรรครีพับลิกันและการต่อต้านระบอบราชาธิปไตยที่เพิ่มมากขึ้น สมาชิกพรรครีพับลิกันได้ที่นั่งในสภาผู้แทนราษฏรเป็นส่วนใหญ่ ส่วนทางฝ่ายสนับสนุนราชาธิปไตยได้ที่นั่งในสภาสูงเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ประธานาธิบดีมัก-มาองจึงตอบโต้กลับในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1877 โดยพยายามระงับความนิยมที่เพิ่มขึ้นของพรรครีพับลิกัน และจำกัดอิทธิพลทางการเมืองของพรรค หรือที่รู้จักกันในนาม le seize Mai

เมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม ค.ศ. 1877 มัก-มาองบังคับให้นายกรัฐมนตรี ฌูลส์ ซิมง ซึ่งมาจากพรรครีพับลิกันลาออก และได้เลือก อัลแบร์ตแห่งบรอฌิลี ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนใหม่แทน ซึ่งเขาคนนี้เป็นนักอนุรักษนิยมฝ่ายออร์เลอองนีสต์ สภาผู้แทนราษฎรได้ให้ความเห็นว่าการแต่งตั้งในครั้งนี้มิชอบด้วยกฎหมาย มิหนำซ้ำเป็นการกระทำที่เกินขอบเขตอำนาจของประธานาธิบดี และปฏิเสธที่จะยอมรับการแต่งตั้งบรอฌิลีของมัก-มาอง ดังนั้นมัก-มาองจึงประกาศยุบสภา และเรียกร้องให้มีการจัดเลือกตั้งทั่วไปขึ้นใหม่ในเดือนตุลาคมปีหน้า พรรครีพับลิกันจึงกล่าวหาเขาว่าพยายามทำรัฐประหารรัฐธรรมนูญ ซึ่งเขาได้ปฏิเสธขอกล่าวหานี้

การเลือกตั้งในเดือนตุลาคม พรรครีพับลิกันได้ที่นั่งในสภาผู้แทนราษฏรเป็นส่วนใหญ่เช่นเคย ซึ่งสิ่งนี้แสดงให้เห็นถึงความคิดเห็นของสาธารณชน พรรครีพับลิกันได้รับเสียงข้างมากในวุฒิสภาภายในเดือนมกราคม ค.ศ. 1879 ทำให้ยุติการฟื้นฟูราชวงศ์ทั้งสอง (บูร์บงและออร์เลอ็อง) และการสถาปนาระบอบราชาธิปไตย มัก-มาองประกาศลาออก เมื่อวันที่ 30 มกราคม ค.ศ. 1879 จึงเป็นโอกาสของพรรครีพับลิกันที่จะปกครองประเทศ ซึ่งนำโดยฌูลส์ เกรวี[7]

พรรครีพับลิกันสายกลาง แก้

หลังจากวิกฤตการณ์ 16 พฤษภาคม ในปี ค.ศ. 1877 กลุ่มเลชีตีมีสต์ถูกกดันให้ลงจากอำนาจ ทำให้สาธารณรัฐถูกปกครองโดยสมาชิกพรรครีพับลิกันสายกลาง ซึ่งพวกเขาสนับสนุนการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและการเมืองในระดับปานกลาง เพื่อสร้างระบอบการปกครองใหม่อย่างมั่นคง กฎหมายของฌูลส์ แฟร์รี่ ทำให้ระบบการศึกษาภาครัฐไม่เสียค่าใช้จ่าย กฎหมายฉบับนี้ได้รับการโหวตโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผู้มีอำนาจ และฆราวาส (laїque) ในปี ค.ศ. 1881 และ 1882 ซึ่งสิ่งนี้เป็นสัญญาแรกของการขยายอำนาจพลเมืองของสาธารณรัฐ และตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา นักบวชคาทอลิกจึงสูญเสียการควบคุมการศึกษาของรัฐ[8]

เพื่อต้องการขัดขวางการฟื้นฟูของระบอบราชาธิปไตย มงกุฏเพชรแห่งฝรั่งเศสหลายชิ้นถูกแบ่งส่วน แล้วนำไปขายในปี ค.ศ. 1885 มีเพียงไม่กี่มงกุฎเท่านั้นที่ถูกเก็บไว้ และอัญมณีล้ำค่าของมงกุฏเหล่านั้นถูกแทนที่ด้วยแก้วเคลือบสี

วิกฤตการณ์บูลอนจีร์ แก้

 
รูปภาพของนายพลฌอร์ฌ เออร์เนสต์ บูลอนจีร์

ในปี ค.ศ. 1889 สาธารณรัฐได้เผชิญกับวิกฤตการณ์ทางการเมืองอย่างกะทันหัน เนื่องจากนายพลฌอร์ฌ บูลอนจีร์ ซึ่งเป็นนายพลที่ได้รับความนิยมอย่างล้นหลามและชนะการเลือกตั้งหลายครั้ง ได้ลาออกจากตำแหน่งในสภาผู้แทนราษฎรและลงสมัครรับตำแหน่งอีกครั้งในเขตเลือกตั้งอื่น โดยในเดือนมกราคม ค.ศ. 1889 เขาได้รับความนิยมสูงที่สุด เขามีทีท่าว่าจะทำการรัฐประหาร และตั้งตนเป็นเผด็จการ โดยการสนับสนุนจากย่านกรรมกรของปารีสและเมืองอื่น ๆ รวมทั้งชาวคาทอลิกและนักอนุรักษนิยมในชนบท เขาส่งเสริมลัทธิชาตินิยมที่รุนแรงต่อเยอรมนี การเลือกตั้งในเดือนกันยายน ค.ศ. 1889 ถือเป็นความพ่ายแพ้อย่างเด็ดขาดสำหรับพวกบูลอนจิสต์ (Boulangists) เนื่องจากความพ่ายแพ้ต่อการเปลี่ยนแปลงกฎหมายการเลือกตั้งที่กีดกันไม่ให้บูลอนจีร์ลงสมัครหลายเขตเลือกตั้งได้อย่างต่อเนื่อง จากความพ่ายแพ้ของบูลอนจีร์ในครั้งนี้ได้ทำลายกลุ่มอนุรักษนิยมและกลุ่มนิยมกษัตริย์ในฝรั่งเศสอย่างรุนแรง และไม่สามารถฟื้นตัวกลับมาได้อีกเลยจนกระทั่งปี ค.ศ. 1940[9]

นักวิชาการสมัยใหม่ได้ให้ความเห็นโต้แย้งว่าพวกบูลอนจิสต์น่าจะเป็นตัวแทนของกลุ่มหัวรุนแรงฝ่ายซ้ายมากกว่าที่จะเป็นฝ่ายขวา เนื่องด้วยผลงานของพวกเขาเป็นส่วนหนึ่งของฉันทามติที่เพิ่มมากขึ้นระหว่างฝ่ายหัวรุนแรงของฝรั่งเศสที่จะก่อตัวขึ้นในอนาคตข้างหน้าในช่วงแดรฟุส โดยชายคนนี้เคยเป็นพวกบูลอนจิสต์ของกลุ่มหัวรุนแรงมาก่อน[10]

เรื่องอื้อฉาวปานามา แก้

เรื่องอื้อฉาวปานามา ในปี ค.ศ. 1892 ถือเป็นการฉ้อโกงทางการเงินครั้งยิ่งใหญ่ที่สุดในคริสต์ศตวรรษที่ 19 ซึ่งเกี่ยวข้องกับความล้มเหลวในการสร้างคลองปานามา เนื่องด้วยปัญหาโรคภัยไข้เจ็บ ความไม่มีประสิทธิภาพ และการฉ้อราษฎร์บังหลวงในวงกว้าง แต่ปัญหาดังกล่าวถูกปกปิดโดยเจ้าหน้าที่ชาวฝรั่งเศสที่ติดสินบน จึงทำให้บริษัทคลองปานามาล้มละลาย หุ้นของบริษัทไร้คุณค่า โดยนักลงทุนทั่วไปต้องสูญเสียเงินเกือบหนึ่งพันล้านฟรังก์[11]

รัฐสวัสดิการและสาธารณสุข แก้

ในช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง รัฐบาลฝรั่งเศสถือว่ามีบทบาทด้านรัฐสวัสดิการน้อยมาก เมื่อเทียบกับเยอรมนี แต่ชาวฝรั่งเศสกลับมีระดับรายได้ที่สูงกว่าชาวเยอรมันเป็นอย่างมาก ถึงแม้ว่าฝรั่งเศสจะมีทรัพยากรธรรมชาติที่น้อยกว่าก็ตาม ในขณะที่การจัดเก็บภาษีอากรและการใช้จ่ายของรัฐบาลฝรั่งเศสอยู่ในปริมาณที่ต่ำกว่า เมื่อเทียบกับรัฐบาลของเยอรมนี

ฝรั่งเศสมีความล้าหลังกว่าเยอรมนีเป็นอย่างมาก เช่นเดียวกับสหราชอาณาจักร ที่ยังตามหลังในเรื่องการพัฒนารัฐสวัสดิการที่มีการสาธารณสุข การประกันภัยคุ้มครองการว่างงาน และแผนบำเหน็จบำนาญแห่งชาติ มีการประกาศใช้กฎหมายประกันอุบัติเหตุสำหรับกรรมกร ในปี ค.ศ. 1898 และในปี ค.ศ. 1910 ฝรั่งเศสได้ก่อตั้งโครงการแผนบำเหน็จบำนาญแห่งชาติ ต่างจากเยอรมนีหรือบริเตนที่ดำเนินโครงการนี้เล็กกว่ามาก ยกตัวอย่างเช่น แผนเงินบำนาญโดยความสมัครใจ เป็นต้น[12] นักประวัติศาสตร์ ทิโมธี สมิธ พบว่าความหวาดกลัวของชาวฝรั่งเศสที่มีต่อโครงการความช่วยเหลือสาธารณะแห่งชาตินั้น มีสาเหตุมาจากการดูหมิ่นเหยียดหยามคนจนตามกฎหมายประชาสงเคราะห์ของอังกฤษ[13] การแพร่ระบาดของวัณโรค ซึ่งเป็นโรคที่น่ากลัวที่สุดในยุคนั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนหนุ่มสาวอายุ 20 ปี ทำให้เยอรมนีกำหนดมาตรการด้านสุขอนามัยสาธารณะและสถานพยาบาลสาธารณะอย่างเข้มงวด ต่างจากฝรั่งเศสที่ปล่อยให้แพทย์เอกชนจัดการปัญหากันเอง[14] วิชาชีพแพทย์ของฝรั่งเศสจึงมีเพื่ออภิสิทธิ์ชนเท่านั้น และนักปฏิรูปสาธารณสุขไม่ได้รับการจัดระเบียบหรือมีอิทธิพลอย่างในเยอรมนี บริเตน หรือสหรัฐอเมริกา[15][16] ยกตัวอย่างเช่น เมื่อช่วงทศวรรษที่ 1880 มีการต่อสู้กันอย่างยาวนาน เพื่อให้มีการออกกฎหมายว่าด้วยเรื่องสาธารณสุข รณรงค์ให้มีการจัดระเบียบบริการสุขภาพของประเทศใหม่ กำหนดให้มีการขึ้นทะเบียนโรคติดเชื้อ กำหนดให้มีการกักกัน และปรับปรุงกฎหมายด้านสุขภาพและการเคหะของปี ค.ศ. 1850

อย่างไรก็ตาม นักปฏิรูปต้องเผชิญกับการต่อต้านจากเหล่าข้าราชการ นักการเมือง และแพทย์ เนื่องจากเป็นการคุกคามต่อผลประโยชน์ของพวกเขาอย่างมากมาย ข้อเสนอดังกล่าวได้รับการถกเถียงและล่าช้าเป็นเวลากว่า 20 ปี ก่อนที่จะมีการออกกฎหมายซึ่งมีผลบังคับใช้ในปี ค.ศ. 1902 เพราะรัฐบาลตระหนักว่าโรคติดต่อมีผลกระทบต่อความมั่นคงของชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ทำให้กำลังทหารของประเทศอ่อนแอลงอย่างมาก และอัตราการเติบโตของจำนวนประชากรชาวฝรั่งเศสต่ำกว่า เมื่อเทียบกับเยอรมนี[17] แต่อีกทฤษฎีหนึ่งกล่าวว่า ที่อัตราการเติบโตของประชากรฝรั่งเศสต่ำกว่าเยอรมนีนั้น มีสาเหตุมาจากอัตราการเกิดของจำนวนประชากรฝรั่งเศสที่ต่ำ อันเป็นผลมาจากข้อกำหนดภายใต้กฎหมายปฏิวัติฝรั่งเศสว่าด้วยเรื่องที่ดินจะต้องแบ่งระหว่างบุตรชายทั้งหมด (หรือการแบ่งมรดกจำนวนมาก) จากข้อกำหนดนี้ ทำให้ชาวนาไม่ต้องการมีลูกชายมากกว่าหนึ่งคน และไม่มีหลักฐานบ่งชี้ว่าชาวฝรั่งเศสมีอายุขัยมากกว่าชาวเยอรมัน[18][19]

เหตุการณ์แดรฟุส แก้

เหตุการณ์แดรฟุสเป็นวิกฤตการณ์ทางการเมืองครั้งสำคัญที่สั่นสะเทือนไปทั่วฝรั่งเศส ซึ่งเริ่มขึ้นในปี ค.ศ. 1894 จนกระทั่งการตัดสินของศาลอุทธรณ์ในปี ค.ศ. 1906 ทำให้เหตุการณ์นี้เป็นที่พูดถึงกันอย่างยาวนานหลายทศวรรษ การดำเนินเหตุการณ์ได้กลายเป็นสัญลักษณ์แห่งความอยุติธรรมสมัยใหม่ โดยยังคงเป็นหนึ่งในเหตุการณ์ตัวอย่างที่โดดเด่นที่สุดของกระบวนการยุติธรรมที่ผิดพลาดซับซ้อน ซึ่งแสดงถึงบทบาทสำคัญของแรงกดดันและความคิดเห็นของสาธารณชน และแสดงถึงการต่อต้านชาวยิวอย่างโจ่งแจ้งภายในกองทัพฝรั่งเศส ที่ได้รับการปกป้องโดยกลุ่มอนุรักษนิยมและนักอนุรักษนิยมคาทอลิกที่ต่อต้านฝ่ายฆราวาสกลาง-ซ้าย, ฝ่ายซ้าย และกองกำลังสาธารณรัฐ รวมทั้งชาวยิวส่วนใหญ่ด้วย ในท้ายที่สุด ฝ่ายสาธารณรัฐก็ได้รับชัยชนะในเหตุการณ์นี้[20][21]

 
ร้อยเอก อาลแฟรด แดรฟุส

โดยเหตุการณ์นี้เริ่มต้นขึ้นในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1894 เมื่อศาลทหารทำการพิพากษาลงโทษต่อข้อหาขายชาติของร้อยเอก อาลแฟรด แดรฟุส นายทหารประจำกรมเสนาธิการชาวฝรั่งเศสเชื้อสายยิวซึ่งอพยพมาจากแคว้นอาลซัส เขาถูกตัดสินให้จำคุกตลอดชีวิตในข้อหาทรยศต่อชาติ เพราะขายความลับทางการทหารให้แก่ผู้ช่วยทูตทหารบกเยอรมันประจำกรุงปารีส และถูกเนรเทศไปอยู่ที่เกาะเดวิลส์ในแคว้นเฟรนช์เกียนา (หรือที่รู้จักกันในนาม la guillotine sèche หรือเกาะกิโยตีนแห้ง) ซึ่งเขาได้ใช้ชีวิตอยู่ที่นั่นเป็นเวลานานกว่าห้าปี

สองปีต่อมา ได้มีการค้นพบหลักฐานชิ้นใหม่ที่ระบุว่าพันตรี แฟร์ดีน็อง วาลแซ็ง แอ็สแตราซี เป็นผู้ขายความรับที่แท้จริง แต่ภายหลังจากที่นายทหารระดับสูงของกองทัพพยายามระงับหลักฐานชิ้นใหม่นี้ ศาลทหารจึงมีมติเป็นเอกฉันท์ว่าแอ็สแตราซีไม่มีความผิด ในการไต่สวน ทางกองทัพได้เพิ่มข้อกล่าวหาเพิ่มเติมต่อแดรฟุส โดยอิงจากเอกสารเท็จที่พวกเขาได้สร้างขึ้น คำวินิจฉัยของศาลทหารที่พยายามใส่ร้ายแดรฟุสเริ่มแพร่กระจายไปทั่ว โดยส่วนใหญ่เป็นผลมาจากการโต้เถียง J'accuse ซึ่งเป็นจดหมายเปิดผนึกถึงประธานาธิบดีด้วยความแค้นเคืองที่ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ลอรอร์ของกรุงปารีสในเดือนมกราคม ค.ศ. 1898 โดยนักเขียนนวนิยายชื่อดัง เอมีล ซอลา ซึ่งได้เคลื่อนไหวกดดันรัฐบาลให้มีการพิจารณาคดีใหม่อีกครั้ง

ในปี ค.ศ. 1899 แดรฟุสถูกส่งตัวกลับประเทศฝรั่งเศสเพื่อพิจารณาคดีใหม่อีกครั้ง เหตุการณ์ทางการเมืองและตุลาการเริ่มทวีความรุนแรงมากขึ้น ซึ่งทำให้เกิดการแบ่งฝ่ายกันภายในสังคมฝรั่งเศส ระหว่างบรรดาผู้สนับสนุนแดรฟุส (Dreyfusards) อาทิ อานาตอล ฟร็องส์, อ็องรี ปวงกาเร และฌอร์ฌ เกลม็องโซ และบรรดาผู้ที่ต่อต้านเขา (anti-Dreyfusards) อาทิ เอดัวร์ ดรูมงท์ ผู้อำนวยการและบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ต่อต้านชาวยิว La Libre Parole การพิจารณาคดีครั้งใหม่นี้ส่งผลให้เกิดการพิพากษาอีกครั้งหนึ่ง และถูกตัดสินให้จำคุก 10 ปี แต่แดรฟุสได้รับการอภัยโทษและปล่อยตัวให้เป็นอิสระ ในท้ายที่สุด ข้อกล่าวหาทั้งหมดของเขาได้รับการพิสูจน์ว่าไม่มีมูลความจริงเลยแม้แต่น้อย และในปี ค.ศ. 1906 แดรฟุสได้กลับเข้ารับตำแหน่งในกองทัพฝรั่งเศสและได้เลื่อนยศเป็นนายพันเอก

ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1894 จนถึง ค.ศ. 1906 วิกฤตการณ์ได้แบ่งฝ่ายสังคมภายในฝรั่งเศสเป็นสองฝ่าย: ฝ่ายสนับสนุนกองทัพ (anti-Dreyfusards) ซึ่งประกอบด้วยกลุ่มอนุรักษนิยม, นักอนุรักษนิยมคาทอลิก และฝ่ายสนับสนุนกษัตริย์ ซึ่งพ่ายแพ้ต่อฝ่ายต่อต้านนักบวช, ฝ่ายสนับสนุนสาธารณรัฐ (Dreyfusards) ที่ได้รับการสนับสนุนอย่างมั่นคงจากเหล่าปัญญาชนและครูบาอาจารย์ นอกจากนี้ยังทำให้การเมืองภายในฝรั่งเศสขมขื่นและยังช่วยเสริมอิทธิพลของกลุ่มนักการเมืองหัวรุนแรงอย่างทวีคูณ

ประวัติศาสตร์สังคม แก้

หนังสือพิมพ์ แก้

โครงสร้างทางการเมืองที่เป็นระบอบประชาธิปไตยได้รับการสนับสนุนจากการแพร่ขยายของหนังสือพิมพ์การเมือง โดยมีการตีพิมพ์หนังสือพิมพ์รายวันในกรุงปารีสจาก 1 ล้านฉบับในปี ค.ศ. 1870 เป็น 5 ล้านฉบับในปี ค.ศ. 1910 ต่อมาได้มีการตีพิมพ์ไปถึง 6 ล้านฉบับในปี ค.ศ. 1939 การเติบโตอย่างรวดเร็วของกิจการโฆษณาทำให้พื้นฐานทางการเงินของกิจการการพิมพ์มีความมั่นคงเป็นอย่างมาก แต่รายได้ที่ได้จากกิจการโฆษณาไม่สามารถครอบคลุมค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งหมดได้ ดังนั้นทางสำนักพิมพ์จึงต้องเสริมเงินอุดหนุนลับที่ได้รับจากผลประโยชน์เชิงพาณิชย์เพื่อต้องการความนิยมจากการรายงานข่าว กฎหมายเสรีภาพสื่อฉบับใหม่ ค.ศ. 1881 ได้ยกเลิกข้อจำกัดที่เข้มงวดของสื่อที่มีมานานกว่าหลายทศวรรษ แท่นพิมพ์ความเร็วสูงเริ่มเป็นที่รู้จักในทศวรรษที่ 1860 ซึ่งสามารถย่นระยะเวลาและลดต้นทุนในการตีพิมพ์ได้อย่างดีเยี่ยม หนังสือพิมพ์รูปแบบใหม่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะหนังสือพิมพ์รายวัน เลอ เปอติต ฌูร์นาล ที่สามารถดึงดูดผู้ที่สนใจในด้านความบันเทิงและคอลัมน์ซุบซิบมากกว่าข่าวสถานการณ์บ้านเมือง โดยยึดครองตลาดที่ปารีสได้ถึงหนึ่งในสี่และสามารถบังคับให้หนังสือพิมพ์รายอื่น ๆ ลดราคาลงได้ด้วย หนังสือพิมพ์รายใหญ่ได้จ้างนักข่าวของตนเองเพื่อชิงความได้เปรียบในการนำเสนอข่าว หนังสือพิมพ์ทุกฉบับต้องอาศัย “Agence Havas” (ปัจจุบันคือ สำนักงานสื่อมวลชนแห่งฝรั่งเศส) ซึ่งเป็นหน่วยงานบริการข่าวทางโทรเลขที่มีเครือข่ายนักข่าวและได้มีการทำสัญญากับรอยเตอร์สเพื่อให้บริการไปทั่วโลก กิจการหนังสือพิมพ์รายเก่ายังคงสามารถรักษาลูกค้าของตนได้อยู่ โดยการมุ่งความสนใจไปที่ประเด็นทางการเมืองอย่างจริงจัง[22] ตามเอกสารต่าง ๆ จะมีการให้ข้อมูลจำนวนการตีพิมพ์ที่ผิดพลาดอยู่บ่อยครั้ง ในปี ค.ศ. 1913 หนังสือพิมพ์รายวัน เลอ ปาติต โพรว็องซาน มีการตีพิมพ์ถึงประมาณ 100,000 ฉบับ และหนังสือพิมพ์รายวัน เลอ ปาติต เมริดียงนาล มีการตีพิมพ์จำนวน 70,000 ฉบับ โดยมีโฆษณาอยู่ในสัดส่วนเพียง 20% ของหน้าหนังสือพิมพ์ทั้งหมดเท่านั้น[23]

กลุ่มโรมันคาทอลิกลัทธิอัสสัมชัญพยายามกดดันให้สื่อมวลชนของตนปฏิรูป โดยผ่านหนังสือพิมพ์ระดับชาติอย่าง ลา ครัว ซึ่งเป็นสื่อหลักของนิกายโรมันคาทอลิก ในขณะเดียวกันปรับเปลี่ยนสิ่งใหม่ ๆ ด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัยที่สุดในช่วงนั้น และปรับเปลี่ยนให้เข้ากับรสนิยมของแต่ละภูมิภาคด้วย กลุ่มนักฆราวาสและนักสาธารณรัฐนิยมมองว่าหนังสือพิมพ์เป็นศัตรูตัวฉกาจของพวกเขา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อหนังสือพิมพ์ได้เป็นสื่อกลางที่สำคัญในการโจมตีแดรฟุสผู้ทรยศและยุยงให้เกิดการต่อต้านชาวยิว ภายหลังจากที่แดรฟุสได้รับการอภัยโทษ รัฐบาลหัวรุนแรงได้สั่งระงับกลุ่มลัทธิอัสสัมชัญและหนังสือพิมพ์ทั้งหมดในปี ค.ศ. 1900[24]

ธนาคารหลายแห่งได้มีการจ่ายเงินอย่างลับ ๆ กับหนังสือพิมพ์บางฉบับ เพื่อส่งเสริมผลประโยชน์ทางการเงินโดยเฉพาะและเพื่อปกปิดการประพฤติโดยมิชอบ พวกเขายังได้รับค่าตอบแทนจากโฆษณาที่โดดเด่นของบทความข่าวหนังสือพิมพ์ที่เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ทางการค้า หนังสือพิมพ์บางแห่งมีการขู่ว่าจะเปิดโปงความลับทางธุรกิจโดยการบังคับให้บริษัทโฆษณาเผยแพร่ข้อมูลอันไม่พึงประสงค์ลงในหนังสือพิมพ์ของพวกเขา รัฐบาลต่างประเทศหลายชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งรัสเซียและตุรกี ได้จ่ายเงินอย่างลับ ๆ ต่อสื่อมวลชนของฝรั่งเศสหลายแสนฟรังก์ต่อปี เพื่อรับประกันในการรายงานข่าวที่ดีเกี่ยวกับการขายพันธบัตรในกรุงปารีส เมื่อรัสเซียประสบกับสถานการณ์เลวร้าย อาทิ การปฏิวัติรัสเซีย ค.ศ. 1905 หรือระหว่างการทำสงครามกับญี่ปุ่น รัฐบาลรัสเซียได้จ่ายเงินให้สื่อมวลชนและหนังสือพิมพ์ฝรั่งเศสมากถึงหนึ่งล้านฟรังก์ เพื่อชำระล้างข่าวร้ายต่าง ๆ ในรัสเซีย ในช่วงระหว่างสงครามโลก หนังสือพิมพ์กลายเป็นตัวแทนโฆษณาชวนเชื่อในนามของการส่งเสริมคุณธรรมของกองทัพฝรั่งเศสและการหลีกเลี่ยงการวิพากษ์วิจารณ์ พวกเขาไม่ค่อยรายงานข่าวเกี่ยวกับความสำเร็จของฝ่ายสัมพันธมิตร แต่มักจะเป็นข่าวที่ดีเกี่ยวกับกองทัพเสียมากกว่า โดยสรุปแล้ว หนังสือพิมพ์ไม่ได้เป็นตัวแทนของความเป็นจริง แต่เป็นการโฆษณาที่ได้รับการจ่ายเงินโดยกิจการธนาคาร[25]

สงครามโลกครั้งที่หนึ่งได้ยุติยุคทองของสื่อมวลชนลง พนักงานหนุ่มสาวต่าง ๆ ได้ถูกเกณฑ์ไปเป็นทหาร และแทบไม่มีผู้ชายมารับช่วงงานแทนเลย (นักข่าวผู้หญิงมักถูกมองว่าไม่เหมาะสมในช่วงเวลานั้น) การขนส่งกระดาษและหมึกลดลงเป็นอย่างมาก เนื่องจากทางรัฐบาลได้แบ่งส่วนระบบการคมนาคมทางรางให้กับทางการทหาร ทำให้การส่งออกสื่อสิ่งพิมพ์น้อยลง อัตราเงินเฟ้อทำให้ราคาหนังสือพิมพ์ ราคาหน้าปกเพิ่มขึ้น ยอดจำหน่ายลดลง และหนังสือพิมพ์รายวันจำนวน 242 ฉบับที่ตีพิมพ์นอกกรุงปารีสได้ปิดตัวลง รัฐบาลได้จัดตั้งคณะกรรมการสื่อมวลชนกลางเดื่อกำกับดูแลสื่อมวลชนอย่างใกล้ชิด หน่วยงานอิสระต่าง ๆ ได้มีการตรวจสอบอย่างเข้มงวด ส่งผลให้การรายงานข่าวหรือบทบรรณาธิการถูกห้ามเว้นว่างไว้ หนังสือพิมพ์รายวันบางฉบับถูกจำกัดให้เหลือเพียงสองหน้าแทนที่จะเป็นสี่หน้าตามปกติ[23]

หนังสือพิมพ์ระดับภูมิภาคเฟื่องฟูมากภายหลังยุค 1900 อย่างไรก็ตาม หนังสือพิมพ์ในปารีสส่วนใหญ่กลับไม่เฟื่องฟูเลยภายหลังสงคราม หนังสือพิมพ์ในยุคภายหลังสงครามที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดคือ ปารีส ซัวร์ ซึ่งเป็นหนังสือพิมพ์ที่ปราศจากความเกี่ยวข้องทางการเมืองและมุ่งมั่นรายงานข่าวที่น่าตื่นเต้นเพื่อช่วยให้เกิดการแพร่หลายของสื่อมากขึ้น และยังรวมถึงการสร้างบทความอย่างจริงจรังเพื่อสร้างเกียรติภูมิ โดยในปี ค.ศ. 1939 หนังสือพิมพ์ ปารีส ซัวร์ มียอดจำหน่ายมากกว่า 1.7 ล้านฉบับ โดยเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าของหนังสือพิมพ์คู่แข่งอย่าง เลอ เปอติต ปาริเซียง นอกจากหนังสือพิมพ์รายวันแล้ว ปารีส ซัวร์ ยังสนับสนุนนิตยสารสำหรับผู้หญิงอย่าง มารี-แคลร์ ที่ประสบความสำเร็จอย่างสูง รวมทั้งนิตยสาร มัตช์ ซึ่งเป็นต้นแบบในการถ่ายภาพวารสารศาสตร์ของนิตยสาร ไลฟ์ ของอเมริกา[26]

ความทันสมัยของชนบท แก้

ประเทศฝรั่งเศสในช่วงเวลานั้นเป็นประเทศเกษตรกรรม และเกษตรกรเป็นเอกลักษณ์แห่งพลเมืองฝรั่งเศส ตามหนังสือ Peasants into Frenchmen (1976) นักประวัติศาสตร์ ยูจีน เวเบอร์ ได้กล่าวถึงความทันสมัยของชนบทในฝรั่งเศสและได้ใหเหตุผลไว้ว่า พื้นที่ชนบทของฝรั่งเศสได้เปลี่ยนจากความล้าหลังและโดดเดี่ยวไปสู่ความทันสมัยด้วยความรู้สึกถึงเอกลักษณ์ประจำชาติในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 และต้นศตวรรษที่ 20[27] เขาเน้นย้ำถึงบทบาทของระบบทางรถไฟ, โรงเรียนของรัฐบาลสาธารณรัฐ, และระบบการเกณฑ์ทหารสากล ตามการค้นพบของเขาที่มาจากบันทึกของโรงเรียน, รูปแบบการย้ายถิ่นฐาน, เอกสารการรับราชการทหารและแนวโน้มทางเศรษฐกิจ เวเบอร์แย้งว่าจนถึงราวปี ค.ศ. 1900 ความตระหนังถึงความเป็นชาติฝรั่งเศสเริ่มอ่อนแอลงในต่างจังหวัด จากนั้นเวเบอร์ได้ศึกษาต่อไปว่านโยบายของสาธารณรัฐที่สามสามารถสร้างความตระหนักถึงความเป็นชาติฝรั่งเศสในพื้นที่ชนบทได้อย่างไร การศึกษาของเวเบอร์ได้รับการยกย่องเป็นอย่างยิ่ง แต่ก็ยังถูกวิพากษ์วิจารณ์จากบางคนที่โต้แย้งว่า ความตระหนักถึงความเป็นชาติฝรั่งเศสยังคงมีอยู่ในต่างจังหวัดก่อนถึงปี ค.ศ. 1870[28]

อ้างอิง แก้

  1. "Population of the Major European Countries in the 19th Century". wesleyan.edu. สืบค้นเมื่อ 30 July 2021.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  2. Larkin, Maurice (2002). Religion, Politics and Preferment in France since 1890: La Belle Epoque and its Legacy. Cambridge University Press. p. 3. ISBN 978-0-521-52270-0.
  3. "The Night the Old Regime Ended: August 4, 1789 and the French Revolution By Michael P. Fitzsimmons". www.psupress.org. สืบค้นเมื่อ 2021-10-07.
  4. D.W. Brogan, France Under the Republic: The Development of Modern France (1870–1939) (1940) pp 77–105.
  5. Steven D. Kale, "The Monarchy According to the King: The Ideological Content of the 'Drapeau Blanc,' 1871–1873." French History (1988) 2#4 pp 399–426.
  6. D.W. Brogan, France Under the Republic: The Development of Modern France (1870–1939) (1940) pp 106–13.
  7. Brogan, France Under the Republic: The Development of Modern France (1870–1939) (1940) pp 127–43.
  8. D.W. Brogan, France Under the Republic: The Development of Modern France (1870–1939) (1940) pp 144–79.
  9. Brogan, France Under the Republic: The Development of Modern France (1870–1939) (1940) pp 183–213.
  10. Mazgaj, Paul (1987). "The Origins of the French Radical Right: A Historiographical Essay". French Historical Studies. 15 (2): 287–315. doi:10.2307/286267. JSTOR 286267.
  11. David McCullough, The path between the seas: the creation of the Panama Canal, 1870–1914 (2001) pp 45–242.
  12. Nord, Philip (1994). "The Welfare State in France, 1870–1914". French Historical Studies. 18 (3): 821–838. doi:10.2307/286694. JSTOR 286694.
  13. Timothy B. Smith, "The ideology of charity, the image of the English poor law, and debates over the right to assistance in France, 1830–1905." Historical Journal 40.04 (1997): 997–1032.
  14. Allan Mitchell, The Divided Path: The German Influence on Social Reform in France After 1870 (1991) pp 252–75 excerpt
  15. Martha L. Hildreth, Doctors, Bureaucrats & Public Health in France, 1888–1902 (1987)
  16. Alisa Klaus, Every Child a Lion: The Origins of Maternal & Infant Health Policy in the United States & France, 1890–1920 (1993).
  17. Ann-Louise Shapiro, "Private Rights, Public Interest, and Professional Jurisdiction: The French Public Health Law of 1902." Bulletin of the History of Medicine 54.1 (1980): 4+
  18. Life expectancy in France 1765-2020
  19. Life expectancy (from birth) in Germany, from 1875 to 2020
  20. Read, Piers Paul (2012). The Dreyfus Affair. New York: Bloomsbury Press. ISBN 978-1-60819-432-2.
  21. Wilson, Stephen (1976). "Antisemitism and Jewish Response in France during the Dreyfus Affair". European Studies Review. 6 (2): 225–248. doi:10.1177/026569147600600203. S2CID 144943082.
  22. Hutton, Patrick H., บ.ก. (1986). Historical Dictionary of the Third French Republic, 1870–1940. Vol. 2. London: Aldwych Press. pp. 690–694. ISBN 978-0-86172-046-0.
  23. 23.0 23.1 Collins, Ross F. (2001). "The Business of Journalism in Provincial France during World War I". Journalism History. 27 (3): 112–121. doi:10.1080/00947679.2001.12062578. ISSN 0094-7679. S2CID 141242021.
  24. Mather, Judson (1972). "The Assumptionist Response to Secularisation, 1870–1900". ใน Bezucha, Robert J. (บ.ก.). Modern European Social History. Lexington: D.C. Heath. pp. 59–89. ISBN 978-0-669-61143-4.
  25. See Zeldin, Theodore (1977). "Newspapers and corruption". France: 1848–1945. Oxford: Clarendon Press. pp. 492–573. ISBN 978-0-19-822125-8. Also, pp 522–24 on foreign subsidies.
  26. Hutton, Patrick H., บ.ก. (1986). Historical Dictionary of the Third French Republic, 1870–1940. Vol. 2. London: Aldwych Press. pp. 692–694. ISBN 978-0-86172-046-0.
  27. Amato, Joseph (1992). "Eugen Weber's France". Journal of Social History. 25 (4): 879–882. doi:10.1353/jsh/25.4.879. JSTOR 3788392.
  28. Margadant, Ted W. (1979). "French Rural Society in the Nineteenth Century: A Review Essay". Agricultural History. 53 (3): 644–651. JSTOR 3742761.

บรรณานุกรม

การสำรวจ
  • Bell, David, et al. A Biographical Dictionary of French Political Leaders since 1870 (1990), 400 short articles by experts
  • Bernard, Philippe, and Henri Dubief. The Decline of the Third Republic, 1914–1938 (The Cambridge History of Modern France) (1988) excerpt and text search
  • Beaupré, Nicolas. Les Grandes Guerres 1914–1945 (Paris: Éditions Belin, 2012) 1152 pp. ISBN 978-2-7011-3387-4; in French; online review in English by James E. Connolly, Nov. 2013)
  • Brogan, D. W The development of modern France (1870–1939) (1953) online
  • Bury, J. P. T. France, 1814–1940 (2003) ch 9–16
  • Encyclopædia Britannica (12th ed. 1922) comprises the 11th edition plus three new volumes 30-31-32 that cover events since 1911 with very thorough coverage of the war as well as every country and colony. Included also in 13th edition (1926) partly online
  • Fortescue, William. The Third Republic in France, 1870–1940: Conflicts and Continuities (2000) excerpt and text search
  • Furet, François. Revolutionary France 1770–1880 (1995), pp 492–537. survey of political history by leading scholar
  • Lucien Edward Henry, "Current History of France", The Royal Family of FranceWikidata Q107258923
  • Hutton, Patrick H., ed. Historical Dictionary of the Third French Republic, 1870–1940 (Greenwood, 1986)แม่แบบ:ISBN?
  • Larkin, Maurice. France since the Popular Front: Government and People, 1936–1986 (Oxford UP, 1988)
  • Mayeur, Jean-Marie, and Madeleine Rebirioux. The Third Republic from its Origins to the Great War, 1871–1914 (The Cambridge History of Modern France) (1988) excerpt and text search
  • Shirer, William L. The Collapse of the Third Republic: An Inquiry into the Fall of France, New York: Simon and Schuster, 1969 online free to borrow
  • Thomson, David. Democracy in France: The third republic (1952) online
  • Wolf, John B. France: 1815 to the Present (1940) online free pp 349–501.
  • Wright, Gordon. France in Modern Times (5th erd. 1995) pp 205–382
นโยบายต่างประเทศและอาณานิคม
  • Adamthwaite, Anthony. Grandeur and Misery: France's Bid for Power in Europe 1914–1940 (1995) excerpt and text search
  • Conklin, Alice L. A Mission to Civilize: The Republican Idea of Empire in France and West Africa, 1895–1930 (2000) excerpt and text search
  • Duroselle, Jean-Baptiste. France and the Nazi Threat: The Collapse of French Diplomacy 1932–1939 (2004); Translation of his highly influential La décadence, 1932–1939 (1979)
  • Gooch, G.P. Franco-German Relations 1871–1914 (1923)
  • MacMillan, Margaret. The War that Ended Peace: The Road to 1914 (2013).
  • MacMillan, Margaret. Paris 1919: six months that changed the world (2007).
  • Nere, J. Foreign Policy of France 1914–45 (2010)
  • Quinn, Frederick. The French Overseas Empire (2001)
  • Taylor, A.J.P. (1954). The Struggle for Mastery in Europe 1848–1918.
อุดมการณ์การเมืองและการปฏิบัติ
  • Hanson, Stephen E (2010). "The Founding of the French Third Republic". Comparative Political Studies. 43 (8–9): 1023–1058. doi:10.1177/0010414010370435. S2CID 145438655.
  • Jackson, Julian. The Politics of Depression in France 1932–1936 (2002) excerpt and text search
  • Kennedy, Sean. Reconciling France Against Democracy: the Croix de feu and the Parti social français, 1927–1945 (McGill-Queen's Press-MQUP, 2007)
  • Kreuzer, Marcus. Institutions and Innovation: Voters, Parties, and Interest Groups in the Consolidation of Democracy—France and Germany, 1870–1939 (U. of Michigan Press, 2001)
  • Lehning, James R.; To Be a Citizen: The Political Culture of the Early French Third Republic (2001) แม่แบบ:ISBN?
  • Passmore, Kevin (1993). "The French Third Republic: Stalemate Society or Cradle of Fascism?". French History. 7 (4): 417–449. doi:10.1093/fh/7.4.417.
  • Roberts, John. "General Boulanger" History Today (Oct 1955) 5#10 pp 657-669, online
วัฒนธรรมและสังคม
  • La Belle Époque. New York: The Metropolitan Museum of Art. 1982. ISBN 978-0870993299.
  • Price, Roger. A Social History of Nineteenth-Century France (1987)แม่แบบ:ISBN?
  • Robb, Graham. The Discovery of France: A Historical Geography, from the Revolution to the First World War (2007)
  • Weber, Eugen. The Hollow Years: France in the 1930s (1996)
  • Weber, Eugen. Peasants into Frenchmen: The Modernization of Rural France, 1870–1914 (1976) excerpt and text search
  • Weber, Eugen. France, Fin de Siècle (1988)
  • Zeldin, Theodore. France: 1848–1945: Politics and Anger; Anxiety and Hypocrisy; Taste and Corruption; Intellect and Pride; Ambition and Love (2 vol 1979), topical history
ผู้หญิง, เพศสภาพ, เพศ
  • Campbell, Caroline. "Gender and Politics in Interwar and Vichy France." Contemporary European History 27.3 (2018): 482–499. online
  • Copley, A. R. H. Sexual Moralities in France, 1780–1980: New Ideas on the Family, Divorce and Homosexuality (1992)
  • Diamond, Hanna. Women and the Second World War in France, 1939–1948: choices and constraints (Harlow: Longman, 1999)
  • Moses, Claire. French Feminism in the 19th Century (1985) excerpt and text search
  • Pedersen, Jean. Legislating the French Family: Feminism, Theater, and Republican Politics: 1870–1920 (2003) excerpt and text search
สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง
  • Audoin-Rouzeau, Stephane, and Annette Becker. 14–18: Understanding the Great War (2003) ISBN 0-8090-4643-1
  • Becker, Jean Jacques. The Great War and the French People (1986)
  • Darrow, Margaret H. French Women and the First World War: War Stories of the Home Front (2000)
  • Doughty, Robert A. Pyrrhic Victory: French Strategy and Operations in the Great War (2008), 592pp; excerpt and text search, military history
  • Fridenson, Patrick, ed. The French Home Front, 1914–1918 (1993).
  • Gooch, G. P. Recent Revelations of European Diplomacy (1940), pp 269–30 summarizes published memoirs by main participants
  • Smith, Leonard V. et al. France and the Great War (2003)
  • Tucker, Spencer, ed. European Powers in the First World War: An Encyclopedia (1999)
  • Winter, Jay, and Jean-Louis Robert, eds. Capital Cities at War: Paris, London, Berlin 1914–1919 (2 vol. 1999, 2007), 30 chapters 1200pp; comprehensive coverage by scholars vol 1 excerpt; vol 2 excerpt and text search
ข้อมูลปฐมภูมิ