สมาพันธรัฐเยอรมันเหนือ

สมาพันธรัฐเยอรมันเหนือ (เยอรมัน: Norddeutscher Bund) คือชื่อของรัฐชาติเยอรมันซึ่งดำรงอยู่ระหว่าง กรกฎาคม ค.ศ. 1867 ถึง ธันวาคม ค.ศ. 1870 สมาพันธรัฐเยอรมันเหนือสิ้นสุดลงเมื่อมีการสถาปนารัฐธรรมนูญขึ้นใหม่ และตามรัฐธรรมนูญฉบับนั้นได้เปลี่ยนชื่อประเทศเป็น "จักรวรรดิเยอรมัน"

สมาพันธรัฐเยอรมันเหนือ

Norddeutscher Bund (เยอรมัน)
ค.ศ. 1867–1871
สมาพันธรัฐเยอรมันในปี ค.ศ. 1870
สมาพันธรัฐเยอรมันในปี ค.ศ. 1870
  สมาพันธรัฐเยอรมันเหนือ
  บรรดารัฐเยอรมันตอนใต้ที่เข้าร่วมในค.ศ. 1870
  ดินแดนที่ได้มาหลังสงครามฝรั่งเศส-ปรัสเซีย
เมืองหลวงเบอร์ลิน
ภาษาทั่วไปเยอรมัน, เดนมาร์ก, เยอรมันต่ำ, เช็ก, ลิทัวเนีย, โปแลนด์, ซอร์เบียน
ศาสนา
โรมันคาทอลิก และ โปรเตสแตนต์
องค์ประธาน 
• 1867–1871
วิลเฮล์มที่ 1 แห่งปรัสเซีย
นายกรัฐมนตรี 
• 1867–1871
ออทโท ฟอน บิสมาร์ค
สภานิติบัญญัติไรชส์ทาค
• สภาสมาพันธรัฐ
ไรสช์รัท
ยุคประวัติศาสตร์จักรวรรดินิยมใหม่
18 สิงหาคม 1866
16 เมษายน 1867
19 กรกฎาคม 1870
18 มกราคม 1871
สกุลเงินVereinsthaler
ก่อนหน้า
ถัดไป
สมาพันธรัฐเยอรมัน
จักรวรรดิเยอรมัน
ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของ เยอรมนี
 เดนมาร์ก
 เบลเยียม
 ลิทัวเนีย
 โปแลนด์
 เช็กเกีย
 รัสเซีย

หลังจากรัฐชาติของชาวเยอรมันได้แตกเป็นเสี่ยงๆในสมัยสงครามนโปเลียน เมื่อสงครามนโปเลียนสิ้นสุดก็มีการสถาปนาสมาพันธรัฐเยอรมันขึ้นในปี ค.ศ. 1815 ซึ่งมีจักรพรรดิออสเตรียเป็นองค์ประธาน ในการนี้ ราชอาณาจักรปรัสเซียและจักรวรรดิออสเตรียได้ร่วมมือกันในการใช้สมาพันธรัฐเยอรมันเป็นเครื่องมือเพื่อรวมความเป็นรัฐชาติและความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของชาวเยอรมันอีกครั้ง ต่อมาในค.ศ. 1849 สมัชชาแห่งชาติในนครแฟรงเฟิร์ตได้มีมติให้กษัตริย์ปรัสเซียดำรงตำแหน่งเป็นจักรพรรดิของชาติเยอรมันส่วนน้อย (เยอรมันที่ไม่รวมออสเตรีย) แต่กษัตริย์ปรัสเซียทรงปฏิเสธและพยายามรวมชาติเยอรมันผ่านทางสหภาพแอร์ฟวร์ทแทน อย่างไรก็ตาม การประชุมสหภาพแอร์ฟวร์ทที่จัดขึ้นในปี ค.ศ. 1850 นั้น มีเพียงรัฐเยอรมันตอนเหนือที่เข้าร่วมประชุมเท่านั้น ออสเตรียและรัฐเยอรมันตอนใต้ต่างกดดันให้ปรัสเซียล้มเลิกสหภาพแอร์ฟวร์ท ความขัดแย้งระหว่างปรัสเซียและออสเตรียจึงเริ่มขึ้น

ความขัดแย้งระหว่างสองชาตินำไปสู่สงครามออสเตรีย-ปรัสเซีย สงครามจบลงด้วยชัยชนะของปรัสเซีย ออสเตรียสูญเสียอิทธิพลเหนือรัฐเยอรมันตอนใต้ทั้งหมดและจำยอมยุบสมาพันธรัฐเยอรมันในวันที่ 23 สิงหาคม ค.ศ. 1866 และนำไปสู่การสถาปนา "สมาพันธรัฐเยอรมันเหนือ" ที่มีกษัตริย์แห่งปรัสเซียเป็นองค์ประธาน

ภูมิหลัง แก้

ในช่วงปี ค.ศ. 1815–1833 ออสเตรียและปรัสเซียทำงานร่วมกันและใช้สมาพันธรัฐเยอรมันเป็นเครื่องมือในการปราบปรามความอุดมการณ์ทางเสรีนิยมในประชากรชาวเยอรมัน

Zollverein แก้

ก้าวสำคัญก้าวแรกสู่แนวคิดการรวมชาติเยอรมันส่วนน้อย คือ Zollverein สหภาพศุลกากรที่ก่อตั้งโดยสนธิสัญญาปี 1833 โดยปรัสเซียเป็นตัวขับเคลื่อนหลักเบื้องหลังสหภาพ[1] แม้ว่าจะมีการเปิดตัวอย่างเป็นทางการในวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1833 แต่ต้นกำเนิดอาจสืบย้อนไปถึงสหภาพแรงงานเก่าแก่ต่างๆ ในรัฐต่างๆ ของเยอรมนี ซึ่งก่อตั้งขึ้นตั้งแต่ปี ค.ศ. 1818 Zollverein ไม่ได้อยู่ใต้บังคับของสมาพันธรัฐเยอรมันที่นำโดยออสเตรียและจักรวรรดิออสเตรียเองถูกกีดกันเนื่องจากนโยบายการค้าแบบกีดกันสูงโดยไม่เต็มใจที่จะแยกอาณาเขตศุลกากรออกเป็นออสเตรีย ฮังการี และกาลิเซีย-โลโดเมเรียน รวมทั้งเนื่องจากการต่อต้านจากเจ้าชายเคลเมนส์ เวนเซิล ฟอน เมทเทอร์นิช[2] อย่างไรก็ตาม Zollverein สามารถรวมรัฐเยอรมันส่วนใหญ่ได้ในปี 1866

รัฐสภาแฟรงก์เฟิร์ตและสหภาพแอร์ฟวร์ท แก้

ในปี ค.ศ. 1849 สมัชชาแห่งชาติในแฟรงก์เฟิร์ตได้เลือกพระเจ้าฟรีดริช วิลเฮ็ล์มที่ 4 แห่งปรัสเซียเป็นจักรพรรดิแห่งเยอรมนีน้อย (เยอรมนีที่ไม่มีออสเตรีย) พระองค์ทรงปฏิเสธและพยายามรวมเยอรมนีเข้ากับสหภาพแอร์ฟวร์ทในปี ค.ศ. 1849–1850 รัฐสภาแฟรงก์เฟิร์ตได้ประชุมกันในช่วงต้นปี 1850 เพื่อหารือเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญ รัฐที่เข้าร่วมส่วนใหญ่เป็นรัฐที่อยู่ทางตอนเหนือและตอนกลางของเยอรมนีเท่านั้น ส่วนออสเตรียและรัฐทางตอนใต้ของเยอรมนี ได้แก่ เวือร์ทเทิมแบร์คและบาวาเรียบีบให้ปรัสเซียล้มเลิกแผนการรวมชาติในปลายปี ค.ศ. 1850[3]

ในเดือนเมษายนและมิถุนายน ค.ศ. 1866 ปรัสเซียเสนอแนวคิดการรวมชาติเยอรมันส่วนน้อยอีกครั้ง รากฐานที่สำคัญของข้อเสนอคือการเลือกตั้งรัฐสภาเยอรมันโดยพิจารณาจากคะแนนเสียง[4] ข้อเสนอดังกล่าวกล่าวถึงกฎหมายการเลือกตั้งแฟรงก์เฟิร์ตในปี พ.ศ. 2392 อย่างชัดเจน อ็อทโท ฟ็อน บิสมาร์ค นายกรัฐมนตรีแห่งปรัสเซียต้องการได้รับความนิยมจากขบวนการเสรีนิยมในขณะนั้น ออสเตรียและพันธมิตรปฏิเสธข้อเสนอนี้ดังนั้นในฤดูร้อน ค.ศ. 1866 ปรัสเซียประกาศสงครามกับออสเตรียและพันธมิตรในสงครามออสเตรีย-ปรัสเซีย

สนธิสัญญาสันติภาพปรากและการยุบสมาพันธรัฐเยอรมัน แก้

ปรัสเซียและออสเตรียลงนามในข้อตกลงนิโคลส์เบิร์กและสนธิสัญญาสันติภาพปราก ออสเตรียยอมรับข้อเรียกร้องของปรัสเซียที่ต้องการยุบสมาพันธรัฐเยอรมัน ปรัสเซียได้รับการยินยอมให้ก่อตั้ง "สหพันธ์ที่ใกล้ชิดยิ่งขึ้น" (einen engeren Bund) แทนในเยอรมนีทางตอนเหนือของแม่น้ำไมน์และบิสมาร์กได้ตกลงเกี่ยวกับข้อจำกัดนี้กับจักรพรรดินโปเลียนที่ 3 แห่งฝรั่งเศสก่อนการเจรจาสันติภาพ[5]

การก่อตั้งรัฐชาติ แก้

ในช่วงเวลาประมาณสามปีครึ่งของสมาพันธ์เยอรมันเหนือ การดำเนินงานหลักคือการออกกฎหมายรวมเยอรมนีเหนือเป็นหนึ่งเดียวโดย ไรชส์ทาค มีหน้าที่ตัดสินใจเกี่ยวกับกฎหมาย เช่น

  • การเดินทางอย่างเสรีของพลเมืองภายในอาณาเขตของสมาพันธ์ (ค.ศ. 1867)
  • ระบบไปรษณีย์กลาง (ค.ศ. 1867–1868)
  • หนังสือเดินทางกลาง (ค.ศ. 1867)
  • สิทธิเท่าเทียมกันของผู้นับถือศาสนานิกายต่างๆ(ค.ศ. 1869)
  • มาตรการและน้ำหนักแบบกลาง (พร้อมกับการเริ่มบังคับใช้ระบบเมตริก)
  • ประมวลกฎหมายอาญา (ค.ศ. 1870)

สมาพันธรัฐเยอรมันเหนือได้เข้าเป็นสมาชิกของ Zollverein ซึ่งเป็นสหภาพศุลกากรของเยอรมันในปี ค.ศ. 1834.

 
การประชุมครั้งแรกของ ไรชส์ทาค เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1867.แต่สภานี้ไม่ใช่รัฐสภาจริง ๆ เพราะตอนนั้นไม่มีสหพันธรัฐ จุดประสงค์เดียวคือการหารือและรับร่างรัฐธรรมนูญ ต่อมาในเดือนสิงหาคม ชาวเยอรมันเหนือได้เลือกไรช์สทาคสมัยแรกตามรัฐธรรมนูญฉบับใหม่

ระบบการเมือง แก้

การประชุมครั้งแรกของรัฐสภา ไรชส์ทาค เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1867 แต่สภานี้ไม่ใช่รัฐสภาจริง ๆ เนื่องจากขณะนั้นไม่มีสหพันธรัฐ จุดประสงค์เดียวคือการหารือและรับร่างรัฐธรรมนูญ ต่อมาในเดือนสิงหาคมชาวเยอรมันเหนือได้เลือกไรช์สทาคสมัยแรกตามรัฐธรรมนูญฉบับใหม่

รัฐธรรมนูญของเยอรมันเหนือเมื่อวันที่ 16 เมษายน ค.ศ. 1867 ได้สร้างสภาแห่งชาติที่มีคะแนนเสียงเลือกตั้งสากล กระบอกเสียงที่สำคัญอีกประการหนึ่ง คือ บุนเดิสราท ซึ่งเป็น 'สภาแห่งชาติ' เป็นตัวแทนของรัฐบาลแห่งรัฐ ในการนำกฎหมายมาใช้ จำเป็นต้องมีเสียงข้างมากใน ไรชส์ทาค และ บุนเดิสราท สิ่งนี้ทำให้รัฐบาลพันธมิตร ซึ่งหมายถึงรัฐต่างๆ (ขึ้นอยู่กับรัฐและเจ้าผู้ครองรัฐนั้นๆ) สามารยับยั้งกฎหมายที่สำคัญ

อำนาจบริหารเป็นของนายกรัฐมนตรีโดยเป็นรัฐมนตรีที่มีหน้าที่มีรับผิดชอบเพียงคนเดียวของประเทศไม่มีคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการ และในสมัยของสมาพันธ์เยอรมันเหนือก็มีหน่วยงานรัฐบาลเพียงสองหน่วยงานเท่านั้น คือ Bundeskanzleramt ซึ่งเป็นสำนักงานของนายกรัฐมนตรี และสำนักงานต่างประเทศตั้งแต่ต้นปี ค.ศ. 1870

นายกรัฐมนตรีได้รับการแต่งตั้งและถอดถอนโดย Bundespräsidium ซึ่งเป็นตำแหน่งของกษัตริย์ปรัสเซียโดยอัตโนมัติ (มาตรา 11) โดยพฤตินัยเป็นประมุขแห่งสมาพันธรัฐเยอรมันเหนือ (บิสมาร์คต้องการหลีกเลี่ยงชื่อ Präsident เพื่อไม่ต้องการให้ชื่อคล้ายสาธารณรัฐ)

ด้วยความตั้งใจและวัตถุประสงค์ทั้งหมด สมาพันธ์ถูกครอบงำโดยปรัสเซีย โดยมีอาณาเขตและประชากรสี่ในห้าของสมาพันธ์มากกว่าสมาชิกอีก 21 รัฐรวมกัน กษัตริย์ปรัสเซียเป็นประมุขแห่งรัฐ บิสมาร์กยังเป็นนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีต่างประเทศของปรัสเซีย ด้วยบทบาทนั้นทำให้ชาวปรัสเซียมีสิทธิ์โหวต 17 จาก 43 เสียงในบุนเดิสราท ถึงแม้จะเป็นรัฐที่ใหญ่ที่สุดแต่ก็สามารถได้เสียงข้างมากโดยการสร้างพันธมิตรกับรัฐที่เล็กกว่า

การเปลี่ยนผ่านสู่จักรวรรดิเยอรมัน แก้

หัวข้อหลัก: จักรวรรดิเยอรมัน

ในช่วงกลางปี ​​ค.ศ. 1870 วิกฤตทางการทูตเกี่ยวกับราชบัลลังก์สเปนได้นำไปสู่สงครามฝรั่งเศส-ปรัสเซียในที่สุด[6] ในระหว่างสงคราม เดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1870 บาวาเรีย เวือร์ทเทิมแบร์ค และบาเดน (รวมถึงบางส่วนของเฮ็สเซิน-ดาร์มสตัดท์ที่ถูกกีดกันจากสมาพันธ์) ได้เข้าร่วมสมาพันธรัฐเยอรมันเหนือและได้นำรัฐธรรมนูญใหม่มาใช้ และเปลี่ยนชื่อไปเป็น Deutsches Reich (จักรวรรดิเยอรมัน)

เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม ค.ศ. 1870 ไรชส์ทาคแห่งสมาพันธรัฐเยอรมันเหนือได้นำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่มาใช้ โดยยังคงมีศักดิ์เป็นหนึ่งใน Deutscher Bund (สมาพันธรัฐเยอรมัน) แม้จะมีการตั้งชื่อใหม่ว่า Deutsches Reich (อาณาจักรเยอรมันหรือจักรวรรดิเยอรมัน) และให้พระอิสริยยศของจักรพรรดิเยอรมันเป็นของกษัตริย์แห่งปรัสเซียโดยทรงดำรงตำแหน่ง Bundespräsidium แห่งสมาพันธ์ มีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1871 แต่กินระยะเวลาเพียงสี่เดือน[7]

หลังจากชัยชนะในสงครามกับฝรั่งเศส บรรดาเจ้าชายเยอรมันและผู้บัญชาการทหารระดับสูงได้ประกาศให้พระเจ้าวิลเฮ็ล์มที่ 1 แห่งปรัสเซียเป็น "จักรพรรดิเยอรมัน" โดยทรงปราบดาภิเษกภายในห้องโถงกระจกของพระราชวังแวร์ซาย[8]

หลังจากไรชส์ทาคสมัยใหม่ได้รับเลือกในวันที่ 3 มีนาคม ค.ศ. 1871 ได้เปลี่ยนจากสมาพันธรัฐเป็นจักรวรรดิโดยสมบูรณ์เมื่อรัฐธรรมนูญฉบับถาวรของจักรวรรดิเยอรมันมีผลใช้บังคับผลใช้บังคับในวันที่ 4 พฤษภาคม ค.ศ. 1871 ในขณะที่ฝรั่งเศสให้การรับรองเมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม ค.ศ. 1871 ในสนธิสัญญาแฟรงก์เฟิร์ต[9][10]

รัฐสมาชิก แก้

รัฐสมาชิกทั้งหมดเคยเป็นสมาชิกสมาพันธรัฐเยอรมันในปี ค.ศ. 1815-66 อยู่แล้ว ออสเตรียและรัฐทางใต้ของเยอรมัน บาวาเรีย เวือร์ทเทิมแบร์ค บาเดิน และราชรัฐเฮ็สเซิน-ดาร์มสตัดท์ ยังคงอยู่นอกสมาพันธ์เยอรมันเหนือ แม้ว่าจังหวัด Oberhessen ทางตอนเหนือของเฮ็สเซิน-ดาร์มสตัดท์ ได้เข้าร่วมสมาพันธรัฐเยอรมันเหนือแล้ว

ในภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออกของเยอรมนี ปรัสเซีย

  • ได้จากการรวบรวมพันธมิตรส่วนหนึ่งหนึ่งที่เข้าร่วมสมาพันธรัฐเยอรมันเหนือผ่านสนธิสัญญาเดือนสิงหาคม (Augustverträge) ของเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1866
  • ได้จากการผนวกสี่รัฐศัตรูในอดีต (ฮันโนเฟอร์ คูร์เฮสเซิน นัสเซา แฟรงก์เฟิร์ต) ซึ่งกลายเป็นส่วนหนึ่งของปรัสเซียในเดือนตุลาคม1866
  • ได้จากการรวมดินแดนของตนเองซึ่งเดิมอยู่นอกจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์และสมาพันธรัฐเยอรมัน ซึ่งได้แก่ ดินเเดนปรัสเซียเดิมของปรัสเซียตะวันออก รวมทั้งดินแดนโปแลนด์ที่ปรัสเซียยึดครองอยู่ (จังหวัด ปรัสเซียตะวันตก) เข้าในรัฐใหม่ จึงได้ผนวกดินแดนเหล่านั้นเข้าสู่เยอรมนีอย่างเป็นทางการ
  • ได้จากการบังคับให้รัฐที่เหลือเข้าร่วมสมาพันธ์เยอรมันเหนือผ่านสนธิสัญญาสันติภาพ
รัฐสมาชิก เมืองหลวง
อาณาจักร (Königreiche)
  ปรัสเซีย

(รวมถึง เลาเอินบวร์ค)

เบอร์ลิน
  ซัคเซิน เดรสเดิน
แกรนด์ดัชชี (Großherzogtümer)
  เฮ็สเซิน(เพียงแค่เฮ็สเซินเหนือ) กีเซิน
  เมคเลินบวร์ค-ชเวรีน ชเวรีน
  เมคเลินบวร์ค-ชเตรลิทซ์ Neustrelitz
  อ็อลเดินบวร์ค โอลเดนบูร์ก
  ซัคเซิน-ไวมาร์-ไอเซอนัค ไวมาร์
ดัชชี (Herzogtümer)
  อันฮัลท์ Dessau
  เบราน์ชไวค์ เบราน์ชไวค์
  ซัคเซิน-อัลเทินบวร์ค อัลเทินบวร์ค
  ซัคเซิน-โคบวร์คและโกทา โคบวร์ค
  ซัคเซิน-ไมนิงเงิน ไมนิงเงิน
ราชรัฐ (Fürstentümer)
  ลิพเพอ เด็ทม็อลท์
  รอยสส์-เกรา Gera
  รอยสส์-กรีสส์ Greiz
  ชอมบวร์ก-ลิพเพอ Bückeburg
  ชวาร์ซบวร์ก-รูดอลสตัดท์ Rudolstadt
  ราชรัฐชวาร์ซบวร์ก-ซอนเดอร์สเฮาเซ่น Sondershausen
  วาลเดิก-พีร์มอนต์ Arolsen
เสรีรัฐ (Freie und Hansestädte)
  เบรเมิน
  ฮัมบวร์ค
  ลือเบ็ค

หนังสืออ่านเพิ่มเติม แก้

  • Craig, Gordon A. Germany, 1866–1945 (1978) online edition
  • Holborn, Hajo. A History of Modern Germany: 1840–1945 (1969) pp. 173–232
  • Nipperdey, Thomas. Germany from Napoleon to Bismarck (1996), very dense coverage of every aspect of German society, economy and government
  • Pflanze, Otto. Bismarck and the Development of Germany, Vol. 1: The Period of Unification, 1815–1871 (1971)
  • Taylor, A.J.P. Bismarck: The Man and the Statesman (1967) online edition

พิกัดภูมิศาสตร์: 52°31′N 13°24′E / 52.517°N 13.400°E / 52.517; 13.400

  1. Ploeckl, Florian (2020). "A novel institution: the Zollverein and the origins of the customs union". Journal of Institutional Economics. 17 (2): 305–319. doi:10.1017/S1744137420000387. ISSN 1744-1374. S2CID 211238300.
  2. "Germany - The age of Metternich and the era of unification, 1815–71". Britannica.com.
  3. David E. Barclay: Preußen und die Unionspolitik 1849/1850. In: Gunther Mai (ed.): Die Erfurter Union und das Erfurter Unionsparlament 1850. 2000, pp. 53–80, here pp. 78–80.
  4. Ernst Rudolf Huber: Deutsche Verfassungsgeschichte seit 1789. Vol. III: Bismarck und das Reich. 3rd edition, Kohlhammer Verlag, Stuttgart et al. 1988, pp. 536/537.
  5. Ernst Rudolf Huber: Deutsche Verfassungsgeschichte seit 1789. Vol. III: Bismarck und das Reich. W. Kohlhammer, Stuttgart [et al.] 1963, p. 570.
  6. Görtemaker, Manfred (1983). Deutschland im 19. Jahrhundert: Entwicklungslinien. Opladen. p. 244. ISBN 9783663096559.
  7. Case, Nelson (1902). European Constitutional History. Cincinnati: Jennings & Pye. pp. 139–140. OCLC 608806061.
  8. Die Reichsgründung 1871 (The Foundation of the Empire, 1871), Lebendiges virtuelles Museum Online, accessed 2008-12-22. German text translated: [...] on the wishes of Wilhelm I, on the 170th anniversary of the elevation of the House of Brandenburg to royal status on January 18, 1701, the assembled German princes and high military officials proclaimed Wilhelm I as German Emperor in the Hall of Mirrors at the Versailles Palace, and he accepted the title.
  9. Crankshaw, Edward. Bismarck. New York, The Viking Press, 1981, p. 299.
  10. Ernst Rudolf Huber: Deutsche Verfassungsgeschichte seit 1789. Vol. III: Bismarck und das Reich. 3rd edition, W. Kohlhammer, Stuttgart [et al.] 1988, p. 747.