สงครามนโปเลียน
ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
สงครามนโปเลียน (อังกฤษ: Napoleonic Wars, ฝรั่งเศส: Guerres napoléoniennes) เป็นหนึ่งในความขัดแย้งที่สำคัญที่ทำให้จักรวรรดิฝรั่งเศสและพันธมิตร นำโดยนโปเลียนที่ 1 ต่อกรกับกลุ่มอำนาจในยุโรปที่ดูผันผวนซึ่งได้รวมตัวกันเป็นพันธมิตร ซึ่งได้รับการสนับสนุนทางการเงินและนำโดยสหราชอาณาจักร มันถูกสร้างขึ้นในช่วงเวลาอันสั้นๆ ของการปกครองฝรั่งเศสในยุโรปส่วนใหญ่ สงครามครั้งนี้เกิดจากข้อพิพาทที่ยังไม่ได้รับการแก้ไขที่เกี่ยวข้องกับการปฏิวัติฝรั่งเศสและผลลัพธ์ของความขัดแย้งครั้งนี้ สงครามมักแบ่งออกเป็นความขัดแย้งห้าครั้ง แต่ละครั้งจะเรียกตามชื่อสหสัมพันธมิตรที่ต่อสู้กับนโปเลียน: สหสัมพันธมิตรครั้งที่สาม (ค.ศ. 1805) ครั้งที่สี่ (ค.ศ. 1806-07) ครั้งที่ห้า (ค.ศ. 1809) ครั้งที่หก (ค.ศ. 1813-14) และครั้งที่ 7 (ค.ศ. 1815) เป้าหมายของสงครามครั้งนี้คือการจัดตั้งรัฐบาลที่มีความมั่นคงในฝรั่งเศส ในขณะที่ได้แสดงให้ทั่วทั้งยุโรปเห็นว่า กองทัพที่พวกเขารวบรวมมาได้นั้นมีไว้เพื่อปกป้อง
สงครามนโปเลียน | |||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
![]() บน: ยุทธการที่เอาสเทอร์ลิทซ์ ล่าง: ยุทธการที่วอเตอร์ลู | |||||||
| |||||||
คู่ขัดแย้ง | |||||||
ฝ่ายสัมพันธมิตร:
|
จักรวรรดิฝรั่งเศสและพันธมิตร: ![]()
| ||||||
ผู้บัญชาการหรือผู้นำ | |||||||
![]()
|
![]()
| ||||||
กำลังพลสูญเสีย | |||||||
ระหว่าง 3,350,000 ถึง 6,500,000 คน | |||||||
|
เมื่อนโปเลียนได้ก้าวขึ้นดำรงตำแหน่งกงสุลคนแรกของฝรั่งเศสในปี ค.ศ. 1799 ได้รับช่วงต่อจากสาธารณรัฐอันวุ่นวาย ต่อมาเขาได้สร้างรัฐที่มีการเงินที่มั่นคง ระบบราชการที่แข็งแกร่ง และกองทัพที่ได้รับการฝึกฝนมาเป็นอย่างดี ในปี ค.ศ. 1805 ออสเตรียและรัสเซียได้จัดตั้งสหสัมพันธมิตรครั้งที่สามและทำสงครามกับฝรั่งเศส ในการตอบโต้ นโปเลียนได้เอาชนะกองทัพรัสเซีย-ออสเตรียที่เป็นพันธมิตรกันที่เอาสเทอร์ลิทซ์ในเดือนธันวาคม ค.ศ. 1805 ซึ่งถือว่าเป็นชัยชนะที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของพระองค์ ในทางด้านทะเล บริติชได้เอาชนะกองทัพเรือร่วมกันของฝรั่งเศส-สเปนอย่างหนักหน่วงในยุทธนาวีที่ตราฟัลการ์ เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม ค.ศ. 1805 ชัยชนะครั้งนี้ทำให้อังกฤษสามารถควบคุมทางทะเลและป้องกันเกาะอังกฤษจากการถูกบุกครอง ด้วยความกังวลเกี่ยวกับการเพิ่มอำนาจของฝรั่งเศส ปรัสเซียเป็นผู้นำในการก่อตั้งสหสัมพันธมิตรครั้งที่สี่กับรัสเซีย ซัคเซิน และสวีเดน และการเริ่มต้นของสงครามในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1806 นโปเลียนได้เอาชนะปรัสเซียอย่างรวดเร็วที่เจนาและรัสเซียที่ฟรายด์ลันด์ ได้นำพาความสงบสุขที่ไม่สบายใจมาสู่ทวีป แม้ว่าสันติภาพจะล้มเหลว เมื่อสงครามได้ปะทุขึ้นมาในปี ค.ศ. 1809 เมื่อสหสัมพันธมิตรครั้งที่ห้าซึ่งเตรียมการที่แย่ นำโดยออสเตรีย ซึ่งพ่ายแพ้อย่างรวดเร็วที่วากรัม
ด้วยความหวังที่จะแบ่งแยกและทำให้บริติชอ่อนแลลงทางเศรษฐกิจผ่านทางระบบทวีป นโปเลียนได้เปิดฉากการบุกครองโปรตุเกสซึ่งเป็นพันธมิตรเพียงหนึ่งเดียวของอังกฤษที่เหลืออยู่ในทวีปยุโรป ภายหลังจากการยึดครองลิสบอนในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1807 และด้วยกองทหารฝรั่งเศสจำนวนมากที่อยู่ในสเปน นโปเลียนจึงฉวยโอกาสในการจัดการกับสเปน อดีตพันธมิตรของพระองค์ ซึ่งได้ทำการขับไล่ราชวงศ์สเปนที่ปกครองอยู่ออกไปและประกาศให้พระเชษฐาของพระองค์ขึ้นครองราชย์เป็นกษัตริย์แห่งสเปนแทนในปี ค.ศ. 1808 เป็นพระเจ้าโฮเซที่ 1 สเปนและโปรตุเกสได้ออกมาลุกฮือโดยได้รับการสนับสนุนจากบริติชและขับไล่ฝรั่งเศสออกจากคราบสมุทรไอบีเรียในปี ค.ศ. 1814 ภายหลังจากหกปีของการสู้รบ
ในขณะเดียวกัน รัสเซียไม่เต็มใจที่จะแบกรับผลกระทบทางเศรษฐกิจจากการค้าที่ลดลงและละเมิดระบบทวีปอยู่เป็นประจำ ทำให้นโปเลียนเปิดฉากการบุกครองรัสเซียครั้งใหญ่ในปี ค.ศ. 1812 ผลลัพธ์ของการทัพครั้งนี้ได้จบลงด้วยหายนะและความพินาศย่อยยับของกองทัพใหญ่ของนโปเลียน
ด้วยแรงบันดาลใจจากความพ่ายแพ้ ออสเตรีย ปรัสเซีย และรัสเซียได้ก่อตั้งสหสัมพันธมิตรครั้งที่หกและเริ่มการทัพครั้งใหม่เพื่อต่อกรกับฝรั่งเศส โดยเอาชนะนโปเลียนที่ไลพ์ซิชอย่างเด็ดขากในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1813 ภายหลังจากการสู้รบที่ยังหาบทสรุปไม่ได้หลายครั้ง จากนั้นฝ่ายสัมพันธมิตรก็ได้บุกครองฝรั่งเศสจากทางด้านตะวันออก ในขณะที่สงครามคาบสมุทรได้แผ่ขยายออกไปทางตะวันตกเฉียงใต้ของฝรั่งเศส กองทัพฝ่ายสัมพันธมิตรได้เข้ายึดกรุงปารีสไว้ได้ เมื่อปลายเดือนมีนาคม ค.ศ. 1814 และบีบบังคับให้นโปเลียนสละราชบังลังก์ในเดือนเมษายน พระองค์ถูกเนรเทศไปยังเกาะเอลบาและราชวงศ์บูร์บงได้รับการฟื้นฟูกลับมาเข้าสู่อำนาจอีกครั้ง แต่นโปเลียนได้หลบหนีออกมาในในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1815 และกลับเข้ามาควบคุมฝรั่งเศสอีกครั้งจากราวหนึ่งร้อยวัน ภายหลังจากการก่อตั้งสหสัมพันธมิตรครั้งที่เจ็ด ฝ่ายสัมพันธมิตรได้เอาชนะพระองค์อย่างถาวรที่วอเตอร์ลูในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1815 และเนรเทศพระองค์ไปยังเกาะเซนต์เฮเลนา ซึ่งพระองค์ได้สวรรคตในอีกหกปีต่อมา
การประชุมใหญ่แห่งเวียนนาได้ทำให้ชายแดนของทวีปยุโรปได้ถูกเขียนขึ้นใหม่และนำมาซึ่งช่วงเวลาแห่งความสงบสุข สงครามได้ส่งผลกระทบอย่างมากต่อประวัติศาสตร์โลก รวมทั้งการแพร่กระจายของลัทธิชาตินิยมและเสรีนิยม การเถลิงอำนาจของบริติชในฐานะที่เป็นมหาอำนาจที่มีทั้งอำนาจควบคุมทางทะเลและเศรษฐกิจที่สำคัญที่สุดของโลก การปรากฏตัวของขบวนการเพื่อเรียกร้องเอกราชในละตินอเมริกา และการล่มสลายของจักรวรรดิสเปนและจักรวรรดิโปรตุเกสในเวลาต่อมา การปรับโครงสร้างพื้นฐานของดินแดนเยอรมันและอิตาลีทำให้กลายเป็นรัฐขนาดใหญ่มากขึ้น และการได้รับแนะนำวิธีการใหม่ๆ ในการทำสงคราม แต่ยังรวมไปถึงกฎหมายทางแพ่งอีกด้วย
อ้างอิงแก้ไข
- Asprey, Robert (2000). The Rise of Napoleon Bonaparte. New York: Basic Books. ISBN 0-465-04879-X.
- Blanning, T. C. W. (2002). The Culture of Power and the Power of Culture. Oxford: Oxford University Press. ISBN 0198227450.
- Cronin, Vincent (1994). Napoleon. HarperCollins. ISBN 0006375219.
- Pope, Stephen (1999). The Cassel Dictionary of the Napoleonic Wars. Cassel. ISBN 0-304-35229-2.
- Schom, Alan (1998). Napoleon Bonaparte: A Life. Perennial. ISBN 0-06-092958-8.
- Tombs, Robert and Isabelle (2006). That Sweet Enemy. William Heinemann. ISBN 978-1-4000-4024-7.
- Zamoyski, Adam (2004). Moscow 1812: Napoleon's Fatal March. HarperCollins. ISBN 0-00-718489-1.