สงครามฝรั่งเศส-ปรัสเซีย
สงครามฝรั่งเศส-ปรัสเซีย (อังกฤษ: Franco-Prussian War) หรือ สงครามฝรั่งเศส-เยอรมัน ในฝรั่งเศสเรียกกันว่า สงครามปี 1870[10] (1870 War) เป็นความขัดแย้งระหว่างจักรวรรดิฝรั่งเศสที่สอง(และต่อมากลายเป็นสาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 3) และรัฐเยอรมันแห่งสมาพันธรัฐเยอรมันเหนือภายใต้การนำโดยราชอาณาจักรปรัสเซีย กินเวลาตั้งแต่วันที่ 19 กรกฎาคม ค.ศ. 1870 ถึง 28 มกราคม ค.ศ. 1871 ความขัดแย้งครั้งนี้มีสาเหตุมาจากความทะเยอทะยานของปรัสเซียที่จะขยายอำนาจในการรวมชาติเยอรมันและความเกรงกลัวของฝรั่งเศสในการเปลี่ยนแปลงสมดุลแห่งอำนาจในยุโรปที่จะส่งผลลัพธ์ หากปรัสเซียทำสำเร็จ นักประวัติศาสตร์บางคนได้โต้แย้งว่า นายกรัฐมนตรีปรัสเซีย อ็อทโท ฟ็อน บิสมาร์ค ได้มีความจงใจในการยั่วยุฝรั่งเศสให้ประกาศสงครามกับปรัสเซีย เพื่อที่จะชักนำให้รัฐทางใต้ของเยอรมันที่เป็นอิสระ ได้แก่ บาเดิน เวือร์ทเทิมแบร์ค บาวาเรีย และเฮ็สเซิน - ดาร์มชตัดท์ เข้าร่วมเป็นพันธมิตรกับสมาพันธรัฐเยอรมันเหนือซึ่งถูกปกครองโดยปรัสเซีย ในขณะที่คนอื่นยืนยันว่า บิสมาร์คไม่ได้วางแผนและใช้ประโยชน์จากสถานการณ์ครั้งนี้ในขณะที่พวกเขาได้แฉออกไป อย่างไรก็ตาม ไม่มีใครโต้แย้งความจริงที่ว่าบิสมาร์คต้องยอมรับศักยภาพของพันธมิตรเยอรมันใหม่ในการรับมือสถานการณ์โดยรวม[11]
สงครามฝรั่งเศส-ปรัสเซีย | |||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ส่วนหนึ่งของ การรวมชาติเยอรมัน | |||||||||
(ตามเข็มนาฬิกาจากบนขวา)
| |||||||||
| |||||||||
คู่สงคราม | |||||||||
แกรนด์ดัชชีบาเดิน (ก่อนวันที่ 18 มกราคม ค.ศ. 1871) (หลังวันที่ 18 มกราคม ค.ศ. 1871) |
| ||||||||
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ | |||||||||
กำลัง | |||||||||
รวม:
กำลังเดิม:
กำลังของกองทัพภาคสนามช่วงสูงสุด:
|
รวม:
กำลังเดิม:
กำลังของกองทัพภาคสนามช่วงสูงสุด:
| ||||||||
ความสูญเสีย | |||||||||
144,642 นาย[4]
|
1,005,427 นาย[6] | ||||||||
พลเมืองเสียชีวิตประมาณ 250,000 คน รวมชายเยอรมัน 162,000 ที่เสียชีวิตด้วยโรคฝีดาษจากเชลยศึกชาวฝรั่งเศส[4] | |||||||||
|
ฝรั่งเศสได้ระดมกองทัพ เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม ค.ศ. 1870 ทำให้สมาพันธรัฐเยอรมันเหนือได้ทำการตอบโต้ด้วยการระดมพลเช่นกันในวันเดียวกัน เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม ค.ศ. 1870 รัฐสภาฝรั่งเศสได้โหวตเพื่อประกาศสงครามกับปรัสเซียและคำประกาศสงครามได้ถูกไปยังปรัสเซียในสามวันต่อมา กองทัพฝรั่งเศสได้เข้ารุกดินแดนเยอรมัน เมื่อวันที่ 2 สิงหาคม เยอรมันได้ระดมพลของตนได้อย่างมีประสิทธิภาพมากกว่าฝรั่งเศสและได้เข้ารุกทางตะวันออกเฉียงเหนือของฝรั่งเศส เมื่อวันที่ 4 สิงหาคม กองทัพเยอรมันมีจำนวนที่เหนือกว่า มีการฝึกอบรมและความเป็นผู้นำที่ดี และมีการใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นโดยเฉพาะอย่างยิ่งคือทางรถไฟ และปืนใหญ่
หนึ่งในชัยชนะอย่างรวดเร็วของปรัสเซียและเยอรมันในทางตะวันออกของฝรั่งเศส จุดสูงสุดในการล้อมที่แม็สและยุทธการที่เชอด็อง ทำให้จักรพรรดิ นโปเลียนที่ 3ทรงถูกจับกุมและกองทัพจักรวรรดิที่สองได้ปราชัยอย่างย่อยยับ รัฐบาลปกป้องชาติได้ประกาศก่อตั้งสาธารณรัฐฝรั่งเศสที่สามขึ้นในปารีส เมื่อวันที่ 4 กันยายน และทำสงครามต่อไปในอีกห้าเดือน กองทัพเยอรมันได้ต่อสู้รบและพ่ายแพ้ให้กับกองทัพฝรั่งเศสใหม่ในภาคเหนือของฝรั่งเศส ปารีสซึ่งเป็นเมืองหลวงได้ถูกปิดล้อมและถูกยึดครอง เมื่อวันที่ 28 มกราคม ค.ศ. 1871 ภายหลังการก่อการกำเริบของฝ่ายคณะปฏิวัติที่เรียกตนเองว่า คอมมูนปารีส ได้เข้ายึดอำนาจในเมืองและถือครองไว้เป็นเวลาสองเดือน จนกระทั่งกองทัพฝรั่งเศสได้เข้าปราบปรามอย่างเลือดเย็น เมื่อปลายเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1871
รัฐเยอรมันทั้งหมดได้ประกาศว่าจะรวมตัวกันเป็นจักรวรรดิเยอรมันภายใต้การนำโดยกษัตริย์แห่งปรัสเซีย วิลเฮล์มที่ 1 ในที่สุดเยอรมนีก็รวมชาติเป็นหนึ่งเดียวในฐานะที่เป็นชาติ-รัฐ(ออสเตรียได้ถูกแยกออกไป) สนธิสัญญาแฟรงก์เฟิร์ต เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม ค.ศ.1871 ทำให้ส่วนใหญ่ของแคว้นอาลซัสและบางส่วนของแคว้นลอแรนตกเป็นของเยอรมนี ซึ่งต่อมาได้กลายเป็นดินแดนจักรวรรดิแห่งอาลซัสและลอแรน(Reichsland Elsaß-Lothringen). การที่เยอรมันพิชิตฝรั่งเศสและรวมชาติเยอรมนีทำให้เกิดการเสียสมดุลแห่งอำนาจในยุโรปที่มีมาตั้งแต่การประชุมใหญ่แห่งเวียนนา ในปี ค.ศ. 1815 และบิสมาร์คยังรักษาอำนาจอย่างมากในกิจการระหว่างประเทศเป็นเวลาสองทศวรรษ
ด้วยความมุ่งมั่นของฝรั่งเศสที่จะชิงอาลซัสและลอแรนกลับคืนมา และความหวาดกลัวของสงครามฝรั่งเศสและเยอรมันอีกครั้งพร้อมกับความหวั่นเกรงของบริติชเกี่ยวกับสมดุลแห่งอำนาจ กลายเป็นปัจจัยในสาเหตุของสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง
ดูเพิ่ม
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ Clodfelter 2017, p. 184, 33,101 officers and 1,113,254 men were deployed into France. A further 348,057 officers and men were mobilized and stayed in Germany..
- ↑ 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 2.5 Clodfelter 2017, p. 184.
- ↑ 3.0 3.1 Howard 1991, p. 39.
- ↑ 4.0 4.1 Clodfelter 2017, p. 187.
- ↑ Clodfelter 2017, p. 187, of which 17,585 killed in action, 10,721 died of wounds, 12,147 died from disease, 290 died in accidents, 29 committed suicide and 4,009 were missing and presumed dead.
- ↑ Nolte 1884, pp. 526–527.
- ↑ Nolte 1884, p. 527.
- ↑ Clodfelter 2017, p. 187, of which 41,000 killed in action, 36,000 died of wounds and 45,000 died from disease.
- ↑ German General Staff 1884, p. 247, of which 11,860 officers and 371,981 men were captured, 7,456 officers and 241,686 men laid down their arms in Paris and 2,192 officers and 88,381 men were interned in Switzerland.
- ↑ Taithe, Bertrand (2001). Citizenship and Wars: France in Turmoil 1056-1871. Routledge.
- ↑ Ramm 1967, pp. 308–313, highlights three difficulties with the argument that Bismarck planned or provoked a French attack..
หนังสือ
แก้- Ascoli, David (2001). A Day of Battle: Mars-La-Tour 16 August 1870. Edinburgh: Birlinn. ISBN 978-1-84158-121-7.
- Bailey, Jonathan B. A. (2004). Field Artillery and Firepower (Revised and expanded ed.). Annapolis: Naval Institute Press. ISBN 978-1-59114-029-0.
- Baldick, Robert (1974). The Siege of Paris. London: London New English Library. ISBN 978-0-450-02190-9.
- Barry, Quintin (2009a). The Franco-Prussian War 1870–71. Vol. 1 The Campaign of Sedan. Solihull: Helion & Company. ISBN 978-1-906033-45-3.
- Brown, Frederick (2010). For the Soul of France: Culture wars in the age of Dreyfus. New York: Knopf. ISBN 978-0-307-26631-6.
- Clodfelter, Micheal (2017). Warfare and Armed Conflicts: A Statistical Encyclopedia of Casualty and Other Figures, 1492–2015 (4th ed.). Jefferson, NC: McFarland. ISBN 978-0-7864-7470-7.
- Craig, G. A. (1980). Germany: 1866–1945. Oxford: Oxford University Press. ISBN 978-0-19-502724-2.
- Elliot-Wright, Philipp; Shann, Stephen (1993). Gravelotte-St-Privat 1870. Campaign. Oxford: Osprey Publishing. ISBN 978-1-85532-286-8.
- Foley, Robert T. (2007). German Strategy and the Path to Verdun: Erich von Falkenhayn and the Development of Attrition, 1870–1916 (pbk. ed.). Cambridge: CUP. ISBN 978-0-521-04436-3.
- German General Staff (1881). The Franco-German War 1870–71: Part 1. Vol. 1. แปลโดย Clarke, F.C.H. London: Clowes & Sons.
- German General Staff (1884). The Franco-German War 1870–71: Part 2. Vol. 3. แปลโดย Clarke, F.C.H. London: Clowes & Sons.
- Horne, Alistair (1965). The Fall of Paris; The siege and the Commune 1870–71. London: Macmillan. OCLC 490599556.
- Howard, Michael (1979) [1961]. The Franco-Prussian War: The German Invasion of France 1870–1871. London: Rupert Hart-Davis. ISBN 978-0-246-63587-7.
- Howard, Michael (1991) [1961]. The Franco-Prussian War: The German Invasion of France 1870–1871. New York: Routledge. ISBN 978-0-415-02787-8.
- Hozier, Henry Montagu; Davenport Adams, W. H. (1872). The Franco-Prussian War: Its Causes, Incidents, and Consequences. Vol. 2. London: William Mackenzie. OCLC 931716547.
- Kennedy, Paul M. (1987). The rise and fall of the great powers: economic change and military conflict from 1500 to 2000 (1st ed.). New York: Random House. ISBN 978-0-394-54674-2.
- McElwee, William Lloyd (1974). The Art of War: Waterloo to Mons. Bloomington: Indiana University Press. ISBN 978-0-253-20214-7.
- Milza, Pierre (2009). L'Année terrible. Vol. 1: La Guerre franco-prussienne, septembre 1870 – mars 1871. Paris: Perrin. ISBN 978-2-262-02498-7.
- Nolte, Frédérick (1884). L'Europe militaire et diplomatique au dix-neuvième siècle, 1815–1884 (ภาษาฝรั่งเศส). Paris: E. Plon, Nourrit et Cie. OCLC 4899575.
- Ollier, Edmund (1883). Cassell's History of the War Between France and Germany, 1870–1871. Vol. 2. London: Cassell Petter & Galpin. OCLC 914936793.
- Palmer, Michael A. (2010). The German Wars: A Concise History, 1859–1945. Minneapolis: MBI Pub. Co. and Zenith Press. ISBN 978-1-61673-985-0.
- Ramm, Agetha (1967). Germany, 1789–1919 : a political history. London: Methuen. ISBN 978-0-416-33990-1.
- Ridley, Jasper (1976) [1974]. Garibaldi. New York: Viking Press. ISBN 978-0-670-33548-0.
- Rougerie, Jacques (1995). Paris Insurgé: La Commune de 1871. Paris: Gallimard. ISBN 978-2-07-053289-6.
- Rougerie, Jacques (2014). La Commune de 1871. Paris: Presses Universitaires de France. ISBN 978-2-13-062078-5.
- Rüstow, W. (1872). The War for the Rhine Frontier, 1870: Its Political and Military History. Vol. 3. แปลโดย Needham, John Layland. Edinburgh: Blackwood. OCLC 13591954.
- Shann, Stephen; Delperier, Louis (1991). French Army 1870–71 Franco-Prussian War. Men-at-Arms. Vol. 2 Republican Troops. Illustrated by Richard and Christa Hook. Oxford: Osprey Publishing. ISBN 978-1-85532-135-9.
- Sondhaus, Lawrence (2001). Naval Warfare, 1815–1914. London: Routledge. ISBN 978-0-415-21478-0.
- Taylor, A. J. P. (1955). Bismarck: The Man and the Statesman. London: Hamish Hamilton. OCLC 867374488.
- van Creveld, Martin (1977). Supplying War: Logistics from Wallenstein to Patton (1st ed.). Cambridge: Cambridge University Press. ISBN 978-0-521-29793-6.
- Varley, Karine (2008a). "The Taboos of Defeat: Unmentionable Memories of the Franco-Prussian War in France, 1870–1914". ใน Macleod, Jenny (บ.ก.). Defeat and Memory: Cultural Histories of Military Defeat in the Modern Era. Basingstoke: Palgrave Macmillan. ISBN 978-0-230-51740-0.
- Varley, Karine (2008b). Under the shadow of defeat: the war of 1870–71 in French memory. Basingstoke: Palgrave Macmillan. ISBN 978-0-230-00519-8.
- von Bismarck, Otto Eduard Leopold (1899). Bismarck: The Man & the Statesman. แปลโดย Arthur John Butler. New York: Harper & Brothers. OCLC 51415680.
- von Bismarck, Otto Eduard Leopold; von Poschinger, Heinrich (1900). von Poschinge, Heinrich; Whitman, Sidney (บ.ก.). Conversations with Prince Bismarck. แปลโดย Whitman, Sidney (English ed.). London: Harper & Brothers. OCLC 222059904.
- von Pflugk-Harttung, Julius Albert Georg (1900). The Franco-German War, 1870–71. แปลโดย Maurice, J. F.; Long, Wilfred James; Sonnenschein, A. London: S. Sonnenschein and Co. OCLC 3132807.
- Wawro, Geoffrey (2000). Warfare and Society in Europe, 1792–1914. London: Routledge. ISBN 978-0-415-21445-2.
- Wawro, Geoffrey (2002). Warfare and Society in Europe, 1792–1914. New York: Routledge. ISBN 978-0-203-17183-7.
- Wawro, Geoffrey (2003). The Franco-Prussian War: The German Conquest of France in 1870–1871. Cambridge: Cambridge University Press. ISBN 978-0-521-58436-4.
- Zabecki, David T. (2008). Chief of Staff. Vol. 1: Napoleonic Wars to World War I. Annapolis: Naval Institute Press. ISBN 978-1-59114-990-3.
วารสาร
แก้- Holborn, H. (1942). "Moltke's Strategical Concepts". Military Affairs. VI (3): 153–168. doi:10.2307/1982846. ISSN 2325-6990. JSTOR 1982846.
- Irvine, D. D. (1938). "The French and Prussian Staff Systems Before 1870". The Journal of the American Military Foundation. 2 (4): 192–203. doi:10.2307/3038792. ISSN 2326-6120. JSTOR 3038792.
- Jay, Robert (1984). "Alphonse de Neuville's 'The Spy' and the Legacy of the Franco-Prussian War". Metropolitan Museum Journal. 19/20: 151–162. doi:10.2307/1512817. JSTOR 1512817. S2CID 193058659.
เว็บไซต์
แก้- de Chavannes, Pierre Puvis (1872). "Hope". The Walters Art Museum.
- "Franco-German War". Britannica.com. Encyclopædia Britannica, Inc. 30 December 2013. สืบค้นเมื่อ 18 May 2013.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- (ในภาษาฝรั่งเศส) La guerre de 1870–71 en images
- "Caricatures of the Franco-Prussian War and the Paris Commune (1870-71)": Virtual exhibition and story, Cambridge University Library
- Collection de caricatures et de charges pour servir à l'histoire de la guerre et de la révolution de 1870–1871 (Cambridge University Library)
- Collection de caricatures et de charges pour servir à l'histoire de la guerre et de la révolution de 1870–1871 (Heidelberg University Library)
- Texts and documents about German–French relations and an essay on the Franco-German war
- Information and maps on the battles of Wissembourg, Woerth and Gravelotte