ปรัสเซีย

รัฐในยุโรปกลาง ช่วงปี 1525-1947

ปรัสเซีย (อังกฤษ: Prussia) หรือ พร็อยเซิน (เยอรมัน: Preußen) หรือ โบรุสซีอา (ละติน: Borussia) เป็นรัฐที่รุ่งเรืองที่สุดในบรรดารัฐทั้งหลายของชนชาติเยอรมัน มีจุดกำเนิดจากดัชชีปรัสเซียและแคว้นชายแดนบรันเดินบวร์ค อันเป็นแคว้นของจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ซึ่งตั้งอยู่ตอนกลางของภูมิภาคที่ชื่อว่าพร็อยเซิน รัฐแห่งนี้ถูกปกครองโดยราชวงศ์โฮเอินท์ซ็อลเลิร์นเป็นเวลาหลายศตวรรษ การมีกองทัพที่เข็มแข็งทำให้ปรัสเซียประสบความสำเร็จในการแผ่ขยายดินแดน ปรัสเซียมีเมืองหลวงเดิมอยู่ที่เคอนิชส์แบร์คก่อนที่จะย้ายเมืองหลวงไปยังเบอร์ลินในปี 1701

ปรัสเซีย

Preußen  (เยอรมัน)
Prūsa  (Prussian)
ค.ศ. 1525–1947
ธงชาติปรัสเซีย
ธงชาติ (1803–1892)
ตราแผ่นดิน (1871–1918)
คำขวัญก็อทท์มิทอุนส์
"พระเจ้าสถิตกับเรา"
เพลงชาติ(1830–1840)
พร็อยเซินลีด
เพลงปรัสเซีย
เพลงสรรเสริญพระบารมี
(1795–1918)
ไฮล์เดียร์อิมซีเกอร์ครันทซ์
ปรัสเซีย (สีน้ำเงิน) ในช่วงแผ่ไพศาลที่สุด
ปรัสเซีย (สีน้ำเงิน) ในช่วงแผ่ไพศาลที่สุด
เมืองหลวงเคอนิชส์แบร์ค (1525–1701)
เบอร์ลิน (1701–1947)
ภาษาทั่วไปเยอรมัน (ภาษาราชการ)
ศาสนา
ส่วนใหญ่:
โปรเตสแตนต์
เดมะนิมPrussian
การปกครองราชาธิปไตยแบบศักดินา (1525–1701)
สมบูรณาญาสิทธิราชย์ (1701–1848)
สหพันธ์ ระบบรัฐสภา
กึ่งรัฐธรรมนูญ ราชาธิปไตย (1848–1918)
สหพันธ์ ระบบกึ่งประธานาธิบดี
สาธารณรัฐรัฐธรรมนูญ (1918–1930)
ลัทธิอำนาจนิยมประธานาธิบดี สาธารณรัฐ (1930–1933)
ชาติสังคมนิยม รัฐพรรคเดียว (1933–1945)
พระมหากษัตริย์ 
• 1701–1713
ฟรีดริชที่ 1 (องค์แรก)
• 1888–1918
วิลเฮล์มที่ 2 (สุดท้าย)
ดยุกปรัสเซีย 
• 1525–1568
อัลเบร็คท์ (คนแรก)
• 1688–1701
ฟรีดริชที่ 3 (สุดท้าย)
มุขมนตรี1, 2 
• 1918
ฟรีดริช เอเบิร์ท (คนแรก)
• 1933–1945
แฮร์มันน์ เกอริง (สุดท้าย)
ยุคประวัติศาสตร์ต้นสมัยใหม่
10 เมษายน ค.ศ. 1525
27 สิงหาคม 1618
18 มกราคม 1701
9 พฤศจิกายน 1918
• เสียอิสรภาพ
30 มกราคม 1934
• ปรัสเซียถูกยุบ
25 กุมภาพันธ์ 1947
พื้นที่
1907348,702 ตารางกิโลเมตร (134,635 ตารางไมล์)
1939297,007 ตารางกิโลเมตร (114,675 ตารางไมล์)
ประชากร
• 1816
103490003
• 1871
24689000
• 1939
41915040
สกุลเงินReichsthaler
German gold mark (1873–1914)
German Papiermark (1914–1923)
Reichsmark (since 1924)
ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของ เยอรมนี
 โปแลนด์
 รัสเซีย
 ลิทัวเนีย
 เดนมาร์ก
 เบลเยียม
 เช็กเกีย
 สวิตเซอร์แลนด์
 ฝรั่งเศส
1 The heads of state listed here are the first and last to hold each title over time. For more information, see individual Prussian state articles (links in above History section).
2 The position of Ministerpräsident was introduced in 1792 when Prussia was a Kingdom; the prime ministers shown here are the heads of the Prussian republic.
3 Population estimates:[1]

ในการประชุมใหญ่แห่งเวียนนา (ปี 1814–15) ซึ่งจัดระเบียบทวีปยุโรปเสียใหม่ภายหลังถูกทำให้ปั่นป่วนจากสงครามนโปเลียน ปรัสเซียได้รับดินแดนส่วนใหญ่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของเยอรมนีในปัจจุบัน ซึ่งรวมถึงรัฐร่ำรวยถ่านหินอย่างรัฐรูร์ (Ruhr) อิทธิพลทางเศรษฐกิจและทางการเมืองของปรัสเซียได้เติบโตอย่างรวดเร็ว ปรัสเซีบกลายเป็นหัวใจของสมาพันธรัฐเยอรมันเหนือในปี 1867 และของจักรวรรดิเยอรมันในปี 1871 ปรัสเซียในยุคจักรวรรดิเยอรมนี้มีอาณาเขตไพศาลมากกว่ารัฐเยอรมันที่เหลือรวมกันเสียอีก ชนชั้นนำของปรัสเซียมักจะระบุว่าตัวเองนั้นเป็น "ชาวเยอรมัน" มากกว่าบอกว่าตัวเองนั้นเป็น "ชาวปรัสเซีย"

ประวัติศาสตร์ แก้

เดิมทีปรัสเซียเป็นรัฐบริวารของโปแลนด์ ก่อนที่ในปี 1651 ปรัสเซียจำยอมต้องโอนอ่อนหันไปอยู่กับจักรวรรดิสวีเดน แต่หลังจากนั้นไม่กี่ปีก็เกิดสงครามเหนือครั้งที่สอง ปรัสเซียฉวยโอกาสต่อรองกับสวีเดน ว่าจะยอมช่วยสวีเดนทำศึกแลกกับการให้เอกราชแก่ปรัสเซีย หลังปรัสเซียได้รับเอกราชแล้วก็เริ่มผงาดตนเองขึ้นมาจนสามารถสถาปนาเป็นราชอาณาจักรในปี 1701[2][3][4][5] และมีอิทธิพลสูงที่สุดในศตวรรษที่ 18 ถึง 19 ปรัสเซียรุ่งเรืองอย่างก้าวกระโดดและกลายเป็นมหาอำนาจในสมัยพระเจ้าฟรีดริชที่ 2 มหาราช โดยขึ้นชื่อว่าเป็นประเทศที่มีกองทัพบกที่ทรงแสนยานุภาพมากที่สุดในโลก และยิ่งเรืองอำนาจขึ้นอีกในสมัยมุขมนตรี ออทโท ฟอน บิสมาร์ค ชัยชนะของปรัสเซียในสงครามสามครั้งได้แก่ สงครามชเลสวิชครั้งที่สองกับเดนมาร์กในปี 1864, สงครามออสเตรีย-ปรัสเซียในปี 1866 และสงครามฝรั่งเศส-ปรัสเซียในปี 1870–71 ทำให้บิสมาร์คสามารถรวมรัฐเยอรมันเล็กน้อยต่างๆเข้าด้วยกันเป็นสมาพันธรัฐเยอรมันเหนือ โดยกีดจักรวรรดิออสเตรีย (ซึ่งถือเป็นรัฐเยอรมันเช่นกัน) ออกไป

ในปีค.ศ. 1871 บรรดารัฐเยอรมันทั้งหลายได้ถูกผนวกเข้าด้วยกันเป็นจักรวรรดิเยอรมันภายใต้การนำของปรัสเซีย อย่างไรก็ตาม การพ่ายแพ้ในสงครามโลกครั้งที่หนึ่งทำให้บ้านเมืองเกิดกลียุค จนเกิดการปฏิวัติเยอรมันขึ้นในเดือนพฤศจิกายน 1918 ซึ่งได้ทำให้ระบอบจักรพรรดิได้ล่มสลายลงและขุนนางทั้งหลายต่างก็สูญสิ้นอิทธิพลทางการเมือง ราชอาณาจักรปรัสเซียจึงถูกยุบและมีการจัดตั้งเสรีรัฐปรัสเซียซึ่งปกครองด้วยระบอบสาธารณรัฐขึ้น ตั้งแต่นั้นมาปรัสเซียก็มีสถานะเป็นรัฐอิสระในประเทศเยอรมนีจนกระทั่งในปี 1933 เมื่อพรรคนาซีขึ้นเถลิงอำนาจ รัฐบาลนาซีได้ใช้กฎหมาย ไกลช์ชัลทุง (Gleichschaltung) เพื่อจัดตั้งการปกครองแบบรัฐเดี่ยว โดยรวบอำนาจการปกครองทั้งหมดในเยอรมนีไว้ที่รัฐบาลนาซีในกรุงเบอร์ลิน เมื่อระบอบนาซีล่มสลายลงในปี 1945 เยอรมนีถูกแบ่งออกเป็นโซนต่างๆซึ่งอยู่ในบังคับของกองทัพฝ่ายสัมพันธมิตร และมีการแบ่งเยอรมนีออกเป็นตะวันออกและตะวันตก ซึ่งถือเป็นจุดจบทางพฤตินัยของปรัสเซีย แต่ในทางนิตินัย ปรัสเซียยังคงดำรงอยู่จนถึงวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 1947 อันเป็นวันที่มีข้อบัญญัติสภาบังคับแห่งสัมพันธมิตรที่ 46 ซึ่งได้ยุบปรัสเซียอย่างเป็นทางการ[6]

ราชอาณาจักรปรัสเซียสิ้นสุดลงในปี 1918 พร้อมๆกับบรรดาราชวงศ์ต่างๆในรัฐต่างๆของเยอรมันจากผลของการปฏิวัติในประเทศภายหลังจากที่เยอรมันพ่ายแพ้ในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง หลังจากนั้น ในสมัยสาธารณรัฐไวมาร์ ปรัสเซียมีสถานะเป็นเสรีรัฐปรัสเซียโดยยังมีอำนาจในการปกครองและออกกฎหมายเอง ปรัสเซียสูญเสียอำนาจทางการเมืองและนิติบัญญัติของตัวเองแทบทั้งหมดเมื่อมีการรัฐประหารปี 1932 ที่นำโดยฟรันซ์ ฟอน พาเพิน ต่อมาในปี 1935 รัฐบาลนาซีได้ยุบรัฐเล็กน้อยต่างๆทั้งหมดในเยอรมนีและจัดตั้งระบบเขตปกครองที่เรียกว่า เกา (Gau เทียบเท่าจังหวัด) ขึ้นมา อย่างไรก็ตาม ยังมีการคงตำแหน่งในคณะมนตรีปรัสเซียบางตำแหน่งไว้ และแฮร์มันน์ เกอริง ยังคงเป็นมุขมนตรีปรัสเซียไปจนสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สอง

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

  1. tacitus.nu
  2. Fueter, Eduard (1922). World history, 1815–1920. United States of America: Harcourt, Brace and Company. pp. 25–28, 36–44. ISBN 1-58477-077-5.
  3. Danilovic, Vesna. When the Stakes Are High—Deterrence and Conflict among Major Powers, University of Michigan Press (2002), p 27, p225–228
  4. Aping the Great Powers: Frederick the Great and the Defence of Prussia's International Position 1763–86, pp. 286–307.
  5. "The Rise of Prussia". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-06-10. สืบค้นเมื่อ 2017-11-02.
  6. Allied Control Council Enactment No. 46 of 25 February 1947 เก็บถาวร 2016-03-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (ฝรั่งเศส)

บรรณานุกรม แก้

อ่านเพิ่มเติม แก้

  • Avraham, Doron (Oct 2008). "The Social and Religious Meaning of Nationalism: The Case of Prussian Conservatism 1815–1871". European History Quarterly. 38 (38#4): 525–550. doi:10.1177/0265691408094531. S2CID 145574435.
  • Barraclough, Geoffrey (1947). The Origins of Modern Germany (2d ed.)., covers medieval period
  • Carroll, E. Malcolm. Germany and the great powers, 1866–1914: A study in public opinion and foreign policy (1938) online; online at Questia เก็บถาวร 2020-08-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน also online review; 862pp; written for advanced students.
  • Friedrich, Karin (2000). The Other Prussia. Royal Prussia, Poland and Liberty, 1569–1772. Cambridge University Press. ISBN 978-0-521-58335-0. online review
  • Friedrich, Karin. Brandenburg-Prussia, 1466–1806: The Rise of a Composite State (Palgrave Macmillan, 2011); 157pp. Emphasis on historiography.
  • Haffner, Sebastian (1998). The Rise and Fall of Prussia.
  • Hamerow, Theodore S. Restoration, Revolution, Reaction: Economics and Politics in Germany, 1815–1871 (1958)
  • Henderson, William O. The state and the industrial revolution in Prussia, 1740–1870 (1958)
  • Holborn, Hajo. A History of Modern Germany (3 vol 1959–64); col 1: The Reformation; vol 2: 1648–1840. Vol. 3.1840–1945. ASIN 0691007969. {{cite book}}: ตรวจสอบค่า |asin= (help)
  • Horn, David Bayne. Great Britain and Europe in the eighteenth century (1967) covers 1603–1702; pp 144–177 for Prussia; pp 178–200 for other Germany; 111–143 for Austria
  • Jeep, John M. (2001). Medieval Germany: An Encyclopedia. ASIN 0824076443. {{cite book}}: ตรวจสอบค่า |asin= (help)
  • Koch, H. W. (1987). History of Prussia. – a short scholarly history.
  • Maehl, William Harvey (1979). Germany in Western Civilization.
  • Nipperdey, Thomas. Germany from Napoleon to Bismarck: 1800–1866 (1996). excerpt
  • Reinhardt, Kurt F. (1961). Germany: 2000 Years. Vol. 2 vols., stress on cultural topics
  • Shennan, M. (1997). The Rise of Brandenburg Prussia. ASIN 0415129389. {{cite book}}: ตรวจสอบค่า |asin= (help)
  • Taylor, A. J. P. (2001). The Course of German History: A Survey of the Development of German History since 1815. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-12-31. สืบค้นเมื่อ 2020-11-19.
  • Treasure, Geoffrey. The Making of Modern Europe, 1648–1780 (3rd ed. 2003). pp 427–462.
  • Wheeler, Nicholas C. (Oct 2011). "The Noble Enterprise of State Building Reconsidering the Rise and Fall of the Modem State in Prussia and Poland". Comparative Politics. 44 (44#1): 21–38. doi:10.5129/001041510X13815229366480.