แกรนด์ดัชชีเฮ็สเซิน

แกรนด์ดัชชีเฮ็สเซิน (เยอรมัน: Großherzogtum Hessen) เคยเป็นแกรนด์ดัชชีหรือของจักรวรรดิเยอรมัน ได้รับการสถาปนาขึ้นในปี ค.ศ. 1806 หลังจากที่จักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ล่มสลายจากการบุกโจมตีของนโปเลียน นโปเลียนยกฐานะจากรัฐลันด์กราฟแห่งเฮ็สเซิน-ดาร์มชตัดท์ (Landgraviate of Hesse-Darmstadt) ซึ่งเป็นรัฐหนึ่งในจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ให้กลายเป็นแกรนด์ดัชชีอย่างเต็มตัว จากเหตุผลนี้ในบางครั้งผู้คนจึงเรียกอาณาจักรดยุกนี้ว่า แกรนด์ดัชชีเฮ็สเซิน - ดาร์มชตัดท์ (Hesse-Darmstadt)

แกรนด์ดัชชีเฮ็สเซินและริมไรน์

Großherzogtum Hessen und bei Rhein
ค.ศ. 1806ค.ศ. 1918
ธงชาติ
ธงชาติ
ตราแผ่นดินของ
ตราแผ่นดิน
'เพลงชาติ: '"Württemberger Hymne"
แกรนด์ดัชชีเฮ็สเซินภายในจักรวรรดิเยอรมัน
แกรนด์ดัชชีเฮ็สเซินภายในจักรวรรดิเยอรมัน
สถานะแกรนด์ดัชชี
เมืองหลวงดาร์มชตัดท์
ภาษาทั่วไปภาษาเยอรมัน
การปกครองราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ
แกรนด์ดยุกแห่งเฮ็สเซิน 
• ค.ศ. 1806-1830
หลุยส์ที่ 1 แกรนด์ดยุกแห่งเฮ็สเซิน (องค์แรก)
• ค.ศ. 1892-1918
เออร์เนสหลุยส์ แกรนด์ดยุกแห่งเฮ็สเซิน (องค์สุดท้าย)
ประวัติศาสตร์ 
• สถาปนา
13 สิงหาคม ค.ศ. 1806 ค.ศ. 1806
• ปฏิวัติเยอรมัน
9 พฤศจิกายน ค.ศ. 1918 ค.ศ. 1918
พื้นที่
ค.ศ. 19107,688.36 ตารางกิโลเมตร (2,968.49 ตารางไมล์)
ประชากร
• ค.ศ. 1910
1282051
ก่อนหน้า
ถัดไป
รัฐเฮ็สเซิน-ดาร์มชตัดท์
สาธารณรัฐไวมาร์

ประวัติศาสตร์

แก้
 
บริเวณด้านหน้าพระราชวังของแกรนด์ดยุกในเมืองดาร์มชตัดท์

แกรนด์ดัชชีเฮ็สเซินเคยเป็นรัฐสมาชิกรัฐหนึ่งในสมาพันธรัฐแห่งลุ่มแม่น้ำไรน์ซึ่งก่อตั้งขึ้นโดยนโปเลียน ซึ่งถูกบังคับให้ยินยอมยกดินแดนส่วนต่างๆให้แก่สหพันธ์ฯ ตามข้อตกลงของการประชุมแห่งเวียนนาในปี ค.ศ 1815 และอาณาเขตของอาณาจักรดยุกพาเลียตะวันตกที่ได้รับมาจากการประณีประนอมเขตแดนของเยอรมันมา ก็ต้องยินยอมยกดินแดนให้กับราชอาณาจักรปรัสเซีย แต่ถึงอย่างไรก็ตามแกรนด์ดัชชีเฮ็สเซินก็ยังได้รับดินแดนฝั่งตะวันตกของแม่น้ำไรน์ รวมถึงป้อมปราการของสหพันธ์แห่งลุ่มแม่น้ำไรนน์ที่เมืองไมนทซ์

แกรนด์ดัชชีได้ทำการสถาปนานามใหม่โดยใช้นามว่า แกรนด์ดัชชีเฮ็สเซินแห่งลุ่มแม่น้ำไรน์ (เยอรมัน: Großherzogtum Hessen und bei Rhein; อังกฤษ: Grand Duchy of Hesse and by Rhine) ในปี ค.ศ. 1816 และในปี ค.ศ. 1867 แกรนด์ดัชชีเฮ็สเซินส่วนที่เป็นฝั่งทางด้านทิศเหนือ (ถูกแบ่งออกเป็นฝากเหนือและฝากใต้โดยมีรัฐอื่นเป็นรัฐแบ่งกั้น) ได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของสหพันธ์เยอรมันเหนือ (North German Confederation) ในขณะที่แกรนด์ดัชชีทางฝั่งใต้ซึ่งเป็นฝั่งที่ตั้งของเมืองหลวงและศูนย์กลางการปกครองของอาณาจักรยังคงมิได้เข้าร่วมกับสหพันธ์ฯ จนกระทั่งมาในปีค.ศ. 1871 ได้กลายเป็นรัฐสามชิกรัฐหนึ่งของจักรวรรดิเยอรมัน โดยดยุกองค์สุดท้าย ดยุกเอ็รนท์ ลุดวิก (พระนัดดาในสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย และ พระอนุชาในสมเด็จพระจักรพรรดินีอเล็กซานดรา เฟโอโดรอฟนา แห่งจักรวรรดิรัสเซีย) ทรงถูกบีบบังคับให้ยกมอบราชบัลลังก์ของพระองค์ในช่วงสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง และได้รับสถาปนานามใหม่ว่า รัฐประชาชนแห่งเฮ็สเซิน (เยอรมัน: Volksstaat Hessen, อังกฤษ: People's State of Hesse) โดยประชากรส่วนใหญ่ของรัฐได้อพยพไปยังที่เมืองแฟรงค์เฟิร์ตรวมถึงประชากรในภูมิภาคลุ่มแม่น้ำไรน์ และประชากรชาวปรัสเซียบริเวณภูมิภาคเฮ็สเซินแนสซาวน์ไปยังรัฐเฮ็สเซินแห่งใหม่หลังจากผ่านพ้นช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ยกเว้นเขตมอนทาบัวส์จากรัฐเฮ็สเซินแนสซาวน์และบางส่วนของรัฐเฮสเซ็น - ดาร์มชตัดท์ ทางฝากซ้ายของแม่น้ำไรนน์ (เขตไรนิช เฮ็สเซิน) ได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของรัฐไรน์แลนด์ พาลาทิเนท (Rhineland-Palatinate) และพื้นที่ของเฮสเซ็น - ดาร์มชตัดท์ ได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของรัฐบาเดิน - เวือร์ทเทิมแบร์ค

เขตการปกครองย่อยของอาณาจักร

แก้
  • สตารค์เคนเบิร์ก: (เมืองหลวง: ดาร์มชตัดท์) เขตทางฝั่งขวาของแม่น้ำไรน์และทางด้านใต้จากส่วนหลักของอาณาจักร
  • ไรนิช เฮ็สเซิน: (เมืองหลวง: ไมนทซ์) เขตทางฝั่งซ้ายของแม่น้ำไรนน์ซึ่งเป็นอาณาเขตที่ได้รับมาจากการประชุมแห่งกรุงเวียนนา
  • เขตเฮ็สเซินฝั่งทางทิศเหนือ: (เมืองหลวง: กีสเซน) เขตทางฝั่งเหนือของอาณาจักรซึ่งแยกตัวออกมาจากเขตสตารค์เคนเบิร์ก และต่อมาได้ถูกยึดครองโดยราชอาณาจักรปรัสเซียในปี ค.ศ. 1866

ดูเพิ่ม

แก้