สหราชอาณาจักรสวีเดนและนอร์เวย์

สหราชอาณาจักรสวีเดนและนอร์เวย์ หรือ สหภาพสวีเดน–นอร์เวย์ หรือ สวีเดน–นอร์เวย์ (สวีเดน: Svensk-norska unionen; นอร์เวย์: Den svensk-norske union) คือรัฐร่วมประมุขระหว่างสวีเดนและนอร์เวย์ภายใต้การปกครองของราชวงศ์เบอร์นาดอตต์ ระหว่างปี ค.ศ. 1814 ถึง ค.ศ. 1905[3] ก่อนที่สวีเดนจะยอมรับการออกจากสหภาพของนอร์เวย์[4] รัฐทั้งสองมีรัฐธรรมนูญและอธิปไตยทั้งสามเป็นของตนเองซึ่งรวมถึงกองทัพ ศาสนจักร และการคลัง ส่วนพระมหากษัตริย์ประทับในกรุงสต็อกโฮล์ม ทรงมีอำนาจในการแต่งตั้งเอกอัคราชทูตประจำประเทศในต่างแดน ในส่วนของนอร์เวย์มีผู้สำเร็จราชการแทนทำหน้าที่บริหาราชการ ในสวีเดนจนถึง ค.ศ. 1829 และในนอร์เวย์จนถึง ค.ศ. 1856 โดยยกเลิกตำแหน่งรักษาการเมื่อปี ค.ศ. 1873 นโยบายต่างประเทศเป็นหน้าที่ของกระทรวงการต่างประเทศจนถึง ค.ศ. 1905 ภายหลังการล่มสลายของสหราชอาณาจักร[5][6]

สหราชอาณาจักรสวีเดนและนอร์เวย์

Förenade Konungarikena Sverige och Norge
De forenede Kongeriger Norge og Sverige[A]
Sambandet millom Norig og Sverike[B]
ค.ศ. 1814–ค.ศ. 1905
'เพลงชาติ: 'นอร์เวย์:
Norges Skaal (1814-1820)
Sønner av Norge (1820-1864)
ยา วีเอ็ลสเกอร์เด็ตเตอลันเนอ (โดยพฤตินัย)
สวีเดน:
ดูกามลา ดูเฟรีย (โดยพฤตินัย)

'เพลงสรรเสริญพระบารมี: 'นอร์เวย์:
ไม่มี
สวีเดน:
Bevare Gud vår kung (1805-1893)
คองซานเก็น (1844-1905)
สวีเดน–นอร์เวย์ในค.ศ. 1904
สวีเดน–นอร์เวย์ในค.ศ. 1904
สถานะรัฐร่วมประมุข
เมืองหลวงสต็อกโฮล์มและคริสตีเนีย[a]
ภาษาทั่วไปสวีเดน, นอร์เวย์,[b] เดนมาร์ก, ซามี, ฟินแลนด์
ศาสนา
นอร์เวย์:
คริสตจักรแห่งนอร์เวย์ (ศาสนาประจำชาติ)
สวีเดน:
คริสตจักรแห่งสวีเดน (ศาสนาประจำชาติ)
การปกครองราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ
กษัตริย์ 
• ค.ศ. 1814–1818
พระเจ้าคาร์ลที่ 13/2
• ค.ศ. 1818–1844
พระเจ้าคาร์ลที่ 14 /โยฮันที่ 3
• ค.ศ. 1844–1859
พระเจ้าออสการ์ที่ 1
• ค.ศ. 1859–1872
พระเจ้าคาร์ลที่ 15/4
• ค.ศ. 1872–1905
สมเด็จพระเจ้าออสการ์ที่ 2
สภานิติบัญญัติฝ่ายนิติบัญญัติ:[d]
• รัฐสภาสวีเดน
ริกสดาก
• รัฐสภานอร์เวย์
สตอร์ทติง
ยุคประวัติศาสตร์ระหว่างสงครามนโปเลียนถึงสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง
14 มกราคม ค.ศ. 1814
• รัฐสภานอร์เวย์เลือกพระเจ้าคาร์ลที่ 13 ขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์
4 พฤศจิกายน ค.ศ. 1814
• ประกาศใช้สกุลเงินเดียวกัน
16 ตุลาคม ค.ศ. 1875
26 ตุลาคม ค.ศ. 1905
ประชากร
• ค.ศ. 1820
3,550,000 คน[c]
• ค.ศ. 1905
7,560,000 คน[c]
สกุลเงินสวีเดน:

นอร์เวย์:

ก่อนหน้า
ถัดไป
สวีเดน
เดนมาร์ก–นอร์เวย์
นอร์เวย์
สวีเดน
นอร์เวย์
ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของสวีเดน
นอร์เวย์
a. ^ พระมหากษัตริย์ประทับอยู่ ณ กรุงสต็อกโฮล์ม (เป็นส่วนมาก) และกรุงคริสตีเนีย (ปีละหนึ่งเดือนโดยปกติ) ทรงมี่ราชกิจกับทั้งคณะรัฐมนตรีร่วมของสองประเทศในสหภาพ และคณะรัฐมนตรีเฉพาะของสวีเดนหรือนอร์เวย์ ซึ่งในเวลาที่พระมหากษัตริย์มิได้ประทับอยู่ในนอร์เวย์ รัฐมนตรีนอร์เวย์ส่วนมากในคณะรัฐมนตรีจะประชุมกันที่กรุงคริสตีเนีย

b. ^ มีการยกเลิกภาษาเขียนของนอร์เวย์ (บูกมอล) ตั้งแต่ช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 16 โดยเปลี่ยนไปใช้ภาษาเดนมาร์กแทน ซึ่งภาษาเขียนของเดนมาร์กนี้ยังคงถูกใช้ต่อไป แม้กระทั่งในช่วงการรวมเป็นสหภาพกับสวีเดน แต่ถูกดัดแปลงเล็กน้อยในช่วงครึ่งหลังของคริสต์ศตวรรษที่ 19 ต่อมาในปี ค.ศ. 1885 สภาสตอร์ทติงยอมรับภาษานือนอสก์ (ภาษานอร์เวย์ใหม่) เป็นภาษาราชการเทียบเท่ากับภาษาเดนมาร์ก
c. ^ ค.ศ. 1820: มีประชากรในสวีเดน 2,585,000 คน และนอร์เวย์ 970,000 คน[1]
ค.ศ. 1905: มีประชากรในสวีเดน 5,260,000 คน และนอร์เวย์ 2,300,000 คน[2]

d. ^ แต่เดิมสภาริกสดากของสวีเดนคือรัฐสภาที่ประกอบไปด้วยสี่ฐานันดร จนกระทั่ง ค.ศ. 1866 มีการเปลี่ยนแปลงไปใช้ระบบสองสภา ส่วนสภาสตอร์ทติงของนอร์เวย์ใช้ระบบสภาเดี่ยวมาแต่เดิม ซึ่งเสียงส่วนใหญ่ในสภาทำหน้าที่เลือกบุคคลมาดำรงตำแหน่งในคณะรัฐมนตรี

นอร์เวย์มีความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดกับเดนมาร์ก, แต่เดนมาร์ก-นอร์เวย์เป็นพันธมิตรร่วมกับจักรวรรดินโปเลียน โดยมีสาเหตุจากการที่สหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์และจักรวรรดิรัสเซียเข้าร่วมสงครามหลังจากที่สวีเดนเข้าครอบครองฟินแลนด์ ค.ศ. 1809 ในปี ค.ศ. 1814 นอร์เวย์ขอแยกตัวออกจากเดนมาร์กภายใต้สนธิสัญญาคีล ส่งผลให้นอร์เวย์เป็นอิสรภาพ โดยมีการเรียกประชุมสภาร่างรัฐธรรมนูญที่อิดโวลส์

ภายหลังจากการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งนอรเวย์ เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม ค.ศ. 1814, พระเจ้าคริสเตียนที่ 8 (เจ้าชายคริสเตียน เฟรเดอริค) ทรงได้รับเลือกตั้งเป็นสมเด็จพระราชาธิบดีแห่งนอร์เวย์ ระหว่างสงครามสวีเดน-นอร์เวย์ (ค.ศ. 1814) และ การประชุมใหญ่แห่งมอสส์ เจ้าชายคริสเตียน เฟรเดอริคทรงสละราชสมบัติภายหลังการเรียกประชุมรัฐสภา, Storting, โดยให้ความเห็นชอบรัฐธรรมนูญใหม่ และ การเข้าเป็นสหภาพร่วมกับสวีเดน. พระเจ้าคาร์ลที่ 13 ทรงลงพระปรมาภิทัยร่างรัฐธรรมนูญของสหภาพเมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน. วันที่ 7 มิถุนายน ค.ศ. 1905 รัฐสภาประกาศว่ากษัตริย์แห่งสวีเดนไม่ได้เป็นกษัตริย์ของนอร์เวย์อีกต่อไป ทำให้การล่มสลายของสหราชอาณาจักรมีผลนับแต่นั้น ปฏิกิริยาตอบกลับในสวีเดนรุนแรงและสงครามระหว่างนอร์เวย์และสวีเดนใกล้จะเริ่มขึ้น เนื่องมากจากการลงประชามติทั้งสองครั้งเกิดขึ้นในปีเดียวกัน จึงเป็นตัวกำหนดให้สหภาพกับสวีเดนล่มสลายและชาติใหม่ของนอร์เวย์เป็นการปกครองโดยมีกษัตริย์เป็นประมุข มีผลในวันที่ 26 ตุลาคม ภายหลังจากการรับรองผลการออกเสียงประชามติให้ฟื้นฟูสถาบันกษัตริย์ขึ้นอีกครั้ง เจ้าชายคาร์ลแห่งเดนมาร์กทรงได้รับเลือกตั้งเป็นสมเด็จพระราชาธิบดีองค์ใหม่ และ ทำพิธีบรมราชาภิเษกในวันที่ 18 พฤศจิกายน ทรงมีพระนามว่า สมเด็จพระราชาธิบดีโฮกุนที่ 7

สัญลักษณ์ประจำชาติ

แก้

ตราอาร์ม

แก้

ดูเพิ่ม

แก้

หมายเหตุ

แก้
  1. เขียนในภาษาเดนมาร์ก รูปภาษาก่อนหน้าบุ๊กมอล
  2. เขียนในแบบLandsmål รูปภาษาก่อนหน้านีนอสก์

เชิงอรรถ

แก้
  1. "Skandinaviens befolkning".
  2. "SSB – 100 års ensomhet? Norge og Sverige 1905–2005 (in Norwegian)". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 19, 2014.
  3. "Sweden". World Statesmen. สืบค้นเมื่อ 17 January 2015.
  4. "Norway". World Statesmen. สืบค้นเมื่อ 17 January 2015.
  5. "Sweden". World Statesmen. สืบค้นเมื่อ 17 January 2015.
  6. "Norway". World Statesmen. สืบค้นเมื่อ 17 January 2015.

วรรณกรรม

แก้

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้