ราชอาณาจักรบาวาเรีย
ราชอาณาจักรบาวาเรีย (เยอรมัน: Königreich Bayern; บาวาเรีย: Kinereich Bayern) เป็นราชอาณาจักรที่ตั้งอยู่ในบริเวณตะวันออกเฉียงใต้ของเยอรมนีระหว่างปี ค.ศ. 1805 ถึง 1918 พระเจ้ามัคซีมีลีอานที่ 1 โยเซ็ฟแห่งบาวาเรียแห่งราชวงศ์วิตเตลสบาคเป็นกษัตริย์องค์แรกเมื่อปี ค.ศ. 1805 ราชวงศ์วิตเตลสบาคครองราชบัลลังก์บาวาเรียจนกระทั่งอาณาจักรถูกยุบตัวเมื่อปี ค.ศ. 1918 เมื่อแคว้นและราชรัฐต่างๆ รวมตัวกันเป็นสาธารณรัฐไวมาร์ ส่วนใหญ่ของอาณาบริเวณบาวาเรียในปัจจุบันเป็นผลมาจากสนธิสัญญาปารีส ค.ศ. 1814 ซึ่งบาวาเรียคืนไทโรลและโวราร์เบิร์ให้แก่ออสเตรียเป็นการตอบแทนกับอาสชาฟเฟนเบิร์ก และบางส่วนของแคว้นเฮสส์ ในจักรวรรดิเยอรมันบาวาเรียใหญ่เป็นที่สองรองจากราชอาณาจักรปรัสเซีย หลังจากการรวมตัวของประเทศเยอรมนีในปี ค.ศ. 1871 ในปัจจุบันราชอาณาจักรบาวาเรียคือแคว้นบาวาเรียของประเทศเยอรมนี
ราชอาณาจักรบาวาเรีย (ค.ศ. 1806–1825) Königreich Baiern Kinereich Baiern (ค.ศ. 1825–1918) Königreich Bayern Kinereich Bayern | |||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ค.ศ. 1805–ค.ศ. 1918 | |||||||||||||||
![]() ราชอาณาจักบาวาเรียภายในจักรวรรดิเยอรมัน ค.ศ. 1914 | |||||||||||||||
สถานะ |
| ||||||||||||||
เมืองหลวง | มิวนิก | ||||||||||||||
ภาษาทั่วไป | ภาษาบาวาเรีย, ภาษาเยอรมัน | ||||||||||||||
ศาสนา | โรมันคาทอลิก | ||||||||||||||
การปกครอง | ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ | ||||||||||||||
พระเจ้าแผ่นดินแห่งบาวาเรีย | |||||||||||||||
• ค.ศ. 1805–1825 | มัคซีมีลีอานที่ 1 โยเซ็ฟ (พระองค์แรก) | ||||||||||||||
• ค.ศ. 1913–1918 | ลูทวิชที่ 3 (พระองค์สุดท้าย) | ||||||||||||||
ประวัติศาสตร์ | |||||||||||||||
• สถาปนาอาณาจักร | 1 มกราคม ค.ศ. 1806 | ||||||||||||||
• ก่อตั้ง | 26 ธันวาคม ค.ศ. 1805 | ||||||||||||||
8 ตุลาคม ค.ศ. 1813 | |||||||||||||||
30 พฤษภาคม ค.ศ. 1814 | |||||||||||||||
18 มกราคม ค.ศ. 1871 | |||||||||||||||
9 พฤศจิกายน ค.ศ. 1918 | |||||||||||||||
• การรวมตัวของ สาธารณรัฐไวมาร์ | 12 พฤศจิกายน ค.ศ. 1918 | ||||||||||||||
พื้นที่ | |||||||||||||||
ค.ศ. 1910 | 75,865 ตารางกิโลเมตร (29,292 ตารางไมล์) | ||||||||||||||
ประชากร | |||||||||||||||
• ค.ศ. 1910 | 6,524,372 | ||||||||||||||
|
ในค.ศ. 1918 บาวาเรียได้กลายเป็นสาธารณรัฐหลังจากการปฏิวัติเยอรมัน อาณาจักรนี้จึงถูกสืบทอดโดยเสรีรัฐไบเอิร์นในปัจจุบัน
ประวัติศาสตร์
แก้สงครามโลกครั้งที่หนึ่งและจุดจบของอาณาจักร
แก้ใน ค.ศ. 1914 ความขัดแย้งระหว่างพันธมิตรปะทุขึ้นหลังจากที่จักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการีบุกราชอาณาจักรเซอร์เบีย เพื่อตอบโต้เหตุการณ์ลอบปลงพระชนม์อาร์ชดยุกฟรันทซ์ แฟร์ดีนันท์ โดยกลุ่มชาตินิยมชาวเซิร์บในบอสเนีย เยอรมันเข้าข้างอดีตคู่แข่งที่กลายมาเป็นพันธมิตรอย่างออสเตรีย-ฮังการีและประกาศสงครามกับฝรั่งเศสและรัสเซีย เมื่อเยอรมนีรุกรานเบลเยียม ซึ่งเป็นประเทศเป็นกลางสหราชอาณาจักรจึงประกาศสงครามกับเยอรมัน
ในช่วงแรกของสงคราม ประชาชนในบาวาเรียและทั่วทั้งเยอรมนีต่างสมัครเข้าร่วมกองทัพอย่างกระตือรือร้น พระเจ้าลูทวิชที่ 3 ทรงส่งสารอย่างเป็นทางการไปยังเบอร์ลิน เพื่อแสดงความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันของบาวาเรียกับจักรวรรดิเยอรมัน ต่อมาลูทวิชที่ 3 ยังแสดงความต้องการให้บาวาเรียได้รับดินแดนเพิ่มเติม เช่น อาลซัสและแอนต์เวิร์ปของเบลเยียมเพื่อให้บาวาเรียมีทางออกสู่ทะเล เป้าหมายลับของพระองค์คือรักษาสมดุลอำนาจระหว่างปรัสเซียกับบาวาเรียภายในจักรวรรดิเยอรมัน ในกรณีที่ฝ่ายเยอรมนีได้รับชัยชนะ อย่างไรก็ตาม เมื่อสงครามเข้าสู่ภาวะ ชะงักงันและมีการสูญเสียมหาศาลบนแนวรบด้านตะวันตก ชาวบาวาเรียเช่นเดียวกับชาวเยอรมันโดยทั่วไป เริ่มรู้สึกเบื่อหน่ายกับสงคราม
ใน ค.ศ. 1917 เกออร์ค ฟ็อน แฮร์ทลิง มุขมนตรีบาวาเรียได้รับตำแหน่งมุขมนตรีของปรัสเซียและนายกรัฐมนตรีแห่งจักรวรรดิเยอรมัน ส่วนมุขมนตรีคนใหม่ของบาวาเรียคือ อ็อทโท ริทเทอร์ ฟ็อน ดันเดิล ความภักดีที่ลูทวิชที่ 3 แสดงต่อปรัสเซียทำให้พระองค์ ค่อย ๆ สูญเสียความนิยมระหว่างช่วงสงคราม ใน ค.ศ. 1918 บาวาเรียพยายามเจรจาสันติภาพแยกกับฝ่ายสัมพันธมิตรแต่ไม่ประสบความสำเร็จ ในขณะเดียวกันความไม่สงบทางการเมืองเริ่มแพร่กระจายในบาวาเรียและทั่วเยอรมนี ซึ่งส่วนหนึ่งเกิดจากกระแสต่อต้านอำนาจของปรัสเซียและกระแสแบ่งแยกบาวาเรีย
เมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน ค.ศ. 1918 พระเจ้าลูทวิชที่ 3 ทรงหลบหนีออกจากพระราชฐานมิวนิกพร้อมกับพระบรมวงศานุวงศ์เนื่องจากเกิดการปฏิวัติเยอรมัน พระองค์ทรงเป็นกษัตริย์พระองค์แรกในจักรวรรดิเยอรมันที่ถูกโค่นล้ม เพียงไม่กี่วันต่อมา จักรพรรดิวิลเฮล์มที่ 2 ก็ทรงสละราชบัลลังก์ของจักรวรรดิเยอรมัน ลูทวิชที่ 3 เสด็จลี้ภัยไปยังออสเตรียโดยตั้งใจจะอยู่เพียงชั่วคราว วันที่ 12 พฤศจิกายน พระองค์ทรงออกแถลงการณ์อานิฟ ซึ่งระบุว่าพระองค์ "ไม่อยู่ในสถานะที่จะปกครองประเทศได้" และทรงปลดปล่อยทหารและข้าราชการจากคำสัตย์ปฏิญาณต่อพระองค์ แม้ว่าลูทวิชที่ 3 ไม่เคยสละราชสมบัติอย่างเป็นทางการ แต่รัฐบาลที่นำโดยพรรคสังคมนิยมของควร์ท ไอส์เนอร์ตีความแถลงการณ์ดังกล่าวว่าเป็น การสละบัลลังก์ และประกาศโค่นล้มราชวงศ์วิทเทิลส์บัค ด้วยเหตุนี้ ราชวงศ์วิทเทิลส์บัคที่ปกครองบาวาเรียมานานกว่า 700 ปีจึงถึงจุดสิ้นสุดและราชอาณาจักรบาวาเรียได้เปลี่ยนเป็นรัฐประชาชนบาวาเรีย
พิธีพระบรมศพของพระเจ้าลูทวิชที่ 3 ใน ค.ศ. 1921 ทำให้หลายฝ่ายกังวลหรือคาดหวังว่าอาจเป็นจุดเริ่มต้นของการฟื้นฟูสถาบันกษัตริย์ แม้ระบอบกษัตริย์จะถูกยกเลิกไปแล้วแต่พระบรมศพของอดีตกษัตริย์ยังคงได้รับการประกอบพิธีตามแบบแผนของราชวงศ์ ท่ามกลางพระบรมวงศานุวงศ์ คณะรัฐบาลบาวาเรีย กองทัพ และประชาชนราว 100,000 คนเจ้าชายรูพเพ็ชลท์ มกุฎราชกุมารแห่งบาวาเรีย ไม่ต้องการใช้โอกาสนี้ พยายามฟื้นฟูสถาบันกษัตริย์ด้วยกำลัง แต่ ต้องการดำเนินการตามกระบวนการทางกฎหมาย โดยพระคาร์ดินัลมิชชาเอล ฟ็อน เฟาลฮาเบอร์ อัครมุขนายกแห่งมิวนิก ได้กล่าวในคำไว้อาลัย แสดงจุดยืนสนับสนุนสถาบันกษัตริย์อย่างชัดเจน ขณะที่เจ้าชายรูพเพ็ชลท์ประกาศเพียงว่าพระองค์ยังคงเป็นรัชทายาทโดยชอบธรรมของบัลลังก์บาวาเรีย[1]
อ้างอิง
แก้- ↑ "Viertes Kapitel. Bayern und die wirtschaftliche Einigung Deutschlands. — Die wirtschaftliche Entwicklung Bayerns unter Ludwig 1", Vom Regierungsantritt König Ludwigs I. bis zum Tode König Ludwigs II. mit einem Ausblick auf die innere Entwicklung Bayerns unter dem Prinzregenten Luitpold, Oldenbourg Wissenschaftsverlag, pp. 72–94, 1931-12-31, สืบค้นเมื่อ 2025-03-24