สงครามสหสัมพันธมิตรครั้งที่ห้า

สงครามสหสัมพันธมิตรครั้งที่ห้า[4] (อังกฤษ: War of the Fifth Coalition) เป็นสงครามในปีค.ศ. 1809 ระหว่างฝ่ายสหสัมพันธมิตรจักรวรรดิออสเตรียร่วมกับสหราชอาณาจักร เพื่อต่อต้านการแผ่อำนาจของจักรวรรดิฝรั่งเศสที่หนึ่งและรัฐบริวารซึ่งนำโดยจักรพรรดินโปเลียน ซึ่งการปะทะส่วนใหญ่ในสงครามนี้เป็นการปะทะระหว่างกองกำลังออสเตรียกับฝรั่งเศส ซึ่งการปะทะเกิดขึ้นทั้งทวีปยุโรปตอนกลางตั้งแต่เดือนเมษายนถึงกรกฎาคม ซึ่งสร้างความเสียหายอย่างมากแก่ทั้งสองฝ่าย ซึ่งในขณะเดียวกัน อังกฤษก็เข้ามามีส่วนร่วมในความขัดแย้งครั้งนี้ด้วยในการรบทางทะเลที่เรียกว่าสงครามคาบสมุทร สงครามครั้งนี้จบลงโดยพฤตินัยด้วยชัยชนะของฝรั่งเศสในยุทธการวาแกรมในต้นเดือนกรกฎาคม

สงครามสหสัมพันธมิตรครั้งที่ห้า
ส่วนหนึ่งของ สงครามนโปเลียน
วันที่10 เมษายน – 14 ตุลาคม ค.ศ. 1809
สถานที่
ยุโรปตอนกลาง, อิตาลี และ เนเธอร์แลนด์
ผล ชัยชนะของฝรั่งเศส เกิดสนธิสัญญาเชินบรุนน์
คู่สงคราม

ฝ่ายสหสัมพันธมิตร:
จักรวรรดิออสเตรีย จักรวรรดิออสเตรีย
สหราชอาณาจักร สหราชอาณาจักร
ราชอาณาจักรซิซิลีทั้งสอง ซิซิลี

พีดมอนต์-ซาร์ดิเนีย ซาร์ดิเนีย

ฝรั่งเศส จักรวรรดิฝรั่งเศส


รัฐบริวารของฝรั่งเศส: สมาพันธรัฐแม่น้ำไรน์:

ราชอาณาจักรอิตาลี (นโปเลียน) อิตาลี
สเปน สเปนบูร์บง
กองทหารโปแลนด์
เนเปิลส์
สวิตเซอร์แลนด์ สวิตเซอร์แลนด์

เนเธอร์แลนด์ ฮอลแลนด์
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ

จักรวรรดิออสเตรีย ฟรันซ์ที่ 1 แห่งออสเตรีย
จักรวรรดิออสเตรีย อาร์ชดยุกคาร์ล
จักรวรรดิออสเตรีย อาร์ชดยุกจอห์นแห่งออสเตรีย
ดยุกเฟรเดอริก วิลเลียม
สหราชอาณาจักร ดยุกแห่งพอร์ตแลนด์
สหราชอาณาจักร สเปนเซอร์ เพอร์ชีวัล
สหราชอาณาจักร จอห์น พิตต์,เอิร์ลแห่งคัทแธมที่ 2

อัสเดรีย ฮอเฟอร์  โทษประหารชีวิต

ฝรั่งเศส นโปเลียนที่ 1
รัฐไบเอิร์น มักซีมีเลียนที่ 1
ราชอาณาจักรอิตาลี (นโปเลียน) เออแฌน เดอ โบอาร์แน
โจเซฟ โปเนียทอวัสกี
เฟรเดอริก ออกัสตัสที่ 1

ฝรั่งเศส อองตวน ชาร์ล หลุยส์ เดอ ลาแซล  
กำลัง
ทหารออสเตรีย 340,000[1]
ทหารอังกฤษ 85,000 [2]
275,000[3]
ความสูญเสีย
170,000
90,000 ถูกสังหารและบาดเจ็บ
80,000 ถูกจับ
140,000
30,000 ถูกสังหาร
90,000 บาดเจ็บ
20,000 ถูกจับ

หลังการต่อสู้จบลง มีการทำสนธิสัญญาเชินบรุนน์ ณ กรุงเวียนนา จักรวรรดิออสเตรียจำยอมต้องเสียดินแดนจำนวนมากแก่รัฐบริวารของฝรั่งเศส และเสียเขตเทร์โนพิลแก่จักรวรรดิรัสเซีย ในดินแดนที่ต้องเสียไปนั้นมีประชากรอาศัยอยู่กว่าสามล้านคน ซึ่งคิดเป็นหนึ่งในห้าของประชากรทั้งหมดของจักรวรรดิออสเตรียก่อนเสียดินแดน[5] ซึ่งระหว่างที่นโปเลียนพำนักอยู่ในเวียนนานั้นเอง มีความพยายามจะลอบสังหารนโปเลียนแต่ไม่สำเร็จ การลงนามในสนธิสัญญานี้ทำให้สงครามสหสัมพันธมิตรครั้งที่ห้ายุติลงอย่างเป็นทางการ ในขณะที่สงครามคาบสมุทรยังดำเนินต่อไป

อ้างอิง

แก้
  1. Chandler p. 673. Austria sent about 100,000 troops to attack Italy, 40,000 to protect Galicia, and held 200,000 men and 500 guns, organized into six line and two reserve corps, around the Danube valley for the main operations.
  2. The British Expeditionary Force to Walcheren: 1809 The Napoleon Series, Retrieved 5 September 2006.
  3. David G. Chandler, The Campaigns of Napoleon. p. 670.
  4. ราชบัณฑิตยสถาน. สารานุกรมประวัติศาสตร์สากลสมัยใหม่ : ยุโรป เล่ม ๕ อักษร L-O ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. กรุงเทพฯ : ราชบัณฑิตยสถาน, 2551. 896 หน้า. หน้า 591. ISBN 978-974-287-672-2
  5. David G. Chandler, The Campaigns of Napoleon. p. 732.